‘ไทย อินโดนีเซีย’ เป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ของเวียดนาม ในเดือน ก.ค.

กรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าไทยและอินโดนีเซีย ยังคงเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ในตลาดเวียดนาม ด้วยสัดส่วนรวมกันร้อยละ 76 ของยอดนำเข้ารวม โดยในเดือน มิ.ย. เวียดนามนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย อยู่ที่ 3,552 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67 ของยอดนำเข้ารวมของเวียดนาม (97.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ในเดือน ก.ค. เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 4,761 คัน เป็นมูลค่าราว 108 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในแง่ของปริมาณ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว และในแง่ของมูลค่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ซึ่งจากตัวเลขทั้งหมดนั้น จำนวนรถยนต์ที่นำเข้าจากไทยอยู่ที่ 2,324 คัน (48.8% ของยอดนำเข้ารวม) อีกทั้ง ราคารถยนต์เฉลี่ยจากไทยอยู่ที่ 16,308 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน ในขณะที่ รถยนต์ที่นำเข้าจากอินโดนีเซีย มีราคาเฉลี่ยต่ำกว่า 10,900 ดอลลาร์สหรัฐต่อคัน ในเดือน ก.ค. นอกจากนี้ เวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่อยู่ที่ 347 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่มาจากเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไทยและจีน

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20200901/thailand-indonesia-stand-as-vietnams-major-auto-exporters-in-july/56499.html

การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ ยังคงเติบโตได้ดี

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าเวียดนามได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้ากุ้งในตลาดเกาหลีใต้ (เกาหลีใต้ ไม่เกิน 15,000 ตันต่อปี) เนื่องจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA) ขณะที่ เวียดนามมีปริมาณขนส่งได้เพียง 2,500 ตัน ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ประโยชน์ดังกล่าว เพื่อให้ผู้ส่งออกกุ้งได้ปรับปรุง/พัฒนาคุณภาพและปฏิบัติตามขั้นตอนของเกาหลีใต้ ที่จะผ่านมาตรการทางเทคนิคต่อการค้า ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปเกาหลีใต้ มีการเติบโตในทิศทางที่เป็นบวก และคาดว่าจะเติบโตถึงร้อยละ 5 ในปี 2563 ในขณะที่ ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เวียดนามเป็นผู้จัดหากุ้งรายใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52 ของยอดนำเข้ารวมของประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-shrimp-export-to-rok-sees-positive-growth/182210.vnp

ธุรกิจในเมียนมาเร่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายฉบับใหม่

เจ้าของธุรกิจควรจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเปลี่ยนจากระบบเดิมเป็นใช้ระบบยื่นก่อนมีสิทธิดีกว่า ( FIRST TO FILE SYSTEM) ภายหลังจากกระทรวงพาณิชย์ (MOC) ประกาศเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 63 ที่ผ่านมา ระบบนี้ให้สิทธิ์เจ้าของเครื่องหมายการค้าในการลงทะเบียนให้แก่ผู้ที่ยื่นคำร้องตามกฎหมายก่อน ทั้งนี้ควรยื่นใบสมัครที่นายทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ววันที่ลงทะเบียนจะนับเป็นวันที่ยื่นคำร้องให้กับกระทรวง ภายใต้กฎหมายเครื่องหมายการค้ามีอายุ 10 ปีนับจากวันยื่นขอจะเบียน เครื่องหมายการค้าเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนินธุรกิจซึ่งผู้บริโภคเลือกผลิตภัณฑ์โดยดูที่เครื่องหมายการค้า ซึ่งองค์กรขนาดกลางและขนาดเล็กหลายแห่งได้เตรียมจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว การสมัครสามารถทำได้ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือที่ Department of Consumer Affairs ทั้งนี้จ้าของธุรกิจสามารถจดทะเบียนได้ด้วยตนเองหรือผ่านตัวแทนและทนายความ เมื่อยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเครื่องหมายที่ใช้ลิขสิทธิ์จะต้องตรงกับเครื่องหมายการค้าก่อนหน้านี้ที่จดทะเบียนกับนายทะเบียนหรือเครื่องหมายการค้าจริงซึ่งใช้อยู่ในตลาดในปัจจุบัน สินค้าและบริการที่จัดให้ภายใต้เครื่องหมายการค้าจะต้องเป็นสินค้าประเภทเดียวกันและมีการจัดประเภทระหว่างประเทศ กฎหมายเครื่องหมายการค้าเมียนมาฉบับใหม่ผ่านในเดือนมกราคม 2562 ตามด้วยกฎหมายสิทธิในการออกแบบอุตสาหกรรมกฎหมายสิทธิบัตรและกฏหมายคุ้มวรรณกรรมและศิลปะในปี 2562  กฎหมายทั้ง 4 จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ประธานาธิบดีประกาศบังคับใช้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/businesses-myanmar-urged-register-trademarks-line-new-law.html

