ราคาหัวหอมช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง ร่วงหนัก !

แม้ว่าฤดูเพาะปลูกต้นหอมในช่วงฤดูหนาวของเมืองเจาะบะด้อง  เขตมัณฑะเลย์ ราคามีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ เกษตรกรยังจำเป็นต้องขายในราคาปกติเพื่อไม่ให้ขาดทุน ทั้งนี้เกษตรกรและผู้ค้าหัวหอมได้รับผลกระทบจากตลาดเนื่องจากขาดความต้องการจากต่างประเทศและสถานการณ์การแพร่ระบาดของของ COVID-19 และยังเผชิญกับต้นทุนการปลูกที่สูงขึ้นถึง 2 ล้านจัตต่อเอเคอร์ ปัจจุบันมีราคาเพียง 300 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กก.) ดังนั้นเกษตรกรจึงดิ้นรนหาทุนสำหรับการเพาะปลูกในฤดูกาลหน้า ในช่วงต้นปี 2563 หัวหอมราคาอยู่ที่ 1,200-1,300 จัตต่อ viss และความต้องการที่สูงขึ้นของตลาดต่างประเทศส่งผลให้ราคาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทำให้มีการขยายการเพาะปลูก แต่หลังจากนั้นราคาดิ่งลงอย่างมากในช่วงวิกฤต COVID-19 ขณะที่ตลาดการส่งออกหลัก คือ บังคลาเทศและอินเดีย โดยหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง รัฐเนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-in-bear-market-even-when-winter-growing-season-starts/#article-title

จับตาศักยภาพ! ยุโรปขึ้นแท่นผู้นำเข้าข้าว ‘เวียดนาม’

ตามรายงานจาก VietNam Investment Review เปิดเผยว่าความต้องการข้าวจากประเทศในแถบเอเชียเพิ่มสูงขึ้น ตลาดสหภาพยุโรป (EU) จึงถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงแก่ผู้ส่งออกข้าวของเวียดนาม โดยในปี 2564 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังยุโรป ปริมาณกว่า 60,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1% ในแง่ของปริมาณ และ 20% ในแง่ของมูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกข้าวหอมมะลิราว 40,000 ตัน มูลค่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ส.ค.63 ช่วยให้ราคาธัญพืชของเวียดนามปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น 10-20 เหรียญสหรัฐต่อตัน เนื่องมาจากจากความต้องการเพิ่มขึ้น เหตุโควิด-19 ระบาด นอกจากนี้ ตามรายงานของสำนักงานสถิติยุโรป (Eurostat) ชี้ว่ากลุ่มซัพพลายเออร์ข้าวรายใหญ่ 10 อันดับแรกของกลุ่มนี้ ข้าวจากเวียดนามมีราคาเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่สุดที่ 20.3% ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 781 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1115829/eu-remains-highly-potential-importer-of-vietnamese-rice.html

‘เวียดนาม’ เผยคนตกงานนับล้าน รายได้ดิ่งเหว ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในปี 2564 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานในเวียดนาม อยู่ที่ 5.7 ล้านดอง ลดลง 32,000 ดองเมื่อเทียบกับปี 2563 ตามการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาวะการจ้างงานในปี 2564 อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับปี 2564 แรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป มีจำนวน 50.5 ล้านคน ลดลง 791,600 คน เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยข้อมูล ณ วันที่ 6 ม.ค. แรงงานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในไตรมาสที่ 4/64 มีจำนวน 50.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.7 ล้านคนเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลง 1.4 ล้านคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุสำคัญมาจากได้รับการฉีดวัคซีนได้อย่างครอบคลุมและมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้เห็นสัญญาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานเวียดนามในไตรมาสที่ 4/64 อยู่ที่ 5.3 ล้านคน ซึ่งรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของคนงานชาย 6.6 ล้านดอง สูงกว่าคนงานหญิง 1.4 เท่า (4.7 ล้านดอง)

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/business/millions-of-people-unemployed-lowest-income-in-years-809417.html

‘พาณิชย์’ ตรึงราคาไก่สดห้างค้าปลีก กก.ละ 60-75 บาท ดีเดย์เริ่ม 18 ม.ค.

