ไตรมาสแรกของปี การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยมูลค่าแตะ 2 พันล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยยังคงหดตัวท่ามกลางความพยายามของรัฐบาลทั้งสองฝ่าย ที่ต่อสู้เพื่อจะเอาชนะต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 และทำให้การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ โดยตัวเลขมาจากกระทรวงพาณิชย์ของไทย แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมปีนี้ ซึ่งการค้าทวิภาคีลดลงร้อยละ 21.3 สู่ 2,097 ล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้าสินค้าจากไทยลดลงร้อยละ 21.3 เหลือ 1,769 ล้านเหรียญดอลลาร์ และเป็นการส่งออกที่มีปริมาณลดลงถึงร้อยละ 48.9 หรืออยู่ที่ 330 ล้านดอลลาร์ โดยสินค้าเกษตรสินค้าสำคัญสำหรับการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศไทย ในขณะที่สินค้าส่งออกของไทยมายังกัมพูชาส่วนใหญ่ประกอบด้วยสินค้าด้านพลังงาน ปุ๋ยทางการเกษตร อาหารและเครื่องสำอาง ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยสำหรับปี 2020 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 7,236 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50845150/cambodia-thailands-trade-valued-via-at-2-billion-in-first-quarter/

ผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มกัมพูชาเรียกร้องการเยียวยาสำหรับพนักงาน

ด้วยโรงงานมากกว่า 200 แห่ง ในภาคอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋าและสินค้าการเดินทาง ที่ถูกสั่งปิดชั่วคราวในเขตเมืองหลวงและเขตเมืองตาเขมาจังหวัดกันดาล จากมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล โดยสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่ากำลังต้องการการสนับสนุนทางด้านค่าตอบแทนเพื่อชดเชยให้กับคนงานนับหมื่นรายเป็นการชั่วคราวหลังโรงงานถูกสั่งปิด ส่งผลทำให้สายการผลิตต้องหยุดชะงัก รวมถึงคนงานขาดรายได้ ซึ่งโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าในพนมเปญและตาเขมาถูกสั่งปิดตั้งแต่ในวันที่ 14 เมษายน เป็นเวลาสองสัปดาห์หลังจากพบว่ามีคนงานเกือบ 800 คน จากโรงงาน 36 แห่ง ติดเชื้อโควิด-19 โดยอุตสาหกรรมนี้ถือเป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจกัมพูชาและมีพนักงานมากกว่า 800,000 คน ในอุตสาหกรรมนี้ ซึ่งสร้างรายได้เข้าประเทศผ่านการส่งออกสูงถึง 9.5 พันล้านดอลลาร์ ในปีที่แล้วแม้จะอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50845549/garment-employers-urged-to-provide-additional-allowances-in-spirit-of-humanity/

กัมพูชาและประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกร่วมส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตร

กัมพูชาและประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้จัดให้มีการประชุมเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรโดยเฉพาะเรื่องการประกันความมั่นคงด้านอาหารที่ยั่งยืนในภูมิภาค ซึ่งถือเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับระบบอาหารประจำปี 2030 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน ที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ “Building Back Better” ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมงของกัมพูชาทำการเข้าร่วมประชุม โดยได้เน้นย้ำถึงความท้าทายบางประการในภาคการเกษตรของกัมพูชา รวมถึงผลผลิตทางการเกษตรบางประเภทที่ตกต่ำและการไม่มีตลาดรองรับ ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 ซึ่งรัฐมนตรียังคงทำงานอย่างหนักเพื่อส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าวคุณภาพสูง ตลอดจนพืชสวนและพืชอุตสาหกรรม ผ่านการกระจายความหลากหลายทางการเกษตรอย่างทันท่วงที

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50844871/cambodia-asia-pacific-regional-countries-foster-agricultural-collaboration/

