อนาคตของมหานครย่างกุ้ง

มหานครย่างกุ้งในอนาคตกำลังจะพัฒนาด้วยโครงการ 80 เมกกะโปรเจ็ค ผู้ประกอบการไทยที่ SMEs จะได้ประโยชน์จากโครงการเหล่านี้แน่นอน เพราะสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ เรามีความสะดวกที่จะส่งสินค้าเข้าไปได้หลากหลายกว่าประเทศอื่นๆ ยกเว้นจีนที่เขามีชายแดนติดกับเมียนมายาวเช่นเดียวกับเรา แต่ไทยได้เปรียบเพราะใกล้เมืองหลวงเก่าเมืองย่างกุ้งกว่าจีน โครงการหนึ่งที่มีผลต่อการพัฒนามหานครย่างกุ้งอย่างมาก คือ โครงการสร้างถนนวงแหวนรอบนอกรอบที่หนึ่งและรอบที่สอง ทางด่วนที่ก่อสร้างนี้จะเป็นทางยกระดับสองชั้น ที่มีทั้งถนนหกเลน และมีทางรถไฟอยู่ด้วย ข้างล่างจะเป็นทางถนนธรรมดา ซึ่งธุรกิจต่อเนื่องทั้งต้นน้ำปลายน้ำล้วนได้ประโยชน์ทั้งสิ้น เริ่มจากการที่สถาปนิกที่ใช้ออกแบบต่างๆ ซึ่งเมียนมานิยมจ้างสถาปนิกจากประเทศสิงคโปร์ ขณะที่ค่าจ้างของสถาปนิกไทยถูกกว่าสิงคโปร์มากกว่าครึ่งแต่คุณภาพไม่ต่างกัน ต่อมาวิศวกรอาชีพนี้ก็เช่นเดียวกัน และผู้ประกอบการที่ค้าขายอุปกรณ์ก่อสร้างต่างๆ โอกาสของ SMEs ก็มีเช่นกัน อย่างผู้รับเหมาก่อสร้างที่สามารถรับช่วงงานต่อจากผู้เล่นรายใหญ่ ผู้ตกแต่งภายในที่จะมีมากขึ้นในการพัฒนาประเทศคราวนี้ ดังนั้นยังมีความต้องการอีกมากมายและยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน เมียนมาคือตลาดแห่งสุดท้ายของประเทศ CLMV ที่กำลังเปิดอยู่ ดังนั้นไทยควรรีบความโอกาสนี้ไว้ก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มดุเดือดขึ้น

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/604710

เมียนมา ตลาดสุดท้ายของประเทศ CLMV

เมียนมาเป็นประเทศที่น่าสนใจ แม้ประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ ที่อยู่ห่างไกลออกไปยังเลือกที่จะเข้ามาลงทุน เช่น ประเทศสิงคโปร์ ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเข้ามาที่นี่นานมากแล้ว ตั้งแต่ยุคประธานาธิบดี ลี กวนยู ยังมีชีวิตอยู่ เคยเดินทางมาเพื่อเชื่อมสัมพันธ์ด้วยตนเอง อีกประการหนึ่งประเทศใน CLMV คือ เพื่อนบ้านเราที่อยู่ชายแดนติดกัน จึงน่าจะง่ายที่สุดในการค้าและการลงทุน หากจะเปรียบเทียบหรือวิเคราะห์ ระหว่างทั้ง 4 ประเทศแล้วประเทศกัมพูชา และสปป.ลาว (ซึ่งมีประชากรน้อย) หากจะไปแข่งขันกับประเทศที่มีเงินทุนหนา เทคโนโลยีสูง มีความฉลาด ขยันอดทน อย่างคนจีน ที่เข้าไปยึดหัวหาดไว้เกือบจะหมดแล้ว ไทยเราอาจจะสู้ได้ลำบาก ส่วนเวียดนามที่นั่นมีพัฒนามากเกือบจะล้ำหน้าไทยเราไปแล้ว อีกทั้งยักษ์ใหญ่จากต่างประเทศก็เข้าไปแล้วทุกประเทศ ในช่วงนี้ใครที่เข้าไปลงทุนใหม่ๆ ต้องศึกษาให้ดีก่อน ดังนั้นประเทศเมียนมาเท่านั้น ที่เพิ่งเปิดประเทศได้ไม่นาน ไทยมีโอกาสสู้ประเทศอื่นๆ ได้อยู่แล้ว เพราะกำลังเร่งพัฒนาประเทศกันอยู่ เราต้องนึกย้อนไปในช่วงไทยเริ่มต้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 เมื่อปีพ.ศ.2504 เพียงแต่เขาจะเร็วกว่าเรา เพราะยุคสมัยและเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งมาในช่วงที่ยุค IT กำลังบูม หากไทยมองเห็นช่องก็จะมีโอกาสรวยได้เช่นกัน

