ไทย เลิกเก็บภาษี ส่งออกข้าวโพดของเมียนมา

ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 65 ถึง 31 สิงหาคมการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเมียนมา ไปยังไทยผ่านชายแดนเมียวดีจะปลอดภาษี มีการส่งออกไปแล้วมากกว่า 2,000 ตัน แต่ยังน้อยกว่าปีที่แล้ว ซึ่งจากข้อมูลพบว่าตอนนี้มีโกดังข้าวโพดหลายแห่งในเมียวดีสามารถรองรับบรรทุกได้ถึง 500 คันต่อวัน แม้ว่าข้าวโพดจะได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปยังจีนได้แล้ว แต่ส่งออกไปยังไทยมากกว่าเนื่องจากจีนมีการเก็บภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรชาวจีน ทั้งนี้การค้าระหว่างสองประเทศต้องหยุดชะงักเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 และรถบรรทุกของไทยได้รับอนุญาตให้บรรทุกสินค้าไปยังเขตการค้าและโกดังสินค้าทางฝั่งเมียนมาได้ แต่รถบรรทุกของเมียนมายังไม่ได้รับอนุญาตวิ่งผ่านด่านแม่สอด

ที่มา : https://news-eleven.com/article/224982

8 บริษัท เตรียมเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX)

ตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) คาดจะมีบริษัทอีก 8 แห่ง เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชาในปีนี้ โดยกล่าวถึงความคืบหน้าทั้งในด้านปริมาณการซื้อขายและบัญชีซื้อขายใหม่ที่เพิ่มขึ้นในปีที่แล้ว ซึ่งปริมาณการซื้อขายในปี 2019 มีมากกว่า 150,000 ดอลลาร์ต่อวัน และในปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ปริมาณการซื้อขายลดลงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 110,000 ดอลลาร์ต่อวัน และในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 250,000 ดอลลาร์ต่อวัน โดยในปัจจุบันมีการเปิดบัญชีซื้อขายแล้ว 5,000-6,000 บัญชี ซึ่งหนึ่งในแปดบริษัทที่คาดว่าจะจดทะเบียนใน CSX วางแผนทำ IPO ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ทางด้าน CSX มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มจำนวนการจดทะเบียนในตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ โดยเน้นที่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในหมวดธุรกิจ ไอที, โทรคมนาคม, ฮาร์ดแวร์, ลอจิสติกส์ รวมไปถึงอาหารและเครื่องดื่ม เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501016620/eight-more-companies-mulling-to-list-in-securities-market-this-year/

ธนาคารโลกแนะกัมพูชา สำหรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ธนาคารโลก (WB) แนะกัมพูชาเพิ่มผลิตภาพภายในประเทศ พัฒนาศักยภาพพนักงาน และกระจายตลาดส่งออก รวมถึงส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ เป็นสำคัญ หลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผลิตภาพแรงงานของกัมพูชาค่อนข้างต่ำเนื่องจากขาดการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางธนาคารโลกเน้นย้ำถึงการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์เป็นสำคัญ ด้วยการสนับสนุนการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในด้านของการส่งออกธนาคารโลกได้แนะนำให้กระจายตลาดการส่งออกให้เกิดความหลากหลาย โดยสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชา 5 รายการ ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ข้าว มันสำปะหลัง และสินค้าด้านการท่องเที่ยว คิดเป็นกว่าร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่ตลาดสำคัญมีเพียงสองแห่ง คือสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา คิดเป็นกว่าร้อยละ 69 ของการส่งออกทั้งหมด ส่วนการยกระดับการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานระดับโลก แนะให้กัมพูชาสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์การเกษตร และการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในภาคบริการ รวมถึงการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศในภาคการผลิตที่มีประสิทธิผลมากที่สุด และสร้างการเข้าถึงทางด้านการเงินให้กับภาคธุรกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501016942/world-bank-gives-key-recommendations-for-cambodias-economic-recovery/

กัมพูชาจัดแคมเปญกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ

ทางการกัมพูชาจัดแคมเปญ “Cambodia: Safe and Green Tourism Destination” โดยเปิดตัวไปเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน โดยสายการบินหลายแห่งเพิ่มเที่ยวบินระหว่างกัมพูชาหลังจากหยุดทำการบินไปกว่า 2 ปี ซึ่งภาคการท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักที่สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ด้านกระทรวงการท่องเที่ยวระบุว่ากัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 6.61 ล้านคน ในปี 2019 สร้างรายได้รวม 4.92 พันล้านดอลลาร์ แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลทำให้ภาคการท่องเที่ยวทรุดลงอย่างหนัก โดยให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 163,366 คน ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2021 ลดลงถึงร้อยละ 87 จาก 1.28 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2020

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/501016042/cambodias-campaign-to-revive-pandemic-hit-tourism-industry-sees-increase-in-flights/

คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาโต 5% ในปี 2022

เศรษฐกิจของกัมพูชาคาดเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 ในปี 2022 หลังจากที่ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา หนุนโดยอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง ซึ่งเศรษฐกิจของกัมพูชาเติบโตร้อยละ 3 ในปี 2021 และคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องสู่ร้อยละ 5 ในปี 2022 สาเหตุหลักมาจากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ และการกลับมาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในทุกภาคส่วน โดยเศรษฐกิจของกัมพูชาส่วนใหญ่ขับเคลื่อนโดยภาคการเกษตร การท่องเที่ยว การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป รวมถึงภาคอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างเป็นสำคัญ ในด้านอัตราการฉีดวัคซีนจนถึงขณะนี้ กัมพูชาได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนไปแล้วอย่างน้อยหนึ่งโดสแก่ประชาชน 14.35 ล้านคน หรือร้อยละ 89.7 ของประชากร 16 ล้านคน กล่าวโดยกระทรวงสาธารณสุข