รัฐบาลกัมพูชายังคงกำหนดล็อกดาวน์กรุงพนมเปญต่อเนื่อง

ผู้ว่าการกรุงพนมเปญกล่าวในวันที่ 25 เมษายน ว่าการล็อกดาวน์ในเขตเมืองหลวงยังคงดำเนินต่อไปเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยระบุว่าเจ้าหน้าที่ภาครัฐยังคงบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดต่อไปในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด ซึ่งคำชี้แจงดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากผู้คนในเขตเมืองตาเขมา และเมืองกันดาล ของพนมเปญ กำลังสงสัยว่าพวกเขาจะกลับมาเดินทางได้ตามปกติแล้วหรือไม่ หลังจากวันนี้รัฐบาลได้ยกเลิกการห้ามเดินทางระหว่างกันและได้ทำการสั่งให้สามารถเปิดรีสอร์ทเพื่อการท่องเที่ยวได้ หลังจากที่ถูกสั่งให้ปิดกิจการชั่วคราวไปเมื่อการล็อกดาวน์รอบที่ผ่านมา โดยเมื่อวันที่ 14 เมษายน รัฐบาลได้ประกาศให้กรุงพนมเปญและเมืองตาเขมาเป็นเขตพื้นที่ล็อกดาวน์ กำหนดระยะเวลา 14 วัน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนจนถึงวันที่ 28 เมษายน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50845141/phnom-penh-lockdown-remains-in-place-despite-govt-lifting-travel-ban/

กลุ่มโลจิสติกส์เรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนปรนข้อจำกัดด้านการขนส่ง

ในขณะที่ธุรกิจภายในประเทศกัมพูชากำลังเผชิญกับความกดดัน พยายามดำเนินการภายใต้ข้อจำกัดของรัฐบาลหลังจากที่ได้ออกมาตรการล็อกดาวน์ ร่วมกับความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยสมาคมโลจิสติกส์แห่งกัมพูชา (CLA) จึงได้ขอให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงเพื่อช่วยบรรเทาความตึงเครียดเหล่านี้ลง ซึ่งอุปสรรคที่พบในขณะนี้คือบริษัทที่มีสำนักงานในเขตพื้นที่สีแดงจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว เจ้าหน้าที่เกือบทั้งหมด ไม่สามารถเดินทางผ่านไปยังพื้นที่นั้นๆได้ โดยถูกจำกัดหรือห้าม กิจกรรมทางศุลกากร ซึ่ง CLA ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานรัฐเพื่อขอใบอนุญาตจราจรสำหรับรถบรรทุกสำหรับงานหนักทุกประเภทที่มีความจำเป็นในการเดินทางเข้าและออกจากพื้นที่ที่ถูกปิดกั้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50843076/logistics-group-calls-on-govt-to-ease-restrictions-to-ensure-deliveries/

การล็อกดาวน์ที่ผ่านมาของกัมพูชา อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ

รัฐบาลกัมพูชาได้ทำการล็อกดาวน์ประเทศลงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ขึ้น โดยในบางพื้นที่ของเมืองหลวงถูกกำหนดให้เป็น “เขตพื้นที่สีแดง” ส่งผลทำให้จำเป็นต้องทำการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2021 ใหม่อีกครั้ง จากผลกระทบข้างต้น ซึ่ง The Economist Intelligence Unit (EIU) สื่อจากสหภาพยุโรปได้ตีพิมพ์ในหัวข้อ The Economist รายงานว่าอาจจะมีการปรับลดการคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของกัมพูชาในปี 2021 ลงจากร้อยละ 4.6 ลงมาสู่ช่วงระดับร้อยละ 3 ถึง 4 จากรายงานของ Nikkei Asia โดยการระบาดและการล็อกดาวน์จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจภาคเอกชน ซึ่งมีสัดส่วนสำคัญคิดเป็นประมาณร้อยละ 70 ของ GDP ประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50843002/lockdowns-movement-restrictions-could-affect-economic-outlook/

ภาคธุรกิจในกัมพูชาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชากล่าวถึงการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าภายในประเทศและต่างประเทศ มีจำนวนกว่า 7,997 รายการ ในปี 2020 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยรัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เพื่อให้เป็นเครื่องหมายการค้าประจำชาติและเสริมสร้างเอกลักษณ์ให้กับผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ซึ่งกระทรวงยังวางแผนที่จะจดทะเบียนผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เป็นเครื่องหมายการค้าของประเทศ เช่น Nom Banh Chok (ก๋วยเตี๋ยวเขมรแบบดั้งเดิม) ในจังหวัดเสียมราฐ เครื่องปั้นดินเผาในจังหวัดกำปงจนัง เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50842368/trademarks-registered-up-30-percent-more-unique-products-promoted/

