เมียนมาคาดราคาน้ำตาลพุ่งตามราคาตลาดโลก

ผู้ค้าน้ำตาลในเมียนมาคาดราคาน้ำตลาดจะสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าเนื่องจากความต้องการทั่วโลกที่สูงขึ้นและการระบาดของ COVID-19 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงักนำไปสู่การขาดแคลนในบางส่วนของโลกรวมถึงจีน เมียนพยายามมานานหลายปีจะต้องการจะเพิ่มการผลิตน้ำตาล แต่ก่อนหน้ามีข้อกำหนดทางศุลกากรที่เข้มงวดการส่งออกน้ำตาลไปยังจีนจึงหยุดชะงักไปเมื่อต้นปี ขณะเดียวกันชาวไร่อ้อยในพื้นที่ก็ต้องลดการผลิตลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สต๊อกน้ำตาลก่อนหน้านี้ที่เมืองชายแดนมูเซถูกขายจนหมด นอกจากนี้ยังมีความต้องการน้ำเชื่อมบางส่วนจากจีนด้วยเช่นกัน ซึ่งปริมาณสำรองน้ำตาลทั่วโลกกำลังลดลงและราคาสูงขึ้น กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาได้หารือกับโรงงานน้ำตาลไปเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมเกี่ยวกับการกำหนดราคาขั้นต่ำอ้อยก่อนสิ้นเดือนนี้ก่อนฤดูการหีบอ้อยจะเริ่มขึ้น ปัจจุบันราคาอ้อยอย่างเป็นทางการอยู่ที่ 42,000 จัตต่อตัน ในอนาคตอาจจะไม่ต่ำกว่า 40,000 จัตต่อตันซึ่งหนุนราคาท้องถิ่นให้สูงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เมื่อสต็อกในท้องถิ่นลดลงและพื้นที่เพาะปลูกลดลงราคาอ้อยและน้ำตาลอาจเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า ก่อนหน้านี้เมียนมาส่งออกน้ำตาลทรายดิบไปยังจีนแต่เนื่องจากข้อจำกัดการนำเข้าและการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายทำให้ชาวไร่ค่อยๆ เลิกปลูกอ้อยมากขึ้น ในความเป็นจริงคนวงในคาดการณ์การหดตัวของพื้นที่เพาะในปีงบประมาณ 63-64 เหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ลดลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับ 7 ปีที่แล้วและต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะเดียวกันก็มีนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เนื่องจากโรงงานน้ำตาลมีเพียง 2 แห่งจาก 29 แห่งที่สามารถผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ ปีงบประมาณ 62-63 มีการนำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มากกว่า 57,000 ตันซึ่งน้อยกว่าก่อนหน้านี้ประมาณร้อยละ 40-50 เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นและข้อจำกัดของรัฐบาลเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-anticipates-higher-sugar-prices-demand-rises.html

รมว.คลัง เตรียมใช้มาตรการภาษี ดึงทุนต่างชาติ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้เตรียมมาตรการทางภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้น หลังจากเปิดประเทศเต็มรูปแบบแล้ว ด้วยการปรับโครงสร้างภาษี เพื่อสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน ให้มีขีดความสามารถในแข่งขันเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการดูแลเป็นรายธุรกิจ เพิ่มเติมจากการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) “ระยะสั้นหลังเปิดประเทศ เราจะเน้นไปที่การช่วยเหลือประชาชนและภาคเอกชน ส่วนระยะยาว เราจะใช้มาตรการภาษีเข้ามาสนับสนุนให้เกิดการลงทุนมากขึ้น เพิ่มเติมจากของ BOI ที่เป็นมาตรการทั่วไป ตัวที่เพิ่มให้ต้องเจาะจงเป็นรายพื้นที่ ซึ่งในหลายประเทศก็ทำกัน”นายอาคม กล่าว

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/money_market/453343?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปส่วนใหญ่ 81% มองว่ามีแนวโน้มที่ดี

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (GSO) เปิดเผยผลสำรวจภาวะการดำเนินงานของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจในประเทศส่วนใหญ่คาดว่าการดำเนินงานดีขึ้นหรือยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเท่าไรนักเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3

สถานการณ์การดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ (ร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง)

  • โดยภาพรวม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 45.6 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น รองลงมาร้อยละ 35.4 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 19 แย่ลง
  • ธุรกิจ FDI ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 82.8 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 17.2 แย่ลง
  • รัฐวิสาหกิจ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 81.7 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 18.3 แย่ลง
  • ธุรกิจภาคเอกชน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 80.2 มองว่าการดำเนินธุรกิจดีขึ้น และร้อยละ 19.8 แย่ลง

.ผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ (ร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง)

