บริษัทขนส่งไทยระงับเส้นทางมายังสปป.ลาว

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา บริษัท ขนส่ง จำกัดประเทศไทย (บขส.) ระงับการให้บริการรถบัสระหว่างประเทศหนึ่งในนั้นคือเส้นทางจากไทยไปยังเขตรอยต่อสปป.ลาว-ไทย การระงับการเดินทางดังกล่าวเป็นหนึ่งในมาตราการลดความเสี่ยงในแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้แรงงานสปป.ลาวหลายรายต้องตกงาน จึงมีการหลั่งไหลกับสปป.จำนวนมากในขณะเดียวกันรัฐบาลไทยมีข้อกำหนดวันที่จะปิดพรหมแดนทำให้แรงงานสปป.ลาว มีความต้องการกลับยังประเทศในสถานการณ์แบบนี้แต่ก็มีบางส่วนไม่ได้กลับไปเพราะคิดว่าตัวเองอาจมาจากกลุ่มเสี่ยงการกลับบ้านไปอาจทำให้ไปแพร่ระบาดเชื้อไวรัสในสปป.ลาวได้  ซึ่งจากมาตราการดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลต่อแรงงานสปป.ลาวในไทยแต่ยังส่งผลต่อผลประกอบของุรกิจโดยตรง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านที่ได้รับผลกระทบจากการที่นักท่องเที่ยวลดลงจนถึงปัจจุบันที่มีมาตราการดังกล่าวออกจึงตอกย้ำความย่ำแย่ของบริษัท แต่ถึงอย่างไรในช่วงสถานการณ์แบบนี้บริษัทน้อมรับทำตามมาตราการของนโยบาย

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/thailand/general/1886425/buses-to-laos-cambodia-suspended

จีนให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวในการต่อต้าน Covid-19

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ทั่วโลกและมีแนวโน้มที่จะแพร่ระบาดเป็นวงกว้างออกไปอีก สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้ออยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำโดยล่าสุดมียอดผู้ติดเชื้อ 3 คน แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ละเลยโดยมีมาตราการการป้องกันเข้มงวดขึ้นและได้รับความช่วยเหลือจากชาติพันธมิตรอย่างจีนซึ่งได้ส่งมอบชุดตรวจจับไวรัส 2,000 ชุด ชุดป้องกัน 5,000 ชุดรวมถึงหน้ากาก N95 400,000 ชุดสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในการช่วยในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 นอกจากนี้หน่วยงานท้องถิ่นในประเทศจีนเช่นยูนนาน หูหนาน ฉงชิ่ง ซานตงและเซี่ยงไฮ้ได้เข้าร่วมกับสมาคมพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย – จีนพันธมิตรผู้ประกอบการจีนและได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไอซีบีซีในเวียงจันทน์และชุมชนชาวจีนในสปป.ลาว ในการแก้ปัญหาทั้งการระบาดของไวรัสและบรรเทาผลกระทบของภาคธุรกิจที่ได้รับจากการเกิดโรคระบาด ในอีกแง่ยังเป็นการสร้างสัมพันธที่ดีต่อทั้ง 2 ประเทศอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Chinese_62.php

กัมพูชาและรัสเซียวางแผนส่งเสริมการค้าทวิภาคีผ่าน FTA

รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้พบกับเอกอัครราชทูตรัสเซียประจำกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ โดยกัมพูชาและรัสเซียให้คำมั่นว่าจะเพิ่มการค้าและการลงทุนทวิภาคี เนื่องจากกัมพูชามีเป้าหมายที่จะกระจายตลาดผ่านการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับสหภาพเศรษฐกิจเอเชีย (EAEU) ซึ่งรัสเซียเป็นสมาชิกร่วมกับอาร์เมเนีย  เบลารุส คาซัคสถานและคีร์กีซสถานมีขนาดประชากรถึง 183 ล้านคน โดยมูลค่ารวม GDP อยู่ที่ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วการค้าทวิภาคีมีมูลค่าสูงถึง 55.39 ล้านเหรียญสหรัฐและกัมพูชาหวังว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้ ขณะนี้กัมพูชากำลังเจรจาเรื่องบันทึกความเข้าใจ (MoU) ครั้งที่ 14 โดยคาดว่าจะได้รับการลงนามในไม่ช้า สิ่งเหล่านี้จะเน้นไปที่การท่องเที่ยว การศึกษา กฎหมายและการพัฒนาเยาวชนเป็นหลัก ซึ่งในปี 2559 กัมพูชาและ EAEU ได้ลงนามใน MoU เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้า อย่างไรก็ตามเนื่องจากกัมพูชายังคงอยู่ในการจัดอันดับประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์ของกัมพูชา 46 รายการ สามารถเข้าสู่ตลาดปลอดภาษี EAEU ได้ภายในสามปีถัดไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705867/cambodia-russia-to-boost-bilateral-trade-looking-at-fta/

อุตสาหกรรมการบินในกัมพูชาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19

กัมพูชารายงานถึงจำนวนเที่ยวบินที่อาจจะลดลงกว่า 40% จากการระบาดของ COVID-19 โดยรวมแล้วจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศไปและกลับจากสนามบินสามแห่งของกัมพูชาในเดือนมีนาคมคาดว่าจะลดลงประมาณ 40% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมปีที่แล้วนับตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่าในเดือนมีนาคมมีเพียง 2,575 เที่ยวบินที่ลงจอดที่สนามบินทั้งสามแห่ง ถือเป็นการลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2019 ที่มีเที่ยวบินทั้งสิ้น 4,241 เที่ยวบินระหว่างประเทศที่เดือนทางมายังกัมพูชา โดยสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ได้ปรับปรุงการวิเคราะห์ผลกระทบของ COVID-19 ต่อรายได้ในอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศทั่วโลก ซึ่งตอนนี้ประมาณการรายได้ผู้โดยสารอาจจะลดลงถึง 2.52 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 44% เมื่อเทียบกับปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50706043/cambodias-aviation-sector-hard-hit-by-coronavirus-pandemic/

ยอดคำสั่งซื้ออาหารทะเลดิ่งลง เนื่องจากผลกระทบเชิงลบของโควิด-19

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ายอดสั่งซื้ออาหารทะเลของธุรกิจลดลง ประมาณร้อยละ 20-50  โดยยอดคำสั่งซื้อลดลงในช่วงต้นเดือนมี.ค. เป็นผลมาจากผลกระทบเชิงลบของโควิด-19 ยกตัวอย่างเช่น บริษัทปลาสวายที่ส่งออกไปยังตลาดจีน ด้วยกำไรสูง แต่ได้หยุดชะงักในช่วงเดือนม.ค.ของปีนี้ จากสถานการณ์แพร่ไวรัส ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงต้นเดือนมี.ค. สถานการณ์แพร่ระบาดหนักไปทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ได้ระงับการทำธุรกรรมทั้งหมดและนโยบายปิดภัตตาคาร โรงแรม ส่งผลให้สินค้าคงเหลือมีจำนวนมากและคำสั่งซื้อใหม่ยังไม่ได้ทำสัญญาอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ กิจกรรมการผลิตอาหารทะเลของธุรกิจส่วนใหญ่ล้วนได้รับผลกระทบเชิงลบ จากการที่ขาดวัตถุดิบ ยกเว้นธุรกิจปลาสวาย (Pangasius) ในขณะที่ ยอดคำสั่งซื้อกุ้งลดลงร้อยละ 20-50 จากการส่งออกไปยังสหรัฐฯและยุโรป จากการล่าช้าในการขนส่งหรือยกเลิก เป็นผลมาจากทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้ามีสินค้าคงเหลือจำนวนมาก นอกจากนี้ แนวทางในการจัดการกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทางสมาคมฯ ได้เรียกรองให้สมาชิกเร่งดำเนินตามกฎหมาย เพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข และสิ่งที่ควรทำ คือ กาควบคุมกำลังการผลิตและร่วมมือกับภาครัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/654053/foreign-investors-pour-855b-in-vn-in-q1.html

เวียดนามเผยโครงการใหม่ด้วยเงินทุนจดทะเบียน FDI เพิ่มขึ้น 45% ในช่วงไตรมาสแรก

จากรายงานของหน่วยงานการลงทุนในต่างประเทศ ภายใต้กระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าเวียดนามได้รับใบอนุญาตการลงทุนในโครงการใหม่ 758 โครงการ ด้วยเงินทุน 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 45 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยโครงการที่ปรับเพิ่มเงินทุนมีอยู่มากกว่า 230 โครงการ มูลค่า 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. ในขณะที่ มูลค่าซื้อหุ้นจากต่างประเทศอยู่ที่ราว 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและโครงการลงทุนจากต่างชาติมีการเบิกจ่ายเงินทุนประมาณ 3.85 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับสาขาธุรกิจ พบว่านักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนใน 18 ภาคธุรกิจ โดยส่วนใหญ่ลงทุนในภาคการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ด้วยมูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 47.5 ของเงินทุนทั้งหมด รองลงมาภาคการผลิตและแปรรูป ตามด้วยภาคการค้าปลีกค้าส่ง นอกจากนี้ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด รองมาเป็นญี่ปุ่นและจีน อีกทั้ง บากเลียว (Bac Lieu) เป็นจังหวัดที่ดึงดูดจากนักลงทุนต่างชาติมากที่สุด รองลงมานครโฮจิมินห์ ตามมาด้วยฮานอยและบ่าเสียะ-หวุงเต่า ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/newly-registered-fdi-rises-by-nearly-45-percent-in-q1/170684.vnp

