ยอดค้าปลีกและบริการในนครโฮจิมินห์ พุ่ง 11.2%

ยอดการค้าปลีกสินค้าและบริการในเดือนมกราคม ณ นครโฮจิมินห์ อยู่ที่ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งยอดค้าปลีกสินค้ารวมอยู่ที่ 76.24 ล้านล้านด่อง เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.61 ของยอดการค้าปลีกสินค้าและบริการรวม เป็นผลจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นตามเทศกาลปีใหม่ สำหรับราคาสินค้าในช่วงวันปีใหม่ (Tet) อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอาหารและของกิน เครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ในบ้าน เป็นต้น ชณะที่ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างสรรพสินค้า มีการเตรียมสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการซื้อของผู้บริโภคก่อนที่จะถึงช่วงปีใหม่ ด้วยกำลังซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับเดือนปกติ ส่วนช่องทางการจัดจำหน่ายมีการใช้โปรโมชั่นที่หลากหลาย เช่น ส่วนลดราคาสินค้าร้อยละ 5-49 เพื่อกระตุ้นเพิ่มกำลังซื้อสูงขึ้นในช่วงเดือนแรกของปีนี้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hcm-citys-retail-sales-services-revenue-surge-by-112-percent-409869.vov

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในสินค้าเกษตร

การส่งออกปศุสัตว์สร้างรายได้สูงสุดในกลุ่มสินค้าเกษตร มีมูลค่ามากถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งมากกว่า กล้วยไม้และยางที่เคยเป็นสินค้าที่สร้างรายได้สูงสุดแก่สปป.ลาว โดยประเทศคู่ค้าที่สำคัญในการส่งออกปศุสัตว์ของสปป.ลาวคือ เวียดนาม ซึ่งปศุสัตว์เป็น 1 ใน 2 ผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่สปป.ลาวขายให้กับเวียดนามโดยมีมูลค่าการส่งออกเกือบ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งใน 20 อันดับแรกของผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกไปยังประเทศจีนด้วยยอดขายมูลค่า 7.5 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้จีนถือเป็นประเทศที่มีความต้องการในปศุสัตว์สปป.ลาวสูง โดยตลาดในยูนนานของจีนต้องการปศุสัตว์ 500,000 ตัวจากสปป.ลาวเป็นประจำทุกปี สินค้ากลุ่มนี้จึงเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะอนาคตจะเติบโตได้อีกและสปป.ลาว ยังมีศักยภาพในการแข่งขันด้วยปัจจัยที่สปป.ลาวมีที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงโคเพื่อการค้านั้นเอง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/livestock-top-earner-among-laos%E2%80%99-agricultural-exports-113626

สปป.ลาว, ญี่ปุ่นลงนามข้อตกลงเรื่องพัฒนาการท่องเที่ยวในหลวงน้ำทา

Luangpaseuth Corporation ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกลุ่ม Chodai จากประเทศญี่ปุ่นเพื่อโครงการการท่องเที่ยวและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน โดยแขวงหลวงน้ำทามีชายแดนการค้าสำคัญกับจีนซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย คุณสมบัติเหล่านี้เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาภาคส่วนที่สำคัญของการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นภาคที่สำคัญของสปป.ลาวในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การลงนามดังกล่าวจะทำให้มีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนแก่สปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-japan-ink-deal-tourism-development-luang-namtha-113704

รถไฟเชื่อมระหว่างกัมพูชาและไทยใกล้ที่จะเปิดทำการในเร็วๆนี้

เจ้าหน้าที่การรถไฟของกัมพูชาและไทยจะประชุมเพื่อหารือเรื่องการขนส่งทางรถไฟข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยปลัดกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวว่าข้อตกลงด้านการขนส่งทางรถไฟข้ามพรมแดนได้ลงนามไว้ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือเปิดทำการ ซึ่งการเชื่อมต่อใหม่จะช่วยให้การขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุน ปรับปรุงความปลอดภัย ลดปัญหาการจราจรติดขัดและมีส่วนช่วยในการพัฒนาของทั้งสองประเทศรวมทั้งเพิ่มการเชื่อมโยงเพิ่มเติมกับสมาชิกอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศคาดหวังว่าจะปรับปรุงการขนส่งและส่งเสริมการค้า นอกจากนี้ยังเปิดตัวสะพานมิตรภาพ Stung Bot – Ban Nong Ian เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศอีกด้วย  โดยเส้นทางรถไฟสายเหนือจะเชื่อมต่อกัมพูชาและไทยเริ่มต้นที่กรุงพนมเปญและเดินทางไปยังปอยเปตที่ชายแดนไทยระยะทาง 386 กิโลเมตร ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยอยู่ที่ 9.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ ปี 2562 เพิ่มขึ้นจาก 8.39 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689585/cambodia-thailand-railway-a-stop-nearer-being-ready