  • ปริมาณการผลิต ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 45.9 มองว่าปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น รองลงมาร้อยละ 36.6 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 17.5 ลดลง
  • ยอดคำสั่งซื้อ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 43.2 มองว่ายอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รองลงมาร้อยละ 39.1 ไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม และร้อยละ 17.7 ลดลง
  • ยอดคำสั่งซื้อเพื่อส่งออก ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ร้อยละ 44 มองว่ายอดคำสั่งซื้อเพื่อส่งออกไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม รองลงมาร้อยละ 35.6 เพิ่มขึ้น และร้อยละ 20.4 ลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/81-processingmanufacturing-firms-optimistic-about-business-outlook/188531.vnp

กนอ.เปิดยุทธศาสตร์5ปีตั้งตัวเป็นหน่วยงานหนุนการลงทุน

5 ต.ค. 2563 นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) เปิดเผยในงานสัมมนาทิศทางและแผนยุทธศาสตร์ กนอ. ประจำปีงบประมาณ 2564 ว่า กนอ.จะเดินหน้าแผนยุทธศาสตร์ กนอ. ระยะ 5 ปี(2564-68) วงเงินลงทุนประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนกนอ.ให้เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนการลงทุนของประเทศให้สอดรับเทคโนโลยี 5 จีเป็นดิจิทัลแพลตฟอร์มที่เป็นเทรนด์ของทั่วโลก ส่งผลให้นิคมอุตสาหกรรมของไทยติดอันดับ 1 ใน 3 ของอาเซียน วงเงินลงทุนของกนอ.ช่วง 5 ปี ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในท่าเรือมาบตาพุดเฟส3 ขณะที่ปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ประมาณ 1,200 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนนิคมฯสมาร์ทปาร์คช่วงเริ่มก่อสร้าง 800 ล้านบาท ลงทุนด้านดิจิทัล 200 ล้านบาท และอื่นๆ 200 ล้านบาทสำหรับความร่วมมือกับผู้พัฒนาเทคโนโลยี 5 จีในนิคมอุตสาหกรรม เบื้องต้นตามยุทธศาสตร์นี้กนอ.จะนำ 5 จีมาพัฒนานิคมฯของกนอ.รวม 5 แห่ง ประกอบด้วย นิคมฯมาบตาพุด นิคมฯแหลมฉบัง นิคมฯบางปู นิคมฯลาดกระบัง นิคมฯภาคเหนือ รองรับการลงทุนอในอุตสาหกรรมเป้าหมาย(เอส-เคิร์ฟ) ขณะที่นิคมฯของภาคเอกชนอยู่ระหว่างการพัฒนาเช่นกัน  

ที่มา : https://www.thaipost.net/main/detail/80656

ผลสำรวจชี้ธุรกิจในเวียดนามขึ้นเงินเดือนในปี 63 ต่ำสุดในรอบ 10 ปี

จากผลการสำรวจของเมอร์เซอร์ (Mercer) ในโครงการสำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการ (TRS) ได้เปิดเผยว่าบริษัทข้ามชาติ (MNCs) และบริษัทเวียดนามปรับเพิ่มเงินเดือนร้อยละ 6.5 และร้อยละ 5.2 ในปีนี้ และคาดว่าในปีหน้า จะเพิ่มเงินเดือนร้อยละ 7 และ 7.7 ตามลำดับ ในขณะที่ นาย Hoa Nguyễn หัวหน้าอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ด้านโซลูชั่นทุนมนุษย์ กล่าวว่าบริษัทข้ามชาติและบริษัทในท้องถิ่นร้อยละ 14, 34 ไม่ได้เพิ่มเงินเดือนในปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเชื้อ COVID-19 นับว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าจะสูงกว่าเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ ธุรกิจน้ำมัน เหมืองแร่ ธนาคารและอุตสาหกรรมจัดหา มีการปรับเพิ่มเงินเดือนต่ำที่สุด ด้วยร้อยละ 2, 1, 5 และ 6 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ธุรกิจในกลุ่มธนาคารและสถาบันการเงินที่มิใช้ธนาคาร รวมถึงธุรกิจในกลุ่มวิทยาศาสตร์ จ่ายโบนัสสูงสุดร้อยละ 22.4, 20.1 และ 18.6 ตามลำดับ นอกจากนี้ ผุ้อำนวยการวิเคราะห์ด้านโซลูชั่นทุนมนุษย์ กล่าวว่าถึงแม้ธุรกิจจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 แต่ธุรกิจร้อยละ 13 ยังคงจ่ายเงินโบนัสให้กับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส ในขณะเดียวกัน เมื่อพูดถึงเทรนด์การสรรหาบุคลากรในปี 2564 พบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 55 คาดว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง รองลงมาร้อยละ 40 วางแผนที่จะเพิ่มพนักงานในปีหน้า และร้อยละ 5 ลด/ปลดพนักงานลง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/793465/salary-increases-in-2020-lowest-in-10-years-survey.html