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ได้หารือร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย รายใหญ่ ห้างค้าปลีกค้าส่ง สมาคมตลาดสดแห่งประเทศไทย กรมปศุสัตว์ และสมาคมที่เกี่นวข้อง เห็นตรงกันที่จะตรึงราคาจำหน่ายปลีก ณ ห้างค้าปลีกค้างส่ง ได้แก่ บิ๊กซี แม็คโคร โลตัส ให้ไก่สดรวมเครื่องใน, ไก่สดไม่รวมเครื่องใน ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่องติดสะโพก ราคา 60-65 บาทต่อกิโลกรัม น่อง, สะโพก ราคา 65-70 บาทต่อกิโลกรัม เนื้ออก ราคา 70-75 บาทต่อกิโลกรัม เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 ม.ค. ไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย หากพบเห็นว่ามีการกักตุนหรือฉวยโอกาสจำหน่ายสินค้าในราคาที่ไม่เป็นธรรม สามารถแจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/675931/

ธนาคารกลางสปป.ลาว เวียดนาม ลงนาม MOU แลกเปลี่ยนข้อมูล

ผู้ว่าการธนาคารแห่งสปป.ลาว (BOL) และธนาคารแห่งเวียดนาม (SBV) เพิ่งลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการกำกับดูแลการธนาคาร ข้อตกลงดังกล่าวได้ลงนามระหว่างการเยือนเวียดนามอย่างเป็นทางการโดยนายกรัฐมนตรีพันคำ ตั้งแต่วันที่ 8-10 มกราคม 2565 เพื่อตอบรับคำเชิญจากนายกรัฐมนตรี พิม มินห์ ชินห์ ของเวียดนาม การลงนามในบันทึกความเข้าใจ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลในการกำกับดูแลการธนาคารที่ลงนามในปี 2551 เพื่อสะท้อนถึงการลงทุนด้านการธนาคารในปัจจุบัน  ข้อตกลงฉบับใหม่ระบุความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางทั้งสอง โดยเน้นที่การแบ่งปันข้อมูล การกำกับดูแลการธนาคารข้ามพรมแดน การตรวจสอบ ณ สถานที่ปฏิบัติงาน และการจัดการภาวะวิกฤตของธนาคารพาณิชย์ภายใต้การกำกับดูแลความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานบนพื้นฐานความไว้วางใจซึ่งกันและกันและ ความเข้าใจสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของธนาคารกลางทั้งสองในการส่งเสริมคุณภาพของการตรวจสอบการจัดตั้งข้ามพรมแดน การสร้างขีดความสามารถของผู้ตรวจสอบ และการวิเคราะห์ความเสี่ยงของธนาคาร ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธนาคารและความร่วมมือในการดำเนินการตามกรอบการบูรณาการการธนาคารในอาเซียนของทั้งสองธนาคารกลาง

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao_Vietnamese_10.php

สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ยังคงถือเป็นเสาหลัก ด้านการส่งออกของกัมพูชา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพกัมพูชา กล่าวว่า การส่งออกสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการเดินทาง รวมถึงกระเป๋า ถือเป็นภาคส่วนสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา และยังคงเป็นภาคการส่งออกที่สำคัญที่สุดของประเทศ โดยเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 10 ต่อปี เป็นช่วงเวลาติดต่อกันถึง 10 ปี แม้ว่าในปี 2020 การส่งออกจะลดลงเล็กน้อย แต่ในปี 2021 เริ่มเห็นถึงการกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง โดยการส่งออกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่ารวมสูงถึง 6.538 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 6 จากปีก่อนหน้า การส่งออกรองเท้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ 1.113 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เพื่อการเดินทางมีมูลค่ารวมกัน 1.179 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49 โดยภายในสิ้นปี 2021 จำนวนโรงงานที่ขอจดทะเบียนอย่างเป็นทางการในภาคส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,200 แห่ง สร้างการจ้างงานเกือบ 1 ล้านคน ซึ่งในปี 2021 มูลค่าการส่งออกรวมของภาคส่วนนี้อยู่ที่ประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณร้อยละ 63 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/501007751/textiles-garments-footwear-and-travel-products-and-bags-are-the-key-pillars-of-cambodias-exports/

NBC เปิด 10 นโยบายสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชา

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) เสนอ 10 นโยบาย สนับสนุนการเติบโตและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของกัมพูชาภายในกรอบปี 2022 กล่าวโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ซึ่งกล่าวในพิธีปิดการประชุมประจำปีของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา ประจำปี 2021 และ 2022 โดยกล่าวเสริมว่าความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในกัมพูชายังคงมีโอกาสที่จะนำไปสู่การใช้มาตรการป้องกันที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจ และเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอย่างยั่งยืน รัฐบาลจึงกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และแผนงานเพื่อฟื้นฟูและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์โควิด-19 ตามแนววิถีปกติใหม่ ซึ่งประกอบไปด้วย 10 นโยบาย ได้แก่ 1.การรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน 2.การส่งเสริมการใช้เงินสกุลเรียล 3.ดำเนินมาตรการสนับสนุนตามเป้าหมายที่เคยกำหนดไว้ 4.การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางการเงินและความรู้ 5.ช่วยเหลือภาคประชาชนชน ผ่านสาขาธนาคารแห่งประเทศทุกสาขาทั่วประเทศ 6.ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงินรูปแบบใหม่ 7.การเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจ 8.เสริมสร้างประสิทธิผลของการต่อต้านการฟอกเงินและการจัดหาเงินทุนของผู้ก่อการร้าย 9.การสนับสนุนการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 10.สนับสนุนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการรวมกลุ่มทางด้านการเงินในระดับภูมิภาค

