โครงการถนนสายใหม่รัฐชินเริ่มปีหน้า

โครงการถนนสายใหม่ของรัฐชินได้รับเงินกู้จากธนาคารโลกเริ่ม ต.ค.ปีหน้า โดยจะเชื่อมเมืองกะเล่, พะล่าน และฮ่าค่า จุดเริ่มต้นของถนนจะอยู่ในกะเล่ซึ่งเลาะเลียบรัฐชินและเขตสะกาย ถนนกะเล่-พะล่าน-ฮ่าค่า มีความสำคัญในการเชื่อมโยงรัฐชินกับภูมิภาคและรัฐอื่น ๆ เมื่อเสร็จสิ้นจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาของรัฐซิน โครงการนี้จะกู้ยืมเงิน 65 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารโลกและส่วนหนึ่งจากเงิน 200 ล้านเหรียญสหรัฐจากเงินทุนในเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 58 เงินกู้ดังกล่าวได้รับอนุญาตสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในรัฐยะไข่, เขตอิรวดี, และรัฐชิน ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่มีความสำคัญสำหรับรัฐชินดังนั้นจึงให้ความสำคัญในการสร้างอย่างเหมาะสมและยั่งยืน ส่วนผลลัพธ์จากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม รัฐบาลต้องมีแนวทางเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการจะได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรม โปร่งใสและมีผลกระทบน้อยที่สุด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-road-project-chin-set-start-next-year.html

เวียงจันทน์ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสปป.ลาวเพิ่มการคุ้มครองผู้บริโภค

เจ้าหน้าที่ในเวียงจันทน์จะส่งเสริมการใช้สินค้าที่ทำจากสปป.ลาวให้เพิ่มขึ้นและส่งเสริมการเพาะปลูกผลิตผลเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างงานและสร้างรายได้ ประเด็นเหล่านี้ถูกกล่าวถึงในการประชุมที่จัดขึ้นที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการบรรลุความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานของสินค้าที่ผลิตในประเทศและลดการนำเข้าสินค้าต่างประเทศที่ไม่จำเป็น การประชุมมีผู้เข้าร่วมจากตัวแทนของหน่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนและธุรกิจการเกษตร สมาชิกคณะผู้บริหารของเวียงจันทน์และผู้ปลูกผักปลอดสารพิษ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vientiane-looks-boost-use-lao-made-products-enhance-consumer-protection-107692

สปป.ลาวส่งเสริมโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

รัฐบาลกำลังส่งเสริมการสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเติบโตสีเขียวและการลดความยากจนอย่างยั่งยืน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวว่าโครงการพัฒนาทั้งหมดจะต้องมีการศึกษาอย่างละเอียดเพื่อประเมินและหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนท้องถิ่น ในการประชุมประจำภูมิภาคครั้งที่ 8 ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) มีตัวแทนจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขง สถาบันการศึกษาภาคประชาสังคมและสื่อมวลชน เข้าร่วมการประชุม เนื่องมาจากการเติบโตของภาคนี้จะมีส่วนสำคัญในการลดความยากจน และต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่สะอาดและเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน อีกทั้งจะช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าใจมากขึ้น ไม่เพียงแต่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ยังช่วยให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอภิปรายและป้อนข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาลุ่มน้ำ และเน้นถึงความต้องการความร่วมมือและการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนของแม่น้ำโขง

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-promotes-environmentally-friendly-hydro-projects-107690

บริษัทเยอรมันพิจารณาลงทุนในธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ในกัมพูชา

