เดือน มิ.ย. จำนวนนักท่องเที่ยวในกัมพูชาสูงถึง 4.5 แสนคน แต่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 1 พันคน

ในช่วงสามสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนชาวกัมพูชากว่า 450,000 คน ได้เริ่มทยอยออกท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ คิดเป็นจำนวนทั้งหมดคือ 452,692 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24 จากช่วงเวลาเดียวกันในเดือนพฤษภาคม หรือคิดเป็นสัดส่วนนักท่องเที่ยวท้องถิ่นจำนวน 441,397 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.61 และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 1,295 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.34 โดยจังหวัด Khon ยังคงเป็นจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ดึงดูดนักท่องเที่ยวภายในประเทศได้เกือบร้อยละ 50 ซึ่งเสียมเรียบยังคงแสดงสัญญาณการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเนื่องจากธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม เกสต์เฮาส์ และร้านอาหารเพิ่งทำการเปิดใหม่อีกครั้ง โดยกระทรวงการท่องเที่ยวได้เสริมสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นและภาคเอกชนในการส่งเสริมมาตรการด้านความปลอดภัยด้านการท่องเที่ยวสำหรับภาคธุรกิจเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส ซึ่งรวมถึงบริการที่พักร้านอาหาร การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ รีสอร์ทและชุมชนด้านการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738065/more-than-450000-tourists-on-the-move-over-first-three-weeks-of-june/

สภาพแวดล้อมทางธุรกิจของกัมพูชามีความยืดหยุ่นมากขึ้นจากกรณีศึกษา

ดัชนีความยืดหยุ่นโลกในปี 2020 แสดงให้เห็นว่าอันดับของกัมพูชาขยับขึ้นจากปีที่แล้ว โดยในปีนี้กัมพูชาได้คะแนนรวม 28.9 คะแนน จาก 100 คะแนน โดยอยู่ในอันดับที่ 112 ของโลก ซึ่งปีที่แล้วกัมพูชาได้รับคะแนนอยู่ที่ 21.7 และติดอันดับ 114 จาก 130 ประเทศ จากการศึกษาในครั้งนี้ โดยการศึกษาดังกล่าวดำเนินการโดย FM Global บริษัท ประกันภัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา (US) ซึ่งการศึกษานี้วัดความยืดหยุ่นของเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจของประเทศโดยพิจารณาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความเสี่ยงและห่วงโซ่อุปทาน 12 ประการ โดยการศึกษานี้อาจเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าเศรษฐกิจและธุรกิจของกัมพูชาจะผ่านวิกฤต COVID-19 ไปได้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Kevin Ingram รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของ FM Global มองว่าความยืดหยุ่นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้คน ประเทศและธุรกิจ การจัดอันดับประเทศในดัชนี 2020 Global Resilience Index เป็นเครื่องบ่งชี้ที่ดีว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในแต่ละประเทศ แต่ละภาคธุรกิจจะเป็นอย่างไรและองค์กรมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วเพียงใดหลังจากที่เกิดการระเบิดทางเศรษฐกิจของ Covid-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50737968/business-environment-becoming-more-resilient-study/

ส่งออกกุ้งเวียดนามไปยังแคนาดา โต 32%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงครึ่งปีแรกของเดือนพ.ค. ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เพิ่มขึ้นร้อยละ 32 เป็นมูลค่า 54.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในเดือนม.ค. การส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา เผชิญกับภาวะชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกในเดือนที่ผ่านมา มีการเติบโตในอัตราเลขสองหลัก (Double-Digit Growth) ทั้งนี้ แคนาดาเป็นผู้นำเข้ากุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม อยู่ในอันดับที่ 6 ของตลาดต่างประเทศ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.7 ของยอดส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ ช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ ยอดส่งออกกุ้งของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ศูนย์กลางการค้าโลก (World Trade Center) ชี้ว่าในช่วง 3 เดือนแรกปีนี้ เวียดนามนำเข้ากุ้งลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาอินเดีย เวียดนาม ไทย จีนและเอกวาดอร์ ตามลำดับ สำหรับราคาเฉลี่ยส่งออกกุ้งของเวียดนาม มีราคาสูงสุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดแคนาดา

