เสียมราฐเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมข้าวเพื่อความยั่งยืน

การประชุมสุดยอดด้านข้าวเพื่อความยั่งยืนครั้งแรกในกัมพูชาจัดขึ้นในจังหวัดเสียมราฐโดยมีตัวแทนจากสหกรณ์การเกษตร ผู้ผลิตข้าวและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจำนวน 180 คน ได้หารือเกี่ยวกับการปรับปรุงภาคอุตสาหกรรมข้าวภายในประเทศ โดยการประชุมจัดโดยสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF), Amru Rice และ บริษัท สหกรณ์การเกษตรกัมพูชา จำกัด (มหาชน) (CACC) โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกัมพูชา ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีที่ปรึกษาอาวุโสของสภาเศรษฐกิจแห่งชาติ, ประธาน CACC และประธาน CRF เข้าร่วมด้วย ภายใต้หัวข้อ การสร้างความเข้มแข็งของสหกรณ์การเกษตรในประเทศกัมพูชา ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวรวมถึงการอภิปรายที่สำคัญในหัวข้อต่างๆ เช่นการสนับสนุนสหกรณ์ การเข้าถึงการเงินผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและนวัตกรรมการเข้าถึงการเงินสำหรับเกษตรกรรายย่อยและวิธีการก้าวไปข้างหน้าในการสร้างห่วงโซ่คุณค่าข้าวอย่างยั่งยืน โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกข้าวสารประมาณ 620,000 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ ซึ่งประธานซีอาร์เอฟกล่าวว่ากัมพูชาตั้งเป้าส่งออกข้าวสารอย่างน้อยหนึ่งล้านตันในปี 2566

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50694140/siem-reap-hosts-first-sustainable-rice-summit

พิษไวรัส COVID-19 กระทบค้าชายแดนเมียนมา – จีน ลด 209 ดอลลาร์สหรัฐ

การส่งออกแตงโมและผลิตภัณฑ์ทางทะชายแดนเมียนมา – จีนลดลง 209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 14 กุมภาพันธ์ของปีงบประมาณ 61-62 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 14,595 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น 2.147 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีนี้ มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 1.053 พันล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าชายแดนลดลงเนื่องจากวันหยุดตรุษจีนและการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่า ถึง 18 กุมภาพันธ์การค้าชายแดนลดลง 209 ล้านดอลลาร์สหรัฐ – ส่งออก 152 ล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้า 57 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มีผลกระทบกับแตงโม, แตงโมหวาน, สินค้าที่เน่าเสียได้และผลิตภัณฑ์ทางทะเล การแก้ไขปัญหานี้รัฐบาลย่างกุ้งร่วมมือกับโรงแรมตากอากาศ เจ้าของร้านอาหาร และผู้ผลิตอาหารในการรับซื้อแตงโมและแตงโมหวานและช่วยเพิ่มการบริโภคในท้องถิ่น

โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอาจต้องปิดตัวลงชั่วคราวเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบหากไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบได้จนถึงเดือนเมษายน ซึ่งต้องนำเข้าวัตถุดิบ CMP ผ่านชายแดนจีน – เมียนมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-china-border-trade-declines-209-m-usd-due-to-covid-19

ราคาทองคำพุ่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ราคาทองคำในประเทศเพิ่มขึ้นในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะที่ ราคาทองคำโลกทะยานขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยบริษัทไซง่อน จิเวลรี (SJC) ระบุว่าราคาขายทองคำอยู่ที่ 45.68 ล้านดอง (1,970.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตำลึง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากวันก่อนที่ 630,000 ดอง ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่าราคาทองคำพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี และเป็นสัปดาห์ที่ดีที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องมาจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น หลังผู้เสียชีวิตจากโคโรนา ซึ่งในตลาดท้องถิ่น บริษัท Bao Tin Minh Chau Jewelry ในกรุงฮานอย เปิดเผยว่าในช่วงเวลาข้างต้น มีการทำธุรกรรมทองคำสำหรับผู้ซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 55 และผู้ขายร้อยละ 45 ขณะเดียวกัน ทางบริษัทระบุในเว็บไซต์ว่านับเป็นโอกาสที่ดีแก่นักลงทุนในการทำกำไร อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าทองคำส่วนใหญ่มองว่าไม่เห็นถึงความแตกต่างอย่างมากกับจำนวนลูกค้าที่ซื้อทองคำ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/gold-prices-soar-at-home-and-abroad/169035.vnp