บริษัทของเยอรมันแสดงความสนใจในภาคพลังงานสะอาดของกัมพูชาในระหว่างการประชุมเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ที่จัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ด้วยเป้าหมายที่จะผลิตพลังงานจากโซล่าฟาร์มให้ถึง 20% ของภาคการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดที่รัฐบาลวางแผนไว้ โดยงานนี้จัดขึ้นโดยคณะผู้แทนจากประเทศเยอรมนีด้านอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ในประเทศเมียนมาร์ (AHK) และได้รับการสนับสนุนจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และหอการค้ายุโรป (Eurocham) ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยจัดแสดงโซลูชั่นทางด้านพลังงานที่ยั่งยืนซึ่งผู้อำนวยการด้านพลังงานขอ กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชากล่าวกับผู้สื่อข่าวว่ารัฐบาลยินดีต้อนรับนักลงทุนทุกคนที่ต้องการเข้ามาพัฒนาโครงการในภาคพลังงานแสงอาทิตย์ โดยกัมพูชามีจำนวนชั่วโมงแสงแดดสูงบ่งบอกถึงศักยภาพความเป็นไปได้ในอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนในกัมพูชา ซึ่งมีโซล่าฟาร์มเพียงสองแห่งที่เปิดดำเนินการ ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้ 90 เมกะวัตต์ โดยภายในปี 2565 โรงงานผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จะเปิดทำการเพิ่มอีก 7 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657473/german-companies-consider-investing-in-local-solar-sector/

กลุ่มประเทศเตรียมทำข้อตกลงกับกลุ่มผู้นำเศรษฐกิจรัสเซีย

ในไม่ช้าสินค้าจำนวนนับพันประเภทของกัมพูชาอาจถูกส่งไปยังตลาดกลุ่มสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (EAEU) ซึ่งเป็นกลุ่มการค้าเสรีขนาดใหญ่หลังจากที่กัมพูชาได้ลงนามในข้อตกลงกับสหภาพ โดยข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่อาจเกิดขึ้นในเร็วๆนี้ ได้ถูกเปิดเผยในระหว่างการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกับนายกรัฐมนตรีของรัสเซีย ณ งานประชุมสุดยอดอาเซียนในกรุงเทพฯ ซึ่งมีอีก 5 ประเทศในอาเซียนที่ได้แสดงความสนใจในการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย ได้แก่ บรูไน, อินโดนีเซีย, กัมพูชา, ไทย และฟิลิปปินส์ โดยนายลิมเฮงรองประทานหอการค้ากัมพูชากล่าวว่าสินค้ากัมพูชาราว 4,000 ถึง 5,000 ประเภทจะได้รับอนุญาตให้ยกเว้นภาษีหากมีการลงนาม FTA ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรและสิ่งทอ โดยถือว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับกัมพูชาที่จะสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างชาติเข้ามาในประเทศได้มากขึ้นรวมถึงส่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ไปยังสหภาพ ซึ่งหอการค้ากัมพูชาและกระทรวงพาณิชย์ทำงานเพื่อให้ข้อตกลงเป็นจริง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657467/nation-set-to-ink-agreement-with-russia-led-economic-bloc/

ราคาไข่ในประเทศลดลงผลจากปัญหาโลจิสติกส์

ประธานสหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาเผยราคาไข่ลดลงมาอยู่ที่ 1400 จัต ต่อ viss (1.65 กิโลกรัม) จากระดับ 2600 จัต เมื่อสัปดาห์ที่แล้วก่อนที่จะดีดตัวขึ้นมาที่ระดับ 2100 จัต ปัญหาอุปสงค์และอุปทานไม่สมดุล ทำให้การขนส่งไข่ไปยังพื้นที่ชายแดนอย่างมูเซ และอากาศอบอุ่นในปีนี้ทำให้ผลผลิตลดลงและผลักดันราคาให้ลดลงอีก จากสถิติมีไก่อยู่ราว 20 ล้านตัวและ 75% เป็นไก่ไข่ ผลผลิตในท้องถิ่นกำลังเผชิญแรงกดดันจากนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาใน เช่น จีน ไทย และอินเดียได้ ซึ่งการเพาะพันธุ์ส่วนใหญ่ทำโดยเกษตรกรเพียงเล็กน้อยและยังใช้วิธีการเลี้ยงแบบดั้งเดิม มีเกษตรกรเพียง 5 –10% ที่เปลี่ยนวิธีการเลี้ยงเป็นแบบสมัยใหม่ซึ่งต้นทุนจะสองกว่าแบบดั้งเดิมถึงสองเท่า ในปีนี้การลงทุนจากต่างประเทศจะมาจากอเมริกา อินเดีย และมาเลเซียมากขึ้น ซึ่งเกษตรกรในท้องถิ่นต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ตามปกติฟาร์มขนาดใหญ่จะมีความสามารถในการเลี้ยงไก่ไข่ 10,000-50,000 ตัว และที่ไก่เนื้อ 3,000 ตัว ขณะที่บริษัทต่างชาติคาดว่าจะเลี้ยงไก่หลายล้านตัวและสามารถขยายธุรกิจได้มากด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกและผลิตอาหารไก่ได้เองทำให้ต้นทุนต่ำลง ความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดสองข้อในการพัฒนาอุตสาหกรรมคือการจัดหาเงินทุนจากธนาคารและการเข้าถึงที่ดิน ผลผลิตที่ผ่านมาลดลงเนื่องจากความร้อนในเดือน มิ.ย.และราคาไก่สดสร้างสถิติสูงสุดเป็นเวลาสองสัปดาห์ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนธุรกิจจะต้องหันไปใช้เทคนิคการทำฟาร์มแบบเย็นที่ทันสมัยมากขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/local-egg-prices-drop-due-logistical-issues.html