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/605146

สวรรค์ของนักลงทุนไทย

หลายปีมาแล้วที่ทางภาครัฐและเอกชนพยายามส่งเสริมการค้า-การลงทุนไทยในต่างแดน เช่น มีการจัดสัมมนา จัดงานแสดงสินค้า อีกทั้งงานทำ Business Matching การทำ Networking ให้แก่ผู้ประกอบการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ผู้ที่จะลงทุนควรตระหนักคือ อย่างแรกเลย คือ เหมาะจะไปค้าขายหรือไปลงทุนแบบใด บางครั้งผู้ประกอบการมักไปจ้างผู้ผลิต OEM แต่ต้องศึกษาให้รอบคอบ ไม่ควรคิดว่าประเทศเพื่อนบ้านจะขาดแคลน สามารถผลิตหรือขายสินค้าได้หมด ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปมาก เช่น เวียดนาม ที่นั่นมีผู้ประกอบการจากทั่วโลกเข้าไปตั้งฐานผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งปัจจุบันทำให้ล้นตลาดไปแล้ว และงานแสดงสินค้าใหญ่ๆ ของโลก จะมีสินค้าเวียดนามไปร่วมแสดงอยู่เสมอ บางผู้ประกอบการเอาสินค้าที่มีภาระต้นทุนด้านลอจิสติกส์สูงไปขาย แต่จะทำได้ไม่นานนัก เพราะผู้ประกอบการท้องถิ่นเห็นว่าตลาดกว้างมาก (High Market cap) จึงเข้าร่วมแข่งขันเพื่อแย่งตลาดแน่นอน แต่ถ้าสินค้านั้นเป็นแบรนด์ของตัวเอง มีแผนที่จะย้ายฐานผลิต สามารถที่จะทำได้ แต่ถ้าไม่มีศักยภาพเพียงพอ การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากธนาคารพาณิชย์นั้นเป็นไปได้ยาก เพราะการกู้ยืมเงินไปลงทุนในต่างประเทศนั้นยากกว่าลงทุนในประเทศอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้ประกอบที่สนใจการค้า การลงทุนต้องหาข้อมูลให้เยอะๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนก่อนการตัดสินใจ

