คุมเข้มทุเรียนเพื่อนบ้านสวมสิทธิทุเรียนไทยส่งออกจีน

กรมการค้าต่างประเทศ สั่งคุมเข้มทุเรียนเพื่อนบ้านสวมสิทธิทุเรียนไทยส่งออกไปจีน ห่วงกระทบภาพลักษณ์ทุเรียน นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า  กรมฯ ได้รับแจ้งให้สำนักงานพาณิชย์ และผู้ส่งออกจังหวัดจันทบุรีเร่งตรวจสอบ หลังพบว่ามีการนำเข้าทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน มาสวมสิทธิเป็นทุเรียนไทย พร้อมกับใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งถือเป็นการปลอมแปลงถิ่นกำเนิด และส่งผลต่อภาพลักษณ์รวมถึงชื่อเสียงของทุเรียนไทย “เพื่อป้องกันการสวมสิทธิทุเรียนไทย และป้องกันการแอบอ้างถิ่นกำเนิด กรมฯ จึงได้ดำเนินการเพิ่มสินค้าทุเรียนในบัญชีรายการสินค้าเฝ้าระวัง ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนในการพิจารณาออกหนังสือรับรองฯ เข้มงวดและรัดกุมยิ่งขึ้น” หรับสินค้าทุเรียนที่ถูกสวมสิทธินั้น ประกอบด้วย ทุเรียนสด  พิกัดศุลกากร 0810.60 และทุเรียนแช่แข็ง  พิกัดศุลกากร 0811.90 ซึ่งกรมฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติในการออกหนังสือรับรองฯ ทุกประเภท สำหรับสินค้าทุเรียนดังกล่าว โดยให้ผู้ยื่นขอหนังสือรับรองฯ ต้องระบุข้อความยืนยันแหล่งที่มาของทุเรียนในประเทศที่ขอรับหนังสือรับรองฯ เพิ่มเติมลงในแบบขอรับการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพื่อขอใช้สิทธิพิเศษทางด้านภาษีศุลกากร  ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค.63 เป็นต้นไป นายกีรติกล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าว จะเป็นการดำเนินงานเชิงรุกในการป้องกันการสวมสิทธิและการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้าทุเรียน เพื่อให้ไทยได้รับความเชื่อถือและความมั่นใจจากประเทศคู่ค้าว่า ทุเรียนที่ส่งออกจากไทยเป็นทุเรียนที่มีถิ่นกำเนิดไทยจริง โดยจากสถิติการส่งออกทุเรียนสดและทุเรียนแช่แข็งของไทย ปี 63 (ม.ค.-ต.ค.) ปริมาณรวม 631,394 ตัน มูลค่า 69,153 ล้านบาท ปริมาณลดลง 4.2% แต่มูลค่าเพิ่มขึ้น 42.9%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 62 โดยส่งออกไปยังประเทศ 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน ฮ่องกง และเวียดนาม ตามลำดับ

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/818113

เวียดนามเดินหน้าสู่ศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ

นาย Nguyen Chi Dung รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าหลังจากล่าช้ามาหลายปี เวียดนามก็เริ่มดำเนินก่อตั้งศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ ตามแผนในปีนี้  ซึ่งในปัจจุบัน เวียดนามได้รับโอกาสอีกครั้ง ในการจัดตั้งศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศ (IFC) และเมืองสำคัญ อาทิ เมืองโฮจิมินห์ และดานัง เป็นต้น ศูนย์กลาง IFC จะดึงดูดเงินทุนระหว่างประเทศและเพิ่มรายได้ของรัฐบาล ทั้งนี้ ศูนย์กลางทางการเงิน จะกระจายไปทั้งทั่วภูมิภาคหรือเมืองที่พร้อมด้านการบริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบ และสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ได้โดยตรงจากกลุ่มธนาคาร บริษัทประกัน กองทุนเพื่อการลงทุนและตลาดทุนที่จดทะเบียน ด้วยเหตุนี้ จะช่วยให้บริษัท องค์กรและผู้คนจากทั่วโลก เข้ามาใช้ประโยชน์จากการจัดหาเงินทุนในห่วงโซ่อุปทานและการจัดการความเสี่ยง

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-to-begin-work-on-international-financial-center-in-earnest-4218770.html

เวียดนามเผยอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คาดว่ายอดขายในประเทศพุ่ง แต่ส่งออกชะลอตัว

ตามรายงานของ SSI Research เปิดเผยว่าความต้องการปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นประมาณ 5-7% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปี 63 โดยยอดขายในประเทศที่เพิ่มขึ้นนั้น ส่วนใหญ่มาจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) รวมถึงการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ล้วนส่งผลให้ความต้องการปูนซีเมนต์พุ่ง ในขณะที่การส่งออกปูนซีเมนต์ คาดว่าอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง/ทรงตัว เนื่องจากความต้องการนำเข้าของจีนยังอยู่ในระดับสูง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ตามคงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นการเติบโตสูงขึ้นในปี 63 เป็นผลมาจากอุปทานปูนซีเมนต์ของจีนที่กำลังค่อยๆฟื้นตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตรวมของอุตสาหกรรมดังกล่าว จะเพิ่มขึ้น 7 ล้านตัน หรือ 7% เนื่องจากสายการผลิตใหม่ที่เริ่มเปิดดำเนินการในปลายปี 63 และต้นปีนี้ สำหรับการส่งออกของอุตสาหกรรมดังกล่าวนั้น พบว่าอุตฯ พึ่งพาตลาดจีนค่อนข้างมาก และสิ่งที่น่าเป็นห่วง คือการปรับนโยบายการคลังที่เข็มงวดขึ้นในอนาคตข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/855281/cement-industry-domestic-sale-forecast-to-increase-but-export-to-slowdown.html

FTA ดันส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นมไปตลาดโลกโต 5%

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า เอฟทีเอหนุนส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทย 11 เดือน ปี 2563 ขยายตัว 5% มูลค่าส่งออกกว่า 516 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย 94% เป็นการส่งออกไปประเทศคู่          เอฟทีเอ พบว่านมและผลิตภัณฑ์นมซึ่งเป็นหนึ่งในสินค้าดาวรุ่งของไทยมีการพัฒนาและยังปรับตัวได้ดีท่ามกลางกระแสการค้าโลกที่มีความท้าทายสูง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยไปตลาดโลกเพิ่มขึ้น      คืออุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นมของไทยมีศักยภาพในการผลิตและมีคุณภาพที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในอาเซียน สินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยจึงเป็นที่นิยมและมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมนมในอาเซียน ทั้งนีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันซึ่งภายใต้ความตกลงการค้าเสรีของไทยสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมทุกรายการที่ส่งออกจากไทยได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าแล้วจาก 14 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ชิลี และฮ่องกง ส่วนอีก 4 ประเทศ ได้ลดภาษีนำเข้าสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมให้ไทยบางส่วนแต่ยังเก็บภาษีนำเข้าในบางสินค้า เพื่อสร้างโอกาสขยายการส่งออกและขยายตลาดให้กับสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมของไทยได้เพิ่มขึ้น กระทรวงพาณิชย์มีแผนจะจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (Online Business Matching) ระหว่างผู้ประกอบการโคนมแปรรูปของไทยกับผู้นำเข้า ผู้กระจายสินค้า ผู้แทนห้างค้าส่ง/ค้าปลีก ในตลาดจีนเพื่อขยายมูลค่าการค้าของผลิตภัณฑ์นมให้สูงขึ้น

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3189424

เวียดนามประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการส่งออกข้าว แม้มีการหยุดชะงัก

เมื่อวันที่ 6 ม.ค. กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าแถลงการณ์ว่าในปี 2563 เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 6.15 ล้านตัน หรือเป็นมูลค่า 3.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าปริมาณการส่งออกข้าวจะลดลงราว 3.5% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากด้านความมั่งคงทางอาหารของประเทศ แต่มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 9.3% อีกทั้ง ราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยทั้งปี อยู่ที่ประมาณ 499 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้น 13.3% เมื่อเทียบกับปี 2562 ข้อมูลข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าเป็นราคาเฉลี่ยทั้งปีที่สูงที่สุดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลประโยชน์แก่ชาวเกษตรกรเวียดนาม อย่างไรก็ตาม โครงสร้างการส่งออกข้าวของเวียดนาม ยังคงใช้ข้าวที่มีคุณภาพสูง ด้วยราคาขายและมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ตามรายงานของสมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) ระบุว่าในปี 2563 เป็นปีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการส่งออกข้าวของเวียดนาม เหตุจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในหลายๆประเทศ และความสามารถทางการแข่งขันของเวียดนามที่ดีขึ้นในตลาดโลก ถึงแม้ว่าโควิด-19 ระบาดไปยังทั่วโลก แต่ผู้ส่งออกข้าวได้ทำการปรับเปลี่ยนกิจกรรมและแสดงหาตลาดใหม่ รวมถึงนำข้อได้เปรียบจากการที่ลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ใช้ออกมาอย่างเต็มที่

