ราคาขายแตงโมเมียนมาในประเทศลดลงอย่างมาก

การปลูกแตงโมของเมียนมาส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตลาดจีนเป็นหลักกำลังประสบกับการชะลอตัวครั้งใหญ่ ราคาแตงโมลดลง 50% ในตลาดชายแดนมูเซ และยอดขายลดลงมากถึง 99%  ปกติชายแดนมูเซในช่วงเวลานี้จะมีพ่อค้าจากจีนถึง 600-700 คนมาซื้อในทุกๆวัน แต่ในวันที่ 2 ธันวาคมที่ผ่านมามีพ่อค้าเพียง 55 รายที่มาซื้อผลผลิตและไม่ใช่ทั้งหมดที่สนใจซื้อแตงโม ปกติแล้วแตงโมประมาณ 12,000 ตันจะถูกส่งไปขายที่จีนในทุกวัน แต่ตอนนี้ยอดขายทั้งหมดยังไม่ถึง 120 ตัน ความต้องการแตงโมจากต่างประเทศมักจะสูงกว่าในดังนั้นเกษตรกรจึงประสบปัญหาจึงไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้จ่ายในการขนส่ง กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกแตงโม ผู้ผลิต และผู้ส่งออกกำลังเรียกร้องให้ผู้ซื้อภายในประเทศช่วยเหลือเกษตรกรด้วยการซื้อพืชผลให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/prices-sales-watermelons-plunge-dramatically-myanmar.html

รายได้จากสินค้าเกษตรเมียนมามากกว่า 1 ดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมามีรายรับ 1.082 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกสินค้าเกษตรตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 17 มกราคมในปีงบประมาณนี้และเมื่อเทียบกับการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วอยู่ที่141.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนใหญ่เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ประมง เหมืองแร่ ป่าไม้  สินค้าที่ผลิตแบบ CMP (Cutting Making และ Packaging) และอื่นๆ เมียนมาส่วนใหญ่ส่งออกข้าว งานแสดงสินค้าอัญมณีสามารถเพิ่มการขายหยก สินค้าที่ผลิตแบบ CMP เพิ่มขึ้นทุกปี ราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นเพื่อสร้างรายได้มากขึ้น ส่วนการส่งออกถั่วลดลงเป็น 80,000 ตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-over-us1-b-from-agricultural-products

เมียนมาเล็งหาตลาดส่งออกใหม่หลังการระบาดของไวรัสโคโรน่าในจีน

เมียนมาเร่งขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ เพื่อชดเชยต้องการที่ของจีนซึ่งกำลังได้รับผลดระทบจากไวรัสโคโรนา ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 14,000 คนและเสียชีวิตกว่า 300 รายส่วนใหญ่มาจากมณฑลหูเป่ย ปัจจุบันการส่งออกแตงหยุดชะงักและราคาได้ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง ดังนั้นจึงมีการเตรียมการที่จะส่งสินค้าไปยังตลาดอื่น ๆ มากขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของอุปสงค์จากจีน โดยมีการวางแผนในการส่งออกสินค้าทางอากาศและทางทะเลเพื่อชดเชยการค้าที่ชายแดนที่ลดลง นับตั้งแต่มีการระบาดของโคโรนาไวรัสจีนได้หยุดการนำเข้าแตงและเก็บสต๊อกผลไม้ในมณฑลยูนนาน ประมาณ 80 %ของการค้าชายแดนทั้งหมดเกิดขึ้นที่ด่านมูเซ ปริมาณการค้าชายแดนทั้ง 2 ประเทศอยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่างวันที่ 1 ตุลาคมถึง 24 มกราคมของปีงบประมาณปัจจุบัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-hedge-against-slower-china-trade-due-coronavirus.html

