“เวียดนาม” ทุ่มเงิน 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำและเหมืองแร่ ในสปป.ลาว

หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ ไทมส์ รายงานว่าเวียดนามดำเนินการโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ (Hydropower) ด้วยมูลค่าทุนกว่า 815 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเมืองอัดตะปือ สปป.ลาว ทั้งนี้ คุณวิทยา พรหมจันทร์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กล่าวว่ามีการลงทุนโครงการไฟฟ้าหลายแห่ง อาทิ Xekaman 1, Xekaman Sanxay, Xekong Loum A และ Xekong Loum B คิดเป็นมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 691 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2568 โครงการพลังงานดังกล่าว รวมไปถึงโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าชีวมวล พร้อมกับสายส่งหรือสายนำสัญญาณบางส่วน และเงินลงทุนที่เหลืออีก 30.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เข้าไปลงทุนในสถานีแปลงกระแสไฟฟ้า ในขณะเดียวกันเงินลงทุนไหลเข้าไปยังภาคขุดแหมืองแร่ประมาณ 93.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-invests-over-815-million-usd-in-hydropower-mining-in-lao-province/230867.vnp

ในช่วงสองเดือนแรกของปีงบฯ 65-66 ค้าชายแดนมูเซลดฮวบ ! 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีก่อน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การค้าชายแดนมูเซในช่วงสองเดือนแรกของปีงบประมาณ 2565-2566 (วันที่ 1 เม.ย.ถึง 27 พ.ค.)ลดลงมากกว่า 178 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยมูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 184.069 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนมูลค่าการนำเข้า 23.496 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 207.565 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดใน 10 ประเทศของกลุ่มประเทศอาเซียน คิดเป็นมูลค่า 4,905.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือไทยที่ 3,172.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น 944.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ,อินเดีย 836.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สหรัฐอเมริกา 620.59 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เยอรมนี 426.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สเปน 411.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร  385.40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, เนเธอร์แลนด์ 366.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ 305.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนต.ค.62ถึงก.ย.63 ของปีงบประมาณ 2562-2563 การค้าระหว่างเมียนมา-จีนมีมูลค่า 12126.278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออก 5401.943 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้าจาก 6727.335 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

 

ที่มา: https://news-eleven.com/article/232145

New s-curve และ BCG ดึงการลงทุนต่างชาติ ดันยอด FDI แตะ 4-5 แสนล้านบาทต่อปี ในช่วงปี 2565-2567

จากสถานการณ์โควิด-19 ของไทยที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง นำไปสู่การเดินหน้าเปิดประเทศเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นผลดีต่อภาคการท่องเที่ยวแล้ว ยังเป็นปัจจัยบวกต่อบรรยากาศการลงทุน สร้างความเชื่อมั่นดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เพิ่มขึ้น ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics ประเมินการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ของไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีโอกาสแตะ 4-5 แสนล้านบาทต่อปี ในช่วงปี 2565-2567 การลงทุน FDI ทั่วโลกในปี 2564 มีมูลค่า 1.65 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 77 เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีมูลค่าการลงทุน 9.29 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และสูงกว่าช่วงก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2562 โดยยอด FDI ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการขยายตัวในอัตราเร่งของ FDI ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอาเซียนมีการขยายตัวของ FDI ที่ร้อยละ 35  โดยไทยมี FDI อยู่ที่ระดับ 1.14 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับแนวโน้มปี 2565 การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ อังค์ถัด (UNCTAD) คาดการณ์ FDI ทั่วโลกจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แม้เป็นอัตราชะลอตัวจากผลกระทบสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ซึ่งกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ในภูมิภาคเอเชียน่าจะได้รับผลกระทบต่อ FDI ไม่รุนแรง จากกระแสการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนที่มีศักยภาพจำนวนมาก เช่นเดียวกับประเทศไทย

 

ที่มา : https://marketeeronline.co/archives/266557

ผู้คนกว่า 400,000 คนใช้รถไฟลาว-จีนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

