สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงเป็นผู้นำขีดความสามารถในการแข่งขันรายจังหวัด

รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) แถลงรายงานตัวชี้วัดขีดความสามารถในการแข่งขันรายจังหวัด (PCI) เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. พบว่าจังหวัดที่อยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) เป็นภูมิภาคชั้นนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีการประเมินว่าภูมิภาคดังกล่าวมีความพยายามในการพัฒนาหรือส่งเสริมคุณภาพทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในช่วงปี 2558-2562 ดัชนีจังหวัด PIC ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 คิดเป็น 5.95 คะแนน จาก 59 คะแนนในปี 2558 จนถึงปี 2561 อยู่ที่ 64.99 คะแนน ทั้งนี้ ในกลุ่ม 20 จังหวัดและเมืองที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด พบว่าบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง มี 5 จังหวัดที่ติดอันดับ ได้แก่ ดงทับ, วินห์ลอง, เบ็นเต๋, ลองอันและแคนโถ เป็นต้น นอกจากนี้ ในบริเวณณพื้นที่ดังกล่าวมีขนาดยุ้งฉางข้าวใหญ่ที่สุดในประเทศ ประกอบไปด้วย 12 จังหวัดและอีก 1 เมืองศูนย์กลางภูมิภาค

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/mekong-delta-leads-in-provincial-competitive-index/174954.vnp

เวียดนามมียอดเกินดุลการค้า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนพ.ค.

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนพ.ค. เวียดนามเกินดุลการค้า มีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยเหตุนี้ ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดเกินดุลการค้าสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นของการค้าระหว่างประเทศ แสดงให้เห็นว่าในเดือนพ.ค. เวียดนามมีมูลค่าส่งออกอยู่ที่ 19.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 18.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.9 อย่างไรก็ตาม ยอดส่งออกพุ่งสูงขึ้นไปยังตลาดส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ จีน (2.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอาเซียน เป็นต้น สำหรับสินค้าส่งออกที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, โทรศัพท์และชิ้นส่วน, เครื่องจักรและรองเท้า เป็นต้น นอกจากนี้ ตัวเลขทางสถิติในเดือนพ.ค. ชี้ให้เห็นว่าตลาดส่งออกเริ่มกลับมาฟื้นตัว ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-enjoys-us1-billion-in-trade-surplus-in-may-414911.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกผักผลไม้ครึ่งปีแรก สูงถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยตัวเลขการส่งออกผักและผลไม้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 มีมูลค่ามากกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน จีนยังคงเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีสัดส่วนร้อยละ 60.8 ของยอดนำเข้ารวม อย่างไรก็ตาม การส่งออกสินค้าไปยังกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือ ลดลงร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ หลายตลาดขยายตัวได้ดี เช่น ไทย (57.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, เพิ่มขึ้น 244.1%) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และเนเธอแลนด์ เป็นต้น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรส่งออกผักและผลไม้แปรรูปในช่วงเวลานี้ ยอดส่งออกจะกลับมาฟื้นตัวในช่วงปลายปี เนื่องจากคาดว่าควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/veggie-fruit-exports-exceed-15-billion-usd-in-first-half/174897.vnp

‘ไทยเวียตเจ็ท’ กลับมาเปิดบริการในประเทศ

สายการบินไทยเวียตเจ็ท (Thai Vietjet) กลับมาเปิดบินเส้นทางระหว่างกรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) และสนามบินนานาชาติภูเก็ตในวันเสาร์ที่ผ่านมา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารและเป็นสายการบินรายแรกที่กลับมาดำเนินต่อ จากข้อมูลข้างต้นนั้นเป็นไปตามแถลงของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ที่จะเปิดเส้นทางบินนานาชาติภูเก็ตในประเทศ ทั้งนี้ สายการบินไทยเวียตเจ็ทยังได้เสนอไฟล์ทบินฟรีเป็นระยะเวลา 1 ปีแก่บุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงสมาชิกของคณะกรรมการควบคุม COVID-19 และแพทย์ พยาบาลที่ได้รับการแต่งตั้ง 160 ราย ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในไทย นอกจากนี้ สายการบินดังกล่าว ก่อตั้งเมื่อปี 2556 ซึ่งมาจากกิจการร่วมค้าระหว่างเวียตเจ็ท (ถือหุ้น 49%) และกานต์ แอร์ถือหุ้นส่วนที่เหลือ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/738138/thai-vietjet-resumes-domestic-flights.html

