เวียดนามเกินดุลการค้าครึ่งปีแรก พุ่ง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดเกินดุลการค้าในเดือนมิ.ย. ประมาณ 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งช่วงเดือนม.ค.-มิ.ย. ชี้ให้เห็นว่ายอดเกินดุลการค้าสูงถึง 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นราว 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน) สำหรับภาคการลงทุนในประเทศนั้นคาดว่าจะขาดดุลการค้าราว 10.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 6 เดือนแรก ในขณะที่ บริษัทต่างชาติ (FDI) มียอดเกินดุลการค้า 14.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เดือนมิ.ย. เวียดนามมีมูลค่าส่งออกประมาณ 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าประมาณ 20.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 นอกจากนี้ ในบรรดาคูค้ารายใหญ่ของเวียดนาม พบว่าในช่วง 6 เดือนแรก สหภาพยุโรปมียอดเกินดุลการค้าลดงร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ด้วยมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่จีนขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 19.3 ด้วยมูลค่า 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-widens-to-us4-billion-in-h1-312907.html

อุตสาหกรรมการก่อสร้างเมียนมาพร้อมต้อนรับแรงงานที่อพยพกลับประเทศ

อุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศพร้อมเตรียมตำแหน่งงานสำหรับแรงงานอพยพที่มีประสบการณ์ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเนื่องจาก COVID-19 สหพันธ์ผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียนมาจะช่วยบริษัทก่อสร้างในท้องถิ่นให้ดำเนินการตามกระบวนการประกวดราคาของรัฐบาลหากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งรัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการจ้างงานมากขึ้นในประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคมสถานที่ก่อสร้างเอกชนในเขตย่างกุ้งเกือบทั้งหมดหยุดชะงักเนื่องจาก COVID-19 แต่ธุรกิจเปิดใหม่และการก่อสร้างจะเริ่มต้นในช่วงเดือนมิถุนายน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ออกโรงเตือนว่าแรงงานข้ามชาติหลายล้านคนทั่วโลกอาจเผชิญกับการว่างงานและความยากจนหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศกลับประเทศบ้านเกิด สองเดือนที่ผ่านมามีแรงงานเดินทางกลับประเทศมากกว่า 71,000 คนจากประเทศไทย หลายพันคนกลับมาจาก จีน มาเลเซีย สิงคโปร์และเกาหลีใต้ โดยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันคือ 4,800 จัต ในขณะที่ประเทศไทยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันจะอยู่ที่ 325 บาทหรือประมาณ 15,000 จัต ILO กล่าวว่าด้วยนโยบายที่ถูกต้องของแรงงานอพยพอาจเป็นทรัพยากรสำคัญในการฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 แรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะนำความสามารถและทักษะใหม่ ๆ มาพัฒนาประเทศเมียนมาต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-construction-industry-ready-provide-jobs-returnees.html

อัตราเงินเฟ้อลดลงท่ามกลางความต้องการที่ลดลง

จากรายงานของธนาคารโลกอัตราเงินเฟ้อในประเทศลดลงเหลือร้อยละ 8.3 ในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลงของผู้ประกอบการในเมียนมา เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลงท่ามกลางวิกฤติ COVID-19  ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนและคาดว่าจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อรายปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากร้อยละ 9.5 ในเดือนธันวาคม 2562 เป็นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นตัวฉุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 13 ในเดือนเมษายนนี้คาดว่าเดือนกรกฎาคมจะลดลอีกเนื่องจากอัตราภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี การใช้จ่ายที่ลดลงและราคาที่ลดลงคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อโดยรวมในปีงบประมาณ 2563-2563 ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อควรอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีงบประมาณนี้ลดลงจากร้อยละ 8.5 ของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อโลกที่คาดไว้ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีนี้อาจสูงกว่าอัตราของธนาคารกลางในปัจจุบันที่ร้อยละ 7 อัตราเงินฝากขั้นต่ำของธนาคารในเมียนมาคือร้อบละ 5 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ร้อยละ 10

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-inflation-declines-amid-falling-demand.html