แม้ท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ยังน้อยกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

จากความพยายามของรัฐบาลในการลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด -19 แม้การเดินทางเพิ่มขึ้นของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศ แต่ไม่น่าจะชดเชยการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งการท่องเที่ยวที่ตกต่ำไม่เพียงส่งผลกระทบต่อธุรกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลอย่างมากต่อรายได้ที่คนในท้องถิ่นได้รับ หลายคนระมัดระวังการใช้จ่ายเนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น การเดินทางที่ลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดการสูญเสียงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและร้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 11 ของงานทั้งหมดและร้อยละ 22 เของงานในเขตเมือง ตามรายงานล่าสุดของธนาคารโลก โรงแรมและสถานที่พัก ร้านอาหาร บริษัท ทัวร์และผู้ประกอบการขนส่งอื่น ๆ ได้รับผลกระทบหนักที่สุดและอาจจะเลิกทำธุรกิจ มีการคาดการการฟื้นตัวอาจจะใช้เวลาถึงหนึ่งปี หากการระบาดของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้การสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวอาจมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 2.7 ของ GDP ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในวังเวียงและหลวงพระบางโดยเฉพาะผู้ให้บริการขนส่งอาหารและที่พักรวมถึงร้านค้าปลีกได้รับผลกระทบอย่างหนัก การลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงจีนในไตรมาสแรกของปี 2663 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงจากการจำกัดการเดินทางและการปิดพรมแดนลาวอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 60 มื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ก่อน ธุรกิจ SMEs ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากจะมีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน การเติบโตอย่างช้าๆ ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือน อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศทำให้ภาคเอกชนสามารถปรับปรุงบริการและพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเพิ่มเติมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตหลัง COVID-19 ได้ดีขึ้น ในปี 2563 สปป.ลาวมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 4.58 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 22

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Domestic_170.php

ฟาร์มโคนมแห่งใหม่จะเริ่มดำเนินการในจังหวัดตาแก้ว

ฟาร์มโคนมแห่งใหม่ในจังหวัดตาแก้วจะเริ่มการผลิตเต็มรูปแบบในปลายปี 2563 และจะมีส่วนช่วยในการหาตลาดในประเทศและลดการการนำเข้าจากต่างประเทศ ฟาร์มนี้มีมูลค่าการลงทุนมูลค่า 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐลงทุนโดย บริษัท Khmer Fresh Milk Co. , Ltd. บนพื้นที่กว่า 300 เฮกตาร์ในอำเภอบาตี จังหวัดตาแก้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงให้ความสำคัญกับการลงทุนของบริษัทในการผลิตนมแห่งนี้ การลงทุนดังกล่าวจะช่วยตอบสนองความต้องการในประเทศและเพิ่มประสิทธิภาพการแปรรูปของท้องถิ่นและจะนำเทคโนโลยีล้ำสมัยในห่วงโซ่การผลิตนมจากต่างประเทศเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคและโภชนาการทางอาหาร บริษัทระบุว่าตอนนี้ฟาร์มเริ่มผลิตนมสด 6,000 ลิตรต่อวันและจะผลิตได้เต็มกำลังการผลิต 10,000 ลิตรต่อวันภายในสิ้นปีนี้ โดยได้นำเข้าโคนมจำนวน 550 ตัวและอาหารที่ใช้เลี้ยงจากออสเตรเลีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759276/new-dairy-farm-to-start-operations-in-takeo-province/