เวียดนามเผยยอดส่งออกปลาสวายไปยังยุโรปดิ่งลงฮวบ เหตุโควิด-19

จากรายงานของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลางเดือนพ.ค. การส่งออกปลาสวาย (Pangasius) ของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรป มีมูลค่า 53.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลก รวมถึงสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกปลาสวายของเวียดนามไปยังสหภาพยุโรปลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ราคาปลาสวายที่ขายเพื่อเป็นวัตถุดิบปรับตัวลดลง เช่นเดียวกับจีนที่ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ที่มีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนี้ เพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยข้างต้น ภาคการประมงเร่งส่งเสริมสร้างความเข็มแข็งในการควบคุมสภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและคุณภาพของการผลิต ช่วยให้เกษตรกรและธุรกิจเข้าร่วมการจัดการห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/tra-fish-exports-to-eu-see-a-sharp-fall-due-to-covid19-414903.vov

เวียดนามนำเข้าเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นถึง 300% ในช่วง 5 เดือนแรก

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงสิ้นเดือนพ.ค. ปริมาณนำเข้าเนื้อสุกรของเวียดนามถึง 67,640 ตัน เพิ่มขึ้น 298% เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนธุรกิจในประเทศราว 130 รายทำการสั่งซื้อเนื้อสุกรและสินค้าที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากแคนาดา เยอรมัน โปรแลนด์ บราซิล สหรัฐฯ สเปนและรัสเซีย ซึ่งการนำเข้าดังกล่าว เผชิญกับอุปสรรคหลายด้าน เนื่องจากอุปทานทั่วโลกลดลงและการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาที่รุนแรงในหลายประเทศ ทั้งนี้ ในเดือนม.ค. ปริมาณสุกรอยู่ที่ 678 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ทางกระทรวงฯ มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำการเจรจากับกลุ่มประเทศในภูมิภาค เพื่อนำเข้าสุกรมีชีวิต นอกจากนี้ หน่วยงานการโรคระบาดสัตว์ของเวียดนามและไทย เร่งหารือเกี่ยวกับขั้นตอนการขออนุญาตในการนำเข้าสุกรจากไทย

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/pork-imports-rise-nearly-300-in-five-months-414784.vov

เวียดนามนำเข้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พุ่ง 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากตัวเลขทางสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ชี้ให้เห็นว่าการนำเข้าคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ด้วยมูลค่า 21.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตในประเทศ อยู่ที่ราว 86.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปี 2562 คิดเป็นสัดส่วน 88.4% ของมูลค่าการนำเข้ารวม ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ มีการนำเข้าสินค้าหลายรายการที่ลดลง ได้แก่ เครื่องจักรและชิ้นส่วน ผ้าทุกชนิด เหล็กเหล็กกล้า วัตถุดิบพลาสติก เป็นต้น ขณะที่ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในช่วง 5 เดือนแรก มูลค่าการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 97.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับปีก่อน จีนยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มูลค่า 28.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาเกาหลีใต้ อาเซียน ตามลำดับ นอกจากนี้ หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 กระทรวงวางแผนและการลงทุนเตรียมพิจารณา 2 สถานการณ์ถึงผลกระทบทางด้านการค้าของประเทศ ในกรณีที่ไวรัสระบาดจนถึงไตรมาสที่สอง คาดว่ายอดส่งออกลดลง 20% ในขณะเดียวกันยอดการนำเข้าลดลง 16%

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnams-imports-of-computers-electronic-products-and-components-exceed-usd-21-billion-21285.html

