ประชาสัมพันธ์ : งานเสวนา AiTi ในรูปแบบ Private Mentoring และ Business Matching หัวข้อ การค้าการลงทุน และโอกาสใหม่ๆ ช่วงโควิด..วิกฤตรอบ 100 ปี ในประเทศกลุ่ม CLMV

📌วันที่ 7 กรกฎาคม เริ่มตั้งแต่เวลา 15.00 น. อาคาร 10 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย📌

โดยเชิญสุดยอดเมนทอลที่บริหารธุรกิจจริงฝ่าวิกฤตโควิด สดๆ ร้อนๆ ได้แก่

🔴ม.ล.คฑาทอง ทองใหญ่
นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
🔴คุณเกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)
Mentor กลุ่มประเทศเมียนมา
🔴คุณวรทัศน์ ตันติมงคลสุข
คณะกรรมการกลุ่มค้าชายแดนและค้าข้ามแดน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
Mentor กลุ่มประเทศกัมพูชา

เจาะลึก แบบไพรเวท กับการแก้ปัญหาเพื่อรักษาและต่อยอดการเติบโตอย่างยั่งยืน กับสุดยอดเมนทอลระดับโลก รวมทั้งการพยากรณ์โอกาสใหม่ๆ ใน CLMVT พร้อมคำแนะนำการบริหารงานฝ่าวิกฤตในรอบ 100 ปี

เราเชื่อว่า..
“ผู้นำย่อมเห็นโอกาสบนวิกฤตเสมอ”

ดัชนีภาคการผลิตเวียดนาม PMI สูงสุดในรอบ 10 เดือน

ตามผลการสำรวจของ Nikkei และ IHS Markit เปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อในภาคการผลิต (PMI) ในเดือนมิถุนายน แตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน ทั้งนี้ ดัชนี PMI เดือนมิ.ย. ปรับตัวสูงระดับ 51.1 จากระดับ 42.7 ในเดือนพ.ค.

ประเด็นสำคัญ

  • ยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • การผลิตกลับมาดำเนินงานอีกครั้ง
  • คนมีงานทำลดลงอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-manufacturing-pmi-highest-in-10-months/177956.vnp

พาณิชย์ ลุยปี 64 เจรจา FTA เพิ่ม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่าขณะนี้กรมฯอยู่ระหว่างการจัดทำแผนงบประมาณปี 2564 โดยยังคงเดินหน้าภารกิจการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ทั้งในกรอบการเจรจาที่ดำเนินการอยู่ คือ ไทย-ปากีสถาน ซึ่งเจรจาไปแล้ว 9 รอบ แต่มีปัญหาการเมืองภายในปากีสถานทำให้การเจราต้องหยุดชะงัก คาดว่าหลังโควิดคลี่คลายจะกลับเจรจากันต่อ ,ไทย-ตุรกี มีเป้าหมายว่าจะสรุปผลการเจรจาใน ปี2564 ซึ่งช่วงเดือนธ.ค.จะมีการประชุมครั้งที่ 7 ที่ตุรกีและในปี 2564 จะมีประชุมอีก 3-4 ครั้งเพื่อหาข้อสรุป , ไทย-ศรีลังกา มีการเจรจาไปแล้ว 2รอบแต่ศรีลังกามีการเลือกตั้งทำให้ต้องชะลอการเจรจาเอฟทีเอไปก่อน ,ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่อยู่ในอนุทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (บิมสเทค) ที่ประกอบด้วยบังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย เมียนมา เนปาล และภูฏาน แต่มีความคืบหน้าช้ามาก ส่วนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป คาดว่าน่าจบได้ภายในเดือนก.ค.นี้ และเมื่อความตกลงสรุปได้ทั้งหมด กรมฯ จะรีบแปลเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และจากนั้นจะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในช่วงเดือนต.ค.2563 เพื่อขอความเห็นชอบการลงนามความตกลงอาร์เซ็ปในเดือนพ.ย.2563 ที่เวียดนามอย่างไรก็ตาม ฮ่องกง และไต้หวัน ได้แจ้งมายังอาเซียนว่า ต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ของอาร์เซ็ป แต่การรับสมาชิกใหม่ จะเกิดขึ้นภายหลังจากความตกลงมีผลบังคับใช้ไปแล้ว 18 เดือน

ที่มา ; https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/887531?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามเผยเนื้อหมูที่นำเข้าจากญี่ปุ่นขายได้ดี แม้ว่าราคาจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม

ผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่นำเข้าจากญี่ปุ่นกำลังได้รับความนิยมในตลาดเวียดนาม ถึงแม้ว่าราคาสูง 4-5 เท่าเมื่อเทียบกับสินค้าในท้องถิ่น โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา เกิดการระบาดของเชื้อไข้หวัดหมูแอฟริกัน (ASF) ส่งผลต่ออุปทานเนื้อหมูในท้องถิ่น ซึ่งตลาดและซูปเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในเวียดนาม มีราคาเนื้อหมูอยู่ที่ 150,000-320,000 ด่งต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้า ทั้งนี้ เวีดยนามนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศ มากกว่า 70,000 ตัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งผลิตภัณฑ์หมูที่นำเข้าจากต่างประเทศส่วนใหญ่มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับทางเลือกในท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์หมูของญี่ปุ่นมีราคาสูง 4-5 เท่ากว่าตลาดในประเทศ นอกจากนี้ พ่อค้าเนื้อหมูชาวญี่ปุ่นรายหนึ่ง กล่าวว่าผลิตภัณฑ์ของเขาขายดีมากกว่าหมูไอเบริโกของสเปน จำนวนยอดคำสั่งซื้อออนไลน์เกือบ 100 กิโลกรัมต่อวัน ลูกค้าส่วนใหญ่มาจากเมืองโฮจิมินห์

ที่มา : https://vnexplorer.net/japanese-imported-pork-sells-well-despite-high-prices-a202059181.html

เวียดนาม-ญี่ปุ่น ขยายความร่วมมือทางการค้าทวิภาคี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนามและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น หารือแนวทางในการสร้างความเชื่อมั่นและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างสองประเทศ รวมถึงการค้าชายแดนและข้อตกลงการค้าเสรี “CPTPP” หลังจากสิ้นสุดของโรคระบาด เศรษฐกิจหันมาฟื้นตัวในภูมิภาคและทั่วโลก ซึ่งรัฐมนตรีทั้งสองท่านต่างแสดงความกังวลต่อลัทธิกระทำฝ่ายเดียวและเน้นถึงความสำคัญของการส่งเสริมการค้าข้ามพรมแดนในช่วงเศรษฐกิจฟื้นตัวและหลังจากสิ้นสุดการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP จะช่วยให้เศรษฐกิจโลกและกลุ่มสมาชิกมีการพัฒนามากขึ้น ขยายห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและระดับโลก ขณะที่ ส่งเสริมการใช้อีคอมเมิรซ์และเศรษฐกิจดิจิทัลในการผลิต อย่างไรก็ตาม การอภิปรายดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายแสดงให้เห็นถึงการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อขยายการค้าทวีภาคีมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแค่ข้อตกลง CPTPP แต่ยังมีข้อตกลงอื่นๆอีก เช่น หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และข้อตกลง ASEAN-Japan เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-japan-seek-to-expand-bilateral-trade-ties/177873.vnp

ยุโรปเรียกร้องให้จีนชะลอการชำระหนี้ของเมียนมา

ประเทศในยุโรปตกลงที่จะเลื่อนการชำระคืนเงินกู้ของเมียนมาเป็นจำนวนเงินรวม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังเรียกร้องให้จีนทำเช่นเดียวกัน ออสเตรีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมันนี, เนเธอร์แลนด์และโปแลนด์มีการผ่อนผันการชำระคืนเป็นจำนวนเงินรวม 98 ล้านเหรียญสหรัฐรวมทั้งดอกเบี้ยสำหรับงวดเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม 2563 จำนวนหนี้ประกอบด้วยร้อยละ 20 ของการชำระหนี้ตามกำหนดเวลาของเมียนมาซึ่งมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลานี้ สหภาพยุโรปเรียกร้องให้เจ้าหนี้รายใหญ่ของเมียนมาปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เช่นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของคือ จีนและญี่ปุ่น หนี้ของเมียนมาในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์ซึ่ง 4 พันล้านดอลลาร์เป็นหนี้ที่กู้จากจีน การบรรเทาหนี้ครั้งนี้จะช่วยให้เมียนมาในการสนับสนุนระบบสาธารณสุขชุมชนและธุรกิจในท้องถิ่น สหภาพยุโรปได้ระดมทุนและตั้งโครงการสำหรับภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤต COVID-19 ซึ่งได้แก่กองทุนฉุกเฉิน The Myan Ku Fund เป็นจำนวนเงิน 5 ล้าน สำหรับแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าใ นเดือนพฤษภาคมและได้จ่ายเงินไปแล้วกว่า 2 พันล้านจัต จากจำนวนแรงงาน 21,690 นอกจากนี้ยังระดมเงินทุนสูงถึง 30 ล้านยูโรสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม พนักงานสาธารณสุข แรงงานข้ามชาติ และผู้ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/europe-defer-myanmars-debt-payments-urges-china-follow-suit.html

ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ในมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยต่ำและค่าเงินแข็งค่า

แม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ของมัณฑะเลย์ยังคงเพิ่มขึ้น ราคาขายอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 100 – 300 ล้านจัตส่วนใหญ่ถูกขายให้กับชาวจีน เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและเงินหยวนจีนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เศรษฐกิจเมียนมาชะลอตัวลงแต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาฟื้นตัวหลังจากธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ย ผู้คนจำนวนมากเริ่มลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ซึ่งมันดาเลย์มีอสังหาริมทรัพย์ราคาปานกลางที่มีศักยภาพที่จะเติบโต เช่น ที่ Ye Mon Taung Ward และ Htan Koe Pin พื้นที่เหล่านี้เชื่อมต่อกับพื้นที่สำคัญระหว่างถนน 35th, Thate Pan Street และถนนวงแหวน Pyin Oo Lwin-Mandalay ตอนนี้มีโครงการที่อยู่อาศัย คลังสินค้า และโชว์รูมรถยนต์เพิ่มขึ้น อีกทั้งสนามกอล์ฟในบริเวณใกล้เคียงยังช่วยเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ในขณะเดียวกันจำนวนประชากรก็เริ่มขยายตัว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-property-sales-spike-due-low-rates-strong-currency.html