โตโยต้าเมียนมาเริ่มผลิตไฮลักซ์

โตโยต้ามอเตอร์เมียนมา (TMY) จะเริ่มผลิตไฮลักซ์เมียนมาเป็นครั้งแรกและยังมีแผนที่จะผลิตแบรนด์รถยนต์อื่น ๆ หลังจากประเมินสถานการณ์ตลาด การก่อสร้างโรงงานรถยนต์ได้เริ่มขึ้นคาดจะเริ่มให้บริการใน ส.ค. 63 คาดว่าจะผลิตได้ในปี 64 กุมภาพันธ์ ผลิตได้ 2,500 คัน โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่นญี่ปุ่นวางศิลาฤกษ์การก่อสร้างโรงงานอัตโนมัติแห่งใหม่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่าในวันที่ 1 พ.ย.62 ที่ผ่านมา การลงทุนจากต่างประเทศมีมูลค่า 52.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มีแรงงาน 130 คน และเริ่มผลิตรถยนต์ในปี พ.ศ. 64 โดยตั้งเป้าผลิตโตโยต้าไฮลักซ์ 2,500 คันโดยใช้ระบบน็อคดาวน์ (SKD)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/microfinance-firms-get-more-support.html

มูลค่ารวมในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชาเพิ่มขึ้นเกินกว่า 160 ล้านเหรียญสหรัฐ

เงินทุนเคลื่อนย้ายที่ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) ซึ่งเป็นตลาดหุ้นในประเทศกัมพูชา เปิดตัวในปี 2555 ปัจจุบันมีมูลค่าถึง 161 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย CEO ของ CSX กล่าวว่าการรับรู้ของตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเติบโตอย่างรวดเร็วและตั้งข้อสังเกตว่ากำลังกลายเป็นแหล่งเงินทุนที่ได้รับความนิยมมากขึ้นสำหรับ บริษัท ในท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบัน CSX มีบริษัทจดทะเบียน 8 แห่ง โดย 5 แห่งทำการซื้อขายอยู่บนกระดานหลักและอีก 3 แห่งอยู่ในตลาดตราสารหนี้ โดยบริษัทที่จดทะเบียนในกระดานหลัก ได้แก่ บริษัทประปาพนมเปญ(PWSA), บริษัทแกรนด์ทวินอินเตอร์เนชั่นแนล(GTI), บริษัทท่าเรือพนมเปญ(PPAP), เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ(PPSP) และบริษัทท่าเรือสีหนุวิลล์(PAS) รวมถึงที่จดทะเบียนในตราสารหนี้ ได้แก่ HKL, LOLC และ ABAA ซึ่งยังมีบริษัทอีกหลายแห่งให้ความสนใจในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชาและคาดว่าจะมีบริษัทอีกหลายแห่งที่จะทำการ IPO ในปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50657052/more-than-160m-raised-at-local-bourse-new-firms-expected-to-list-in-2020/