Lao Telecom ทดสอบเทคโนโลยี 5G

 บริษัท ลาวเทเลคอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้เริ่มทดสอบเทคโนโลยี 5G ใหม่ ซึ่งฉลาดกว่า เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่า 4G และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ดียิ่งขึ้น ระบบสื่อสารไร้สายได้พัฒนาอย่างรวดเร็วและใช้กันอย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวัน  ซึ่งการทดสอบเทคโนโลยี 5G นี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับบริษัท เช่นเดียวกับผู้ใช้ที่มีความกระตือรือร้นที่จะอัปเกรดและเป็นไปตามมาตรฐานสากล สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีทีซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมและบูรณาการกับมาตรฐานระดับภูมิภาคและระดับสากล ลาวเทเลคอมได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษในการปรับปรุงการทดสอบ 5G เป็นความพยายามล่าสุดของบริษัทในการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาสู่ประชาชนสปป.ลาว ไม่เพียงแต่ปรับปรุงชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่ยังช่วยยกระดับธุรกิจและทำให้เศรษฐกิจแข็งแกร่งขึ้นด้วยการอัพเกรดครั้งนี้จะช่วยให้ผู้คนและธุรกิจสามารถเชื่อมโยงภูมิภาคและระหว่างประเทศได้

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/lao-telecom-tests-5g-technology-105838

นักท่องเที่ยวจีนเดินทางมาเยือนกัมพูชาในช่วง 8 เดือนเพิ่มขึ้น 33%

กัมพูชาดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนกว่า 1.7 ล้านคนในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้น 33% จากช่วงเดียวกันของปีที่จากรายงานล่าสุดของกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา โดยรายงานแสดงให้เห็นว่ากัมพูชายังคงเป็นแหล่งที่นักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเข้ามาท่องเที่ยวมากที่สุดคิดเป็นกว่า 39% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเยือนกัมพูชาทั้งหมดในช่วงเดือนมกราคมถึงสิงหาคมปีนี้ ซึ่งหวังว่าจะดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวจีนประมาณ 2.6 ล้านคนภายในปี 2562 และเพิ่มขึ้นเป็น 8 ล้านคนภายในปี 2573 ซึ่งจากรายงานแสดงให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 4.36 ล้านคนเดินทางไปกัมพูชาในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 10.4% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการท่องเที่ยวเป็นหนึ่งใน 4 ภาคที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเมื่อปีที่แล้วกัมพูชาได้ทำการต้อนรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 6.2 ล้านคนซึ่งรวมถึงชาวจีน 2 ล้านคนมีรายได้รวมจากภาคการท่องเที่ยวถึง 4.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50649196/1-7-million-chinese-tourists-visit-kingdom-in-8-months-up-33-pct/

กัมพูชากระโดด 12 จุดในการสำรวจความยั่งยืนด้านพลังงานโลก

การจัดอันดับของกัมพูชาในการสำรวจความยั่งยืนด้านพลังงานทั่วโลกล่าสุดได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างมากซึ่งบ่งชี้ว่าความพยายามของกัมพูชาในการแก้ปัญหาด้านพลังงานและการจัดหาพลังงานที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยดัชนีพลังงาน Trilemma 2019 ที่เพิ่งรายงานออกมาว่ากัมพูชาได้รับการจัดอันดับที่ 105 จาก 128 ประเทศ คิดเป็น 12 จุดเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ซึ่ง ETI ได้รับหน้าที่จาก WEC และ บริษัท ที่ปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก โดย Oliver Wyman จัดอันดับประเทศในด้านความสามารถในการจัดหาพลังงานที่ยั่งยืนของระบบพลังงานในแต่ละประเทศ ซึ่งจัดลำดับจากสามมิติ ได้แก่ ความมั่นคงด้านพลังงาน ความเท่าเทียมด้านพลังงานและความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งกัมพูชาดูเหมือนจะแก้ปัญหาการขาดแคลนพลังงานเรื้อรังบางส่วนโดยการซื้อพลังงานเพิ่มเติมจากประเทศสปป.ลาว เวียดนามและไทย โดยภายในปี 2563 รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลิตพลังงานแสงอาทิตย์คิดเป็น 15% ของการผลิตพลังงานทั้งหมด รวมถึงกำลังมองหาศักยภาพด้านพลังงานลมอีกด้วย ซึ่งในเดือนพฤษภาคมปีนี้ บริษัท บลูเซอร์เคิลได้ทำการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการสร้างกังหันลมในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50649231/cambodia-jumps-12-spots-in-global-energy-sustainability-survey/