รัฐบาลประหยัดงบประมาณ 1,213 พันล้านกีบจากมูลค่าโครงการที่สูงเกินความจำเป็น

นายกรัฐมนตรีกล่าวกับรัฐสภาว่ารัฐบาลได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของโครงการที่มีราคาสูงทั่วประเทศ โดยรวมแล้วจะมีการตรวจสอบโครงการลงทุนของรัฐ 4,601 แห่งมูลค่า 103,187 พันล้านกีบ จนถึงขณะนี้คณะกรรมการได้ตรวจสอบ 672 โครงการด้วยเงินทุนการลงทุน 43,538 พันล้านกีบ ในเรื่องนี้รัฐบาลได้ประหยัดงบ 1,213 พันล้านกีบ ด้วยภาษีที่ค้างชำระ 89.36 พันล้านกีบ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนกล่าวว่าการประหยัดงบประมาณหลังจากการตรวจสอบพบว่ามีการลดโครงการบางโครงการ จะลดต้นทุนการลงทุนลง นอกจากนี้พบว่าราคาต่อหน่วยของหลายโครงการมากกว่าร้อยละ 20 สูงกว่าราคาต่อหน่วยที่กำหนดโดยกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการที่ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยเพิ่มขึ้น หนึ่งในเหตุผลคือรัฐบาลไม่สามารถจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาได้หลังจากที่พวกเขาทำงานเสร็จ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากธนาคารเพิ่มสูงขึ้นทำให้ต้นทุนสูงกว่าราคาต่อหน่วย โครงการที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าราคาต่อหน่วยมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องใช้ในการเจรจาเพื่อลดต้นทุน ทั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในบางโครงการรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานนั้นสูงเกินสมควรดังนั้นรัฐบาลจึงได้เจรจาใหม่และเซ็นสัญญาใหม่กับต้นทุนที่ต่ำลง

ที่มา :http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_saves_127.php

การท่องเที่ยวกัมพูชาระหว่างการระบาดของ Covid-19

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาข้อมูลจากทางภาครัฐแสดงให้เห็นว่า COVID-19 ได้ส่งผลให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวปิดตัวเกือบ 3,000 แห่ง และส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 45,045 คน โดยการว่างงานและหนี้สินที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจสังคม ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวคาดการณ์ว่าภาคการท่องเที่ยวจะมีรายรับ 3 พันล้านดอลลาร์ในปีนี้ ณ สิ้นเดือนมิถุนายนมีโรงแรม 18 แห่ง และเกสต์เฮาส์ 96 แห่งปิดทำการอย่างถาวร โดยยังคงมีโรงแรม 172 และเกสต์เฮาส์ 99 แห่งได้หยุดดำเนินกิจการชั่วคราวในขณะนี้ ซึ่งในปัจจุบันมีโรงแรม 40 แห่งและเกสต์เฮาส์ 66 แห่ง เปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบ โดยรัฐบาลจะปรับมาตรการกักกันและเตรียมการพิเศษ ซึ่งหน่วนงานกำลังตั้งคำถามหากสถานการณ์ยังคงดำเนินต่อไป ภาครัฐจะสามารถจัดการได้อย่างไรและภาคธุรกิจจะเป็นอย่างไร รวมถึงการว่างงานจะสูงขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50740504/tourism-savaged-by-covid-19/

สมาคมธุรกิจเรียกร้องให้สหภาพยุโรปยืดการถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้าของกัมพูชา

สมาคมภาคธุรกิจสามแห่งในหมวด เสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยว และเชิงพาณิชย์ ได้ทำการส่งจดหมายไปยังรัฐสภายุโรปอีกครั้งเพื่อขอเลื่อนการถอดถอน สิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) บางส่วนออกไปก่อน เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อภาคการผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าในกัมพูชา ถูกส่งโดยสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในกัมพูชา (GMAC) สมาคมรองเท้าในกัมพูชา (CFA) และหอการค้ายุโรปแห่งกัมพูชา (EuroCham) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้สำหรับการถอดถอนบางส่วนของ EBA ในกัมพูชาในวันที่ 12 สิงหาคม โดยเนื้อความบนจดหมายจากสมาคมกล่าวว่าตั้งแต่มีการระบาดใหญ่มีโรงงานได้รับผลกระทบถึง 400 แห่ง ในภาคเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชาต้องหยุดการดำเนินงานชั่วคราว ซึ่งธุรกิจภาคการผลิตเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าการท่องเที่ยว ถือเป็นกลุ่มผู้จ้างงานที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชาและให้การสนับสนุนแรงงานถึงประมาณ 1 ล้านคน ในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50740483/industry-makes-another-appeal-against-eu-tariffs/