บริษัทชั้นนำของเกาหลีใต้ ‘CJ GGV’ เตรียมปลดสาขาในเวียดนาม

บริษัท CJ GGV เตรียมการถอดบริษัทในเครือด้านอสังหาริมทรัพย์ในเวียดนาม เพื่อจัดโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่อ่อนแอลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. ส่งผลให้ถอดสัดส่วนผู้ถือหุ้น 25% ในเครือบริษัท CJ เวียดนาม ที่ดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนอสังหาฯ มูลค่าราว 27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.4 ของทุนส่วนเจ้าของ ทั้งนี้ โครงสร้างทางการของบริษัทดังกล่าว อ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากวิกฤติไวรัสระบาดไปทั่วโลก โดยอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (D/E) เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 200% ในช่วง 3 เดือนจนมาอยู่ที่ 845% ในไตรมาสแรก และเงินทุนรวมลดลง 22% เมื่อเทียบกับปีก่อน ด้วยเหตุนี้ ส่งผลให้บริษัทสูญเสียธุรกิจในเวียดนามและตุรกี นอกจากนี้ บริษัทก็มีหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์และเป็นบริษัทในเครือของ CJ Group รวมถึง CJ E&M และ CJ Entertainment ระบุว่าบริษัทขายหุ้น 29% ของ CGI Holdings ไปยังนักลงทุนทางการเงิน ‘MBK Partner และ Mirae Asset Daewoo’

ที่มา : https://vnexplorer.net/south-koreas-cj-cgv-to-divest-from-vietnamese-subsidiary-a202049209.html

เวียดนามเผยโครงการลงทุน 215 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในจังหวัดห่านาม

คณะกรรมการประชาชนจังหวัดทางตอนเหนือ ‘ฮานาม (Hà Nam)’ ระบุว่าได้ทำการอนุมัติแนวทางการลงทุนสำหรับโครงการสองแห่งที่มีมูลค่าราว 5 ล้านล้านด่ง (214.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ประกอบไปด้วยโครงการเชื่อมโยงอุตสาหกรรม ‘Yên Lệnh Hà Nam’ เป็นโครงการลงทุนของบริษัท Hà Nam International Port Corporation ด้วยพื้นที่ประมาณ 63 เฮกตาร์ มูลค่ารวม 2.6 ล้านล้านด่ง รวมถึงยังมีพอร์ตท่าเรือในด้านโลจิสติกส์และการขนส่งที่หลากหลายรูปแบบ ในขณะเดียวกัน โรงงานประกอบรถยนต์ ‘Hồng Đức’ ด้วยพื้นที่ประมาณ 22 เฮกตาร์ มูลค่ารวมมากกว่า 2.3 ล้านล้านด่ง ซึ่งเป้าหมายของโครงการ คือการผลิตและประกอบรถยนต์ 9 ที่นั่ง และมีบริการบำรุงรักษา/ซ่อมแซมรถยนต์ รวมถึงรถยนต์ประเภทอื่นๆ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/737937/two-projects-worth-215-million-granted-in-ha-nam.html

ข้อตกลงการค้า EVFTA ช่วยส่งเสริมภาคเกษตรกรรมของเวียดนาม : EP

ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนามกับสหภาพยุโรป (EU-Vietnam Free Trade Agreement : EVFTA) เป็นประโยชน์ต่อภาคเกษตรของเวียดนาม ตามข้อมูลของรัฐสภาสยุโรป (EP) แม้ว่าภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีจะได้รับการอนุมัติจากสถาแห่งชาติของเวียดนาม เมื่อวันที่ 8 มิ.ย.โดยยกเลิกภาษีนำเข้าถึง 65% สำหรับสินค้าเวียดนาม เมื่อมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ และจนถึงปี 2030 การยกเลิกภาษีจะเท่ากับ 100% ทั้งนี้ เวียดนามยินดีต่อการยกภาษีนำเข้าและโควตาข้าวขาว ข้าวสาร ข้าวหอมมะลิ ปริมาณอยู่ที่ 30,000 , 20,000 และ 30,000 ตัน ตามลำดับ ขณะที่ สินค้าอื่นๆ ได้แก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ชาและกาแฟ ได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าว นอกจากนี้ สหภาพยุโรปก็ได้รับประโยชน์ในการส่งออกเนื้อวัว ผลิตภัณฑ์นมและเนื้อหมู ไปยังกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรัฐสภายุโรปมองว่าข้อตกลง EVFTA สร้างผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย และคาดว่าจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังยุโรปกว่า 15 พันล้านยูโร

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/evfta-to-benefit-vietnams-agricultural-sector-ep-official/174596.vnp