อสังหาฯชะลอฉุดตลาดลิฟท์ ‘ฮิตาชิ’หันรุกซีแอลเอ็มวี

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ (กัมพูชา) จำกัด ผู้ผลิตและให้บริการลิฟต์และบันไดเลื่อนฮิตาชิ กล่าวว่า ปีนี้ตลาดลิฟต์ในประเทศไทยทรงตัว เป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลให้ผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่ไม่ลงทุนโครงการตึกสูง ทำให้ภาพรวมตลาดลิฟท์ทุกยี่ห้อ มีความต้องการลดลง จากปัจจุบันมีดีมานด์ปีละ7,000-8,000 ยูนิต ขณะที่ตลาดลิฟต์ในกลุ่ม CLMV เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องเพราะเป็นตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะช่วง 5 ปีที่ผ่านมา GDP ของประเทศกัมพูชาโต 6-7% เนื่องจากนักลงทุนรายใหญ่จากจีนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดอสังหาฯ ส่งผลให้ความต้องการใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนเติบโตต่อเนื่องปีละ 10% จากดีมานด์ที่มีอยู่ 1,500 ยูนิต  กลยุทธ์การทำตลาดจะเน้นการหาลูกค้า ที่เป็นกลุ่มทุนรายใหญ่ของกัมพูชา และจะใช้วิธีการมัดจำก่อนล่วงหน้า 60% ที่เหลือ 40% ลูกค้าต้องชำระหลังจากติดตั้งเสร็จเพื่อลดความเสี่ยง สำหรับตลาดลิฟต์ในกัมพูชา แบ่งออก 2 ตลาด ตลาดอินเตอร์แบรนด์จาก ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ถือว่าเป็นสินค้าคุณภาพ ราคาสูง ส่วนตลาดโลคัล ส่วนใหญ่สินค้าผลิตมาจากจีน มีราคาต่ำกว่า 20-50%  เนื่องจากตลาดลิฟต์ในกัมพูชาเป็นตลาดเปิดยังไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดมาตรฐาน ควบคุมการซื้อ ขายติดตั้ง ลิฟต์ และบันไดเลื่อน ดังนั้นการนำเข้าจากประเทศต่างๆ สามารถนำเข้ามาขายได้อย่างเสรี รวมถึงสามารถสั่งซื้อตรงได้จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศจีน และเวียดนาม ซึ่งมีราคาถูกมาก

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/850176

เวียดนามดำเนินขอรับใบอนุญาตส่งออกอะโวคาโดไปยังสหรัฐฯ

จากข้อมูลของสำนักงานการค้าเวียดนาม สาขาซานฟรานซิสโก (สหรัฐอเมริกา) เปิดเผยว่าอะโวคาโดส่วนมากที่จำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เก็ตนั้น ดังนั้น ผู้จัดจำหน่ายต้องควบคุมขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่ายสินค้า ในขณะที่ ผู้ส่งออกต้องมีใบรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ สำหรับการจะเข้าตลาดสหรัฐฯ ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำตามข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดระดับความสุก, สี, น้ำหนัก, สะอาด และปราศจากแมลง เป็นต้น ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดเล็กมักจะประสบปัญหาในการเข้าถึงตลาดดังกล่าวอย่างมาก เป็นผลมาจากขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจ นอกจากนี้ สำหรับสินค้าทางการเกษตร เช่น มะม่วง เวียดนามจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินรับใบอนุญาต 10 ปี ถึงจะสามารถส่งออกมะม่วงไปยังสหรัฐฯได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536540/viet-nam-trying-to-get-us-export-licence-for-avocados.html#GO48zrRXQqiBzJqc.97

เวียดนามเผยปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น แต่ยอดมูลค่ากลับลดลง

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562  เวียดนามส่งออกข้าวกว่า 5.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 แต่มูลค่ากลับลดลงร้อยละ 9.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งประเทศฟิลิปปินส์เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีการบริโภคข้าวเกือบ 1.76 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 720 ล้าน ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ ราคาข้าวเฉลี่ยในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 13.8 คิดเป็นราคาอยู่ที่ 435 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และทางหน่วยงานเกษตรกรรมฟิลิปปินส์มีการเสนอให้ใช้ภาษีนำเข้าข้าวในการปกป้องผู้ประกอบการในประเทศ โดยมีอัตราภาษีนำเข้าข้าวอยู่ที่ร้อยละ 30-65 ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกข้าวเวียดนามในอนาคตข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ตลาดญี่ปุ่นกำลังพิจารณาที่จะนำเข้าข้าวในกลุ่มประเทศสมาชิก CPTPP เช่น เวียดนาม นอกจากนี้ เวียดนามเล็งเห็นโอกาสในการขยายตลาดไปยังแอฟริกาและตะวันออกกลางอีกด้วย

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/536522/rice-export-volume-up-but-value-falls.html#m6XyQo0ATOuAqIYj.97

เครื่องบิน ATR ลำใหม่ของ MNA

สายการบินประจำชาติแห่งเมียนมา (MNA) ได้รับเครื่องบินซีรี่ส์ใหม่ ATR 72-600 จาก บริษัท ATR ของฝรั่งเศส MNA จำนวน 10 ลำ ประกอบด้วย ATR 72-600 series และเครื่องบิน ATR 72-500 Series โดยเครื่องบินใหม่จะถูกเพิ่มในเที่ยวบินภายในประเทศและต่างประเทศ เครื่องบินดังกล่าวบินมาจากตูลูสประเทศฝรั่งเศสและใช้เวลาสามคืนในสนามบินกรีซ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอินเดียก่อนบินไปย่างกุ้ง โดยสายการบินได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้อเครื่องบิน ATR 72-600 series จำนวน 6 ลำจาก ได้เปิดศูนย์ซ่อมบำรุงที่สนามบินนานาชาติย่างกุ้งซึ่งได้รับการยอมรับจากสำนักงานความปลอดภัยการบินแห่งยุโรป (EASA) ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารวมถึงการตรวจสอบ 8 ปีมีมูลค่าสูงกว่า 700,000 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องบิน ATR รุ่นปี 2007 และมากกว่า 400,000 เหรียญสหรัฐสำหรับรุ่นปี 2010 ของสิงคโปร์ การบำรุงรักษาของมาเลเซียจะมีราคาสูงกว่า 500,000 เหรียญสหรัฐสำหรับเครื่องบิน ATR รุ่นปี 2012 ส่วนของเมียนมาจะอยู่ที่ 100,000 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/mna-receives-new-atr-plane

