เวียดนามเผยการส่งออกรองเท้า 7 เดือนแรก พลาดเป้า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 เวียดนามส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าเพียง 9.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกจะมีมูลค่ามากกว่า 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้การส่งออกรองเท้าหดตัวลงร้อยละ 7.9 คิดเป็นมูลค่า 9.53 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ หลังจากตั้งเป้ายอดส่งออกเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ 22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าได้ตั้งเป้าที่จะส่งออก 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ แม้ว่าจุดมุ่งหมายดังกล่าวมีความทะเยอทะยานก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ทางสมาคมเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนามจึงปรับเป้าหมายการส่งออกลดลงร้อยละ 10 จากผลกระทบเชิงลบของการระบาด COVID-19 นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA จะช่วยให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ในปีนี้ เพื่อที่ชดเชยความเสียหายในช่วงต้นปีนี้ และในปัจจุบันสหภาพยุโรปยังคงเป็นตลาดดั้งเดิมสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของยอดส่งออกรวมต่อปี หรือประมาณ 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/footwear-exports-in-seven-months-fails-to-break-us10-billion-mark-416895.vov

เวียดนามเกินดุลการค้า 3 เท่า ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามมียอดเกินดุลการค้าอยู่ที่ 6.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 328 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในเดือน ก.ค. ตัวเลขเกินดุลการค้าอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 แต่ว่าในปีนี้ เวียดนามยังคงเกินดุลการค้าพุ่งสูงขึ้น เนื่องมาจากมีการนำเข้าน้อยลง สำหรับภาคการลงทุนจากต่างประเทศนั้น (รวมน้ำมันดิบ) พบว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดเกินดุลการค้าขยายตัวอย่างมาก จากยอดเกินดุล 17.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ สินค้าส่งออกหลักที่มีการขยายตัวอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว ได้แก่ คอมพิวเตอร์และเครื่องจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ของยอดส่งออกรวม เติบโตขึ้นเป็นตัวเลขสองหลัก ในขณะที่ กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีมูลค่าลดลง อีกทั้ง สหรัฐฯ ยังเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าราว 38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาจีน ยุโรปและอาเซียน ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ คาดว่าภาคการส่งออกจะเผชิญกับความลำบากอีกในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปีนี้ จากผลกระทบของ COVID-19 แต่ด้วยข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA จะช่วยให้ธุรกิจเวียดนามสามารถเข้าถึงตลาดที่มีมูลค่า GDP ถึง 18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/seven-month-trade-surplus-triples-4140917.html

อิรวดีและฉานมีแผนส่งเสริมการลงทุน

เมียนมากำลังขยายทางเลือกสำหรับธุรกิจที่จะลงทุนในประเทศ เมื่อไม่นานมานี้อนุญาตให้นักลงทุนขยายสาขาการลงทุนออกไปนอกกรุงย่างกุ้งและมัฑะเลย์และภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 คณะกรรมการการลงทุนของอิรวดี ได้อนุญาตให้ลงทุนในโรงแรมและการท่องเที่ยว การผลิต และการก่อสร้างมูลค่าประมาณ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 3 พันล้านจัต คาดว่าจะสร้างงานได้มากกว่า 2,000 ตำแหน่ง โดยได้ให้การสนับสนุน 35 นักลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศลงทุนในภาคขนส่งและภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันรัฐฉานเดินหน้าด้วยแผนการส่งเสริมการลงทุน 10 ปี สำหรับปีงบประมาณ 2562-2563 ถึงปีงบประมาณ  2573 – 2574 เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจโดยการจ้างแรงงานในสัดส่วนที่สูงขึ้น โครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น และการให้บริการที่สามารถรองรับนักลงทุนและธุรกิจ แผนส่งเสริมการลงทุนของรัฐฉาน (SSIPP) มีเป้าหมายที่จะเพิ่มการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเป็น 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568 และ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 โดยรัฐฉานสามารถดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมูลค่า 780 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2561-2562 ส่วนใหญ่เป็นภาคพลังงานคิดเป็นร้อยละ 70 แม้ว่ารัฐฉานจะมีทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้เนื่องจากขาดทักษะ โครงสร้างพื้นฐาน และระบบตลาดที่ใช้ได้จริง ท่ามกลางความไม่แน่นอนในภูมิภาคและในพื้นที่แนวชายแดน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/ayeyarwady-shan-advance-investment-promotion-plans.html

รัฐบาลเมียนมาไฟเขียว Ywama ปรับปรุงโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติ

กระทรวงพลังงานและพลังงาน (MOEE) ได้ยกระดับการสร้างโรงไฟฟ้าความร้อนร่วมก๊าซ – กังหันแบบที่เมือง Ywama และเมืองย่างกุ้ง โรงไฟฟ้าแห่งนี้ธนาคารโลกจัดหาเงินเพื่อสนับสนุนราว 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐสหรัฐเพื่อการปรับปรุง โดยใช้เวลา 36 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยได้รับการพัฒนาภายใต้การร่วมทุนประกอบด้วยกลุ่มบริษัท Eden Group และรัฐบาลเมียนมา นักลงทุนยังได้รับเชิญให้เข้าร่วมประมูลโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ 30 โครงการซึ่งสามารถผลิตได้มากกว่า 1,000 เมกะวัตต์ในเดือนพฤษภาคม โดยการกำหนดระยะการประกวดราคาได้ขยายจากวันที่ 17 มิถุนายน – 17 กรกฎาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-greenlights-ywama-gas-plant-upgrade.html

