บริษัทจัดการด้านพลังงานระดับโลกลงสนามอุสาหกรรมพลังงานภายในกัมพูชา

บริษัทจัดการพลังงานระดับโลก Eaton ประกาศว่าได้ร่วมมือกับ One Stop Solution Electric (OSS) ในฐานะตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์จัดการด้านพลังงานไฟฟ้าแรงต่ำที่จะจำหน่ายในตลาดกัมพูชา โดยความร่วมมือนี้จะเริ่มต้นในเดือนนี้และจะช่วยในการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ และสร้างความน่าเชื่อถือสำหรับภาคการก่อสร้างที่เติบโตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งรัฐบาลกัมพูชามีเป้าหมายที่จะขยายและนำส่งกระแสไฟฟ้าไปยังทั่วทั้งประเทศในอนาคต ซึ่ง OSS จะเป็นช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการของซีรี่ส์ Moeller ของ Eaton ในช่วงแรงดันไฟฟ้าต่ำ เช่น เบรกเกอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก โดยถือเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างพื้นฐานการจัดการพลังงานของอาคาร ซึ่งผลิตภัณฑ์สำหรับตลาดไฟฟ้าในท้องถิ่นมีการเติบโตอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 2010 เนื่องจากรายงานความก้าวหน้าด้านพลังงานของธนาคารโลกที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว แสดงให้เห็นว่ากัมพูชาใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8 ต่อปีตั้งแต่ปี 2010

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779435/power-management-company-enters-market-promoting-reliability/

เกาะติด CLMV อีกหนึ่งคู่ค้าสำคัญของไทย

หลายฝ่ายปรับประมาณการการส่งออกในปีนี้ว่าอาจจะติดลบน้อยลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 7 จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบร้อยละ 8-10 เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของคู่ค้าสำคัญของไทยนั้นปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะจีน และหลายประเทศในเอเชีย อย่างไรก็ตามอีกตลาดสำคัญของไทยคือ กลุ่มประเทศ (CLMV) กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และ เวียดนาม ก็ต้องใส่ใจและติดตามอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกันว่าภาวะเศรษฐกิจในกลุ่มนี้นั้นฟื้นตัวได้ดีขนาดไหน มีกำลังซื้อสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นหรือยัง ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2020 หลังเริ่มคลายมาตรการ lockdown ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ปี 2020 แม้กัมพูชา และ สปป.ลาว สามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จ แต่เมียนมาและเวียดนาม กลับเผชิญการระบาดระลอกใหม่ของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 โดยเวียดนาม กลับมาประกาศใช้มาตรการ lockdown ในบางพื้นที่และสามารถควบคุมการระบาดได้สำเร็จในเดือนสิงหาคม ขณะที่เมียนมายังคงได้รับผลกระทบอย่างมากจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่เดือนกันยายน ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ยังคงฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง สำหรับการค้าชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาลาว และเมียนมา หดตัวน้อยลงทั้ง 3 ประเทศตามมูลค่าการค้าโดยรวมของไทยแม้ว่าจะยังมีข้อจำกัดต่างๆ ในด่านตรวจสินค้าชายแดนของไทย

ที่มา : https://www.naewna.com/business/columnist/45810

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนี CPI เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนต.ค.

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ทั้งนี้ 6 ใน 11 รายการของกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การศึกษา (1.35%), ที่พักอาศัยและวัสดุก่อสร้าง (0.29%), เครื่องดื่มและบุหรี่ (0.08%), เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (0.06%), ยาเวชภัณฑ์และบริการทางสุขภาพ (0.01%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.09%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว ในขณะที่ อุปกรณ์ครัวเรือนอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง

อีก 4 รายการที่ลดลง ได้แก่  บริการโทรคมนาคม (-0.03%), การขนส่ง (-0.08%), ภัตตาคารและการจัดบริการงานเลี้ยง (-0.13%) และวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (-0.18%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-in-october-inches-up-009-percent/189664.vnp

