การค้าชายแดนเมียนมาร์-ไทยมีมูลค่าทะลุ 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือนมกราคม
ช่วงระหว่างวันที่ 1 ถึง 28 มกราคมที่ผ่านมา การค้าชายแดนของเมียนมากับไทยผ่านทางชายแดนเมียวดี อยู่ใกล้เคียงมีมูลค่า 45.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 10.452 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้า 34.768 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกสำคัญของเมียนมา ได้แก่ ถั่วลิสง หัวหอม พริกแห้ง และพริกสดมายังไทย ส่วนสินค้านำเข้าจะเป็น วัตถุดิบพลาสติก ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง ผงซักฟอก อาหาร และอะไหล่เครื่องจักร นอกจากนี้ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เน่าเสียง่ายและผลิตภัณฑ์สีเขียว เช่น หัวหอมและพริก ที่ด่านชายแดน จะได้รับการจัดลำดับความสำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกและเร่งรัดการส่งออก
BCEL เปิดตัวแอปชำระเงินใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวระหว่างเยือนลาวปี 2567
Banque pour le Commerce Exterieur Lao Public (BCEL) เปิดตัวแอปพลิเคชัน EZyKip เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนลาวในช่วง Visit Laos Year 2024 ช่วยอำนวยความสะดวกในการถอนเงินสดจากตู้เอทีเอ็ม BCEL ที่มีมากกว่า 400 แห่งทั่วประเทศลาว ด้วยค่าธรรมเนียม 0% ผ่านการสแกน QR ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการพกพาเงินสด ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนและโอนยอดคงเหลือกลับไปยังบัตรธนาคารของตนได้อย่างง่ายดาย ทำให้มั่นใจได้ถึงระบบนิเวศการชำระเงินที่ปลอดภัยและไม่ยุ่งยากตลอดการเดินทางในลาว ทั้งนี้ แอป EZyKip ถูกพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นเจ้าภาพการประชุมการท่องเที่ยวอาเซียนของลาวและการเป็นประธานอาเซียนตลอดปี 2567 โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสบการณ์โดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และลดความซับซ้อนของการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างการเยือนประเทศลาว
ธนาคารกลางเมียนมาอัดฉีดเงิน 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ50 ล้านบาทเข้าสู่ตลาดการเงิน
ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ขายเงินตราต่างประเทศในตลาดฟอเร็กซ์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ได้ 13 ล้านดอลลาร์ และขายบนแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์สำหรับผู้ส่งออกและผู้นำเข้าเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 5 ล้านดอลลาร์และ 50 ล้านบาท ซึ่ง CBM ปกปิดอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับการทำธุรกรรมเหล่านั้นจากสาธารณะ โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงที่กำหนดโดย CBM คือ 2,100 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มีการแลกเปลี่ยนในตลาดไม่เป็นทางการอยู่ที่ประมาณ 3,550 จ๊าดต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินบาทปัจจุบันมีอยู่ที่ 101 จ๊าดต่อบาท อย่างไรก็ดี ในเดือนมกราคม 2567 CBM ขายเงินตราต่างประเทศได้ 68.33 ล้านดอลลาร์, 313.5 ล้านบาท และ 4.2 ล้านหยวนจีน และเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ก็อัดฉีดเงิน 22.15 ล้านดอลลาร์เข้าสู่ภาคน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย นอกจากนี้ CBM อนุญาตให้ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาต (ธนาคารเอกชน) ดำเนินการซื้อขายฟอเร็กซ์ออนไลน์ได้อย่างอิสระตามอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดโดยกลไกตลาด ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน โดยที่ขั้นตอนการโอนเงินไปต่างประเทศจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อบังคับของคณะกรรมการกำกับการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
สปป.ลาว มีรายได้ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกสินค้าเกษตรในปี 2566
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ สปป.ลาว เผย ลาวมีรายได้มากกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรในปีที่แล้ว ซึ่งเกินเป้าหมายปี 2566 20.18% โดยมูลค่าการผลิตในภาคเกษตรและป่าไม้ของประเทศลาว ขยายตัว 3.4% ในปี 2566 คิดเป็น 21.4% ของจีดีพี โดยมีการเก็บเกี่ยวพืชผลประมาณ 9.74 ล้านตัน ซึ่งเกินเป้าหมาย 3.7% โดยผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 28.62% กาแฟ 7.5% กล้วย 16.7% และอ้อย 10.1% ปัจจุบันมีฟาร์มปศุสัตว์ 2,261 แห่ง ซึ่งมีสัตว์มากกว่า 6.5 ล้านตัว เพิ่มขึ้น 123 แห่ง เมื่อเทียบกับปี 2565 จำนวนดังกล่าวประกอบด้วยฟาร์มปศุสัตว์ 55 แห่ง ฟาร์มหมู 34 แห่ง และฟาร์มสัตว์ปีก 18 แห่ง ซึ่งผลิตเนื้อสัตว์คิดเป็น 41% ของทั้งประเทศ รัฐบาลยังคงเจรจาเพื่อการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสามารถส่งออกสินค้าได้ 64 ชนิด มากกว่าปี 2565 16 ชนิด ในจำนวนนี้ มีการส่งออกไปยังจีน 33 ชนิด ส่งออกไปยังเวียดนาม 16 ชนิด และส่งออกให้ไทย 15 ชนิด
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_24_Laowearns_y24.php
รัฐบาลกัมพูชาพร้อมสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรขึ้นเป็นอุตสาหกรรมหลักของชาติ
รัฐบาลกัมพูชา (RGC) ยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ ภูมิภาค และต่างประเทศ กล่าวโดยนายกรัฐมนตรีฮุน มาเน็ต ในระหว่างการเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมประจำปี 2023 ของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับความสนใจจากบริษัทต่างชาติอย่าง สิงคโปร์ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลที่ได้เพิ่มการลงทุนไปยังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างระบบชลประทาน ระบบการขนส่งในชนบท โลจิสติกส์ ไฟฟ้าและกระบวนการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล อีกทั้งรัฐบาลยังมุ่งเน้นไปที่การสร้างทุนมนุษย์และให้สิ่งจูงใจทางด้านการเงินเพื่อปรับปรุงคุณภาพประสิทธิภาพ ผลผลิต และความปลอดภัย โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์เกษตรในตลาดภายในประเทศ ภูมิภาค และต่างประเทศ
ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501432466/agricultural-modernisation-govts-top-priority-says-pm/
กัมพูชาจับตาจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่
นายกรัฐมนตรีฮุน มาเนต ของกัมพูชา กล่าวว่า กัมพูชากำลังพิจารณาสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษใหม่ โดยกล่าวไว้เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา ในระหว่างการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “โครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดพระสีหนุ 2024” ในจังหวัดพระสีหนุ ซึ่งเน้นย้ำถึววิสัยทัศน์ของรัฐบาลสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในอนาคต เพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่หลากหลายในระยะต่อไป และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย รัฐบาลได้กำหนดนโยบายและดำเนินโครงการนำร่องภายในเขตเศรษฐกิจอย่างจริงจัง โดยเน้นไปที่การดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีสีเขียว อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน และภาคดิจิทัล เป็นสำคัญ