การประชุมคณะรัฐมนตรีประจำเดือนมกราคม

การประชุมของคณะรัฐมนตรีประจำเดือนมกราคมได้เกิดขึ้นไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยได้มีการพูดคุยกันในหลายๆเรื่องทั้งเรื่องของอนาคตและสถานการณ์การปัจจุบันอย่างเช่นเรื่องมาตราการป้องกันเชื้อไวรัส  coronavirus โดยหนึ่งในหัวข้อที่สำคัญที่ได้มีการพูดคุยกันคือการที่รัฐบาลจะเข้ามาเสริมสร้างบรรยากาศที่ดีในการดำเนินธุรกิจหรือเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มการลงทุน นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีเรียกร้องให้มีการจัดการด้านราคาอย่างมีประสิทธิภาพในตลาดท้องถิ่นเพื่อให้มั่นใจว่าราคาสินค้าสมเหตุสมผลจากที่ในปัจจุบันกำลังเผชิญกับภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ในด้านอุตสาหกรรมมีการเรียกร้องให้มีมาตราสนับสนุนเพิ่มมากกว่าและข้อเสนอที่ดีขึ้นเพื่อดึงดูดให้ต่างประเทศมาตั้งฐานการผลิตที่สปป.ลาว ในช่วงสุดท้ายของการประชุมมีการพูดถึงการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดความร่วมมือระดับที่ 3 ของลังโคม – แม่โขง (LMC)และการประชุมสุดยอดยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจครั้งที่ 9 – แม่น้ำเจ้าพระยา – เจ้าพระยา – แม่น้ำโขงซึ่งจะจัดขึ้นที่เวียงจันทน์ในเดือนมีนาคม การประชุมดังกล่าวจะทำให้ สปป.ลาวได้ข้อเสนอแนะที่ดีที่ดีในการพัฒนาประเทศต่อไป

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_demands_18.php

รัฐบาลสปป.ลาวคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างมั่นคงในปี 2563

รัฐบาลสปป.ลาวคาดหวังอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะขยายตัวที่ 9.5% คิดเป็นมูลค่า 54,080 พันล้านกีบในขณะที่รายรับเฉลี่ยต่อหัวจะอยู่ที่ 6,120 ดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ โดยมีเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายรอบด้านทั้งการเพิ่มการลงทุนจากทั้งภาครัฐและสนับสนุนเอกชนให้มีการลงทุนเพิ่ม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 16,700 ล้านกีบนอกจากนี้การพัฒนาให้ภาคอุตสหกรรมสำคัญอย่าง ภาคเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรมและบริการมีการขยายตัวจะเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกันในการทำให้ GDP ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย เป็นที่น่าจับตามองถึงอนาคตของสปป.ลาวถึงการเติบโตดังกล่าวเพราะหากทำได้ตามเป้าหมายจะเป็นผลต่อสปป.ลาวอย่างมาก ทั้งดานการลดปัญหาความยากจน การเพิ่มงานให้คนในประเทศจากการที่มีการลงทุนสร้างโรงงานมากขึ้น เศรษฐกิจที่ดีจะทำให้สปป.ลาวพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vientiane-expects-stable-economic-growth-2020-112703

โครงการการลงทุนใหม่ในกำปงสปือของประเทศกัมพูชา

สภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา (CDC) อนุมัติโครงการลงทุนใหม่สองโครงการมูลค่า 13.8 ล้านเหรียญสหรัฐในจังหวัดกำปงสปือ ตามรายงานของสภาฯ โครงการที่ได้รับการอนุมัติใหม่นั้นเป็นของ บริษัท เค.วาย โอดิสซีย์การ์เม้นท์ จำกัด ในอำเภอกงปิสซี และ บริษัท โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า King Lian (กัมพูชา) จำกัด ในอำเภอสำโรงตอง โดยโครงการลงทุนสองโครงการครอบคลุมการผลิตเสื้อผ้า ซึ่งจะสร้างงานทั้งหมด 3,022 ตำแหน่งสำหรับคนในท้องถิ่น โดยกำปงสปือกำลังมองหาการลงทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีแรงงานจำนวนมากซึ่งปัจจุบันย้ายไปอยู่ที่อื่นเพื่อหางานทำ จากรายงานของ ASEAN Investment 2019 มีโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ 17 แห่ง ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชาในช่วงสองปีที่ผ่านมาสร้างงาน 11,502 ตำแหน่งในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่คือนักลงทุนจากฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีนและออสเตรเลีย โดยโรงงานผลิตกระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ ชุดกีฬา เสื้อยืด และแจ็คเก็ตรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ เป็นสินค้าหลัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50683495/investments-in-kampog-speu-touted