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/605826

เมียวดี ขุมทรัพย์ที่กำลังเริ่มพัฒนา

จากการไปสำรวจตลาด และพูดคุยเกี่ยวกับการค้าและธุรกิจกับเพื่อนๆ นักธุรกิจในเมียวดี พบเห็นความเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น การค้าคึกคักมาก รถเพิ่มขึ้นมากๆ ถนนเริ่มแออัด ซึ่งเริ่มติดประมาณต้นปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ถนนจากย่างกุ้งดีขึ้นก็มีรถยนต์โดยสารรุ่นใหม่ๆ เริ่มวิ่งวันละไม่ต่ำกว่ายี่สิบเที่ยว วันจะมีชาวย่างกุ้งเดินทางมาเที่ยวแม่สอด มารักษาพยาบาลมากขึ้น ส่วนมากจะมาพบทันตแพทย์ ส่วนรักษาโรคภัยจะเดินทางมาที่กรุงเทพฯ และมาช๊อปปิ้ง และมีบางส่วนเล่นการพนันที่บ่อนคาสิโน บ่อนใหญ่สุดมีทั้งสินค้าปลอดภาษี ร้านอาหารไทย ร้านอาหารฝรั่ง ผับเบียร์สด ร้านกาแฟ ส่วนใหญ่ที่นี้มีแต่คนไทย พนักงานก็เป็นคนไทย และใช้เงินไทยการเล่นพนัน ส่วนการค้าที่พบสินค้าที่บรรทุกมาจากประเทศเมียนมา ส่วนใหญ่เป็นข้าวโพดแห้งหรือข้าวโพดอาหารสัตว์ ส่วนมากมาจากรัฐฉานและปกติจะส่งออกไปยังจีนแต่ผู้ประกอบการจีนได้ระงับการสั่งซื้อ และเนื่องจากเข้าฤดูฝนเกษตรกรจึงจำเป็นต้องขนมาขายที่ชายแดนไทย ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสเข้าไปดำเนินธุรกิจที่เมียนมา โดยนำเอาความสามารถและเทคโนโลยีด้านอาหารสัตว์หรืออาหารมนุษย์เข้าไปเปิดโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอีกช่องทางการลงทุนที่ยั่งยืนและได้รับประโยชน์สูงสุด และได้ใจชาวเมียนมาไปเต็มๆ

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/598670

การปรับโฉมของตลาดสดของย่างกุ้ง

ตลาดสดเมียนมาปัจจุบันมักจะสกปรกและยังไม่ถูกสุขลักษณะนัก อนาคตอีกไม่กี่ปีทางการนครย่างกุ้ง ได้ทำโครงการปรับปรุงคุณภาพชีวิตด้วยการให้การปรับปรุงตลาดสดให้ทันสมัยมากขึ้น นี่คือหนึ่งในแผนโครงการ 80 เมกกะโปรเจ็คที่กำลังดำเนินการอยู่ ตลาดสดในย่างกุ้งปัจจุบันนี้มีอยู่ประมาณร้อยกกว่าแห่ง โดยที่พอใช้มี 70 กว่าแห่ง ทุกแห่งจะดำเนินการโดยภาครัฐ คือ คณะกรรมการพัฒนานครย่างกุ้ง (YCDC) ตลาดใหญ่หน่อยจะมีรูปร่าง คือ ด้านหน้าเป็นอาคารที่ขายตั้งแต่เครื่องอุปโภค-บริโภค จนกระทั่งเครื่องสังฆภัณฑ์ ส่วนด้านในจะเป็นอาหารแห้งต่างๆ ต่อด้วยอาหารสดผักผลไม้ ด้านในจะเป็นเนื้อสัตว์ และสัตว์เป็นๆ รวมทั้งปลาและอาหารทะเลเป็นต้น ส่วนตลาดที่เล็กลงมาหน่อยจะไม่มีรูปแบบ พื้นจะเป็นดินสลับคอนกรีต แต่ก็จะสกปรกมากๆ ซึ่งรัฐบาลชุดนี้ร่วมทั้ง YCDC เล็งเห็นการพัฒนาความเป็นอยู่ ต้องเริ่มจากตลาดสดก่อนนั่นเอง จึงได้เริ่มโครงการดังกล่าวนี้ขึ้นมา ตัวอย่างการพัฒนา เช่น ตลาดปะซุ่นตองที่เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ที่ และร้านอาหารในย่างกุ้งนิยมมาจ่ายตลาดกันนั้นมีอยู่สองตลาดด้วยกัน คือ ที่นี่กับตลาดตั่งเซ โดยจุดเด่นคือเป็นตลาดที่อยู่ติดกับท่าแพปลา ที่นี่อาคารจะมีทั้งหมดสามอาคารใหญ่ ดังนั้นจะรื้อทิ้งทั้งหมด แล้วสร้างใหม่จากเนื้อที่ 6 เอเคอร์ โดยสร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น ด้านในจะเป็นอาคารที่ทันสมัยและสะอาด โดยแบ่งโซนออกมาชัดเจน รวมทั้งจัดให้เป็นสัดส่วนของสินค้าอุปโภค-บริโภคนำเอาไปไว้ชั้นบนชั้นล่างจะเป็นของสด ขณะนี้อยู่ในระหว่างเขียนแบบและหาผู้เข้าร่วมรับสัมปทานโครงการอยู่ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการไทยที่อยากไปลงทุนที่เมียนมา โดยเฉพาะเมืองท่าสำคัญที่มีประชากรอยู่อาศัยมากที่สุด ก็สามารถติดต่อสอบถามไปที่ YCDC เพื่อขอทราบความชัดเจนของโครงการได้ที่สำนักงานโดยตรงเลย