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/501015969/cambodias-economy-forecast-to-grow-over-5-pct-in-2022/

ประเทศในอาเซียนให้ความสนใจ ในการใช้รถไฟลาว-จีนในการขนส่งสินค้า

ผู้ประกอบการจากประเทศไทย เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมาร์ กำลังใช้บริการรถไฟลาว-จีน เพื่อนำเข้าและส่งออกสินค้าไปและกลับจากจีนและที่อื่นๆ Daovone Phachanthavong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวกล่าวกับ Vientiane Times ว่ามีการส่งสินค้าระหว่างจีนและประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านทางรถไฟมากขึ้น อีกทั้งผู้คนจำนวนมากในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทย ต้องการเดินทางโดยรถไฟและเยือนวังเวียงและหลวงพระบางเมื่อการระบาดของโควิด-19 สงบลง ก่อนหน้านี้ประเทศไทยได้ส่งออกข้าว 1,000 ตันครั้งแรกไปยังฉงชิ่งในประเทศจีนและในอนาคตข้างหน้ารัฐบาลไทยกำลังพิจารณาส่งออกผลไม้ กล้วยไม้ ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำมันปาล์ม ประมง และปศุสัตว์ ด้านการลงทุนหลายบริษัทกำลังพิจารณาลงทุนในลาว เพราะสินค้าจากประเทศอาเซียนสามารถส่งไปยังยุโรปผ่านทางรถไฟลาว-จีนได้แล้ว

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_More_21.php

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาลดฮวบ 1.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ณ วันที่ 21 ม.ค.65 ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 64 ถึงมี.ค. 65) มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรดิ่งลง 1.25 พันล้านดอลลาร์ ลดลงอย่าง 375.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกไปจีนคิดเป็นร้อยละ 90 ของการส่งออกผักและผลมืทั้งหมด ในช่วงปีงบประมาณที่ผ่านมาการปิดด่านชายแดนของจีนส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตผู้ค้าผลไม้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ กฎระเบียบการนำเข้าและมาตรการป้องกันโควิด-19 ของจีนยังทำให้เกิดความล่าช้า  ปัจจุบัน ชายแดนบางแห่งเริ่มทดลองเป็ดค้าขายเป็นบางแห่งแล้ว ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรมีทิศทางที่สดใส โดยคิดเป็นร้อยละ 37 ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก ฯลฯ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-value-plummet-to-1-25-bln-as-of-21-january/#article-title

ภาคอุตสาหกรรม ‘เวียดนาม’ เผย เดือน ม.ค. ผลผลิตเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด

ตามโมเมนตัมของภาคอุตสาหกรรมเวียดนามเติบโตขึ้นในเดือนม.ค. เป็นผลมาจากแนวโน้มการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตามีทิศทางดีขึ้นต่อไป ตลอดจนผลผลิตเพิ่มขึ้นและยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น ขณะที่การจ้างงานปรับตัวดีขึ้นเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม รายงานของไอเอชเอส มาร์กิต (IHS Markit) เปิดเผยว่าการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ สำหรับในส่วนของดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53.7 ในเดือนม.ค. จากระดับ 52.5 ในเดือนธ.ค. บ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมทางธุรกิจมีสัญญาฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากผลผลิตและยอดคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนแรกของปี เนื่องจากความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น คือค่าระวางเรือและค่าขนส่งระหว่างประเทศปรับตัวสูงขึ้น

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-manufacturing-sector-sees-sharper-rises-in-output-in-jan/

ข้อตกลงการค้าเสรี โมเมนตัมเศรษฐกิจ ‘เวียดนาม’ ปี 65

ความตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี อาทิความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. คาดว่าจะกลายมาเป็นแรงผลักดันใหม่ในการขยายตัวทางเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2565 อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับปรุงความสามารถทางการแข่งขันและคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เพื่อเป็นที่ต้องการของตลาดระหว่างประเทศและใช้โอกาสอย่างเต็มที่ในบริบทใหม่ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ ความตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามลงนามนั้น ถือเป็นประตูเปิดสำหรับการค้าในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกและเครือข่ายการผลิต ทั้งข้อตกลงการค้าเสรี CPTPP, EVFTA และ UKVFTA เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ftas-momentum-for-vietnams-economy-in-2022/221551.vnp

รัฐบาล มั่นใจเศรษฐกิจโตตามเป้า ท่องเที่ยว-ส่งออก-การลงทุนต่างชาติ ขยายตัวชัดเจน

นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจประเทศไทยปี 2565 จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 4.0 ต่อปี (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 ถึง 4.5) ตามการคาดการณ์ของกระทรวงการคลัง ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้ประเทศและรายได้ครัวเรือน ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการใช้งบประมาณแผ่นดิน 3.1 ล้านล้านบาท งบลงทุนรัฐวิสาหกิจ 3.07 แสนล้านบาท และพ.ร.ก.เงินกู้ ควบคู่ไปกับการเติบโตของภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนจากต่างชาติ ที่มีตัวเลขยืนยันเป็นที่ประจักษ์

ที่มา:https://www.matichon.co.th/economy/news_316061