‘เวิลด์แบงก์’ พร้อมสนับสนุนดันเวียดนามเป็นเศรษฐกิจที่มีรายได้สูง ปี 2045

มานูเอลา วี. เฟอโร รองประธานธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก เดินทางมาเยือนเวียดนามนับว่าเป็นวันที่ 5 (วันที่ 25 มี.ค.) ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรีเวียดนาม “ฟาม มินห์ จิญ” และนายนายเวือง ดิ่งห์ เหวะ ประธานสภาแห่งชาติเวียดนาม โดยทั้งสองฝ่ายหารือเกี่ยวกับความท้าทายของเวียดนามในการยกระดับประเทศ รวมถึงวิธีการที่จะได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของคนเวียดนาม ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญในการมาเยือนเวียดนามในครั้งนี้ คือการจัดทำร่างแผนและแนวทางแก้ไขเพื่อให้เวียดนามบรรลุเป้าที่จะกลายมาเป็นเศรษฐกิจที่มีรายได้สูงภายในปี 2045 อีกทั้ง มานูเอลา วี. เฟอโร เน้นย้ำว่าธนาคารโลกถือเป็นหุ้นส่วนพัฒนาที่สำคัญแก่ประเทศเวียดนามและเสนอโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรม เพื่อรองรับความท้าทายใหม่ๆ

ที่มา : https://vir.com.vn/wb-pleges-to-support-vietnam-to-become-high-income-economy-by-2045-92233.html

 

ประชากรกัมพูชากว่าร้อยละ 92.55 ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19

ประชาชนทั้งหมดกว่า 14.81 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 92.55 ของประชากรในประเทศ ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นโดสแรกแล้ว โดยกัมพูชาถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลก ที่ฉีดวัคซีนให้กับเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จากจำนวน 14.81 ล้านคน 13.96 ล้านคน ได้รับวัคซีนครบทั้ง 2 เข็ม ขณะที่ 7.89 ล้านคน ได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 และในจำนวนนี้ 1.15 ล้านคนได้รับวัคซีนเข็มที่ 4 เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคมาจากออสเตรเลีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501048112/up-to-92-55-percent-of-cambodias-population-have-received-first-dose-of-covid-19-vaccine/

สถาบันการเงิน 69 แห่ง เริ่มให้บริการชำระเงินผ่านระบบมือถือในกัมพูชาแล้ว

ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้บริการชำระเงินผ่านระบบมือถือในกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 42 หรือคิดเป็นจำนวน 13.6 ล้านคนในปี 2021 เพิ่มขึ้นจาก 9.5 ล้านคนในปี 2020 ตามข้อมูลของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยคาดว่าสถานการณ์โควิด-19 กระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากหันมาใช้การชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการทำธุรกรรมถึง 707.57 ล้านครั้ง ในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการทำธุรกรรม 157.63 ล้านครั้ง ใช้สกุลเงินเรียลในการทำธุรกรรม ซึ่งธุรกรรมการชำระเงินออนไลน์ทั้งหมดมีมูลค่ารวมกันอยู่ที่ 113.67 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นจาก 95.31 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 ในส่วนของสถาบันการเงินที่มีการให้บริการด้านการชำระเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวนทั้งสิ้น 69 แห่งในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501047230/69-mobile-payment-services-spearhead-cambodias-mobile-payment-transactions-to-113-67-billion/

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาลดฮวบ 20% !

กรมศุลกากรเมียนมา เผย จากการปิดชายแดนของจีนซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ ส่งผลให้กลุ่มส่งออกสินค้าเกษตรลดลงเกือบ 20% ในช่วง 5 เดือนครึ่งที่ผ่านมา โดย ณ วันที่ 18 มีนาคม 2565 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ 2.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ 541.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปัจจุบัน ด่านชายแดนบางแห่งเริ่มเปิดทำการค้าเป็นบางส่วน โดยสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ทั้งนี้การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งเป็น 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 แม้ว่าการส่งออกอื่นๆ จะมีแนวโน้มลดลงก็ตาม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-value-down-by-nearly-20-per-cent-as-of-18-march/#article-title