คณะที่ปรึกษาโควิดด้านศก. ชง”บิ๊กตู่”แก้ปัญหาว่างงาน

คณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจฯ จากโควิด เสนอ 3 ประเด็นให้นายกฯ ขับเคลื่อน ทั้งแก้ว่างงาน สื่อสารให้คนตระหนักหวั่นเกิดระบาดรอบสอง และฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะที่ปรึกษาด้านผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมในศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) แถลงภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาฯ ว่า ได้สรุป 3 ประเด็นสำคัญเสนอ นายกรัฐมนตรี โดยเรื่องแรก เสนอให้เร่งแก้ปัญหาการว่างงานเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจฐานรากเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เนื่องจากการแพร่ระบาดของ โรคไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ประชาชนจ้านวนมากต้องว่างงานและขาดรายได้ ดังนั้น การใช้จ่ายของภาครัฐโดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องทำโครงการที่สามารถสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะการสนับสนุนให้มีการจ้างงานระยะยาวภายในชุมชน การจ้างงานบัณฑิตจบใหม่ รวมถึงการจัดอบรมความรู้ที่สามารถนำไปต่อยอดในการประกอบอาชีพได้ ซึ่ง นายกรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องดังกล่าวกลับมายังสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช. ) ในฐานะเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม วงเงิน 400,000 ล้านบาท ให้พิจารณาโครงการที่ก่อให้เกิดการจ้างงานด้วย ประเด็นต่อมาได้ขอให้การสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงความเสี่ยงของการกลับมาระบาดรอบที่ 2 และจะต้องมีความร่วมมือที่จะจำกัดการระบาด รวมทั้งยังต้องรักษามาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่วนประเด็นสุดท้ายรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม เพราะในช่วงที่ผ่านมา การลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทยต้องหยุดชะงักลง…

 ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/782462

การเปลี่ยนแปลงของกัมพูชาจากความไม่มั่นคงด้านอาหารสู่ประเทศผู้ส่งออกข้าว

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ากัมพูชากำลังส่งเสริมภาคเกษตรกรรมอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการส่งออกข้าว ซึ่งนายกฯย้ำว่ากัมพูชาจะไม่ประสบกับความไม่มั่นคงด้านอาหารเหมือนในอดีตอีกต่อไป คำแถลงดังกล่าวเกิดขึ้นจากการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ “โครงการเยียวยาสำหรับครอบครัวผู้ยากจนและผู้ด้อยโอกาสในช่วง Covid-19″ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 โดยจุดแข็งของกัมพูชาคือมีผลผลิตส่วนเกินถึง 6 ล้านตัน ซึ่งกัมพูชาส่งออกข้าวหลัก ๆ สามประเภท ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวขาวและข้าวสวยไปยังจีน สหภาพยุโรป และ อาเซียน ตามรายงานของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยกัมพูชามีรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือนแรกในปี 2563 ซึ่งส่งออกข้าว 356,000 ตัน เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 42 เมื่อเทียบกับในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีการส่งออกเพียง 250,000 ตัน โดยตัวเลขการส่งออกในปี 2563 ถือเป็นการเติบโตที่สำคัญที่สุดในกัมพูชาซึ่งเป็นปริมาณการส่งออกที่สูงที่สุด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738817/cambodias-transformation-from-a-food-insecurity-to-a-rice-exporting-nation/

นักลงทุนจากประเทศจีนกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ในกัมพูชา

Ruifeng Tianfu Investment บริษัท สัญชาติจีน และคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (SECC) กำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ในอนาคต โดยข้อเสนอดังกล่าวได้เริ่มต้นขึ้นแล้วพร้อมกับการหารืออย่างจริงจังระหว่าง SECC และ Ruifeng Tianfu Investments จากประเทศจีน ภายใต้บันทึกความเข้าใจในการศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกัน ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท คือสินค้าที่เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (เช่นทองคำ) สำหรับระยะเริ่มต้น และสินค้าที่ไม่เชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (เช่นสินค้าเกษตร) ในระยะต่อมา โดยตลาดซื้อขายล่วงหน้าถือเป็นเป้าหมายของ SECC ที่ถือเป็นช่องทางใหม่สำหรับสินค้าเกษตรที่จะเข้าร่วมในตลาดซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเพิ่มโอกาสและช่องทางให้กับสินค้าภายในประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738847/ruifeng-tianfu-investments-from-china-to-conduct-feasibility-study-on-commodity-futures-trading-in-cambodia/

ส่งอออกข้าวโพดเมียนมาคาดอุปสงค์ตลาดเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์พร้อมหนุนธนาคารปล่อยสินเชื่อเพื่อปลูกข้าวโพดในประเทศซึ่งคาดว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างกระทรวงกับสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 เมียนมามีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 1.9 ล้านเอเคอร์ทั่วทั้งภูมิภาค Ayeyarwady, Nay Pyi Taw, รัฐ Shan, รัฐ Kayah และรัฐ Kayin ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า 3 ล้านตันต่อปีตามข้อมูลของปีที่แล้ว การบริโภคภายในประเทศนั้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตทั้งหมดส่วนอีกครึ่งหนึ่งส่งออกไปยังประเทศไทยเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับสองของอาเซียน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2562-2563 ความต้องการข้าวโพดได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากประเทศไทยซึ่งมีความต้องการข้าวโพดเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมและอาหารสัตว์มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากข้อมูลพบว่าในปีนี้ส่งออกข้าวโพดไปแล้วประมาณ 1.8 ล้านตันซึ่งมากกว่าหนึ่งล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  มากกว่าร้อยละ 60 ส่งออกไปยังประเทศไทย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/corn-traders-myanmar-get-organised-anticipation-more-demand.html