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-rice-exports-win-big-despite-one-month-interuption-27137.html

เศรษฐกิจเวียดนามสดใส ปี 63 แม้เผชิญโควิด-19

เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสดใส ด้วยอัตราการขยายตัว 2.91% ในปี 2563 เนื่องมาจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชน กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปีนี้ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจ (CEBR) กล่าวว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะก้าวขึ้นไปอยู่อันดับที่ 19 ของโลกภายในปี 2578 และคาดว่าการเติบโตของ GDP เฉลี่ยจะอยู่ที่ 7% ในช่วงปี 2564-2568 และในอีก 10 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจเวียดนามจะโตเฉลี่ย 6.6% ในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวบีบีซีอังกฤษรายงานด้วยว่าเวียดนามได้รับความเสียหายจากโควิด-19 น้อยที่สุด และเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเติบโตในเชิงบวกในปี 2563

  ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-economic-bright-spot-in-2020-829244.vov

บ.อินเดีย เริ่มซ่อมถนนชายแดนมิตรภาพอินเดีย – เมียนมา

เมียนมามีแผนจะซ่อมแซมสะพาน 69 แห่งที่อยู่บนถนนชายแดนกะเล่ถึงตามู นอกจากสะพานแล้วบางส่วนของถนนกะเล่-กะเล่วะก็จะได้รับการปรับปรุงด้วย ก่อนหน้านี้บริษัทอินเดียแห่งหนึ่งชนะการประกวดราคา แต่ถูกเพิกถอนเนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการยื่นประมูล รัฐบาลอินเดียได้จัดให้มีการประกวดราคาครั้งใหม่ กระทรวงการก่อสร้างของเมียนมาจะเตรียมการเพื่อยื่นเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเมียนมา (Hluttaw) ถนนกะเล่วะ – ญาจี บนเส้นทางการค้าชายแดนเมียนมา – อินเดียเป็นส่วนที่สั้นที่สุดโดยมีระยะทาง 115 ไมล์ ถนนสร้างขึ้นในปี 2543 ถนนข้ามสะพาน 175 แห่งและท่อระบายน้ำ 183 แห่ง เปิดใช้ในปี 2547 แต่เสื่อมโทรมลงทำให้รถบรรทุกไม่สามารถวิ่งได้ บริษัท IMT Expressway ของอินเดียคาดว่าจะซ่อมบำรุงอย่างหนักภายในปี 2564 นี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/india-myanmar-friendship-road-repairs-works.html

สปป.ลาวจะส่งออกข้าว 2,000 ตันไปยังจีนตามโควต้าที่ได้รับ

สปป.ลาวมีแผนส่งข้าวขัดมัน 2,000 ตันไปยังจีนในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงโควต้าการค้าระหว่างรัฐบาลสปป.ลาวและจีน จากรายงานเวียงจันทน์ไทมส์เมื่อวันพุธ (6 ม.ค. ) โดยอ้างจากกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของสปป.ลาว ข้อตกลงการค้าข้าวขัดมันของสปป.ลาวกับจีนจะบรรลุเป้าหมายทั้งหมดภายในสิ้นปี 2564 ถึงแม้จะมีความท้าทายจากการระบาดของโรคโควิด -19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดสำหรับสปป.ลาว รายได้ของสปป.ลาวจากการส่งออกข้าวขัดมันไปยังจีนจากกรอบความร่วมมือดังกล่าวช่วยทำให้มูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.thestar.com.my/aseanplus/aseanplus-news/2021/01/07/laos-to-export-2000-tonnes-of-rice-to-china-in-january