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-shrimp-exports-to-canada-surge-32-21651.html

เวียดนามเผย 5 เดือนแรก ยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์โต

กรมศุลกากรเวียดนาม (GDC) เปิดเผยว่าเดือนพ.ค. ยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ลดลง แต่ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ กลับเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่แล้ว การส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังต่างประเทศ ลดลงร้อยละ 3.7 ในแง่ปริมาณ และร้อยละ 9.7 ในแง่มูลค่า ด้วยปริมาณ 42,821 ตัน และมูลค่า 263.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ ในขณะที่ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกสินค้าดังกล่าว เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและมูลค่า ร้อยละ 17.1 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37 ของยอดส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหภาพยุโรป ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ร้านอาหารและโรงแรมในสหรัฐฯและยุโรปนำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์แปรรูปลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cashew-nut-exports-grow-in-first-five-months/177379.vnp

เมียนมานำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อลดปัญหาขาดแคลนสัตว์ปีกในประเทศ

สำนักงานอุตสาหกรรมปศุสัตว์แห่งมัณฑะเลย์เผยรัฐบาลอนุญาตให้เกษตรกรนำเข้าลูกไก่มากกว่า 19 ล้านตัวเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนสัตว์ปีกที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19 นับตั้งแต่เดือนที่ผ่านมาการผลิตไก่ลดลงมากถึง 40% ราคาขายส่งไก่เพิ่มขึ้นเป็น 5,000-5,500 จัต (4 ดอลล่าร์สหรัฐ) และราคาขายปลีกอยู่ที่ 8,000-10,000 จัต ทำให้ราคาไก่ในฟาร์มเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นรัฐบาลจึงอนุญาตให้นำเข้าไก่จำนวน 19.2 ล้านตัวตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกรกฎาคม ส่วนเครื่องเพาะพันธุ์ไก่มีกำลังการผลิตเพียงพอ แต่สามารถอนุญาตให้นำเข้าได้เนื่องจากการขาดแคลนอุปทาน คาดว่าจะกลับสู่ภาวะปกติในเดือนกรกฎาคม และราคาไก่เริ่มลดลงเรื่อย ๆ โดยราคาสูงสุดจะอยู่ที่ 5,500 จัต ต่อ 1.63 กิโลกรัมและตอนนี้อยู่ที่ 4,400 จัต ผู้ผลิตสัตว์ปีกได้หันมามาทำห้องเย็นที่ทันสมัยและปรับปรุงพันธุ์จากโรงงานเพื่อรับมือกับความท้าทายจากจำนวนคู่แข่งต่างชาติที่เพิ่มขึ้นในภาคนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-imports-over-19-million-chicks-ease-poultry-shortage.html

เมียนมาขาดดุลงบประมาณปี 2563-2564 ประมาณ 6.8 ล้านล้านจัต

ประธานาธิบดีอู วิน หมินท์ คาดเมียนมาจะขาดดุลงบประมาณที่ 6.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564 หรือ 5.4% ของ GDP  มีรายได้ประชาชาติรวม 27.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2563-2564 ในขณะที่ค่าใช้จ่ายภาครัฐเพิ่มขึ้นถึง -34.6 ล้านล้านจัต ค่าใช้จ่ายจะรวมถึงการใช้จ่ายเพื่อการฟื้นฟูผลกระทบจาก COVID-19 และการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนพฤศจิกายน รวมถึงด้านศึกษาการ สุขภาพ โครงสร้างพื้นฐาน และการเกษตร การใช้จ่ายด้านประกันสังคมและสวัสดิการเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาในขณะที่โครงการสำหรับคนพิการก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย ในปีงบประมาณนี้รายได้จากภาษีคาดจะลดลง แต่รัฐบาลได้ดำเนินการเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจ ส่วนกองทุนฉุกเฉินที่จัดตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้วมียอดรวม 100 พันล้านจัต เพิ่มเป็น 150 พันล้านจัต ในปี 2563-2564 ขณะเดียวกันการจัดสรรงบการใช้จ่ายสำหรับรัฐและภูมิภาคนั้นเพิ่มขึ้นจาก 267 พันล้านจัต เป็น 2.3 ล้านล้านจัต การขาดดุลคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.4% ของ GDP ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมื่อเทียบกับ 5.9% ในปีงบประมาณปัจจุบัน 2562-2563 คาดว่าจะมีรายได้รวม 25.3 ล้านล้านจัตและมีค่าใช้จ่ายรวม 32.3 ล้านล้านจัตทำให้ขาดดุล 7 ล้านล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/budget-deficit-fiscal-2020-21-myanmar-k68-trillion.html