สำรวจเศรษฐกิจกลุ่ม CLMV ยัง ‘ฟื้นตัว’ แตกต่างกันจากพิษโควิด-19

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและธุรกิจ (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ระบุว่า เศรษฐกิจกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ส่งสัญญาณฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 ปี 2563 หลังเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน 2563 ทั้งนี้เศรษฐกิจ CLMV ยังคงฟื้นตัวช้าและไม่ทั่วถึง โดยระดับการฟื้นตัวที่แตกต่างกันมากขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการฟื้นตัวแบบช้าๆ และไม่ทั่วถึงของเศรษฐกิจโลก อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้น ระดับการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 และประสิทธิภาพของมาตรการรองรับ รวมทั้งปัจจัยเฉพาะในรายประเทศที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ โดยเศรษฐกิจเวียดนามกลับมาฟื้นตัวได้ดี ด้วยแรงหนุนจากการส่งออกที่แข็งแกร่ง ในขณะเดียวกันเศรษฐกิจลาวยังเผชิญแรงกดดันจากข้อจำกัดในการทำนโยบายการคลัง (Fiscal Space) และความเสี่ยงที่สูงขึ้นในประเด็นการผิดชำระหนี้ สำหรับเมียนมา การระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 และมาตรการล็อกดาวน์ที่กลับมาเข้มงวดขึ้น ส่งผลให้เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มฟื้นตัวต่ำกว่าคาดการณ์ในปีงบประมาณ 2020/2021

ที่มา : https://thestandard.co/the-clmv-economic-survey-continued-to-recover/

โฮจิมินห์เปิดตัวแผนทางการเงิน ปี 2573

สำนักงานประจำนครโฮจิมินห์ ได้จัดทำแผนเกี่ยวกับการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ทางการเงินที่มี่เนื้อหาครอบคลุมแผนระดับชาติในปี 2563 มีวิสัยทัศน์ถึงปี 2573 โดยแผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนและธุรกิจสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินได้อย่างปลอดภัย สะดวกและราคาไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม ภายในปี 2568 วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมืองอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง จะต้องกู้ยืมเงินจากสถาบันให้สินเชื่อ ด้วยหนี้ค้างชำระให้บริการทางการเกษตรและการพัฒนาชนบท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7 ของหนี้คงค้างทั้งหมด นอกจากนี้ โฮจิมินห์มองว่าการบริการทางการเงินที่หลากหลาย จะช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้นแก่ผู้คนและธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ที่อาศัยอยู่ในชนบทและนอกเมือง รวมถึงกลุ่มที่มีรายได้น้อยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ยิ่งไปกว่านั้น การนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม จะช่วยให้ประเทศก้าวไปข้างหน้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-rolls-out-financial-plan-to-2030/189729.vnp

เวียดนามเผยเดือนต.ค. ภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว

จากการสำรวจของ HIS Markit เปิดเผยว่าในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนามจะฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) สำหรับภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนต.ค. อยู่ที่ระดับ 51.8 จุด ถึงแม้ว่าดัชนีปรับตัวลดลงจาก 52.2 จุดในเดือนก.ย. แต่ยังคงอยู่ในทิศทางที่เป็นบวก อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จในการควบคุมโควิด-19 ในเวียดนาม ช่วยให้ความต้องการซื้อของลูกค้ากลับมาฟื้นตัว และเป็นเหตุให้การสั่งซื้อใหม่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน คำสั่งซื้อจากผู้ซื้อในต่างประเทศใหม่ ยังอยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากความต้องการลดลงในตลาดต่างประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสอย่างรุนแรง โดยเฉพาะยุโรป ในขณะเดียวกัน การระบาดของเชื้อไวรัส ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานในเดือนต.ค. จากปัญหาระยะเวลาในการจัดส่งของซัพพลายเออร์ที่นานขึ้น การขาดแคลนของวัตถุดิบและสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการขนส่ง ทั้งนี้ นาย Andrew Harker ผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจศาสตร์ของ IHS Markit กล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมของเวียดนามจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ด้วยรากฐานที่มั่งคง และจากข้อมูลของดัชนีข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าภาคอุตฯ ยังคงขยายตัวได้ดีตราบเท่าที่สามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสได้ และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดโรคระบาด การจ้างงานเริ่มส่งสัญญาฟื้นตัว

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/804155/vietnamese-manufacturing-continues-recovery-in-october.html