ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมา ดิ่งลง ! ตามแนวโน้มของตลาดต่างประเทศ

ราคาน้ำมันปาล์มในเมียนมาเมื่อต้นเดือนพ.ย.2565 ที่ผ่านมา พุ่งแตะ 8,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) แต่ราคาขณะนี้ลดฮวบเหลือ 7,000 จัตต่อ viss โดยคณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจำหน่ายน้ำมันประกอบอาหารภายใต้กระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามราคานำเข้า FOB จากมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด ขณะที่ ราคาอ้างอิงของน้ำมันปาล์มในตลาดย่างกุ้ง วันที่ 20 -30 มิ.ย.2565 ตั้งไว้ที่ 5,815 8,000 จัตต่อ viss อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดยังสูงกว่าราคาอ้างอิงอยู่มาก ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ออกมาให้ความมั่นใจว่า ผู้บริโภคไม่ต้องตื่นตระหนักกับปริมาณของน้ำมันประกอบอาหารพร้อมย้ำว่าจะมีเพียงพออย่างแน่นอน อีกทั้งจะกำกับราคาให้มีความเป็นธรรม และป้องกันการบิดเบือนตลาดในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-prices-fall-again-on-downtick-trend-in-external-market/

หลวงน้ำทาเซ็นสัญญาสายส่งไฟฟ้า

จังหวัดหลวงน้ำทาได้ลงนามในสัญญากับ บริษัท พีที คอนสตรัคชั่น แอนด์ ทราเวล จำกัด สำหรับการก่อสร้างโครงข่ายไฟฟ้า 22kW และสายส่งไฟฟ้าขนาด 0.4kW การสำรวจและออกแบบกริดเกิดขึ้นในปี 2563 และ 2565 โดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้อนุมัติโครงการภายใต้แผนการลงทุนภาครัฐ โครงการจะดำเนินการตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2569 โดยมีการชำระเงินตั้งแต่ปี 2565 ถึง 2568 วัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างต้องปราศจากข้อบกพร่องและต้องมีใบรับรองตามสัญญา วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างจะต้องขนส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างและมีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 97.75 พันล้านกีบ ค่าก่อสร้าง 97.23 พันล้านกีบ ในขณะที่มูลค่าการจัดการโครงการอยู่ที่ 514 ล้านกีบ ตามรายงานของ Electricite du Laos (EDL) ลาวมีแผนที่จะกระชับการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน และเปลี่ยนแหล่งน้ำให้เป็นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนความพยายามของประเทศในการเป็น “แบตเตอรี่พลังงานสะอาด” ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากลาวยังคงปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโครงข่ายไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ก็จะช่วยเพิ่มยอดขายไฟฟ้าให้กับประเทศอาเซียนอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2564-2568 รัฐบาลมีแผนจะผลิตไฟฟ้า 1,807 เมกะวัตต์ โดยไฟฟ้าพลังน้ำคิดเป็นร้อยละ 57 ของทั้งหมด ไฟฟ้าจากถ่านหินร้อยละ 19 และพลังงานแสงอาทิตย์ร้อยละ 24

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Luang124.php

คาดกัมพูชาจะก้าวเข้าสู่ประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงภายในปี 2030

นายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงภายในปี 2030 หลังจากเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นฟูจากผลกระทบของโควิด-19 ซึ่งเกณฑ์ของธนาคารโลก ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (MICs) เป็นกลุ่มที่หลากหลายตามขนาดของ ประชากร และระดับของรายได้ โดยปัจจุบันกัมพูชาถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนต่ำ ซึ่งรายได้ประชาชาติ (GNI) อยู่ที่ระหว่าง 1,036-4,045 ดอลลาร์ ในขณะที่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางค่อนสูง มี GNI อยู่ที่ระหว่าง 4,046-12,535 ดอลลาร์ต่อหัว โดยรัฐบาลกัมพูชาได้เปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ในกัมพูชาถูกควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประชากรมากกว่าร้อยละ 94 ได้รับการฉีดวัคซีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501102959/cambodia-will-be-high-middle-income-country-by-2030-says-pm/

Q1 การลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7

ไตรมาสแรกปี 2022 จำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติจากสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (NBC) มีจำนวนถึง 47 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สร้างเม็ดเงินลงทุนทั้งหมดมูลค่า 2,520.6 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งคาดว่าจะสร้างงานให้กับคนในประเทศได้จำนวน 7,406 ตำแหน่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.1 โดยการลงทุนเกี่ยวข้องทั้งโครงการทั้งในและนอกเขตเศรษฐกิจพิเศษหรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) โดยทางการกัมพูชาทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะให้ภาคธุรกิจกลับมาดำเนินธุรกิจได้อย่างเต็มที่ รวมถึงทางด้านกฎหมายว่าด้วยการลงทุนฉบับใหม่ที่ทางการกำหนดขึ้น เพื่อหวังดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ โดยเฉพาะจากต่างประเทศ ซึ่งในปี 2022 ทางการคาดเศรษฐกิจจะเติบโต ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของภาคการลงทุนของนักลงทุน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501102954/investments-in-kingdom-rise-by-7-percent-in-q1/

เวิลด์แบงก์คาดจีดีพีไทยปีนี้ 2.9% ราคาน้ำมัน-สินค้าแพง ดันเงินเฟ้อพุ่ง 5.2%

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทย ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า เวิลด์แบงก์ออกรายงานตามติดเศรษฐกิจไทยฉบับใหม่ โดยคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ 2.9% ซึ่งปรับลดลง 1% จากคาดเดิมเมื่อเดือนเดือนธ.ค.64 โดยไทยได้รับผลกระทบจากสงครามรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาพลังงานสูงและราคาสินค้าแพง กดดันเงินเฟ้อให้เพิ่มขึ้นมาก และยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจจีนไม่ฟื้นตัวจากการปิดเมือง รวมทั้งความเสี่ยงจากโควิดที่อาจกลับมาระบาดได้อีกครั้ง ส่วนปัจจัยสนับสนุนเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะกลับเข้ามาได้ 6 ล้านคนในปีนี้ ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยได้พึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ ทำให้ราคาน้ำมันพุ่งจึงกระทบต่อไทย แต่คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีจะได้รับแรงกระตุ้น และกลับไปสู่ระดับก่อนการระบาดโควิดในไตรมาสที่ 4 ของปี 65 จากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ลดลงและการผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางข้ามพรมแดนของประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านคนในปี 65 เพิ่มขึ้นจาก 4 แสนคนในปี 64 และเพิ่มขึ้นเป็น 24 ล้านคน หรือ 60% ของระดับก่อนการระบาดภายในปี 67 จึงคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 4.3% ในปี 66 และขยายตัว 3.9% ในปี 67 ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะอยู่ที่ 5.2% ในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบ 14 ปี ตลอดปี 65 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 2.3 การส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัว 4.1% ในปี 65 ชะลอตัวลงจากผลของปี 64 ซึ่งอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งที่ 18.8% สะท้อนให้เห็นถึงอุปสงค์โลกที่ลดลงและปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลกที่ยืดเยื้อ

ที่มา : https://www.businesstoday.co/business/29/06/2022/85098/