การประชุมความร่วมมือทางการค้าระหว่างเวียดนาม กัมพูชา

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ณ กรุงพนมเปญ กัมพูชา สำหรับการประชุมส่งเสริมทางการค้า ร่วมหารือแสดงวิสัยทัศน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการค้า และการปกป้องผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ประกอบการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างผู้ประกอบการเวียดนามกับกัมพูชาให้มีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับประเด็นที่น่าสนใจภายในกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่ โอกาสทางการดำเนินธุรกิจ สภาพแวดล้อมทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงื่อนไขการเข้าร่วมเขตเศรษฐกิจพิเศษในกัมพูชา ทั้งนี้ จากตัวเลขสถิติทางการค้า ระบุว่าในปีที่แล้ว เวียดนามและกัมพูชา มียอดการค้าอยู่ที่ 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 และในปัจจุบัน เวียดนามมีโครงการลงทุนในกัมพูชา 214 โครงการ ด้วยมูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกัน กัมพูชามีโครงการลงทุนในเวียดนาม 21 โครงการ ด้วยมูลค่ากว่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐ และอยู่ในอันดับที่ 54 ของต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam–cambodia-business-cooperation-forum-to-boost-trade/164998.vnp

กว่างนิงห์ เร่งพัฒนาการท่องเที่ยวเขิงธุรกิจ MICE

MICE เป็นโมเดลธุรกิจการท่องเที่ยวที่ผสมผสานการเดินทางเพื่อธุรกิจ การจัดประชุม และการแสดงสินค้าหรือผลงานเข้าด้วยกัน โดยโมเดลดังกล่าวได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งในจังหวัดกว่างนิงห์ (Quang Ninh) ได้นำโมเดล MICE มาติดตามแนวโน้มการท่องเที่ยวทั่วโลก และเตรียมยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง เพื่อขยายสิ่งอำนวยด้านการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ จังหวัดกว่างนิงห์ได้ดำเนินการสร้างแบรนด์การท่องเที่ยวธุรกิจ MICE ให้มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 35 และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น ขณะนี้ ในปัจจุบัน มีห้องพักมากกว่า 20,000 ห้อง รวมไปถึงจำนวนโรงแรม 214 แห่ง และมีสถานที่สำคัญการท่องเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ทางผู้อำนวยการฝ่ายบริหารการท่องเที่ยวและวิทยาศาสตร์ ระบุว่านักท่องเที่ยวกลุ่ม MICE จะมีความต้องการสูงขึ้นในด้านการบริการและมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว และในอนาคตข้างหน้า ต้องมุ่งเน้นไปที่กลุ่มคนในประเทศ สำหรับธุรกิจรูปแบบ MICE

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/quang-ninh-speeds-up-mice-tourism-development-407280.vov

‘จังหวัดด่งนาย’ มียอดเม็ดเงินการลงทุนจริง FDI ขยายตัวพุ่งสูงขึ้น

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเวียดนามในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 มีมูลค่าเงินทุนมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้รับแรงหนุนจากภาคอุตสาหกรรม โดยกรมการวางแผนและการลงทุนของจังหวัด ระบุว่าในปัจจุบันมีโครงการ FDI กว่า 1,447 โครงการ ด้วยมูลค่าเงินทุนจดทะเบียน 29.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าเงินลงทุนที่เข้ามาดำเนินการจริงมีทั้งหมดประมาณ 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ยอดการลงทุนจริง (FDI disbursement) เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจังหวัดด่งนาย มีดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8 ต่อปี และมียอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ประกอบกับงบประมาณภาครัฐ FDI ขยายตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยเกาหลีใต้ ไต้หวัน และญี่ปุ่น ล้วนเป็นประเทศที่มีการลงทุนสะสมสูงสุด เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/dong-nai-records-fast-fdi-disbursement-407126.vov