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจ.ห่าติ๋ญ ได้ฟื้นฟูการผลิต

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจ.ห่าติ๋ญ ได้ดำเนินการลงทุนเพื่อฟื้นฟูการผลิต หลังจากเผชิญกับอุปสรรคอย่างหนักในช่วงต้นเดือนกันยายนของปีนี้ เนื่องมาจากฝนตกหนักและน้ำท่วม ทำให้ปลาหลายสิบตันตาย ซึ่งชาวเกษตรกรท้องถิ่นที่ใช้กรงกรงเพาะพันธุ์ปลา หันมาใช้ประโยชน์จากแม่น้ำ ‘Do Diem’ โดยสินค้าส่วนใหญ่ใช้ในการบริโภคภายในจังหวัดและตลาดขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าจะดำเนินการป้องกันจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในปีที่แล้ว ส่งผลให้คณะกรรมจังหวัดได้ตัดสินใจที่จะผลักดันเงินรวม 707 ล้านดอง (30,400 ดอลลาร์สหรัฐ) แก่ชาวเกษตรกรที่ใช้กรงดักจับปลา ซึ่งการเลี้ยงปลาที่ใช้กรงเพาะพันธุ์ปลาในพื้นที่เปิดของแม่น้ำจะมีข้อได้เปรียบมากกว่าลักษณะเพาะพันธุ์ปลาแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคุณภาพและผลผลิตของปลา ดังนั้น นักเพาะพันธุ์ปลาจำเป็นต้องติดตามปฏิทินฤดูกาลและสภาพอากาศ เพื่อที่จะลดความเสียหายให้น้อยที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ha-tinhs-cage-fish-farmers-restore-production/169071.vnp

ถกทูตพาณิชย์ปรับทัพส่งออกปี63

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเรียกประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลก 28 ก.พ.นี้เพื่อประเมินสถานการณ์ส่งออกและปรับทัพใหม่หลังเจอไวรัสโควิด-19ระบาดหนัก  นายสมเด็จ สุสมบูรณ์  อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า  ในวันที่ 28 ก.พ.นี้จะมีการประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลกเพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกของไทยในปี 63  พร้อมทั้งปรับแผนงานการส่งออกในตลาดในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูง ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  สงครามการค้าสหรัฐ-จีน  เป็นต้น ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีแผนการหรือกิจกรรมส่งเสริมการค้าเพื่อกระตุ้นการส่งออกที่แตกต่างกัน ส่วนแผนการการเจาะตลาด 18 ประเทศที่วางไว้ก็คงต้องมีการปรับใหม่เพื่อความเหมาะสมหลังจากที่เกิดเหตุการณ์การระบาดของไวรัสโควิค-19 สำหรับแผนการตลาดที่ต้องต้องปรับใหม่ เช่น แผนการโปรโมทสินค้าผลไม้ในดือนเม.ย.ต้องดูความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเข้าไปทำกิจกรรมโปรโมทได้หรือไม่ หากไม่ได้ก็ต้องระงับไว้ก่อน พร้อมกับปรับแผนให้เน้นในเรื่องของการขายออนไลน์ให้มากขึ้น แต่หากว่าจีนคุมสถานการณ์ได้ไว้ เราก็ต้องรีบเข้าจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาด  ขณะเดียวกันก็ต้องมองไปที่ตลาดอื่นๆด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/758828

ส่งออกผักผลไม้เวียดนามลดลง ในเดือนมกราคม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนมกราคม เวียดนามส่งออกผักผลไม้กว่า 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งทางกรมการนำเข้าและส่งออกภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในเดือน ม.ค. ยอดส่งออกผักผลไม้ไปยังจีนลดลงมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่าส่งออกลดลงดังกล่าวเกิดจากการประกาศปิดด่านชั่วคราว เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ กระทรวงฯ ได้เสนอให้ธุรกิจปรับการผลิตและส่งออกไปยังตลาดอื่นเพิ่มขึ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ทั้งนี้ ทางสมาคมผักผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) ตั้งเป้ายอดส่งออกรวมในปี 2563 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ ข้อตกลง CPTPP จะช่วยให้เปิดตลาดใหม่แก่สินค้าเวียดนาม รวมถึงตลาดส่งออกสำคัญที่มีการเติบโต ได้แก่ อาเซียน (26.6%), สหรัฐอเมริกา (10.7%) และสหภาพยุโรป (32.2%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-veggie-exports-decline-in-january/168921.vnp

อุตฯป่าไม้ของเวียดนาม มียอดส่งออกเพิ่มขึ้น 10% ในปีนี้

จากข้อมูลของสมาคมผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม (VIFORES) เผยว่าในปีนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้รวม มีมูลค่า 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยตลาดรายใหญ่ที่สุด คือ สหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่า 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและจีน ตามลำดับ ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯมีทิศทางในเชิงบวกในปีนี้ จากการที่ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น นับว่าเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไม้เวียดนามในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในตลาดดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ธุรกิจสหรัฐฯ จะเพิ่มการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากตลาดอื่นๆ รวมถึงเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคงเผชิญกับการฉ้อโกงทางการค้าด้วยการปลอมแปลงแหล่งกำเนิดสินค้า เนื่องจากสินค้าที่ผลิตในจีนได้ถูกส่งออกมายังเวียดนาม และจากนั้นส่งออกไปยังสหรัฐฯ พร้อมกับติดฉลากสินค้าที่ผลิตในเวียดนาม (made-in-Viet Nam) เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้า นอกจากนี้ กระบวนการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าควรตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าใบรับรองดังกล่าวได้รับอนุมัติให้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/602457/forestry-industry-to-gain-export-value-growth-of-10-this-year.html