สิงหาคมที่ผ่านมาการส่งออกข้าวกัมพูชาลดลงอย่างมาก

จากรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงการส่งออกข้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.05 ที่ 448,203 ตันในช่วงแปดเดือนแรกของปี รายงานระบุว่าจนถึงขณะนี้กัมพูชาส่งออกข้าวได้ 448,203 ตันมื่อเทียบกับ 342,045 ตันในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคมเพียงอย่างเดียวการส่งออกข้าวกัมพูชาร้อยละ 22 มีจำนวน 130 ตันเมื่อเทียบกับ 34,032 ตันในเดือนสิงหาคม 2562 ในการส่งออกข้าวทั้งหมด 352,802 ตัน เป็นข้าวหอม 89 ตัน ข้าวขาว 699 ตัน ข้าวนึ่ง 5,679 ตัน และข้าวอื่นๆ 23 ตัน จีนเป็นตลาดนำเข้าอันดับต้นของกัมพูชา กัมพูชาส่งออกประมาณ 159,253 ตันในช่วง 8 เดือนแรกตามด้วยฝรั่งเศส 56,964 ตัน อย่างไรก็ตามในกลุ่มประเทศอาเซียน มาเลเซีย นำเข้าจากกัมพูชาประมาณ 23,201 ตัน เวียดนาม 12,836 ตัน บรูไน 10,500 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759273/cambodias-rice-exports-drop-drastically-in-august/

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.07%

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office) เปิดเผยว่าในเดือน สิ.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากมีฝนตกหนักทั่วประเทศและการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวในประเทศ รวมถึงราคาของธุรกิจในกลุ่มการศึกษายังขยับเพิ่มขึ้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-increases-by-007-percent/182140.vnp

เวียดนามคาดช่วง 8 เดือนแรก ยอดค้าระหว่างประเทศมากกว่า 336.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการนำเข้าและส่งออกอยู่ที่ประมาณ 336.32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับภาคธุรกิจในประเทศยังคงมีทิศทางที่สดใสอยู่ ด้วยมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 60.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าอยู่ที่ 72.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 และ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ทั้งนี้ รายการสินค้าส่งออก 27 รายการ ที่มีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อชิ้น ได้แก่ โทรศัพท์และชิ้นส่วน (31.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และเครื่องแต่งกาย อย่างไรก็ตาม สินค้าเกษตรกรรมส่วนใหญ่มียอดส่งออกลดลง นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ด้วยมูลค่าราว 46.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจีน, ยุโรป, เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ ขณะที่ จีนยังคงเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าราว 49.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน ตามลำดับ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-trade-revenue-estimated-to-exceed-us3362-billion-in-8-months-417996.vov

เวียดนามเผยการลงทุนสาธารณะสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนสิงหาคม และในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ การลงทุนสาธารณะเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.4 และ 30.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ ซึ่งมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แตะ 47.7 ล้านล้านด่อง (หรือ 2.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนสิงหาคม และตั้งแต่เดือน ม.ค.-สิ.ค. มูลค่าอยู่ที่ 250.5 ล้านล้านด่อง ทั้งนี้ กระทรวงวางแผนและการลงทุน ระบุว่าในวันที่ 20 สิ.ค. เวียดนามดึงดูดการลงทุน FDI อยู่ที่ 19.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 13.7 เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จำแนกออกเป็นโครงการ FDI ที่จดทะเบียนใหม่ 1,797 โครงการ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนรวม 9.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 ในแง่จำนวนโครงการ แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 ในแง่มูลค่าเงินทุน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันโครงการในปัจจุบันมีอยู่ 718 โครงการ ที่มีการปรับเพิ่มเงินทุนมากกว่า 4.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/public-investment-hits-fiveyear-high/182129.vnp