เวียดนามส่งออกน้ำมันดิบ 3.72 ล้านตัน ในช่วง 11 เดือนของปีนี้

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม (GDVC) เปิดเผยว่าปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของเวียดนามอยู่ที่ 3.72 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าราว 1.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 ในขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน มีปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของเวียดนามอยู่ที่ 330,000 ด้วยมูลค่า 154 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงทั้งด้านปริมาณและมูลค่า เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ในขณะเดียวกัน ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าน้ำมันดิบของเวียดนาม ได้กลับเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้าน้ำมันเบนซินประมาณ 9 ล้านตัน ด้วยมูลค่าราว 5.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 16.1 และ 24.4 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-exports-372-million-tonnes-of-crude-oil-in-11-months-407174.vov

เวียดนามดึงดูดแบรนด์แฟชั่นต่างประเทศ Fast Fashion

Zara แบรนด์แฟชั่นระดับโลกของสเปน มีรายได้ราว 1.7 ล้านล้านด่อง ในปี 2561 ซึ่งมีตัวเลขสูงกว่า 6 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2559 เนื่องจากผู้บริโภคเวียดนามนิยมแฟชั่นประเภท ‘Fast Fashion’ ประกอบกับสไตล์แฟชั่นที่ตอบโจทย์กับคนเวียดนาม และราคาสินค้าที่ไม่แพงสามารถจับต้องได้ ราคาอยู่ที่ประมาณ 300,000 – 900,000 ด่อง โดยในปัจจุบันเวียดนามมีแบรนด์แฟชั่นอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้คนเวียดนามมีทางเลือกในการเลือกซื้อเสื้อผ้าได้หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้ จากรายงานทางการเงินของแบรนด์ Zara แสดงให้เห็นว่ามีเพียง 2 ร้านค้าในกรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์ ที่ทำรายได้สูงถึง 1.7 ล้านล้านด่อง ในปี 2561 นับว่าตัวเลขดังกว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับแบรนด์แฟชั่นในระดับไฮเอนด์ เช่น Tam Son และ Mai Son International Retail ขณะเดียวกัน มีการเปิดสาขาใหม่อยู่ 4 แห่ง ที่จะสร้างรายได้ให้กับแบรนด์ H&M มากกว่า 653 พันล้านด่อง ในปี 2561

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-attracts-foreign-fastfashion-brands-407027.vov

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกเครื่องนุ่งห่ม 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศ ยังคงตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2562 แม้ว่าจะเผชิญกับอุปสรรคมากมาย เพื่อให้ได้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ อุตสาหกรรมดังกล่าวต้องมีอัตราการเจริญเติบโตในการส่งออกอยู่ที่ร้อยละ 11-12 ต่อปี โดยในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับผู้ผลิตรายอื่น เช่น จีน อินเดีย และบังคลาเทศ เป็นต้น และทางสมาคมหวังว่าผู้ประกอบการจะได้รับยอดคำสั่งซื้อขนาดใหญ่ เพื่อให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มสูงขึ้นในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญของผู้ประกอบการ คือ การหาตลาดใหม่และการร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้า ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรี ได้แก่ EVFTA และ CPTPP เป็นต้น นอกจากนี้ ทางผู้บริหารระดับสูงของสมาคมสิ่งทอเวียดนาม มองว่าสถานการณ์ในปัจจุบัน นับว่าเป็นไปได้ยากที่อุตสาหกรรมสิ่งทอจะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ ภายในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/569282/garment-export-target-of-40-billion-a-long-shot.html#lGuhOAC3rkrrqwYh.97

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน ชะลอตัว

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IIP) ในเดือนพฤศจิกายน 2562 ขยายตัวต่ำที่สุด นับตั้งแต่ต้นเดือนของปี 2562 อยู่ที่ระดับร้อยละ 5.4 เกิดจากการชะลอตัวของภาคการผลิตและแปรรูปอุตสาหกรรม และการขุดเหมืองแร่ หากสรุปภาวะอุตสาหกรรมสาขา แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการขุดเหมืองแร่ลดลงร้อยละ 5.3 เป็นผลมาจากการผลิตถ่านหินและน้ำมันกลั่นที่ลดลง ส่วนอุตสาหกรรมการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และภาคการบำบัดน้ำเสียขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 ในขณะเดียวกัน ดัชนี IIP ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ เหล็กกล้าดิบ น้ำมันเบนซิน เหล็กเส้น โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ ผ้าธรรมชาติ สีอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/569229/industrial-production-index-expansion-slows-in-november.html#RQfwHtktphXZJLeE.97

