รองผู้ว่าธนาคารกลางเวียดนาม เตือนบิตคอยน์ยังผิดกฎหมาย

ดาว มินท์ ตู (Dao Minh Tu) รองผู้ว่าการธนาคารชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม กล่าวว่าบิตคอยน์ (Bitcoin) หรือสุกลเงินดิจิตอลอื่นๆ มิใช้สกุลเงินที่ถูกต้องตามกฎหมาย “สกุลเงินดิจิตอลไม่สามารถชำระเงินได้และไม่อนุญาตให้ใช้แทนสกุลเงินเวียดนาม” ในปัจจุบันธนาคารกลางเวียดนาม กระทรวงยุติธรรมและกระทรวงการคลัง ดำเนินการชี้แจ้งข้อมูลทางกฎหมายที่เกี่ยวกับเงินเสมือนและสินทรัพย์ทางธุรกิจเสมือน นอกจากนี้ รองฯ ยังกล่าวย้ำว่าในมุมมองของธนาคารกลางต่อการลงทุน Forex (ตลาดซื้อขายสกุลเงินตราต่างประเทศ) เป็นเพียงการให้บริการซื้อขายเงินตราต่างประเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากสถาบันสินเชื่อและธนาคารพาณิชน์ ดังนั้น ถ้าหน่วยงานใดไม่ได้รับใบอนุญาตให้ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จะถือว่าทำผิดกฎหมาย

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/state-bank-deputy-governor-bitcoin-is-not-legal-in-vietnam-28767.html

กัมพูชา-เวียดนาม ตัวเลือกลงทุนแทนเมียนมา

ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อในเมียนมาขณะนี้ ทำให้บริษัทต่างชาติเริ่มคิดที่จะถอนการลงทุนออกจากประเทศนี้ ขณะที่มีบริษัทบางแห่งประกาศยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทท้องถิ่นที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพให้เห็นบ้างแล้ว และหันไปมองประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าอย่างกัมพูชาและเวียดนาม ข้อมูลจากสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)ระบุว่า การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ(เอฟดีไอ)ที่ไหลเข้าไปในกลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัว 6.3% ในปี 2562 โดยเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ1 ในแง่ของมูลค่าการลงทุนที่ 16,100 ล้านดอลลาร์ และเมียนมา เคยเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของเอฟดีไอสูงสุดที่ 55.9% แต่เมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ผ่านมา กระแสเอฟดีไอในเมียนมาก็ไม่เพิ่มขึ้นเลย

ทั้งนี้ ฟิลด์ พิคเกอริง หัวหน้าหน่วยงานด้านการลงทุนจากวัลเพส อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมน กล่าวว่าความไม่สงบเรียบร้อยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ทำให้บรรดาผู้ประกอบการเมียนมาอาจเลือกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น และเข้าไปสร้างธุรกิจให้เติบโตในดินแดนอื่นภายในภูมิภาคอาเซียน เท่ากับว่าเป็นความสูญเสียของเมียนมาแต่เป็นการได้ประโยชน์ของประเทศอื่นๆในภูมิภาคแทน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/925213

เวียดนามเกินดุลการค้า 1.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. เวียดนามีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 95.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี แบ่งออกเป็นการส่งออก 48.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.2% ในขณะที่การนำเข้าประมาณ 47.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว บริษัทจากต่างประเทศมีมูลค่า 37.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ (76.4% ของยอดส่งออกรวมของเวียดนาม) ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจในประเทศ มีมูลค่าการส่งออก 11.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกประเภทโทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่ามากที่สุด 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามมาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ 6.9 พันล้านเหรียญ, เครื่องจักรและส่วนประกอบ, รองเท้า ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ซึ่งสินค้าข้างต้นรวมกันทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วน 73% ของยอดส่งออกรวมของเวียดนาม นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาสหภาพยุโรป อาเซียน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/890438/viet-nam-racks-up-129-billion-in-trade-surplus-in-two-months.html