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/602721

จริงหรือไม่? เวียดนามผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน

จากรายงานของ e-Conomy Southeast Asia 2019 จัดทำโดย Google Temask เปิดเผยว่าในปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) เวียดนามกำลังเฟืองฟูและเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย โดยในปี 2562 เศรษฐกิจดิจิทัลมีมูลค่า 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีอัตราการเติบโต 38% นับตั้งแต่ปี 2558

ทั้งนี้ อีคอมเมิร์ซเป็นตัวขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตที่รวดเร็วของตลาดในประเทศ ได้แก่ Sendo, Tiki, Lazada และ Shopee ประกอบกับชาวเวียนามประมาณ 61 ล้านคนที่ใช้สื่อออนไลน์และใช้เวลาเฉลี่ย 3 ชม. 12 นาทีต่อวัน และส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน

นอกจากนี้ ประเด็นที่น่าจับตา คือเศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าสูงถึง 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกของปี และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2568 กลายเป็น 1 ในภูมิภาคที่เติบโตทางธุรกิจออนไลน์ที่รวดเร็วที่สุดในโลก เนื่องจากประชากรวัยหนุ่มสาวที่เพิ่มขึ้นและนิยมใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟน ซึ่งคาดว่าเวียดนามอาจแซงอินโดนีเซีย และขึ้นแท่นเป็นผู้นำการเติบโตสูงที่สุดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vietnam-digital-economy-asian

ส่องโอกาสธุรกิจร้านขายยาในเวียดนาม

เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียนที่มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ ตลอดจนส่งเสริมการทำธุรกิจร้านขายยา อีกทั้ง มองว่าการที่เข้ามาลงทุนเปิดร้านขายยาของบริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในเวียดนาม คาดว่าจะช่วยให้ตลาดนี้จะพัฒนามากขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมยาเวียดนามมีศักยภาพสูงเพราะเวียดนามมีประชากรกว่า 90 ล้านคน พร้อมรายได้ที่สูงขึ้น และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้นนับเป็นทิศทางที่ดีสำหรับธุรกิจด้านยาและเวชภัณฑ์ โดยปัจจุบัน รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมการผลิตยาในประเทศมากขึ้น จากการสิทธิประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ภาษีการนำเข้าปัจจัยการผลิต และการใช้ที่ดิน เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพและโรงพยาบาล สำหรับกฎหมายใหม่ รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฤษฎีกาหมายเลข 115/2018/ND-CP ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจด้านเภสัชกรรมในเวียดนามส่งผลให้บรรยากาศการแข่งขันทางธุรกิจในด้านดังกล่าวเปิดกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ โอกาสธุรกิจยาไทย ในการแก้ไขกฤษฎีกาในครั้งนี้ จะส่งผลให้บริษัทเวียดนามและบริษัทต่างชาติ สามารถนำเข้าเวชภัณฑ์ยามายังเวียดนามได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะยาเพื่อรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งมีความต้องการสูง สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านยาและเภสัชภัณฑ์ของไทยที่สนใจบุกตลาดเวียดนามควรมองแนวโน้มการพัฒนาและขยายตัวของการกระจายสินค้าแบบ Modern Trade และรีบคว้าโอกาสในการเข้าสู่ตลาดและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vitenam-drugstore