‘อนุสรณ์’ชี้ศึกยูเครนยืดเยื้อ 10มาตรการรับมือไม่เพียงพอ

รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลังกล่าวว่า มาตรการ 10 มาตรการช่วยประชาชนของรัฐบาลล่าสุดนั้นไม่เพียงพอ และครอบคลุมเวลา 3 เดือนนั้นสั้นเกินไป ซึ่งอย่างต่ำต้อง 6 เดือน เพราะคาดการณ์ว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนยืดเยื้อและผลกระทบจากการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจรัสเซีย ซึ่งมาตรการส่วนใหญ่จะบรรเทาผลกระทบจากพลังงานและน้ำมันแพงเป็นหลัก โดยมุ่งไปที่กลุ่มคนรายได้น้อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ มอเตอร์ไซค์รับจ้างและผู้ขับขี่แท็กซี่ แต่ยังไม่ครอบคลุมแรงงานนอกระบบอื่นๆ ดังนั้น ต้องเน้นไปที่มาตรการแก้ปัญหาเชิงระบบเช่นต้องดึงแรงงานนอกระบบให้เข้ามาอยู่ในระบบประกันสังคมให้มากที่สุด ส่วนเรื่องพลังงานก็ต้องลงทุนพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ลดการพึ่งพาพลังงานและน้ำมันนำเข้าลง

ที่มา: https://www.naewna.com/business/644045

‘อาคม’ เผยปมขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ไม่กระทบส่งออกอาเซียน ยัน อัตราว่างงานลดลงตามลำดับ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เผยมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์ขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย ที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ในส่วนกระทรวงการคลังที่ดูแลเรื่องฐานะการเงินของประเทศ แนวนโยบายในการบริหารโควิด-19 ก็เดินคู่กับการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ เราพยายามจะรักษาสมดุลตรงนี้ไว้ เห็นได้จากแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของ GDP แต่ละไตรมาสที่ดีขึ้นตามลำดับ แม้ว่าจะมีโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนก็ตาม แต่ความรุนแรงไม่เท่าสายพันธุ์เดลต้า เพราะฉะนั้นกิจกรรมธุรกิจต่างๆ ยังสามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่องได้ ประเด็นสำคัญคือการเกิดปัญหาทางเศรษฐกิจแต่ละครั้งนั้นสิ่งที่ช่วยพยุงให้เศรษฐกิจของเราสามารถเดินต่อได้มี 2 เรื่อง คือเรื่อง ภาคเกษตร เป็นภาคที่สำคัญ เพราะกระทบต่อรายได้ของประชาชน กับเรื่อง การค้าขายชายแดน ซึ่งผมได้ลงไปในพื้นที่ชายแดนหลายจังหวัดพบว่าช่วงโควิด-19 นั้นการขนสินค้าข้ามแดนไม่ได้รับผลกระทบอะไร เพราะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนของเรายังพึ่งพาสินค้าอุปโภค-บริโภคกันอยู่” นายอาคมกล่าว

 

ที่มา : https://www.matichon.co.th/politics/news_3250986

‘ตลาดตราสารหนี้เวียดนาม’ ปี 64 พุ่งทะยาน 56% ทะลุ 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของบริษัท SSI Corporation (SSI) เปิดเผยว่าในปี 2564 มูลค่าของตราสารหนี้ของบริษัทเวียดนาม รวมกันทั้งสิ้น 722.7 ล้านล้านดอง (32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยผู้ออกตราสารหนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยมูลค่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 44% ของเม็ดเงินกู้ทั้งหมดของบริษัท ในขณะที่ฝั่งของกลุ่มธนาคารได้ออกตราสารหนี้เป็นมูลค่า 9.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 31.3% ของทั้งหมด อย่างไรก็ตามบริษัท SSI ระบุว่ามูลค่ารวมของพันธบัตรจากธนาคารที่หมุนเวียนในช่วงปลายปี 2564 อยู่ที่ 540 ล้านล้านดอง (23.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือ 39% ของตลาด ซึ่งยังคงต่ำกว่าอัตรา 48% ที่บันทึกไว้ในปลายปี 2561 อย่างมีนัยสำคัญ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าขนาดของตลาดตราสารหนี้ที่ไม่ใช่ธนาคารกำลังเพิ่มขึ้น

