กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังต่างประเทศมูลค่ารวมกว่า 3.2 ล้านดอลลาร์

ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวมกว่า 5.5 ล้านตัน สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 3.2 พันล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) แต่ด้วยสถานการณ์การส่งออกโดยรวมที่ชะลอตัวลง ส่งผลทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชา ได้แก่ ข้าว กล้วย มะม่วง มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด น้ำมันปาล์ม พริกไทย และยาสูบ เป็นสำคัญ โดยเฉพาะการส่งออกข้าวสารที่มูลค่า 395 ล้านดอลลาร์ และข้าวเปลือกมูลค่ารวมกว่า 658 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรัฐบาลมีความพยายามเป็นอย่างมากในการขยายตลาดส่งออก สำหรับภาคเกษตรกรรมถือเป็นหนึ่งใน 4 เสาหลัก ที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจของกัมพูชาเกิดการเติบโต คิดเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 24.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เมื่อเทียบกับปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501373714/agri-product-exports-earn-3-2b/

สงครามอิสราเอล-กราดยิงพารากอน ททท. ชี้ 2 ความเสี่ยงท่องเที่ยวไทยปลายปี 66

นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันนัก ท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย (ณ ต้นเดือนตุลาคม ปี 2566) แตะ 20 ล้านคน คาดการณ์ว่าเป้าหมายที่วางไว้ 25-28 ล้านคน มีความเป็นไปได้ เนื่องจาก เดือนตุลาคม-ธันวาคม ปี 2566 แนวโน้มนักท่องเที่ยวทั้งกลุ่มตลาดระยะไกล หรือลองฮอลล์ (จากยุโรป อเมริกา ตะวันออกกลาง แอฟริกา) ที่ยังมีบุ๊กกิ้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงตลาดระยะใกล้ หรือ ช็อตฮอลล์ ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายของไทยก็เติบโต ทั้งเกาหลีใต้ มาเลเซีย อินเดีย รัสเซีย ทำให้เป้าหมายที่วางไว้ 25 ล้านคน น่าจะเป็นไปได้ อย่างไรก็ดี ช่วงไฮซีซั่นภาคการท่องเที่ยว คือ ช่วงปลายปี 2566 ทว่าไทยพบความเสี่ยง 2 ประการ ได้แก่ กราดยิงสยามพารากอน และซ้ำเติมด้วยปัญหาสงครามอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส ซึ่งเบื้องต้นเหตุการณ์กราดยิงที่สยามพารากอนคาดว่าจะกระทบไทยในระยะสั้น โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวจีน สะท้อนจากตัวเลขการจองไฟลท์บินจากจีนมาไทยลดลง ขณะที่สงครามอิสราเอล-ฮามาส ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรงในแง่ความรู้สึกของนักท่องเที่ยว จนทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความลังเลในการเดินทาง เพื่อรอดูสถานการณ์ แต่ยังเร็วไปที่จะประเมินผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวอิสราเอลปัจจุบันเดินทางเข้าไทยประมาณ 170,000-180,000 คน โดยประเมินว่าสิ้นปี 2566 จะเข้ามาเยือนถึง 200,000 คน เนื่องจากเที่ยวบินระหว่างกรุงเทลอาวีฟ ไปภูเก็ตและกรุงเทพ ยังไม่มีการยกเลิก