ที่มา:https://www.khmertimeskh.com/501007788/national-bank-of-cambodia-launches-10-policies-to-support-cambodias-economic-growth-in-2022/

เมียนมาส่งออกกาแฟ 450-500 ตันในฤดูกาลนี้

ศูนย์วิจัยและเผยแพร่เทคโนโลยีกาแฟแห่งเมืองปยีนอู้ลวีน เผย เมียนมาจะส่งออกกาแฟประมาณ 450 หรือ 500 ตันในฤดูการนี้ โดยจะถูกส่งออกไปยัง เช่น อเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลี ฝรั่งเศส เยอรมนี ไทย และจีน ปัจจุบันมีการปลูกและผลิตกาแฟคุณภาพสูงและจำหน่ายในเดือนธันวาคมและมีนาคมเป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันกาแฟเป็นที่ต้องการอย่างมากและมีการแข่งขันสูง โดยราคาจะอยู่ระหว่าง 4 – 5 จัตล้านต่อตัน ขณะที่ราคาในตลาดต่างประเทศสูงกว่า 5 ล้านจัตต่อตัน ทั้งนี้ไร่กาแฟในจีนและบราซิลถูกภัยพายุพัดถล่ม คาดว่าราคากาแฟเมียนมาน่าจะปรับขึ้นมากที่สุดในรอบสามปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-to-export-450-500-tonnes-of-coffee-this-coffee-season/#article-title

‘ตลาดยานยนต์เวียดนาม’ ปี 64 พุ่งทะยาน

สมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยรายงานพบว่าสมาชิกฯ ทำยอดขายได้ 304,149 คัน ในปี 2564 เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งออกเป็นยอดขายยานยนต์นั่งส่วนบุคคล ลดลง 3%, ยานยนต์เพื่อการพาณิชย์ เพิ่มขึ้น 17% และยานยนต์เฉพาะทาง เพิ่มขึ้น 50% โดยในบรรดายานยนต์ที่จำหน่ายนั้น มีรถยนต์ประกอบในประเทศ 168,357 คัน รองลงมายานยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ 135,792 คัน ลดลง 10% และเพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ฮุนได (Hyundai) ยังคงเป็นแบรนด์ยานยนต์เพียงค่ายเดียวที่มียอดขายสูงสุดในปี 2564 ด้วยยอดขาย 70,518 คัน รองลงมาโตโยต้า (67,533 คัน), เกีย (45,532 คัน), วินฟาสต์ (35,723 คัน), มาสด้า (27,286 คัน), มิตซูบิชิ (27,243 คัน), ฟอร์ด (23,708 คัน) และฮอนด้า (21,698 คัน)

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1115045/vn-automobile-market-inched-up-in-2021.html

‘เวียดนาม’ ขึ้นแท่นผู้นำอาเซียนด้านผลิตไฟฟ้า

หลังจากเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า 3,420 เมกะวัตต์ในปีที่แล้ว ปัจจุบันเวียดนามเป็นผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้านผลิตไฟฟ้า ด้วยกำลังการผลิต 76,620 เมกะวัตต์ นาย Tran Dinh Nhan ผู้อำนวยการการไฟฟ้าเวียดนาม (EVN) กล่าวว่าระดับความสามารถในการขยายกำลังการผลิต เพิ่มขึ้น 9.8% อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกังวลว่าแหล่งพลังงาน 27% มาจากพลังงานหมุนเวียน และสัดส่วนดังกล่าวที่อยู่ในระดับสูงนั้น ทำให้เกิดอุปสรรคของการจัดจำหน่ายไฟฟ้า อีกทั้ง เมื่อปีที่แล้ว การผลิตไฟฟ้า 60% มาจากพลังงานหมุนเวียดนาม แต่เนื่องจากความต้องการลดลง สาเหตุจากมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ทั้งนี้ นาย Nguyen Quoc Trung รองผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าแห่งชาติของเวียดนาม กล่าวว่าการผลิตและนำเข้าพลังงานในปี 2565 จะเพิ่มขึ้น 275.5 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง เพิ่มขึ้น 7.9% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคาดว่าเวียดนามจะเล็งซื้อพลังงานจากจีนราว 380 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ภายในเดือน พ.ย. และ มิ.ย. 2565

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-leads-asean-in-power-production-39389.html