ธนาคาร SME ขนาด 100 ล้านเหรียญสหรัฐ จะเริ่มดำเนินการในครึ่งปีหลัง

หลังจากนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวเป็นครั้งแรกในช่วงการประชุมภาครัฐและเอกชนครั้งที่ 18 เมื่อปีที่แล้วว่าจะมีการเปิดดำเนินการธนาคาร SME ใหม่ ซึ่งคาดว่าจะมีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยซีอีโอได้รับการว่าจ้างพร้อมกับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีที่มีประสบการณ์และมีความรู้รวมถึงผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าธนาคารจะประสบความสำเร็จในการดำเนินการ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นเจ้าของธนาคาร 100% ผ่านกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน โดยจะมีวัตถุประสงค์หลักคือการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยเหตุนี้ธนาคารจะดำเนินโครงการเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม SME เกี่ยวกับการธนาคารและเรื่องการเงินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะดำเนินงานบนพื้นฐานของธนาคารพาณิชย์ที่สมบูรณ์และจะออกสินเชื่อเพื่อการค้าและบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายคือการให้บริการทางการเงินที่เหมาะสมแก่ภาค SME ซึ่งอาจจะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าที่ตลาดเสนอในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50683510/100-million-capitalized-sme-bank-to-commence-in-second-half-of-this-year

ผู้ประกอบการในประเทศร่วมลงนามกับอุตสาหกรรมปศุสัตว์

อุตสาหกรรมปศุสัตว์เวียดนามคาดว่าจะดึงดูดผู้ผลิตที่มีความเชี่ยวชาญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โดยข้อตกลงความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการในประเทศที่มีศักยภาพจะช่วยให้อุตสาหกรรมฯ สามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันได้ ด้วยความร่วมมือและห่วงโซ่อุปทานระหว่างผู้ผลิต โรงฆ่าสัตว์และร้านค้าปลีก ทั้งนี้ จากกรายงานของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าปริมาณการผลิตเนื้อสัตว์รวมอยู่ที่ประมาณ 5.14 ล้านตันในปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 4.1 ซึ่งเนื้อหมูเป็นสินค้าที่จำเป็นและมีสัดส่วนของโครงสร้างการบริโภคขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามผลผลิตเนื้อหมูลดลงราว 380,000 ในปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9-10 เมื่อเทียบกับปี 61 ส่งผลให้ตลาดอาหารในประเทศอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญมองว่าการพัฒนาห่วงโซ่อุปทานสำหรับสินค้าปศุสัตว์และความร่วมมือของผู้ประกอบการในประเทศ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาและความยั่งยืนต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์ที่ต้องเผชิญกับการนำเข้าเนื้อสัตว์ด้วยข้อตกลงการค้าเสรีรูปแบบใหม่

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/591526/domestic-companies-sign-deals-in-livestock-industry.html

เมืองดานัง ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากับเรือท่องเที่ยว 1,250 คน

ในวันที่ 26 มกราคมของปีนี้ เรือสำราญภายใต้ขื่อ “Westerdam” ได้บรรทุกผู้โดยสารที่เป็นชาวต่างชาติ 1,250 คน เข้าเทียบท่าเรือเตียนซา (Tien Sa) ณ กรุงฮานอย ซึ่งเป็นเรือสำราญลำแรกที่เดินทางมายังเมืองดานังในช่วงฉลองรับปีนักษัตรชวด ทั้งนี้ ผู้อำนวยการกระทรวงการท่องเที่ยว ระบุว่าพิธีต้อนรับนักท่องเที่ยวในครั้งนี้ เพื่อทำให้เมืองดานังเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวต่างชาติมากยิ่งขึ้น โดยในปีที่แล้ว เมืองดานังได้ต้อนรับเรือสำราญ 101 ลำ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สำหรับนักท่องเที่ยวร่วมเดินทางมายังเซ็นทรัลบีชอยู่ที่ 8.69 ล้านคน ในปี 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อีกทั้ง เป้าหมายในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวมายังเมืองดายัง อยู่ที่ 9.8 ล้านคน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามที่จะเปลี่ยนภาคการท่องเที่ยวให้เป็นเสาหลักของเศรษฐกิจท้องถิ่น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/da-nang-welcomes-first-1250-foreign-cruise-visitors/167798.vnp

MOU ย่างกุ้งอมตะสมาร์ทและเมืองนิเวศน์ (ECO-CITY)