ที่มา : https://moneyandbanking.co.th/2023/66705/

นภินทร เร่งแก้ส่งออกกระจุกตัว ดันเอสเอ็มอีค้าชายแดน 1.2 ล้านล้าน

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการมอบนโยบายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) ได้สั่งการให้ทุกกรมฯ ช่วยกันแก้ปัญหาการกระจุกตัวด้านการส่งออกที่ส่วนใหญ่จะอยู่เฉพาะผู้ประกอบการรายใหญ่ พร้อมกับส่งเสริมให้ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถส่งออก หรือค้าชายแดน และค้าผ่านแดนให้มากขึ้น ดังนั้น เราอยากผลักดัน ให้รายได้ส่งออกจากเอสเอ็มอีมีเพิ่มขึ้น ให้มีสัดส่วนให้ได้ 35% ของภาพรวมการส่งออก ทั้งนี้ ทุกกรมฯที่เกี่ยวข้องกำลังจัดทำแผนงานบุรณณาการร่วมกันอยู่ และจะเริ่มโปรโมตทำมหกรรมการค้าด่านใหญ่ๆ ในจังหวัดที่ติดชายแดนก่อน ซึ่งจะกระตุ้นให้การค้าชายแดนเติบโตได้ โดยตั้งเป้าหมายว่าในปี 67 ยอดการค้าชายแดนจะเติบโต 20% เพิ่มจากประมาณ 1 ล้านล้านบาท เป็น 1.2 ล้านล้านบาท

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/2791239/

‘เวียดนาม’ โชว์ 9 เดือนแรก ลงทุนต่างประเทศ พุ่ง 4.6%

หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ กระทรวงวางแผนและการลงทุน เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามลงทุนในต่างประเทศ มูลค่าประมาณ 416.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี และจากเม็ดเงินลงทุนดังกล่าว เงินลงทุนที่ธุรกิจจดทะเบียน มีมูลค่ากว่า 244.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยจำนวนโครงการใหม่ 84 โครงการ คิดเป็นสัดส่วน 70.5% ของมูลค่าเงินลงทุนจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ทั้งนี้ นักลงทุนชาวเวียดนามส่วนใหญ่ลงทุนในภาคการค้าส่งค้าปลีก ด้วยมูลค่าเงินลงทุนราว 150.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  รองลงมาภาคเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม

ในขณะที่แคนาดาเป็นแหล่งลงทุนสำคัญที่สุดของนักลงทุนชาวเวียดนาม รองลงมาสิงคโปร์ สปป.ลาว และคิวบา

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-overseas-investment-up-46-during-nine-months/268894.vnp

‘เวียดนาม’ ทำรายได้จากการส่งออกข้าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าเวียดนามทำสถิติส่งออกข้าวสูงสุดในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 6.61 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าราว 3.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.1% และ 40.4% ตามลำดับ โดยเฉพาะเดือน ก.ย. เพียงเดือนเดียว เวียดนามส่งออกข้าวไปยังต่างประเทศ ปริมาณ 8 แสนตัน และราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยที่ 618 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งเป็นราคาส่งออกข้าวอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกข้าวทะลุ 495 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุดในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ คิดเป็นสัดส่วน 40.3% ของการส่งออกข้าวทั้งหมด รองลงมาจีนและอินโดนีเซีย 13.5% และ 12.4% ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1594890/viet-nam-s-rice-exports-revenue-surges-to-new-record.html

‘เมียนมา’ เผยราคาอ้อยพุ่งตามความต้องการของตลาดในประเทศ

จากคำประกาศของโรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง กล่าวว่าได้เข้าซื้ออ้อย 1 ตันในราคา 120,000 จ๊าตต่อวิสส์ เมื่อวันที่ 3 ต.ค. และยังซื้ออ้อยต่อวัน อยู่ที่ 6,500 ตัน หรือ 7,000 ตัน นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลยังส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกอ้อมมากขึ้น เนื่องจากโรงงานมีแผนที่จะขยายพื้นที่มากกว่า 2 ยูนิต โดยมีเป้าหมายที่จะผลิตน้ำตาล ด้วยกำลังการผลิต 7,500 ตันต่อวันในปีการเงิน 2567-2568 และเพิ่มกำลังการผลิต 12,000 ตันต่อวันในปีการเงิน 2568-2569 อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำตาลในตลาดโลก เดือน ก.ค. อยู่ที่ 650 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ปรับตัวลดลง 700 ดอลลาร์สหรัฐในเดือน มิ.ย.

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugarcane-price-set-to-rise-as-local-demand-surge/#article-title