อุตสาหกรรมรถยนต์เวียดนามยังคงเติบโต … แม้การนำเข้าจากไทยจะเพิ่มกว่าร้อยละ 46

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เวียดนามเป็นประเทศที่ตลาดรถยนต์มีโอกาสเพิ่มปริมาณขึ้นอีกมากในระยะอีก 5 ถึง 7 ปีข้างหน้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดการลงทุนผลิตรถยนต์ในประเทศเพิ่มได้ แม้ปัจจุบันเวียดนามจะยังตามหลังประเทศอื่นๆในอาเซียนอยู่หลายด้าน อย่างไรก็ตาม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า หากเวียดนามมีการพัฒนาต่อเนื่องในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับสูงเช่นปัจจุบัน ภาครัฐมีการออกแบบนโยบายที่ช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนได้อย่างเหมาะสม การสร้างระบบสินเชื่อของสถาบันการเงินที่แข็งแกร่งและเข้าถึงลูกค้าได้หลายระดับ รวมถึงการพัฒนาความน่าเชื่อถือของรถยนต์สัญชาติเวียดนามเอง ก็อาจทำให้ภาพของอุตสาหกรรมรถยนต์เวียดนามเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยเฉพาะในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้านี้

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ปัจจุบันของอุตสาหกรรมรถยนต์ในเวียดนามที่ยังไม่เข้มแข็งนัก ทำให้ต้องพึ่งพิงรถยนต์นำเข้าในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าจะทำให้ไทยยังมีโอกาสที่จะส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไปยังตลาดเวียดนามได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในระยะยาวอาจจะมีโอกาสที่การส่งออกไม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงดังเช่น ณ ขณะปัจจุบัน เนื่องจากคาดว่าจะมีการเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นในเวียดนามดังกล่าวข้างต้น

สำหรับในปี 2562 นี้ ไทยยังคงมีโอกาสส่งออกรถยนต์ไปยังเวียดนามได้ดีต่อเนื่อง ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ไทยมีโอกาสส่งออกรถยนต์ไปตลาดเวียดนามได้เพิ่มขึ้นเป็น 83,000 คัน หรือขยายตัวกว่าร้อยละ 46 จากที่ปี 2561 สามารถส่งออกไปได้ประมาณ 57,000 คัน ส่วนในปี 2563 ที่จะถึงนี้ก็คาดว่าการส่งออกรถยนต์ของไทยไปเวียดนามจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 100,000 ถึง 103,000 คัน โดยประเภทรถที่จะเติบโตได้ดี คือ รถยนต์นั่ง ที่ตลาดให้ความนิยมค่อนข้างมาก

โดยสรุป แม้ว่าพื้นฐานต่างๆของเวียดนามปัจจุบันจะทำให้การพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนให้แข็งแกร่งขึ้นมายังเป็นเรื่องที่ท้าทายอยู่มาก แต่ด้วยโอกาสที่ตลาดรถยนต์ในประเทศจะมีแนวโน้มขยายตัวสูงในอนาคต และการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ในระยะต่อไปที่มุ่งไปสู่รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น ก็อาจจะเป็นโอกาสให้ค่ายรถสัญชาติเวียดนามพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าของตนเองขึ้นในประเทศได้ในอนาคต ซึ่งอาจส่งผลทำให้การส่งออกรถยนต์ของไทยไปเวียดนามเติบโตได้ในระดับที่จำกัดในระยะข้างหน้า แต่เวียดนามเองก็ยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญอีกมากเพื่อให้พัฒนาขึ้นไปได้ถึงจุดนั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบโครงสร้างสาธารณูปโภคที่จะรองรับต่อความต้องการของตลาด รวมถึงอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันในตลาดที่สูงมาก เมื่อค่ายรถสัญชาติญี่ปุ่น เกาหลี และตะวันตก มีแนวโน้มจะตั้งฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารูปแบบต่างๆในฐานการผลิตอื่นในภูมิภาคอาเซียน และมีโอกาสที่จะส่งออกมายังเวียดนามได้เช่นเดียวกัน

ที่มา : https://kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/z3038.aspx

