‘ธนาคารเอดีบี’ ส่งเสริมภาคเอกชนในเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินทุนช่วยเหลือด้านเทคนิค มูลค่า 4.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อช่วยให้รัฐบาลเวียดนามส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมถึงปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ (SOE) โดยความช่วยเหลือดังกล่าว เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับขีดความสามารถของสถาบัน ทั้งนี้ การจัดหาเงินทุน ประกอบไปด้วยเงินช่วยเหลือจำนวน 2.7 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาจากรัฐบาลแคนาดาและเงินทุน 1.9 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาจากรัฐบาลออสเตรเลีย อีกทั้ง โดนัลด์ แลมเบิร์ต ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาคเอกชนหลักของธนาคารเอดีบี กล่าวว่าเวียดนามประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ด้วยการรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/adb-helps-boost-private-sector-development-in-vietnam-871924.vov

สนง.สถิติแห่งชาติเวียดนาม ชี้ไตรมาสสอง โควิด-19 ดันคนกว่าล้านคนตกงาน

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่าการระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 4 นั้น ได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตลาดแรงงานเวียดนาม แรงงานกว่า 1.2 ล้านคนถูกพักงานในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ เพิ่มขึ้นมากกว่า 87,000 คน เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ซึ่งหากแบ่งช่วงอายุแรงงาน พบว่าตั้งแต่เดือนเม.ย.-มิ.ย. แรงงานที่อยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปี ตกงานกว่า 389,000 คน คิดเป็น 21.8% ของแรงงานทั้งหมด ทั้งนี้ อัตราการว่างงานในเมืองอยู่ที่ 2.8% สูงกว่าชนบทที่ 2.49% โดยการระบาดในครั้งนี้ ทำให้รายได้ของแรงงานที่อยู่ในภาคเศรษฐกิจเกือบทั้งหมดลงลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลง 226,000 ดอง (10 เหรียญสหรัฐ) จากไตรมาสแรก อีกทั้ง ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างได้รับผลกระทบมากที่สุด ลดลงประมาณ 464,000 ดอง (20 เหรียญสหรัฐ) จนถึง 6.7 ล้านดอง (290 เหรียญสหรัฐ) ต่อเดือน รองลงมาภาคบริการ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/covid-19-drives-millions-of-people-out-of-jobs-in-q2-gso-317960.html

9 เดือนแรกของปีงบ 63-64 เมียนมาส่งออกถั่วแระไปแล้วกว่า 136,000 ตัน

ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2563 ถึง 26 มิ.ย.2564 เมียนมาส่งออกถั่วแระกว่า 136,632 ตันในปีงบประมาณปัจจุบัน 2563-2564 สร้างรายได้เข้าประเทศ 91.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ถั่วแระส่วนใหญ่จัดส่งไปยังอินเดียซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ จะมีส่งออกไปสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซียด้วย แต่มีปริมาณไม่มากนัก เมียนมาส่งออกถั่วดำ 250,000 ตันและถั่วแระ 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G to G (รัฐถึงรัฐ) ในปีงบประมาณ 2564-2565 และปีงบประมาณ 2568-2569 ทั้งนี้การค้าแบบ G-to-G ได้เริ่มต้นในปี 2559 และทั้งสองประเทศได้ลงนาม MoU เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2560-2561 เมียนมาส่งออกส่งถั่วดำ ถั่วแระ และถั่วเขียวเขียวกว่าล้านตันไปยังตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม รายได้ขึ้นทะเบียนเพียง 713 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากราคาลดลง ทั้งนี้เมียนมาส่งออกถั่วชนิดต่างๆ กว่า 1.6 ล้านตัน สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-136000-tonnes-of-pigeon-peas-as-of-25-june/

อาเซียนและ FMs รัสเซียให้คำมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือในภาคสาธารณสุข

บรรดาชาติอาเซียนและรัสเซียได้ให้คำมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนและยารักษาโรค และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด สมาชิกในกลุ่มอาเซียนจะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการและแผนปฏิบัติการภายใต้กรอบความร่วมมืออาเซียน-รัสเซีย ซึ่งครอบคลุมด้านการเมือง ความมั่นคง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจทั้งนี้ในที่ประชุมยังได้มีการหารือเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของกลุ่มสมาชิกอาเซียนเพื่อลองรับการขยายของกลุ่มเศรษฐกิจในอนาคต