แรงงานเมียนมา 130 คนเดินกลับเมียวดีภายหลังโรงงานปิดกิจการ

แรงงานเมียนมาจำนวน 130 คนถูกส่งกลับไปยังเมียวดีเมื่อวันที่ 31 มกราคมเนื่องจากการโรงงานที่กาญจนบุรีปิดกิจการลง โรงงานแห่งนี้เป็นของชาวจีนและมีคนงานมากกว่า 300 คน โรงงานถูกปิดอย่างกะทันหันเนื่องจากวัตถุดิบจากจีนไม่สามารถส่งได้เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แรงงานข้ามชาตินี้เป็นไปตามข้อตกลงของไทยและเมียนมา (MoU) และต้องจ่ายเงินประมาณ 1 ล้านจัต เพื่อทำงานอย่างถูกกฏหมาย ด้านกงสุลแรงงานประจำแม่ สอดกำลังช่วยแรงงานอพยพกลับและพบกับตัวแทนจัดหางานเพื่อขอเงินชดเชย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/130-myanmar-workers-return-to-myawady-due-to-the-factory-closure

ผู้ส่งออกข้าวโพดเมียนมาเล็งหาตลาดใหม่

นาย U Min Khaing ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมากล่าวว่า ผู้ค้าข้าวโพดกำลังมองหาตลาดใหม่ ๆ โดยเป้าหมายที่คือ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินเดีย เดือน มิถุนายนตัวแทนจากสมาคมจะไปเยือนจีนเพื่อโปรโมตข้าวโพดที่ผลิตในรัฐฉาน ทั้งนี้ยังได้ตกลงที่จะส่งออกไปยัไทย แต่ยังรอการอนุญาตอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตามภาษีนำเข้าที่สูงยังเป็นความท้าทายที่สำคัญ ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีระหว่างไทยกับเมียนมาการส่งออกข้าวโพดได้รับการยกเว้นภาษีระหว่างเดือนก.พ. – ส.ค 62 ช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.ส่งออกข้าวโพดมากกว่า 100,000 ตัน เมื่อเทียบกับ 200,000 ตันในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ช่วงปีงบประมาณ 61-62 ส่งออกข้าวโพด 1.5 ล้านตันมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐเทียบกับ 1.1 ล้านตันมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 58-59 พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเมียนมามีมากกว่า 1.9 ล้านเอเคอร์ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐสะกาย มาเกว คายิน ชีน ฉาน และกะยา  โดยราคาข้าวโพดปัจจุบันอยู่ที่ 480 จัตถึง 495 จัตต่อ viss (1.65 กิโลกรัม)

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/demand-falters-corn-traders-seek-new-markets.html

รัฐบาลเมียนมาค้านการทบทวนค่าแรงขั้นต่ำ

รัฐบาลส่งร่างแก้ไขกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำของประเทศพร้อมจะยกเลิกการทบทวนค่าแรงขั้นต่ำทุกสองปี ทั้งนี้คณะกรรมการระดับชาติจะศึกษาผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติและค่าครองชีพและส่งผลการวิจัยไปยังรัฐบาล วัตถุประสงค์เพื่อให้มีงานที่ดีและมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีขึ้น รวมถึงการแก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการระดับชาติสำหรับค่าจ้างขั้นต่ำ พร้อมทั้งให้นักเศรษฐศาสตร์แรงงานและผู้เชี่ยวชาญมาเป็นกรรมการ ซึ่งค่าแรงขั้นต่ำครอบคลุมธุรกิจทุกประเภทและขึ้นอยู่กับค่าครองชีพในแต่ละภูมิภาค ค่าแรงรายวันขั้นต่ำปัจจุบันคือ 4800 จัต (3.27 ดอลลาร์สหรัฐ ) ซึ่งสหภาพแรงงานเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำเป็น 9800 จัตต่อวัน กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำประกาศใช้ในปี 56 และค่าแรงขั้นต่ำรายวันกำหนดไว้ที่ 3600 จัต ในเดือนสิงหาคม ปี 58

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-govt-seeks-scrap-mandatory-review-minimum-wage.html