พิษโควิด จีดีพีดิ่ง! ว่างงานพุ่งรอบ 20 ปี

ทีดีอาร์ไอชี้ โควิด-19 พ่นพิษ อัตราว่างงานพุ่ง 8-12 เท่าสูงสุดในรอบ 20 ปี เหตุเศรษฐกิจหดตัวแรง และชะลอต่อเนื่อง 2-3 ปีข้าง เตรีบมทบทวนตัวเลขเพิ่ม หลังธปท.ปรับคาดการณ์จีดีพี เหลือติดลบ 8.1% จากเดิมติดลบ 5.3%  ด้านกสิกรไทยชี้ อัตราว่างงานค้างไม่ตํ่ากว่า1 ล้านคน ตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) เศรษฐกิจไทยปีนี้ทั้งปี มีแนวโน้มจะติดลบถึง 8.1% จากที่คาดการณ์เดิมจะติดลบ 5.3% เหตุเพราะตัวเลขจากทีมเศรษฐกิจรัฐบาลได้ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 จะติดลบถึง 15.5% และจะติดลบน้อยลงเหลือ 10.2% ในไตรมาส 3 และเหลือติดลบ 5.5% ในไตรมาสสุดท้ายของปี ส่วนสถานการณ์ด้านแรงงานนั้น อัตราว่างงานจะเพิ่ม 3-4% จากเดิมอยู่ที่ระดับ 1% ซึ่งค่อนข้างสูงมาก หากย้อนเทียบกับต้มยำกุ้ง ภาคเกษตรและการบริโภคภายในประเทศยังดี แต่วันนี้ตรงกันข้าม ซึ่งภาคการท่องเที่ยวยังน่าเป็นห่วง เพราะก่อนหน้าไทยสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยว 40 ล้านคนแต่หากนักท่องเที่ยวไม่กลับมาก็มีความเสี่ยงสูง

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/money_market/439975?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

เวียดนามเผยเม็ดเงิน FDI ลดลง 15.1% ในช่วงครึ่งปีแรก

กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าเวียดนามดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลงร้อยละ 15.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 15.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ยอดการลงทุนดังกว่าจะรวมถึง 8.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 1,418 โครงการที่ได้รับการอนุญาตใหม่ และอีก 3.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นการการลงงทุนเพิ่มในโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบัน 526 โครงการ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปสามารถดึงดูดเม็ดเงิน FDI สูงสุด มากกว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.1 ของยอดเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ค้าปลีกค้าส่งและอสังหาริมทรัพย์ ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.7 ของทั้งหมด รองลงมาไทย (10.1%), จีน (10.1%),  ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไต้หวัน ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ชี้ให้เห็นว่าการส่งออกของภาคการลงทุน FDI ในช่วง 6 เดือนแรกปีนี้ ลดลงทั้งในแง่มูลค่าและสัดส่วนจากการค้าต่างประเทศในเวียดนาม ประมาณ 79.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมน้ำมันดิบ)

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fdi-drops-151-year-on-year-in-first-half-415437.vov

ธนาคารพาณิชย์เวียดนาม “Vietcombank” รักษามาตรฐานการกู้ยืม

ธนาคารพาณิชย์ “Vietcombank” ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม จะไม่ปรับลดมาตรฐานในการปล่อยสินเชื่อช่วงหลังการแพร่ระบาดไวรัส เพื่อรักษาเงินทุนให้แข็งแกร่งในปี 2563 ซึ่งธนาคารจะยกระดับคุณภาพสินเชื่อ เพื่อรองรับกับการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสิ้นสุดการระบาดของ COVID-19 โดยธนาคารจะมองหาลูกค้าใหม่ พิจารณาสินเชื่อแก่ธุรกิจค้าส่งและขยายการลงทุนไปยังพันธบัตรทางการเงิน รวมถึงปรับปรุงสัดส่วนการลงทุนของธนาคาร ทั้งนี้ ในปี 2563 Vietcombank มีสินทรัพย์รวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ด้วยมูลค่า 55.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และอัตราหนี้เสียตั้งเป้าให้ต่ำกว่าร้อยละ 1.5 ในปีนี้ อัตราเงินปันผลร้อยละ 8 ปีนี้ และจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นและจ่ายโบนัสอีกด้วย นอกจากนี้ ธนาคารวางแผนว่าจะจ้างพนักงานใหม่มากกว่า 2,200 คนในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/748843/vietcombank-to-maintain-lending-standards.html