การส่งออกของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี

การส่งออกของกัมพูชาไปยังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 สู่มูลค่าประมาณ 99 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 อยู่ในปัจจุบัน โดยข้อมูลจากสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีใต้แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มว่ากัมพูชานำเข้าสินค้าจากเกาหลีลดลงเล็กน้อยคิดเป็นมูลค่า 146 ล้านดอลลาร์ หรือลดลงเพียงร้อยละ 0.6 ซึ่งสินค้าสำคัญของกัมพูชาที่ส่งออกไปยังเกาหลีใต้ ได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า สินค้าเดินทาง เครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ยาง ผลิตภัณฑ์ยา และสินค้าการเกษตร ในขณะที่สินค้านำเข้าหลักเกาหลี ได้แก่ ยานพาหนะ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์พลาสติก โดยการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 884 ล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ลดลงร้อยละ 14 เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งคาดว่าปริมาณการค้าทวิภาคีของทั้งสองประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นเมื่อข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีมีผลบังคับใช้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50842371/cambodias-exports-to-south-korea-up-5-percent-in-first-quarter/

‘กัมพูชา’ รั้งอันดับ 2 ของโลก ขึ้นเป็นประเทศที่คืบหน้าใช้เงินดิจิทัลแบบ CBDC กับประชาชนรายย่อยในภาคธุรกิจมากที่สุด

สำนักข่าว Bloomberg รายงานอ้างอิงผลการศึกษาของ PwC ที่จัดอันดับการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลกลางแบบ Retail หรือแบบที่ใช้กับประชาชนทั่วไปในแต่ละประเทศ พบว่าอันดับหนึ่งคือ บาฮามาส อันดับสองคือกัมพูชา ขณะที่จีนซึ่งเป็นประเทศที่มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวของการศึกษาทดสอบ CBDC หรือ Central Bank Digital Currency อย่างต่อเนื่อง กลับอยู่ในลำดับที่ 3 ท่ามกลางธนาคารกลางทั่วโลกมากกว่า 60 แห่งที่เดินหน้าศึกษาสกุลเงินดิจิทัล สำหรับเหตุผลหลักที่ทำให้ CBDC รูปแบบ Retail ของบาฮามาสและกัมพูชาแซงหน้าจีน เนื่องจากโครงการดังกล่าวของสองประเทศนี้ได้เกิดขึ้นเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ของจีนกำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบการใช้งาน โดยมีเพียง 23% ของโครงการ Retail เท่านั้นที่มาถึงระดับการประยุกต์ใช้งาน ขณะที่เกือบ 70% ของโครงการ Wholesale กำลังอยู่ในช่วงนำร่อง

ที่มา : https://thestandard.co/cambodia-using-cbdc-currency/

กัมพูชาคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงกว่าร้อยละ 70 ในปีนี้

กัมพูชาคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวทั่วโลกที่จะเดินทางมายังกัมพูชาในปี 2021 จะลดลงอีกไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบอย่างต่อเนื่องของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชาระบุในรายงานประจำปี 2021 เกี่ยวกับสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวของกัมพูชาจะชะลอตัวลงจากผลกระทบของโควิด-19 ที่กินระยะเวลามาเป็นเวลานาน ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชาคาดว่าจะหดตัวอย่างต่อเนื่อง จากการคาดการณ์ครั้งก่อนประมาณร้อยละ 60 สู่การหดตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 70 หลังจากมีการปรับปรุงข้อมูล ซึ่งแถลงการณ์ระบุว่าประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวทั่วโลกรวมเหลือเพียง 1.31 ล้านคน ในปี 2020 ลดลงกว่าร้อยละ 80 จากจำนวน 6.61 ล้านคน ในปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50841600/cambodia-predicts-70-percent-drop-in-global-tourist-arrivals/