รัฐบาลสปป.ลาวปรับเป้าหมายการเติบโตของ GDP

รัฐบาลได้ขอให้รัฐสภาอนุมัติการตัดสินใจที่จะลดเป้าหมายจีดีพีในปี 63 ให้เป้าหมายการเติบโตของจีดีพี ลดลงจาก 6.5% เหลือ 3.3-3.6% เนื่องจาก Covid-19  และยังขอลดการจัดเก็บรายได้และเป้าหมายการใช้จ่ายจาก 28,997 พันล้านกีบเป็น 22,725 พันล้านกีบและจาก 35,693 พันล้านกีบเป็น 33,043 พันล้านกีบตามลำดับ ในส่วนของค่าใช้จ่ายเสนอให้ลดงบประมาณลง 30% สำหรับองค์กรระดับกลางและลด 10% สำหรับองค์กรท้องถิ่น ยังแนะนำให้เลื่อนการชำระงบประมาณการลงทุนภาครัฐอย่างน้อย 50% ของมูลค่าการลงทุนทั้งหมด ขออนุมัติการเพิ่มขึ้นของการขาดดุลงบประมาณจาก 3.77% ของ GDP เป็น 5.87% ซึ่งจะเพิ่มจาก 6,696 พันล้านเป็น 10,318 พันล้านกีบ ทั้งนี้ยังได้แนะนำมาตรการที่รัฐบาลวางแผนที่จะดำเนินการในอีก 6 เดือนข้างหน้าเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามแผนการจัดเก็บรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสริมการเติบโตของปริมาณเงินและสินเชื่อด้อยคุณภาพ สร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน มาตรการอื่นๆรวมถึงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุนในและต่างประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้รัฐวิสาหกิจ พัฒนาทักษะของแรงงานและบรรเทาความยากจนในพื้นที่ห่างไกลของประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt121.php

ชายแดนสปป.ลาว – กัมพูชายังคงปิดทำการต่อไป

สปป.ลาวได้ตัดสินใจปิดด่านชายแดนลาว – ​​กัมพูชา เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Covid-19 ผู้ว่าราชการจังหวัดสตรึงเตรง Mr.Mom Saroeun อ้างใน Khmer Times “ถึงแม้สถานการณ์ของเราจะเริ่มดีขึ้นแต่ก็ยังมีความเสี่ยงกับมาระบาดอีกครั้งทำให้รัฐบาลของเรายังคงปิดด่านชายแดนต่อไปรวมถึงสปป.ลาวที่สถานการณ์ของการระบาด COVID-19 ดีขึ้นมากแล้วก็ตาม”การปิดด่านชายแดนสร้างความเสียหาย ทั้งด้านการค้าและการท่องเที่ยวแก่ทั้ง 2 ประเทศถึงแม้ด้านการค้าและด้านการท่องเที่ยวกัมพูชาจะไม่ได้เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของสปป.ลาว แต่หากด่านยังคงปิดต่อไปในสถานการณ์ปัจจุบันที่ประเทศทั่วโลกยังคงได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาด Covid-19 การที่สปป.ลาวจะหันให้ความสนใจกับประเทศเพื่อนอย่างอย่างไทยหรือในกลุ่ม CLMV จึงเป็นสิ่งสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/24/laos-cambodia-border-to-remain-closed/