ภาคการส่งออกของกัมพูชาไปยังไทยเพิ่มขึ้นกว่า 195% ในปี 2562

ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 2.27 พันล้านเหรียญสหรัฐไปยังประเทศไทยคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 195% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสำหรับการนำเข้าของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยลดลง 6% เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยโฆษกของกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ารัฐบาลกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อลดการขาดดุลการค้ากับไทย จนถึงตอนนี้รัฐบาลได้ผลักดันการส่งออกในปริมาณที่สูงขึ้นกว่าก่อนหน้านี้ ซึ่งในปี 2561 การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 8.38 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 6.18 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689838/cambodias-exports-to-thailand-increase-by-195-in-2019

การส่งออกเพิ่มแม้เงินจัตแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

เงินจัตของเมียนมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และราคาซื้อขายอยู่ที่ 1465 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เดือนพฤศจิกายน 62 ยังอยู่ที่ 1500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ สำหรับช่วงสี่เดือนแรกของปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 62 จนถึงขณะนี้ปริมาณการส่งออกสูงถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 28% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน การนำเข้าในช่วงเวลาเดียวกันมีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 19% ต่อปี นำไปสู่ขาดดุลการค้าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันเทียบกับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความต้องการสินค้า เช่น เสื้อผ้า สินค้าเกษตร และแร่ธาตุ เนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความระมัดระวังมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ (MOC) คาดว่าการส่งออกทั้งหมดในปีนี้จะสูงถึง 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะถึง 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ 63-68 สิ่งสำคัญลำดับแรก ได้แก่ การแปรรูปเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนประกอบไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ ข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-rise-even-kyat-strengthens-against-us-dollar.html

CBM อาจลดดอกเบี้ยหากมีความจำเป็น

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นหากมีความเป็น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันคือ 10% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากขั้นต่ำตั้งไว้ที่ 8% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่ 13% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยในเมียนมาจะสูงกว่านี้มาก ขณะที่ สส.บางส่วนเห็นว่าควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้สินเชื่อในธุรกิจท้องถิ่นมีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นซึ่งจะเอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาด้านการเงินแล้ว แต่เมียนมายังไม่ถึงขั้นนั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งเมียนมา (Hluttaw) CBM จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันเพราะอยู่ในอัตราที่เหมาะสมแล้ว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/cbm-set-reduce-interest-rates-if-needed.html

การค้าขาดดุล 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐแม้ว่ายอดส่งออกจะสูงกว่าเป้าหมาย

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ระบุว่าสปป.ลาวมีการขาดดุลการค้า 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 61แม้ว่าจะส่งออกได้มากถึง 5,603 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกินเป้าหมายที่เคยคาดว่าจะอยู่ที่ 5,516 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญยังคงเป็นพลังงานไฟฟ้าที่มีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้การส่งออกภาครวมจะมีการเติบโตแต่สปป.ลาวยังเป็นประเทศที่มีการนำเข้าสินค้ามาในจำนวนมากโดยสินค้าที่นำเข้าหลักๆของสปป.ลาวได้แก่ เชื้อเพลิงยานพาหนะ รถแทรกเตอร์และรถจักรยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันสปป.ลาวกำลังอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจมีการเติบโต รายต่อหัวของประชาเพิ่มสูงขึ้นทำให้มีความต้องการในสินค้าดังกล่าวมากขึ้นตาม ส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าในสินค้าดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นด้วย จึงเป็นสาเหตุที่ถึงแม้การส่งออกจะเพิ่มสูงขึ้นแต่ยังขาดดุลนั้นเอง อย่างไรก็ตามการขาดดุลของสปป.ลาวมีแนวโน้มที่จะน้อยลงจากนโยบายภาครัฐในปัจจุบันที่สนับสนุนการผลิตในประเทศมากขึ้นรวมถึงมาตราการส่งเสริมการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะเป็นผลดีในอนาคตที่จะช่วยทำให้สปป.ลาวขาดดุลน้อยลง จนไปถึงเกินดุลในที่สุด 

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/trade-deficit-hits-us137-million-despite-exports-exceeding-target-113541