เวียดนามอยู่อันดับ 2 ของการลงทุนธุรกิจ FinTech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากรายงาน ‘FinTech in ASEAN’ ที่เผยแพร่โดยธนาคารยูโอบี (UOB) เปิดเผยว่าเวียดนามดึงดูดเงินทุนในธุรกิจฟินเทค คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36 ของการลงทุนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงดึงดูดเงินทุนเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 0.4 ในปีที่แล้ว โดยสิงคโปร์ยังคงเป็นประเทศที่ดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลกมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51 ส่วนประเทศอินโดนีเซีย (12%) ไทย และมาเลเซีย มีสัดส่วนน้อยกว่า 2 ของการลงทุนรวมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เวียดนามเป็นผู้นำการร่วมลงทุน (VC) ในธุรกิจ FinTech นอกจากนี้ บริษัทฟินเทคได้ตั้งตลาดเป้าหมายกว่า 300 ล้านคนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือคนที่กำลังมองหาการลงทุนและการให้บริการประกันชีวิต ซึ่งตลาดการชำระเงินผ่านโมบายของเวียดนาม คาดว่าจะเติบโตสูงถึง 70.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568

จำนวนคนที่ไม่มีบัญชีธนาคารหรือ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-ranks-second-in-fintech-investment-in-southeast-asia-407593.vov

รถไฟวงแหวนย่างกุ้งแล้วเสร็จพฤษภาคม 63

การยกระดับของเส้นทางรถไฟรอบย่างกุ้งจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม 63 ทางรถไฟเวียนย่างกุ้งซึ่งแบ่งออกเป็นส่วนตะวันออกและตะวันตกใกล้จะแล้วเสร็จ ส่วน Danyinkone- Insein และ Insein-Kyinmyindine และส่วน Kyinmyindine-Bayarlan จะเสร็จสิ้นในปลายเดือนธันวาคม สี่ในห้าส่วนของทางรถไฟจะแล้วเสร็จปลายเดือนธันวาคม ส่วนทางทิศตะวันออกจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 63 แต่ละขบวนจะวิ่ง 10-12 นาทีในชั่วโมงเร่งด่วนสามารถลดระยะเวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 50 นาทีในการวิ่งแต่ละครั้ง สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ 240,000 คน การพัฒนาระบบต่างๆ ของรถไฟใช้เงินกู้ 107 ล้านเหรียญสหรัฐจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 90,000 คนใช้บริการในแต่ละวันวันและจะเพิ่มขึ้นประมาณ 300,000 คน หลังการปรับปรุงเสร็จสิ้น

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-circular-railway-upgrades-to-finish-in-may-2020

เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปตุรกี

จากการหารือส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับแรงงาน การลงทุน งานแสดงสินค้าระหว่างสองประเทศและการส่งเสริมภาคการค้า ระหว่างรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์และเอกอัครราชทูตตุรกีประจำเมียนมาเมื่อต้นเดือนธันวาคม การส่งออกเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ ข้าว ถั่ว และข้าวโพดเพิ่มเป็น 4 เท่าภายใน 5 ปี มูลค่าของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป CMP (Cutting, Making, Packing) อยู่ที่ 325 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 25 ตุลาคมของปี 62-63 อย่างไรก็ตามการส่งออกปีที่ผ่านมามีมูลค่ามากกว่า 287 ล้านเหรียญสหรัฐ รายได้ต่อปีจากระบบ CMP ประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกหลักคือญี่ปุ่นและยุโรป นอกจากนี้ยังมีตลาดในเกาหลีใต้ จีน และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีโรงงานเสื้อผ้ามากกว่า 400 แห่ง ด้วยค่าแรงที่ต่ำสามารถดึงดูดการลงทุนจากผู้ผลิตต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmars-apparel-exports-to-surge-to-turkey

หนุนพลิกโฉม FTA เจาะประเทศเป้าหมาย-รายมณฑล

ภาพรวมการค้าโลกอ่อนแรงลงมากจากสงครามการค้าระหว่างมหาอำนาจจีน-สหรัฐ ความไม่แน่นอนของการเมืองระหว่างประเทศ องค์การการค้าโลก (WTO) ได้ปรับลดคาดการณ์อัตราการค้าโลกปีนี้ว่าจะขยายตัว 1.2% จากเดิม 2.6% และประมาณการปี 2563 ว่าจะขยายตัวเพียง 2.7% จากเดิมที่เคยคาดไว้ 3% แรงกระทบจากปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลให้การส่งออก 10 เดือนแรกหดตัว 2.4% ต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 3% ซึ่งแนวทางที่จะฟื้นการส่งออก จำเป็นต้องหาตัวช่วยด้วยการเจรจาความตกลงการค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศศึกษาแนวทางการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) หรือข้อตกลงกับประเทศจีนและอินเดีย โดยเจาะลงลึกเจรจาเป็นรายมณฑล หรือรายรัฐ เพื่อส่งเสริมการส่งออกพร้อมกันนี้ ให้เร่งผลักดันการเจรจาที่ค้างอยู่ ทั้งเอฟทีเอไทย-ตุรกี, ไทย-ศรีลังกา และไทย-ปากีสถาน ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และหาข้อสรุปที่จะเริ่มเปิดเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู, ไทย-สหราชอาณาจักร และไทย-ฮ่องกง ส่วนนายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตเลขาธิการ การประชุม สหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) และอดีตผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวว่า เห็นด้วยที่จะเร่งผลักดันเอฟทีเอ เนื่องจากเป็นการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน และมองว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2563 ยังมีโอกาสขยายตัวเป็นบวก โดยเฉพาะนโยบายสำคัญ เช่น การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซีที่ต้องทำให้ชัดเจนและต่อเนื่อง ส่วนภาคเอกชน นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ต้องเร่งเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอต่าง ๆ โดยเร็ว โดยเฉพาะเอฟทีเอไทย-สหภาพยุโรป และไทย-สหราชอาณาจักร เพราะการเจรจารายประเทศต้องใช้เวลา ไม่สามารถดำเนินการให้เสร็จได้เร็ว หากสำเร็จจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ ซึ่งทางคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 ฝ่าย จะพิจารณากำหนดประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจปี 2563 อีกครั้ง ในช่วงกลางเดือนมกราคม 2563