การส่งออกสินค้าเกษตรของเวียดนามไปยังจีน อาจต้องเผชิญกับอุปสรรค

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) ร่วมมือกับคณะกรรมการประชาชนจังหวัดกว่างนิง (Quang Ninh) ได้เข้าร่วมประชุมที่เมืองหม่งกาย ในวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม่และประมงของเวียดนามไปยังตลาดจีน ซึ่งในจังหวัดกว่างนิงได้รับการพิจารณาให้เป็น “ประตู” ในการเชื่อมต่อการค้าระหว่างเวียดนามและจีน ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของมูลค่าการค้าทวีภาคีประมาณ 100 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ต้นปีนี้ โดยในจังหวัดดังกล่าว จะได้รับการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และพัฒนาระบบการขนส่งชายแดน แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน แต่ประเทศจีนก็มีระบบการตรวจสอบข้อกำหนดในการนำเข้าสินค้าอย่างเข็มงวด รวมถึงกฎหรือข้อระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบย้อนกลับถึงถิ่นกำเนิดสินค้าและการติดฉลากผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมาก ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการหน่วยงานด้านการแปรรูปและพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรเวียดนาม ระบุว่าให้เรียกร้องผู้ประกอบการเวียดนามพยายามปรับตัวต่อการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตสินค้า ใบรับรองที่รัฐบาลจีนกำหนดไว้ในการนำเข้าสินค้า เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/agricultural-exports-to-china-face-barriers-406985.vov

กัมพูชาเข้าร่วมโครงการความร่วมมือด้านการเกษตรของเวียดนาม

กัมพูชาส่งผู้แทนเข้าร่วมโครงการของเวียดนามที่พยายามกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับภาคเกษตรกรรมของเวียดนามและสปป.ลาว โดยประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตร ผู้เชี่ยวชาญการเกษตรและเกษตรกรเป็นผู้แทนประเทศกัมพูชาในการเข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ บริษัท กัมพูชาที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรก็มีตัวแทนจาก บริษัท เวียดนามและสปป.ลาวด้วย ซึ่งมีบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตรกว่า 225 รายการจากทั้งสามประเทศ ตามรายงานใน Nhan Dan Online โดยผู้เข้าร่วมในโปรแกรมได้แบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตร การทำฟาร์มและกิจกรรมในชนบท ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันและมิตรภาพระหว่างประชาชนของทั้งสามประเทศในขณะที่ส่งเสริมการสนับสนุนซึ่งกันและกันในหมู่เกษตรกรในการทำธุรกิจและบริโภคสินค้าเกษตร โดยมีรายงานว่าข้อตกลงความร่วมมือหลายประการจัดทำเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้เทคโนโลยี และยังขาดแคลนเทคโนโลยีการเกษตรขั้นสูงในสามประเทศ แต่ข้อจำกัดเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ในไม่ช้าโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50665907/cambodia-joins-vietnamese-programme-for-agri-cooperation/

เวียดนามเผยภาคเกษตรกรรมเกินดุลการค้า 8.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 11 เดือน

จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าภาคเกษตรกรรมเวียดนามมียอดเกินดุลการค้าอยู่ที่ 8.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ นับว่าสูงกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญมีอยู่ 7 รายการ ที่มีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้แก่ กาแฟ ยางพารา ข้าว เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลไม้ กุ้ง ไม้และไม้แปรรูป เป็นต้น ประเทศจีนยังคงเป็นผู้นำสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกสำคัญบางรายการที่ได้รับผลกระทบในทิศทางลบ ได้แก่ เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลไม้ ข้าว กาแฟ และพริกไทย เป็นต้น นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติการส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าในปีที่แล้ว เวียดนามสามารถทำสถิติการส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งสูงขึ้น 40.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรรายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/agricultural-sector-gains-trade-surplus-of-88-bln-usd-in-11-months-406933.vov