บล.บัวหลวง ปักหมุด “ตลาดหุ้นเวียดนาม” น่าลงทุน รับเศรษฐกิจโตเกินคาด

หลักทรัพย์บัวหลวง เปิดมุมมองการลงทุน “ตลาดหุ้นเวียดนาม” ชี้ระยะยาว “ดัชนี VN Index” มีโอกาสกลับไปยืนกรอบเดิม 1,100-1,200 จุด หลังภาพรวมเศรษฐกิจเติบโตได้ดี และกำลังซื้อภายในประเทศคึกคักมากขึ้น ขณที่ 3 ดัชนีใหม่ในตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์จะเป็นแรงดูดฟันด์โฟลว์หน้าใหม่ พร้อมเปิดโผ 3 หุ้นเด็ดต้องมีติดพอร์ต ซึ่งตลาดหลักทรัพย์เวียดนาม ถือเป็นอีกหนึ่งตลาดหุ้นต่างประเทศที่เหมาะกัยการลงทุนในระยะยาว เหตุผสสำคัญที่ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามน่าลงทุน เกิดจากกำลังซื้อภายในประเทศ เริ่มมีความคึกคักมากขึ้น สะท้อนได้จากตัวเลข GDP ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 หนุนโดยกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต และกลุ่มบริการที่ขยายตัว 10.1% และ 7.1% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ ตัวเลขการส่งออกนำเข้า และจำนวนนักท่องเที่ยวในเดือน ก.ย. ที่ผ่านมาเติบโตได้ดี นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่เม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติหน้าใหม่ไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นเวียดนามมากขึ้น โดย 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยแรก – FTSE หากเวียดนามปรับปรุงระบบการชำระราคาได้สำเร็จ มีโอกาสสูงที่อาจเห็นเวียดนามได้รับการอัพเกรดในช่วงปลายปี 63 ปัจจัยสอง – ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์เตรียมยกระดับการพัฒนาตลาดทุนด้วยการออก 3 ดันชีใหม่ ด้วยเหตุนี้ นักลงทุนควรหาโอกาสสร้างผลตอบแทนและกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามอย่างน้อย 10-20% ของพอร์ต

ที่มา : https://www.smethailandclub.com/money-5013-id.html

การค้าที่มั่นคง

หากอยากจะเปิดบริษัททำการค้าขายผลิตภัณฑ์เสริมความงาม คลินิกเสริมความงามในเมียนมา ถ้าเป็นตลาดล่างของเครื่องสำอางค์ อันนี้ง่ายมากเพราะโดยมากจะมีขายตามแผงลอยในตลาดทั่วไป คือจะมีขายสินค้าในครัวเรือน เช่น สบู่ ยาสีฟัน เครื่องสำอางค์ทั่วไป และขนมมีหมด ซึ่งมักจะมีอยู่ทั่วไปในทุกๆเมือง ทุกๆหมู่บ้าน อีกทั้งภายในตลาดก็จะมีสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ซึ่งทุกๆแห่งจะมีแพล็ตฟอร์มเดียวกันหมด ไม่มีอะไรแตกต่างกันมากนักและรัฐเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด ซึ่งจะแตกต่างจากบ้านเรามาก ส่วนสินค้าระดับสูงหรือตลาดบนในอดีตจะไม่ค่อยมีมากนัก จะเริ่มมีให้เห็นก็ประมาณสักสิบปีที่ผ่านมา พอห้างสรรพสินค้าเริ่มเปิดก็เริ่มมีตู้โชว์ของเครื่องสำอางค์แบรนด์เนมก็เข้ามาสู่ตลาดมากขึ้นการแข่งขันก็เริ่มรุนแรงขึ้น และเริ่มมีร้านที่เป็นร้านขายแบรนด์ของตนเองเข้ามาร่วมทำตลาดด้วย ต่อมาอิทธิพลของเกาหลีใต้เริ่มเข้ามาสู่ตลาด ทำให้วัยรุ่นคลั่งไคล้กันมาก ดังนั้นเครื่องสำอางค์ตลาดบนเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่ตลาด การแข่งขันกันดุเดือดขึ้นพอสมควร แง่ดีคือตลาดเริ่มยอมรับเครื่องสำอางค์มากขึ้น เพราะในอดีตจะพบว่าแต่สาวๆ เมียนมาชอบทาหน้าด้วยทานาคาเท่านั้น

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/601341