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-401634

กระทรวงการต่างประเทศหารือเกี่ยวกับแผนการท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก

กระทรวงการต่างประเทศเริ่มการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 14 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนและอนุมัติแผนการทำงานใหม่เพื่อรับมือกับสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่าการประชุมกำลังพยายามวิเคราะห์สถานการณ์โลกซึ่งอาจมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาประเทศ รวมถึงหารือและอนุมัติแผนการทำงานใหม่เกี่ยวกับการต่างประเทศในปี 63-65 ซึ่งในปัจจุบันสปป.ลาวมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 143 ประเทศโดยมีสถานทูตและสำนักงานต่างประเทศ 40 แห่งทั่วโลก ในจำนวนนี้มีสถานทูต 26 แห่ง สำนักงานตัวแทนถาวร 3 แห่ง สำนักงานกงสุล 10 แห่งและสำนักงานกงสุลทั่วไป 1 แห่ง อีกทั้งเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาได้จัดการประชุมกับนักธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสองภาคส่วนในการระดมการลงทุนจากต่างประเทศในสปป.ลาว อีกทั้งยังจัดให้มีการประชุมระดับเทคนิคโดยหวังว่าจะปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ กับสถานทูตสปป.ลาวในต่างประเทศเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Foreign_affairs_269.php

สปป.ลาวปรับปรุงคุณภาพของการรวบรวมข้อมูลแรงงาน

สปป.ลาวหวังที่จะเพิ่มคุณภาพของข้อมูลทั้งแรงงานท้องถิ่นและแรงงานต่างชาติในประเทศ เช่นเดียวกับแรงงานสปป.ลาวที่ทำงานในต่างประเทศ ซึ่งบันทึกความเข้าใจ ได้รับการลงนาม Big Data technology ระหว่าง Department of Planning และ Technology Computer and Electronics Institute ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสปป.ลาวและบริษัทจากเกาหลีใต้ POSCO International Corporation และ PentaGate Company Limited  เป็นโอกาสดีในการพัฒนาและเรียนรู้ระบบการจัดการแรงงาน จะช่วยยกระดับการพัฒนาความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะรวบรวมข้อมูลแรงงานจากทุกภาคส่วนและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อทราบจำนวนที่แน่นอนของแรงงานต่างชาติในประเทศรวมถึงแรงงานสปป.ลาวที่ทำงานในต่างประเทศ นอกเหนือจากการดำเนินโครงการศึกษาความเป็นไปได้ สามารถใช้ Big Data technology เพื่อสร้างระบบการจัดการแรงงานต่างชาติและช่วยจัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการรวมทั้งกำหนดเวลาสำหรับการศึกษา ทั้งนี้การศึกษาความเป็นไปได้จะใช้เวลาประมาณ 5 เดือนในการตรวจสอบว่าข้อมูลขนาดใหญ่นั้นเหมาะสมและจะเป็นประโยชน์ต่อระบบการจัดการแรงงาน

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2019-12/12/c_138625963.htm

เวียดนามมียอดเกินดุลการค้าสูงถึง 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าเวียดนามมียอดเกินดุลการค้าสูงถึง 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 โดยในเดือนพฤศจิกายน มูลค่าการนำเข้าและการส่งออกรวมแตะระดับ 44.13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนก่อน ทั้งนี้ ภาคการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในเดือนพฤศจิกายน มีมูลค่าอยู่ที่ 15.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม ทำให้ยอดการส่งออกรวมทั้งประเทศแตะระดับ 165 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ สินค้าที่มีมูลค่าสูงที่สุด ได้แก่ โทรศัพท์และส่วนประกอบ คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า เครื่องจักร และรองเท้า เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-posts-record-trade-surplus-of-nearly-us11-billion-407464.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกยาง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วงเดือนมกราคม-พฤศจิกายน เวียดนามมีรายได้จากการส่งออกยางอยู่ที่ 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นปริมาณ 1.5 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 ในแง่ของมูลค่า และ 8.1 ในแง่ของปริมาณ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกยาง 200,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 260 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.3 และ 16.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ประกอบกับราคาส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับ 1,300 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกยางธรรมชาติ (NR) ในปี 2563 จะมากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/rubber-exports-top-2-billion-usd-in-11-months-407445.vov