เมียนมาสร้างลงทุนกว่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐสร้างเขตอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษเจาะพยู

โครงการเขตอุตสาหกรรมภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษเจาะพยู รัฐยะไข่จะถูกพัฒนาขึ้นเป็นมูลค่า 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย CITIC Consortium จากจีนเป็นเจ้าของ 51% ของเขตอุตสาหกรรมในขณะที่รัฐบาลเมียนมาเป็นเจ้าของ 49% บนพื้นที่ 2,400 เอเคอร์ และโครงการที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์จะถูกสร้างบนพื้นที่ 1235 เอเคอร์ ประกอบด้วยเขตอุตสาหกรรม และท่าเรือน้ำลึกพื้นที่ทั้งหมด 4,400 ไร่ เมียนมาจะถือหุ้น 30 ขณะที่ CITIC Consortium จะถือหุ้น 70% ขณะนี้มีการเจรจาเพื่อเริ่มการดำเนินการระยะแรกที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์ สิ่งนี้เป็นไปตามข้อตกลงสัมปทานและข้อตกลงของผู้ถือหุ้นสำหรับท่าเรือน้ำลึกระหว่างสองประเทศ การพัฒนาท่าเรือเจาะพยู จะช่วยยกระดับสถานะของจีนในมหาสมุทรอินเดียทำให้การนำเข้าน้ำมันของจีนผ่านช่องแคบมะละกา SEZ เป็นสินทรัพย์อันล้ำค่าของระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road Initiative ที่จีนต้องการจะชื่อมต่อเขตแดนของประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียทั้งหมดเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง คุณหมิง-มูเซ-มัณฑะเลย์-เจาะพยู

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/industrial-zone-kyaukphyu-sez-be-built-30m.html

สี่เดือนครึ่งการลงทุนท้องถิ่น 846 พันล้านจัต

รายงานของคณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 13 กุมภาพันธ์ มีการลงทุนในท้องถิ่นทำการลงทุนมูลค่ากว่า 846 พันล้านจัต รวมถึง 154 ล้านดอลลาร์สหรัฐในภูมิภาคและรัฐอื่นๆ เขตซะไกง์มีการลงทุน 1 ครั้งโดย อันดับสองคืออิรวดี สามารถสร้างงานถึง 894 สำหรับคนในท้องถิ่น โดยธุรกิจ 14 แห่งอยู่ในภาคอุตสาหกรรม สามแห่งเป็นโรงแรม และหนึ่งเป็นธุรกิจไฟฟ้าและเหมืองแร่ และสี่แห่งในภาคอุตสาหกรรมอื่น ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 24 มกราคมการลงทุนรวมมีมูลค่าสูงถึง 647 พันล้านจัตซึ่งรวมถึง 113 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/local-investment-reaches-to-ks846-b-within-four-and-a-half-month

โครงการความร่วมมือแม่น้ำโขง – ล้านช้าง พัฒนาสปป.ลาวอย่างก้าวกระโดด

เมื่อวันอังคารที่ 19 ม.ค. 63 มีการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศแม่น้ำโขง – ล้านช้าง (MLC) โดยเป็นการร่วมมือกันของทั้ง 6 ประเทศได้แก่กลุ่มประเทศ CLMV ไทยและจีน ในการประชุมมีการรายงานถึงผลของโครงการที่นำเงินของกองทุนความร่วมมือไปใช้ซึ่งพบว่าสปป.ลาวได้รับประโยชน์จากโครงการความร่วมมือนี้ มูลค่าหลายล้านดอลลาร์ที่ดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง – ล้านช้าง (MLC) โดยโครงการต่างๆมีส่วนสำคัญในการบรรเทาความยากจนลดช่องว่างในสังคมและเพิ่มขีดความสามารถของลาวในด้านต่างๆตามวัตถุประสงค์เดียวกับอาเซียน(AEC) โดยโครงการที่ผ่านมาได้รับการสนับสนุนเงินจากจีนเป็นหลักผ่านกองทุน MLC Special Fund ซึ่งจีนสนับสนุนมากกว่า 2.67 ล้านล้านคิป (300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เป็นส่วนสำคัญในการทำให้สปป.ลาวเติบโตอย่างก้าวกระโดด ซึ่งในปี 63 จะมีโครงการอีกกว่า 100 โครงการที่รอการอนุมัติและเริ่มดำเนินการและคาดว่าจะทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-granted-multimillion-dollar-projects-mekong-lancang-cooperation-114201