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยช่วง 7 เดือนแรก ยอดส่งออกของภาคเกษตร ป่าไม้และประมงที่ 22.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง อยู่ที่ 22.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่

  • ผลผลิตการทำฟาร์ม 10.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตป่าไม้ 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลผลิตการประมง 4.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sevenmonth-agroforestryaquaculture-export-reaches-223-billion-usd/179675.vnp

แขวงบ่อแก้วเพิกถอน 7 โครงการที่ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ

แขวงบ่อแก้วได้เพิกถอน 7 โครงการที่ไม่ได้มีการดำเนินการ เนื่องจากผู้ลงทุนละเมิดข้อตกลงที่ลงนามกับรัฐบาล เจ้าแขวงบ่อแก้วกล่าวว่าทางการกำลังตรวจสอบโครงการลงทุนทั่วแขวงที่ได้รับอนุมัติจากรัฐบาลเพื่อพิจารณาว่ายังไม่ได้เริ่มดำเนินการ สิ่งนี้กำลังดำเนินการเพื่อเพิ่มการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมในแขวงบ่อแก้ว เนื่องจากแขวงสูญเสียโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรสำหรับโครงการดังกล่าว รายงานหนังสือพิมพ์ Lao Phatthana กล่าวว่าจากการตรวจสอบพบว่ามีสวนกล้วยเพียง 13 แห่งจาก 60 แห่งที่จดทะเบียนธุรกิจ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เรียกร้องให้มีการทำเอกสาร เจ้าของสวนบางแห่งได้กลับบ้านเนื่องจากการระบาดใหญ่ของ Covid-19 และเจ้าหน้าที่ต้องรอให้กลับมาเพื่อดำเนินการจดทะเบียนให้เสร็จสิ้น ปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกกล้วยในแขวงบ่อแก้วครอบคลุม 6,000 เฮกตาร์ลดลงจาก 11,000 เฮกตาร์เมื่อหลายปีก่อน เกษตรกรท้องถิ่นได้ปลูกพืชชนิดอื่นในพื้นที่ที่เคยปลูกกล้วยและมีการขายผลผลิตในแขวงบ่อแก้วและแขวงใกล้เคียง

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Bokeo_149.php

ไทยเรียกร้องหน่วยงานสปป.ลาวศึกษาผลกระทบเขื่อนชนะคาม

รองนายกรัฐมนตรีประวิทย์วงษ์สุวรรณวอนขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือและหาแนวทางในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากโครงการเขื่อนชนะคามในสปป.ลาว ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของเขื่อนเนื่องจากอยู่ห่างจากชายแดนไทยเพียง 2 กิโลเมตรดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับคำสั่งให้มุ่งเน้นและวิเคราะห์ผลกระทบของเขื่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องความสมบูรณ์ของโครงสร้างถึงแม้โครงการดังกล่าวจะเป็นของสปป.ลาว แต่เพื่อร่วมกันจัดการแม่น้ำโขงในลักษณะที่ยั่งยืนในฐานะทรัพยากรร่วมประเทศสมาชิกที่วางแผนจะสร้างโครงการตามแม่น้ำโขงต้องดำเนินการปรึกษาหารือล่วงหน้ากับผู้อยู่อาศัยและหน่วยงานท้องถิ่นก่อน เขื่อนชนะคามเป็นโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 6 โครงการล่าสุดที่รัฐบาลสปป.ลาววางแผนไว้ ผู้พัฒนาคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเขื่อนได้ในปีนี้ เมื่อเขื่อนนี้แล้วเสร็จจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 684 เมกะวัตต์จะมีมูลค่าประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (62.4 พันล้านบาท) และจะขายไฟฟ้าที่ผลิตให้ประเทศไทยเป็นหลัก 

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1962023/agencies-told-to-find-ways-to-mitigate-laos-dam-impact

ผู้ประกอบการธุรกิจในกัมพูชาเริ่มลงทะเบียนเข้าสู่ระบบออนไลน์ของภาครัฐฯ

จำนวนบริษัทที่ลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ใหม่ของรัฐบาลได้รับการยืนยันเป็น 287 บริศัท ณ วันที่ 29 กรกฎาคม ขณะที่ 323 บริษัท กำลังรอการอนุมัติตามข้อมูลจากกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกล่าวว่าจำนวนธุรกิจที่จดทะเบียนผ่านระบบออนไลน์แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังคงเปิดดำเนินการในช่วงของการแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าการลงทะเบียนออนไลน์ใหม่นั้นราบรื่นและประสานงานกับกรมสรรพากรทั่วไปภายใต้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงแรงงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งการจดทะเบียนธุรกิจบนแพลตฟอร์มเทคโนโลยีสารสนเทศจะทำให้กระบวนการต่างๆทางธุรกรรมใช้เวลาและค่าใช้จ่ายน้อยลง รวมถึงมีความซับซ้อนน้อยกว่าระบบอะนาล็อกในแบบเดิม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50751123/business-owners-embrace-new-online-registration-system/