ผู้ผลิตรถยนต์ในเมียนมากำลังเจอความท้าทาย

ผู้ผลิตรถยนต์ในเมียนมาได้เพิ่มการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น บริษัท ซูซูกิเมียนมาร์มอเตอร์ จำกัด ผลิตรถยนต์ 15,000 คันเมื่อเทียบกับ 12,000 คันในปี 61 หรือเพิ่มขึ้น 25% เมื่อเทียบเป็นรายปีและเพิ่มกำลังการผลิตของโรงงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวาในปีนี้โดยมีออเดอร์การผลิต 60% ของความต้องการในประเทศ ที่ผ่านมา Suzuki Myanmar เปิดโรงงานในเมือง South Dagon ของย่างกุ้งในปี 56 และย้ายโรงงานไปที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา เพื่อรองรับปริมาณการผลิตที่สูงขึ้น แต่คำเตือนของฟิทช์โซลูชั่นส์ระบุว่าการเติบโตอาจเจออุปสรรค เช่น ระบบธนาคารที่ด้อยพัฒนา การเข้าถึงเครดิตของผู้บริโภคและเส้นทางคมนาคมที่ล้าหลัง จากการคาดการณ์เมียนมามีรถ 26.5 คันต่อประชากร 1,000 คนในปี 62 ซึ่งต่ำกว่าไทยที่ 290 คันต่อประชากร 1,000 คน ในปี 61 ยอดขายรถยนต์ใหม่ 18,000 คัน ซึ่งมากกว่า 2.1 เท่าของปีที่แล้ว ภายในปี 63 มีการประเมินว่าจะมีรถใหม่มากกว่า 2 ล้านคัน โตโยต้ามอเตอร์คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ได้ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์แห่งแรกขึ้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา ซึ่งจะผลิต Toyota Hilux ตั้งแต่เดือนก.พ. 64 เป็นต้นไป โรงงานแห่งใหม่มูลค่า 53 ล้านเหรียญสหรัฐใช้ประกอบรถ Hilux ได้ 2,500 คัน โดยใช้วิธี Semi Knocked Down (SKD)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/car-makers-local-production-despite-challenges.html

สปป.ลาวพยายามหาวิธีหนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

หน่วยงานภาครัฐและเอกชนจะร่วมมือกันเพื่อจัดการกับปัญหาที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของรัฐบาลในการสนับสนุนการขยายตัวของภาคบริการเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว จัดประชุมพิเศษซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นเวทีเปิดสำหรับทั้งภาครัฐและเอกชนในการหารือเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวตลอดจนหาแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จัดการกับอุปสรรคและหาวิธีใหม่ ๆ ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวและเพิ่มรายได้ในภาคบริการโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว อีกทั้งจำนวนนักเดินทางทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นในทศวรรษหน้าเนื่องจากภูมิภาคอาเซียนเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตนี้ ดังนั้นแผนงานการพัฒนาการท่องเที่ยวของสปป.ลาวจะกลับมาสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ระหว่างการประชุมมีการนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างชาญฉลาดและนักธุรกิจท้องถิ่นได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการท่องเที่ยวในสปป.ลาว

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-seeks-ways-bolster-tourism-industry-105757

BCEL,EV Lao เป็นพันธมิตรในการผลิตสมาร์ทการ์ดเพื่อชำระค่าใช้จ่ายการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว และ บริษัท อีวีลาว จำกัด เป็นพันธมิตรในการผลิตสมาร์ทการ์ดเพื่อชำระค่าใช้จ่ายในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า สมาร์ทการ์ดที่เสนอสำหรับการชำระค่าใช้จ่ายในการชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าจะเชื่อมโยงระบบสมาร์ทการ์ดของ BCEL และระบบ EVBox ของ EV Lao นอกจากนี้กำลังร่วมมือกันในโครงการนำร่องที่จะเห็นการติดตั้งสถานีชาร์จ 20 แห่งสำหรับยานพาหนะไฟฟ้าในเวียงจันทน์  โครงการยังวางแผนที่จะติดตั้งที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 100 คันในเวียงจันทน์และตามถนนสายหลักทั่วประเทศ ความร่วมมือครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นการช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการส่งเสริมการใช้ยานพาหนะไฟฟ้าในสปป.ลาวและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของรัฐบาลเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้น้อยที่สุด

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bcel-ev-lao-produce-smart-card-electric-vehicle-charging-payments-105755