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean131.php

การค้าระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้ขยายตัวในช่วง 5 เดือนแรกของปี

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่ารวม 377 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รายงานโดยสมาคมการค้าระหว่างประเทศแห่งเกาหลี แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่มกราคมถึงพฤษภาคมกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่ารวม 139 ล้านดอลลาร์ ไปยังเกาหลีใต้ ซึ่งหดตัวลงร้อยละ 0.4 ในทางกลับกันกัมพูชาได้ทำการนำเข้าสินค้ามูลค่ารวม 237 ล้านดอลลาร์จากเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า สินค้าการเดินทาง เครื่องดื่ม ยาง ยา สินค้าเกษตรและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญจากเกาหลีใต้ ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ครัว และผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น ซึ่งปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้ ณ สิ้นปี 2019 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 884 ล้านดอลลาร์ หดตัวร้อยละ 17 จาก 1,032 ล้านดอลลาร์ในปี 2018

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50888595/cambodia-south-korea-trade-rises-to-377-million-in-first-five-months/

กัมพูชาส่งออกสุทธิเกือบ 6 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสุทธิมูลค่ารวมกว่า 5.982 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2021 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลจากการเติบโตของผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม รายงานโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง (MEF) ซึ่งระบุว่าการส่งออกเสื้อผ้าลดลงในช่วงเวลาดังกล่าว แต่ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม เช่น จักรยาน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยสินค้าเกษตรกลับปรับตัวขยายเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับตัวเลขจากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ที่แสดงให้เห็นว่าการส่งออกสินค้าเกษตรของกัมพูชามีมูลค่ารวมถึง 2.571 พันล้านดอลลาร์ในช่วงหกเดือนแรกของปีนี้ ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน ไปจนถึงการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้นอย่างมาก จนส่งผลทำให้การค้าทั่วโลกชะลอตัวลงตามไปด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50888882/exports-net-nearly-6-billion-in-first-five-months-of-year/

ผู้เชี่ยวชาญการค้าชี้สหรัฐอาจเสียประโยชน์ขณะที่อาเซียน+5 มุ่งหน้าให้สัตยาบันข้อตกลง RCEP

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วประเทศสมาชิกของสมาคมอาเซียน 10 ประเทศกับประเทศคู่ค้าอีกห้ารายคือ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ได้สรุปความตกลงการเจรจาการค้าเสรี RCEP หรือข้อตกลงหุ้นส่วนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคระหว่างสมาคมอาเซียนกับห้าประเทศคู่ค้า ซึ่งโดยรวมแล้วครอบคลุมผลผลิตทางเศรษฐกิจประมาณ 30% ของโลก และขณะนี้จีน ญี่ปุ่น กับประเทศสมาชิกอาเซียนสองประเทศได้ให้สัตยาบันรับรองไปแล้ว ด้านนักวิเคราะห์ด้านการค้าบางคน เช่น คุณ Patrick Quirk จากสถาบัน International Republican Institute ได้ชี้ว่าสหรัฐฯ อาจจะเสียเปรียบเพราะข้อตกลง RCEP จะเปิดโอกาสให้จีนมีอิทธิพลด้านการค้าและเพิ่มระดับการพึ่งพาทางเศรษฐกิจกับประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มากขึ้น ส่วน Jeffrey Wilson ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของศูนย์ Perth USAsia Center ในออสเตรเลียเห็นว่าถึงแม้ข้อตกลง RCEP จะส่งผลให้กลุ่มประเทศสมาชิกมีปริมาณการค้ากับภูมิภาคภายนอกซึ่งรวมถึงสหรัฐฯ น้อยลงก็ตาม แต่ RCEP ก็น่าจะช่วยเน้นย้ำเรื่องความสำคัญของระบบการค้าโลกได้

ที่มา : https://www.voathai.com/a/business-news-ct/5956167.html