แนวโน้มของเมียนมาสำหรับนักลงทุนระยะยาว

รายงานของ Oxford Business Group report การเติบโตของเมียนมาสร้างโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับบริษัทที่มองหาโอกาสระยะยาวในการลงทุน ทำการประเมินแนวโน้มและการพัฒนาทั่วทั้งเศรษฐกิจรวมถึงเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค โครงสร้างพื้นฐาน การธนาคารและอื่น ๆ ศักยภาพของพม่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเผชิญกับความท้าทาย เช่น ช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐาน เมียนมาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าทำให้เป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสระยะยาว ข้อได้เปรียบโดยธรรมชาติของซึ่งรวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและอินเดีย Oxford Business Group report  เป็น บริษัท วิจัยและให้คำปรึกษาระดับโลก โดยมีสำนักงานอยู่ 30 ประเทศตั้งแต่เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา จนถึงอเมริกา ให้บริการข้อมูลเชิงลึกบนตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกสำหรับโอกาสในการลงทุนและการตัดสินใจทางธุรกิจ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/good-prospects-myanmar-long-term-investors-oxford-business-group-report.html

ไตรมาสแรกของปีงบฯ 62-63 FDI เมียนมาพุ่ง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

เมียนมาสามารถดึงดูดเงินลงทุนกว่า 1.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากต่างประเทศ ของปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งเริ่มในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 62 ถึง 24 มกราคมของปีงบประมาณนี้ เดือนที่แล้วมี บริษัท ต่างประเทศ 23 แห่งที่มีเงินลงทุนมากกว่า 433.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการลงทุนพม่า (MIC) เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น 11,951 ตำแหน่ง การลงทุนแบ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ ปศุสัตว์และการประมง และภาคการผลิตตามลำดับ ในขณะเดียวกัน MIC ไฟเขียวแก่ผู้ประกอบการชาวเมียนมา 39 ราย ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 647.6 พันล้านจั๊ต (431.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ย่างกุ้งดึงดูดการลงทุน 60% ทั้งในประเทศและต่างประเทศตามด้วยมัณฑะเลย์ 30% และที่เหลือไหลไปสู่ภูมิภาคและรัฐอื่น ๆ สิงคโปร์ จีน และไทยเป็นนักลงทุนหลัก กฎหมายบริษัทใหม่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561 ให้การยกเว้นภาษีแก่นักลงทุนโดยขึ้นอยู่กับการพัฒนาของภูมิภาคและรัฐ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-01/28/c_138739270.htm

รอบสองเดือนการค้าเมียนมา-จีน แตะ1.337 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมาและจีนอยู่ที่ 1.337 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในสองเดือนของปีงบประมาณนี้และเมียนมามีดุลการค้าเนื่องจากนำเข้าสินค้าเพียง 551 ล้านดอลลาร์ ส่วนการส่งออกมูลค่ากว่า 785 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งสองประเทศเปิดศูนย์ธุรกิจและดำเนินการเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนและการลงทุนตามที่กระทรวงกำหนด กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาลงนาม MoU กับจีนเพื่อจัดตั้งเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจชายแดน (EOI) และเชิญให้นักธุรกิจท้องถิ่นเข้าร่วมในพื้นที่ดังกล่าวเช่น Muse, Nantkhan, Kanpiketie, Laukkai และ Chinshwehaw

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-china-trade-volume-reaches-to-us1337-b-within-two-months

เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าว 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวมากกว่า 980,000 ตัน มูลค่า 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 มกราคมปีนี้ โดยรายรับ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 684,000 ตันไปยัง 55 ประเทศและมากกว่า 78 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวหักมากกว่า 302,000 ตันไปยัง 46 ประเทศในช่วงเวลาดังกล่าว โดยส่งออกตลาดสหภาพยุโรปและแอฟริกาผ่านเส้นทางการค้าทางทะเล และจีนผ่านทางการค้าชายแดนมูเซ กลุ่มสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) แจ้งว่ารายรับมากกว่า 709 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวมากกว่าสองล้านตันในปี 61-62 ซึ่งในปี 60-59 และทำลายสถิติในประวัติศาสตร์กว่า 50 ปี ในการส่งออกข้าวมากกว่า 3 ล้านตัน

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-us280-m-from-rice-and-broken-rice-export