รถไฟสายลาว-จีนมีผู้โดยสารมากกว่า 400,000 คนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่มีการขนส่งสินค้ามากกว่า 600,000 ตันข้ามพรมแดนลาว-จีน รถไฟเป็นจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่สำหรับเครือข่ายการขนส่งระหว่างประเทศของลาว และบทบาทในการขนส่งสินค้ามีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันรถไฟวิ่งเฉลี่ยหกครั้งต่อวัน โดยสูงสุดแปดเที่ยวต่อวัน เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารและสถานีรถไฟเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ใช้รถไฟเพื่อเดินทางไปเวียงจันทน์ วังเวียง หลวงพระบาง และสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอื่นๆ ในลาวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทางรถไฟได้สร้างการเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างประเทศที่สะดวกสบายระหว่างจีนและอาเซียน ซึ่งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้อย่างมาก อีกทั้งตามข้อตกลงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคซึ่งมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม ความต้องการขนส่งสินค้าระหว่างจีนและลาวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สถานีขนส่งสินค้าได้เปิดให้บริการที่เวียงจันทน์ใต้ นาเตย วังเวียง หลวงพระบาง และโพนหง เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้ามากขึ้น

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2022_Over110.php

กรุงพนมเปญดึงโครงการลงทุนมูลค่ารวมกว่า 2.26 พันล้านดอลลาร์

Khuong Sreng ผู้ว่าราชการกรุงพนมเปญ รายงานว่า ณ ปัจจุบัน กรุงพนมเปญได้ดึงดูดโครงการลงทุนใหม่รวมประมาณกว่า 1,000 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ก่อสร้าง 4.63 ล้านตารางเมตร ด้วยเงินลงทุนกว่า 2.26 พันล้านดอลลาร์ โดยภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างถือเป็นหนึ่งในโครงการที่มีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือภาคการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และการท่องเที่ยว เป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้นำนโยบายสนับสนุน เช่น กฎหมายการลงทุนและการปฏิรูปเพื่อให้กัมพูชาและเมืองพนมเปญเป็นสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน โดยจากข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง กล่าวว่า อัตราการเติบโตของภาคอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.4 ในปี 2021 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 4.8 ในปี 2022 เนื่องจากการลงทุนและอุปสงค์ภายในประเทศที่แข็งแกร่ง และการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501090915/phnom-penh-attracts-1000-construction-projects-worth-over-2-26-billion/

Q1 การค้าระหว่าง กัมพูชา-ไทย แตะ 2,913 ล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ทั้งสองฝ่ายผ่อนคลายมาตรการและข้อจำกัดที่เกี่ยวกับโควิด-19 นำไปสู่การเปิดพรมแดนซึ่งเอื้อต่อภาคการค้าและนักท่องเที่ยว โดยมูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่าง กัมพูชา-ไทย พุ่งแตะ 2,913 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ไทย ซึ่งคิดเป็นการส่งออกของกัมพูชาที่มูลค่า 458 ล้านดอลลาร์ ไปยังประเทศไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.53 ในขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 2,455 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในปีที่แล้ว การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 7.97 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.26 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาไปยังประเทศไทย ได้แก่ สิ่งทอ สินค้าเกษตร อัญมณี วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป โดยสินค้านำเข้าจากประเทศไทย ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ผัก รถยนต์ ปุ๋ยอินทรีย์ อาหาร และวัสดุก่อสร้าง เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501090713/cambodia-thailand-trade-hits-2913-million-in-q1/

“เวียดนาม” ส่งออกยางพาราฟื้นตัวพุ่งขึ้น

กระทรวงอุตสาหกรรม อ้างรายงานทางสถิติของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกพาราในเดือนพ.ค. อยู่ที่ 111,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 181 ล้านเหรียญสหรัฐ ในแง่ของปริมาณเพิ่มขึ้น 40.4% และในแง่ของมูลค่า เพิ่มขึ้น 27.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตัวเลขข้างต้นนั้น แสดงให้ถึงการปรับตัวพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดยราคาส่งออกยางพาราเฉลี่ย เดือนพ.ค. อยู่ที่ 1,645 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลง 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จีนเป็นผู้นำเข้ายางพาราและยางสังเคราะห์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ทั้งนี้ สมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (ANRPC) คาดการณ์ว่าความต้องการยางพาราทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในเร็วๆนี้ เนื่องจากการผ่อนคลายการจำกัดการเดินทางและการเปิดพรมแดนของประเทศอีกครั้ง ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-rubber-exports-enjoy-drastic-upturn-post949051.vov