EVFTA เป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดค้าปลีกเวียดนาม

ความได้เปรียบจากการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรียุคใหม่ อาทิ ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) คาดว่าจะเป็นแรงผลักดันใหม่สำหรับตลาดค้าปลีกในท้องถิ่นที่จะเติบโตดีขึ้น ท่ามกลางการระบาดของโรค COVID-19 ในขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์มองว่าเวียดนามประสบความสำเร็จจากการควบคุม COVID-19 ควบคู่กับการใช้ FTA ด้วยปัจจัยดังกล่าว ช่วยให้เวียดนามเป็นแม่เหล็กในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจากการประเมิน ชี้ว่าเม็ดเงิน FDI ยังคงไหลเข้าไปยังตลาดค้าปลีกในประเทศ ถือว่าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงการใช้จ่ายของครัวเรือนในท้องถิ่น คาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 10.5 ต่อปี และคาดว่าจะสูงถึง 714 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนในปีนี้ อีกทั้ง ตลาดค้าปลีกในเวียดนามได้รับสัญญาไปในทิศทางที่เป็นบวก หลังจากดึงดูดผู้ค้าปลีกจากเกาหลีใต้ ไทยและญี่ปุ่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

  ที่มา : https://vov.vn/en/economy/evfta-poised-to-become-driving-force-for-retail-market-growth-786276.vov

ธุรกิจท่องเที่ยวลดราคาเพื่อแสวงหานักท่อง เที่ยวในท้องถิ่น

ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวและการบริการได้ลดค่าใช้จ่ายในการให้บริการและแพคเกจทัวร์ของตนลงอย่างมากเพื่อให้มีราคาที่เหมาะสมมากขึ้นและส่งเสริมให้ชาวสปป.ลาวเดินทางไปพักผ่อนทั่วประเทศ โปรโมชั่นพิเศษที่นำเสนอในตอนนี้มีเป้าหมายที่ผู้เยี่ยมชมในพื้นที่เพื่อชดเชยการไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ธุรกิจบางแห่งได้ลดต้นทุนการให้บริการลงสามเท่าหรือมากกว่านั้น โรงแรมบางแห่งที่เคยเรียกเก็บเงิน 200-500 เหรียญสหรัฐ สำหรับห้องพักได้ลดราคาเหลือเพียง 70-80 เหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอที่น่าสนใจเพิ่มเติม เช่นบริการรับส่งฟรีไปยังสนามบิน การเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้นเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ในช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวถูกกำจัด การสำรวจเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า Covid-19 ได้ลดรายได้ของธุรกิจนำเที่ยวและการบริการในเมืองหลวงพระบาง ประมาณ 20 ล้านเหรียญ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวซึ่งมีลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากชาวต่างชาติไม่สามารถเดินทางได้ สิ่งนี้นำไปสู่การปรับเปลี่ยนต้นทุนการให้บริการของธุรกิจ ซึ่งการลดราคาดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อให้เข้ากับกำลังซื้อของคนสปป.ลาว รัฐบาลกำลังร่วมมือกับธุรกิจต่างๆเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเนื่องจากการระบาดของ Covid-19

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Tourism201.php

จีนประกาศสนับสนุนสปป.ลาวเพิ่มเติม

จีนได้ตกลงที่จะสนับสนุนสปป.ลาวผ่านสามโครงการซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการกระชับความสัมพันธ์ร่วมมือระหว่างสองประเทศ คือจีนจะจัดหาวัสดุเพื่อต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกในสปป.ลาว การเปิดตัวโครงการพัฒนาชนบทโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 2 และจีนเสนอระบบ Generalized System of Preferences (GSP) สำหรับสินค้าส่งออกของสปป.ลาว 97 % ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องในหลักการที่จะอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนระหว่างสปป.ลาวและจีน นอกจากนี้ทั้งสองประเทศยังตกลงที่จะดำเนินนโยบายตรวจคนเข้าเมืองอย่างรวดเร็วสำหรับจีนซึ่งจะให้สิทธิพิเศษบางประการแก่บุคคลเกี่ยวกับขั้นตอนการเข้าออกโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่การทูต ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและแรงงานต่างชาติที่จำเป็นสำหรับโครงการพิเศษ มาตรการเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสปป.ลาวในขณะเดียวกันก็ทำให้โครงการพัฒนาของจีนในประเทศดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด -19 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีทั้งสองได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอนาคต นอกจากนี้จีนยังเดินทางเยือนกัมพูชา มาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ระหว่างวันที่ 11-15 ตุลาคม เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในอาเซียน กระทรวงพาณิชย์ของจีนกล่าวว่าอาเซียนและจีนกลายเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกันและกัน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_China201.php