เวียดนามเผยยอดธุรกิจจัดตั้งใหม่ 18,000 แห่งในช่วง 2 เดือนแรก

กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม เผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 64 ยอดจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ จำนวนมากกว่า 18,000 ราย ลดลง 4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จำนวนพนักงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.7% อยู่ที่ 173,000 คน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีการปรับเพิ่มของเงินทุน มูลค่าประมาณ 720.4 ล้านล้านดอง (32.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 12.4% และทุนจดทะเบียนเฉลี่ยต่อธุรกิจ อยู่ที่ 18.5 พันล้านด่อง เพิ่มขึ้น 46.4% ทั้งนี้ ในเดือนก.พ. ยอดจดทะเบียนของธุรกิจจัดตั้งใหม่ จำนวน 8,038 ราย ด้วยเงินทุนจดทะเบียนราว 179.74 ล้านล้านดอง ในแง่ของจำนวนธุรกิจใหม่ ปรับตัวลดลง 12.3% ในขณะที่เงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 85.6% ประกอบกับพนักงานที่อยู่ในธุรกิจจัดตั้งใหม่ ลดลง 22.1% จำนวน 57,000 คน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/890441/more-than-18000-new-firms-set-up-in-first-two-months.html

เวียดนามเผยภาคอุตสาหกรรมกลับมาเติบโตในเดือนก.พ.

ผลสำรวจที่จัดขึ้นโดยนิกเกอิ ระบุว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเวียดนามในเดือนก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 51.6 จากระดับ 51.3 ในเดือนม.ค. สะท้อนให้เห็นว่าสภาพธุรกิจดีขึ้น ทั้งนี้ ยอดคำสั่งซื้อใหม่กลับมาดีขึ้น ส่งผลต่อดีต่อธุรกิจส่งออก ท่ามกลางสัญญาของอุปสงค์จากต่างประเทศที่ดีขึ้น ประกอบการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากบริษัทต่างๆ ต้องการเพิ่มกำลังการผลิต นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาในส่วนของความเชื่อมั่นทางธุรกิจ พบว่ามีแนวโน้มลดลงในเดือนก.พ. ซึ่งปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่สาม ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนสิ.ค. 2563 เนื่องมาจากความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ตาม ธุรกิจส่วนใหญ่มองไปในทิศทางที่ดี โดยหวังว่าเวียดนามจะสามารถควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสได้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/manufacturing-output-returns-to-growth-in-february-316473.html

เวียดนามเผยดัชนี CPI ก.พ. พุ่งสูงสุดรอบ 8 ปี

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้น 1.52% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวสูงสุดในรอบ 8 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ดัชนีดังกล่าวสูงขึ้นเพียง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ จำนวน 10 ใน 11 รายการ ที่เห็นว่าราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน หากจำแนกออกมาชี้ให้เห็นถึงราคาวัสดุก่อสร้างและที่อยู่อาศัยปรับตัวพุ่งสูงสุด 4% รองลงมากลุ่มราคาอาหารและบริการจัดเลี้ยง 1.61% และการขนส่ง 1.55% ตามลำดับ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน (ปีใหม่ทางจันทรคติ) นอกจากนี้ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของเดือนนี้ (ไม่รวมกลุ่มอาหารสด พลังงานและบริการรัฐ) ได้แก่ บริการสุขภาพและการศึกษาขยับเพิ่มขึ้น 0.48% จากเดือนม.ค. 64 และ 0.79% เมื่อเทียบกับเดือนก.พ. ปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietreader.com/business/35093-february-cpi-growth-highest-in-eight-years.html

เวียดนามเผยเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ ดิ่งลง 15.6%

Foreign Investment Agency (FIA) ของเวียดนาม เผยว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ หดตัว 15.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นมูลค่า 5.46 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยนักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เข้ามาลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิต มูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยภาคพลังงาน ประมาณ 1.44 พันล้านเหรียญสหรัฐ และภาคอสังหาริมทรัพย์ มูลค่า 485 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ นักลงทุนจากญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในเวียดนามมากที่สุด มูลค่า 1.64 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาสิงคโปร์และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ ปี 2563 เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ดิ่งลง 25% เมื่อเทียบเป็นรายปี มูลค่าอยู่ที่ 28.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุมาจากการระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถเดินทางทางอากาศได้และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง

  ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/fdi-down-15-6-pct-4240708.html

เวียดนาม-อังกฤษ เผยมูลค่าการค้าพุ่ง หลังบังคับใช้ข้อตกลงการค้าเสรี UKVFTA

สำนักงานส่งเสริมตลาดยุโรปและอมริกา ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เผยว่าในเดือนมกราคม มูลค่าการส่งออกและนำเข้าระหว่างเวียดนามและสหราชอาณาจักร พุ่งสูงถึง 657 ล้านเหรียญสหรัฐ เวียดนามส่งออกสินค้าไปยังสหราชอาณาจักร มูลค่ากว่า 598 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 84.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าเป็นการเติบโตได้ดีท่ามกลางโควิด-19 ระบาด และอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการยกระดับการส่งออกของเวียดนามคือ ความตกลงทางการค้าเสรีระหว่างสหราชอาณาจักร – เวียดนาม (UKVFTA) ที่มีผลยังคับใช้เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. 2563 โดยสินค้าส่งออกไปยังตลาดดังกล่าว อาทิ อาหารทะเล ผัก ชิ้นส่วนโทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว สหราชอาณาจักรเข้ามาลงทุนในเวียดนาม จำนวน 411 โครงการ ด้วยมูลค่าทุนจดทะเบียน 3.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะเข้ามาลงทุนในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การธนาคารและพลังงานหมุนเวียน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-uk-trade-turnover-soars-after-post-brexit-free-trade-deal-4241118.html

RCEP ยกระดับการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนาม

ความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (RCEP) เปิดโอกาสที่ดีให้แก่ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนามในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก นาย Lê Duy Minh ประธานสมาคมฟาร์มและวิสาหกิจการเกษตรเวียดนาม กล่าวว่า RCEP จะช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรของเวียดนาม สามารถเข้าถึงตลาดที่ใหญ่ที่สุดและเปิดโอกาสในการแข่งขันกับคู่แข่ง ซึ่งข้อตกลงการค้าดังกล่าว มีจำนวนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ รวมถึงออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วน 29% ของ GDP โลก และมีจำนวนประชากรรวม 2.2 พันล้านคน ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีฉบับนี้จะช่วยยกระดับการส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนาม เนื่องจากกลุ่มประเทศสมาชิกมีความต้องการสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสใหม่แก่การค้ากับจีน ได้แก่ การสื่อสาร บริการทางการเงิน โลจิสติกส์และอีคอมเมิร์ซ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/886346/rcep-offers-opportunity-to-expand-vietnamese-agricultural-exports.html

“นิกเกอิ เอเชีย” เผยเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตได้ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 64

ตามข้อมูลของนิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) เผยว่าในปีที่แล้ว เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 2.9% เนื่องมาจากประสบความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งได้รับอนิสงค์จากการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสินค้าอุปโภคบริโภค ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจปีนี้ ไว้ที่ 6.5% ทั้งนี้ นาย Gareth Leather นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสจากบริษัท Capital Economics ได้ตั้งข้อสังเกตว่าการส่งออกของเวียดนามควรได้รับการส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง สหรัฐฯ ดำเนินเล็งจัดเก็บภาษีจากสินค้าจีน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลายมาเป็นจุดหมายปลายทางด้านการลงทุน และกลุ่มประชากรที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ประกอบไปด้วยแรงงานจำนวนมากที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งถือว่าเป็นความได้เปรียบในการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ แต่สิ่งสำคัญที่สุดในระยะสั้น คือ การควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/nikkei-aisa-vietnam-will-be-southeast-asian-growth-leader-in-2021-839093.vov