การซื้อขายงาดำในตลาดมัณฑะเลย์ เริ่มกลับมาคึกคัก

ผู้ค้างาดำในตลาดมัณฑะเลย์ก เผย ธุรกิจการค้างาดำในฤดูเก็บเกี่ยวเริ่มคึกคัก จากเดิมราคางาดำอยู่ที่ 185,000 จัตต่อถุง (3 ตะกร้า) ราคาเพิ่มขึ้นเป็น 225,000 จัตต่อถุงในปีนี้ โดยผลผลิตทั้งงาดำและงาขาวกำลังไหลทะลักเข้าสู่ตลาดมัณฑะเลย์ เมล็ดงาเหล่านี้ปลูกร่วมกับเครือข่ายชลประทานของแม่น้ำมู บางชนิดปลูกโดยใช้น้ำบาดาล อีกทั้งงาดำยังได้รับไฟเขียวในการส่งออก ในปีนี้งาประมาณร้อยละ 95 ถูกส่งออกไปจีนซึ่งเป็นผู้รับซื้อรายใหญ่ของเมียนมา โดยงามีการปลูกในประเทศตลอดทั้งปีเขตมะกเวถือได้ว่าเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ และยังปลูกในพื้นที่อื่นๆ เช่น เขตมัณฑะเลย์ และเขตซะไกง์ ทั้งนี้การปลูกงาดำใช้เวลาเพาะปลูกเพียง 100 วัน ก็สามารถที่จะเก็บเกี่ยวและวางขายได้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/newly-harvested-black-sesame-trade-bustling-in-mandalay-market/

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว ย้ำฟื้นฟูการท่องเที่ยว

หน่วยงานด้านการท่องเที่ยวให้คำมั่นที่จะขจัดอุปสรรคและปรับปรุงบรรยากาศของธุรกิจการท่องเที่ยวในปีหน้า เพื่อดึงดูดการลงทุนจากภายในลาวและจากต่างประเทศ ลาวมีศักยภาพมหาศาลในการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากขึ้น อันเนื่องมาจากความงามตามธรรมชาติของประเทศ และสถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ Suanesavanh Vignaket รัฐมนตรีว่าการกระทรวงข้อมูล วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รายงานต่อรัฐสภาเมื่อวันพุธ ได้เน้นย้ำถึงความสำเร็จของโครงการ Lao Green Travel Zone ระหว่างการระบาดของโควิด ซึ่งเริ่มต้นขึ้นท่ามกลางความท้าทายที่รุนแรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เธอกล่าวว่า “เราทุกคนต้องทำงานร่วมกันเพื่อเอาชนะวิกฤติและบรรลุเป้าหมายของเรา ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนต้องมีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าเราจะประสบความสำเร็จ” นอกจากนี้ยังมีศักยภาพที่แข็งแกร่งในการใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและการเกษตรให้มากขึ้นเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มากขึ้นและสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เธอกล่าวเสริม ความร่วมมือนี้จะส่งเสริมลาว Thaio Laos ในวงกว้างมากขึ้น เพื่อพยายามฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Minister109.php

กัมพูชาเปิดตัวบริการขนส่งทางทะเลร่วมกับซีแอตเทิล

บริการการขนส่งของท่าเรือพนมเปญ ไปยังจุดหมายปลายทาง เวียดนาม ณ นครโฮจิมินห์ และซีแอตเทิล ที่เพิ่มขึ้น คาดว่าจะช่วยให้ผู้ใช้บริการด้านการขนส่งสินค้าในกัมพูชาสามารถเข้าถึงชายฝั่งทางด้านตะวันตกของสหรัฐฯ โดยใช้เวลาเพียง 25 วัน เร็วกว่าผู้ให้บริการรายอื่นที่ได้ให้บริการในปัจจุบัน ด้วยการลดการพึ่งพารถบรรทุกข้ามพรมแดนที่มีราคาแพง ในเส้นทางระหว่างกัมพูชาไปยังท่าเรือโฮจิมินห์ซิตี้ ซึ่ง UWL ได้ทำสัญญากับ Swire Shipping ผู้ให้บริการเดินเรือทางทะเล เพื่อให้บริการลากจูงตู้คอนเทนเนอร์และเรือบรรทุกสินค้าจากพนมเปญไปยังโฮจิมินห์ โดยคอนเทนเนอร์จะถูกโหลดเข้าสู่หน่วยบริการ Sun Chief เพื่อเป็นการย่นระยะเวลาในการขนส่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501090276/ocean-transportation-service-linking-cambodia-with-seattle-launched/