 

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/business/vietnam-s-corporate-bond-market-in-2021-surges-by-56-to-us-32-billion-825021.html

 

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าปี 2573 ผู้ส่งออกอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก

เวียดนามตั้งเป้าที่จะก้าวขึ้นมาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่มีความสามารถการแข่งขันสูงและเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกรายใหญ่ 15 อันดับแรกของโลกภายในปี 2573 โดยตามรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าเวียดนามตั้งเป้าที่จะส่งเสริมผลิตภัณฑ์ 20 รายการที่ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์ระดับโลกและมีความได้เปรียบในตำแหน่งห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลให้กำลังผลิตของภาคอุตสาหกรรมสนับสนุนอยู่ที่ 70% ของอุปสงค์ในประเทศและกำลังผลิตในประเทศ 45% ทั้งนี้ กระทรวงฯ ร้องขอให้รัฐบาลมุ่งความสำคัญไปยังการพัฒนาเชิงคุณภาพแทนที่จะเป็นเชิงปริมาณ และใช้มาตรการต่างๆ เพื่อพัฒนากำลังผลิต ซึ่งหนึ่งเป็นจุดอ่อนหลักของเศรษฐกิจ นอกจากนี้ กระทรวงฯ คาดว่าในปี 2573 ภาคการผลิตอุตสาหกรรมจะมีสัดส่วน 40% ของ GDP

 

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1166915/vn-aims-to-become-industrialised-world-exporter-by-2030.html

 

ส่งออกสินค้าปศุสัตว์เมียนมา ดิ่งลง 11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกสินค้าปศุสัตว์รวมถึงวัวและควายของเมียนมา ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 11 มี.ค. 2565 ของปีงบประมาณย่อย (2564-2565) อยู่ที่ 4.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจาก 11.33 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 ที่มีการส่งออก 15.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการปิดชายแดนเมียนมา-จีน โดยเมียนมาอนุญาติให้ส่งออกวัวที่มีอายุมากกว่า 5 ปี พร้อมใบรับรองการฉีดวัคซีน ใบรับรองสุขภาพ และใบรับรองการจดทะเบียนเกษตรกรรม ทั้งนี้วัวถือเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศ ซึ่งจากการสำรวจจำนวนวัวและควายในปี 2561 พบว่ามีจำนวนประมาณ 11.5 ล้านตัว แบ่งเป็นควาย 1.8 ล้านตัว และวัวอีก 9.7 ล้านตัว กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และชลประทานของเมียนมา ระบุว่า วัวที่มีอยู่ในตลาดในประเทศมีประมาณ 1.1 ล้านตัว แบ่งเป็นการส่งออกจำนวน 600,000 ตัวต่อปี ที่เหลือเป็นการบริโภคในประเทศจำนวน 400,000 ตัว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/e-paper/

องค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) สนับสนุนการลงทุนในประเทศสปป.ลาวต่อไป

กระบวนการลงทุนในสปป.ลาวจะคล่องตัวมากขึ้นผ่านระบบบริการแบบครบวงจรสำหรับนักลงทุนภายใต้บันทึกความร่วมมือที่ตกลงโดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุนของลาวและองค์การการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในสปป.ลาว โดยจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาล่วงหน้าแบบครบวงจรสำหรับนักลงทุนที่สนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมใหม่ ระบบใหม่จะรวมแบบฟอร์มที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อให้นักลงทุนสามารถยืนยันขั้นตอนที่จำเป็นทั้งหมด เพื่อดำเนินการตามแผนธุรกิจของตนในขั้นตอนการพิจารณาการลงทุน ช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการให้บริการแบบครบวงจรผ่านความร่วมมือระหว่างทั้งสององค์กรเพื่อให้มีฟังก์ชันที่รวดเร็วและสะดวกสบายในการปรับปรุงกระบวนการลงทุนในสปป.ลาว

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_JETRO59.php