พิธีลงนามในการดำเนินการย่างกุ้งอมตะสมาร์ทและเมืองนิเวศน์ (ECO-CITY) การพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัย (UHDD) และ บริษัท อมตะเอเชีย (เมียนมาร์) จำกัด ได้ลงนามในสัญญาเช่าที่ดินนี้ โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม การส่งออกต่างประเทศและทรัพยากรมนุษย์นอกเหนือจากการเป็นแหล่งช่วยเหลือที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐบนที่ดิน 2,000 เอเคอร์ใกล้หมู่บ้าน Laydaunkkan ระหว่าง East Dagon และ South Dagon Township ในย่างกุ้งและสร้างงานได้ถึง 33,000 ตำแหน่ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/agreement-to-implement-yangon-amata-smart-and-eco-city-signed

สามเดือนครึ่งเมียนมามีรายได้ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าว

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 มกราคม 63 เมียนมาได้รับเงินประมาณ 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวหักไปยัง 46 ประเทศ ส่วนใหญ่ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย รองลงมาเป็นเซเนกัล เบลเยียม และกินี โดยมูลค่าส่งออก 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากอินโดนีเซีย 21,667 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเซเนกัล และ 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเบลเยียม รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะซื้อข้าวเปลือกจากเขตพะโค, อิรวดีและย่างกุ้งด้วยเงินกองทุนประมาณ 8 พันล้านจัตสำหรับเขตพะโคและ 5 พันล้านจัตสำหรับเขตอิรวดี หากราคาตลาดลดลงมากกว่าราคาพื้นฐานรัฐบาลวางแผนไว้เพื่อจะซื้อซื้อที่นาด้วยงบ 1,500 ล้านจัต

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-about-us80-m-from-broken-rice-export-within-three-and-a-half-month

ส.อ.ท. จี้รัฐรับมือเศรษฐกิจโลกยังหนัก

หลังจากประเมินสถานการณ์โดยรวมในปี 2563 ภาคเอกชนต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ เศรษฐกิจยังคงได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามค่าเงินการเมือง แม้มีมาตรการกระตุ้นการลงทุน ข้อเสนอหลักคือต้องลดภาระ โดยขอให้รัฐพิจารณาเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการรายเล็กและประชาชนบางส่วน โดยการลดค่าไฟให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และบ้านพัก 5% เป็นระยะเวลา 1 ปี ขณะเดียวกันขอให้ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรใหม่ เพื่อการผลิตในสินค้าที่ไทยผลิตเองไม่ได้ ให้เหลือ 0% เป็นระยะเวลา 1 ปี นอกจากนี้การที่รัฐใช้แนวทางดึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเข้ามา เพื่อเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือในการช่วยเศรษฐกิจฐานราก นอกจากนี้รัฐจำเป็นที่ต้องผลักดันให้แต่ละภาคถูกพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ ดึงการลงทุนเข้ามาเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยภาคเหนือควรถูกยกเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารและ Creative Economy เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน(NEEC) ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว อาหาร และLogistics Hub และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ให้เป็นเมืองอัจฉริยะและท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมฮาลาล

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-414443

ความกดดันในการควบคุมเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น ปี 2563

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าในปีนี้การควบคุมราคาและเงินเฟ้อมีความซับซ้อนและยากลำบากมากขึ้น โดยราคาเนื้อหมูมีความผันผวนอย่างมากในปีที่แล้วส่งผลกระทบต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาลดลงในช่วงครึ่งแรกของปีและจากนั้นปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ราคาเนื้อหมูลดลงต่ำสุดอยู่ที่ 28,000-32,000 ด่องต่อกิโลกรัม หลังจากนั้น ราคาจะค่อยๆปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือน ก.ค.-ต.ค. ทั้งนี้ ทางผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐศาสตร์และการเงิน ระบุว่าหลังจากที่ราคาเนื้อหมูพุ่งสูงขึ้นกว่าร้อยละ 50 ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีที่แล้ว การควบคุมอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าร้อยละ 4 ในปีนี้ ซึ่งมีความไม่แน่นอนเมื่อดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ธ.ค. เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 5.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา นับว่าอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม หากราคาเนื้อหมูยังอยู่ในระดับสูงในไตรมาสแรก ค่าเฉลี่ยอาจอยู่ในระดับร้อยละ 3.5 สำหรับเป้าหมายของสภาแห่งชาติ ต้องการคงระดับอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ต่ำกว่าร้อยละ 4 ในปีนี้ ซึ่งการจัดการราคาและควบคุมเงินเฟ้อในปีนี้จะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ยืดหยุ่นและเขิงรุก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pressure-mounts-to-control-inflation-in-2020/167711.vnp