แรงงานเมียนมาหลังไหลกลับเมียวดีเพิ่มขึ้น

แรงงานเมียนมาจำนวนมากขึ้นจะถูกส่งกลับผ่านทางท่าเรือของงเมียวดี การเดินทางจะถูก จำกัดที่สะพานมิตรภาพหมายเลข 2 เจ้าหน้าที่จากทั้งสองประเทศได้เจรจาเพื่อให้แรงงานราว 2,000 คนเดินทางผ่านสะพานและทำการตรวจสุขภาพก่อนที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าเมียวดี แรงงานอพยพจะถูกกักบริเวณในบ้านเป็นเวลา 14 วันที่เมืองและโดยจะถูกแยกไว้ที่เมียวดี และจะมีการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในตลาด ถนน บ้านเรือนและพื้นที่แออัดอีกด้วย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/more-myanmar-migrants-return-to-myawady

World Bank จับมือ ADB ช่วยเหลือเมียนมาจัดการกับผลกระทบของ COVID-19

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (MIFER) ธนาคารโลกของเมียนมาและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ร่วมหารือในการจัดการกับผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ MIFER กล่าวว่าธนาคารโลกได้ใช้งบ 14 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนประเทศสมาชิกในการเผชิญกับ COVID-19 โดยมอบ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐจะให้แก่เมียนมาภายใต้ระบบ Fast Track และธนาคารโลกกำลังประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของเมียนมา จากนั้นธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียแจ้งว่าจะจัดสรรความช่วยเหลือมูลค่า 6.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการพัฒนาประเทศสมาชิก ADB ประสานงานกับกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาเพื่อให้สินเชื่อและเงินช่วยเหลือเพื่อใช้ในความพยายามในการป้องกันและควบคุม COVID-19 นอกจากนี้ยังได้หารือกับ ADB จัดสรรเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใต้กองทุนโครงการประกันสุขภาพของ The Greater Mekong Subregion (GMS)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/world-bank-adb-assist-myanmars-efforts-deal-covid-19s-effects.html

รัฐบาลสปป.ลาวเพิ่มมาตราการรับมือ Covid-19

นายกรัฐมนตรีทองหลวงศรีสุลิศได้บอกให้ทุกภาคส่วนพิจารณาอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ coronavirus (Covid-19) หลังจากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขยืนยันผู้ติดเชื้อรายที่สามของสปป.ลาวซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายแรก ในขณะเดียวกันจากมาตราการป้องกันของประเทศไทยทำให้แรงงานสปป.ลาวตกงานทำให้มีการหลั่งไหลเข้ามาของแรงงานที่กลับจากไทยทำให้เพิ่มโอกาสที่จะแพร่กระจาย Covid-19 ในสปป.ลาวได้ ทำให้ตอนนี้สปป.ลาวต้องมีการยกระดับการป้องกันเพื่อที่จะควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้ โดยทางการสปป.ลาวได้ออกมาขอความร่วมมือของประชาชนให้เริ่มมีการกักตัวเองอยู่บ้าน 14 วัน และลดการพบปะหรือชุมนุมในช่วงนี้นอกจากนี้ยังขอความร่วมมือไปยังภาคเอกชนในการอนุญาตให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ทั้งนี้มองว่าการให้มีการ Working from home จะทำให้ลดโอกาสการแพร่ระบาดร่วมถึงภาคธุรกิจยังสามารถดำเนินงานได้ไปในบ้างส่วนและลดผลกระทบต่างๆที่ทางบริษัทจะได้รับในช่วงนี้ อย่างไรก็ตามการยกระดับการรับมือกับ Covid-19 จะต้องพิจารณาวันต่อวันหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอาจต้องมีมาตราการที่เข้มข้นกว่านี้ นายกรัฐมนตรีกล่าว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Working.php

สกุลเงินเรียลของกัมพูชาในยุคดิจิตอล

ในบริบทของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ถือเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการชำระเงิน อย่างไรก็ตามการปรับตัวของเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) ในระบบธนาคารของกัมพูชายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการชำระเงินภายในตลาดท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมสังคมการชำระเงินแบบไร้เงินสด รวมถึงการส่งเสริมให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น ซึ่งโครงการ Bakong คาดว่าจะเปิดตัวได้อย่างสมบูรณ์ในปีนี้จะเป็นแกนหลักของระบบการชำระเงินในกัมพูชาเพื่อเชื่อมโยงธนาคารและผู้ให้บริการด้านการชำระเงินด้วยการใช้แอปพลิเคชัน Bakong ที่มีฟังก์ชั่นที่สามารถทำการโอนเงินแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ยังอนุญาตให้ผู้ใช้โอนเงินทั้งในสกุล เรียลและดอลลาร์สหรัฐไปยังอีกแพลตฟอร์มหนึ่งได้จากทุกที่ที่มีอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีสถาบันการเงิน 12 แห่ง ที่เข้าร่วมระบบรวมถึงธนาคาร ACLEDA Bank, Foreign Trade Bank (FTB), Wing (Cambodia) Ltd, Specialised Bank, Cambodia Post Bank, Sathapana, Canadia, Chip Mong, AMK and Speed Pay.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50705458/riel-money-in-the-digital-era/