ดีมานด์ตลาดสิ่งทอพุ่ง หนุนอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยและกัมพูชา

อุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาไม่สามารถรองรับกับสถานการณ์การขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอของไทยปรับตัวพุ่งสูงขึ้น และคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15 ในปีนี้ ทางด้านสื่อไทยรายงานถึงการส่งออกสิ่งทอที่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการในสินค้าทั่วโลกปรับตัวดีขึ้น รวมถึงภาคการผลิตในภูมิภาคเริ่มกลับมาดำเนินการอีกครั้ง อาทิเช่น กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย รวมถึงจากโซนยุโรป และสหรัฐฯ โดยโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าและสิ่งทอของไทยกลับมามีกำลังการผลิตเต็ม 100% อีกครั้ง แต่ยังคงติดอยู่กับปัญหาการขาดแคลนแรงงานหลังจากแรงงานต่างด้าวเดินทางกลับประเทศของตนในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันโรงงานภายในประเทศไทยขาดแคลนแรงงานสูงถึง 30,000-50,000 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001754/soaring-demand-from-cambodia-other-countries-leads-to-thai-textile-industry-exports-surging/

จีนยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากกัมพูชากว่าร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งหมด

จีนส่งเสริมภาคการค้าระหว่างกัมพูชา ผ่านข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปในวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน อาทิเช่น วิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวกำหนดไว้ว่าทั้งสองประเทศจะต้องยกเว้นการจัดเก็บภาษี หรือกำหนดภาษีการนำเข้าให้เป็นศูนย์ แก่สินค้านำเข้าจากอีกฝั่ง ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมสินค้านำเข้ากัมพูชามากกว่าร้อยละ 90 โดยทั้งสองประเทศวางแผนที่จะกระชับความร่วมมือในด้านต่างๆเพิ่มเติม เช่น สนับสนุนภาคการค้า ภาคบริการ การลงทุน โครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (BRI) และตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งในปัจจุบันปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45.9 คิดเป็นมูลค่า 10.98 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001767/china-cambodia-to-promote-free-trade-deal-with-zero-tariff-on-more-than-90-percent-of-imports-from-cambodia/

‘เวียดนาม’ เผยโฉมแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจ 15.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19

เวียดนามวางแผนเปิดแพ็คเกจการใช้จ่ายเงินมูลค่า 347 ล้านล้านดอง หรือประมาณ 15.25 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี 2565-66 เพื่อรองรับผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 และเยียวผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่เข็มงวด โดยแพ็คเกจกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งล่าสุดนั้น มีมูลค่าต่ำกว่าที่เสนอไว้ที่ 800 ล้านล้านดองในเดือน พ.ย. รวมถึงมาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้และการชะลอการชำระคืนเงินกู้ของกิจการ ทั้งนี้ ตามแพ็คเกจดังกล่าว ธนาคารกลางเวียดนามจะดำเนินการขายพันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับในประเทศ เพื่อใช้ในการแทรกแซงตลาดและบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้มีเสถียรภาพ นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามในปี 2564 เพิ่มขึ้น 2.58% ชะลอตัวลงจากปีก่อนที่เติบโต 2.91%

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20220105/vietnam-seeks-153-bln-stimulus-package-to-prop-up-virushit-economy/65064.html

‘เวียดนาม’ เผยผลผลิตอุตฯ ขยายตัว 4.82% ปี 64

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลผลิตอุตสาหกรรมของเวียดนาม ปี 2564 เพิ่มขึ้น 4.82% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป เพิ่มขึ้น 6.73% ส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม 1.61% ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในปี 2564 อุจสาหกรรมสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 อาทิ การผลิตโลหะ เพิ่มขึ้น 22.1%, การผลิตยานยนต์ 10.2%, ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ 9.6% และการขุดเหมือง 9% นอกจากนี้ การดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) พบว่าภาคการผลิตและแปรรูปยังเป็นแหล่งดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติมากที่สุด ด้วยเม็ดเงินจดทะเบียนรวม 7.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 47.6% ของทุนจดทะเบียนใหม่ทั้งหมด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/industrial-production-up-482-percent-in-2021/220222.vnp

เกตรกรในรัฐฉาน หวังราคามันเทศสูงขึ้น โอดต้นทุนสูง

เกษตรกรผู้ปลูกมันเทศในเมืองตองยี รัฐฉาน ต่างหวังว่าจะได้ราคาที่ดีขึ้นเพื่อคุ้มกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุนและราคาน้ำมันก๊าดในปัจจุบันสูง เกษตรกรในพื้นที่ได้ให้ข้อมูลว่าได้ปลูกมันเทศบนพื้น 5 เอเคอร์ ซึ่งสถานการณ์ตลาดในปีนี้ไม่ดีนัก ซึ่งปีที่แล้วมันเทศหนึ่งถุงขายได้มากกว่า 10,000-13,00 จัต แต่ปีนี้เหลือเพียง 10,000 จัต โดยส่วนใหญ่มันเทศจะถูกส่งไปขายยังย่างกุ้งและมัณฑะเลย์เป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sweet-potato-growers-expect-better-prices-in-shan-state/#article-title

ระบบชลประทานอยู่ระหว่างการซ่อมแซมในสะหวันนะเขต

ในปี 2020 พื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 51,000 เฮกตาร์ได้รับความเสียหายใน 13 อำเภอของสะหวันนะเขต หลังจากเกิดฝนตกหนักรุนแรงและยังส่งผลให้น้ำท่วมสร้างความเสียหายให้กับช่องทางชลประทาน ซึ่งกระทบต่อหมายความว่าผลผลิตของเกษตรกรลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวซึ่งเป็นสินค้าหลักในการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป จากปัญหดังกล่าวทำให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาและซ่อมแซ่มชลประทานอย่างเร่งด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีน้ำเพียงพอในการชลประทานข้าว 498 เฮกตาร์ในฤดูแล้ง รวมทั้งพืชผลอื่นๆ อีก 91 เฮกตาร์ที่ปลูกในเมืองไกสอนพรหมวิหาร ทั้งนี้โครงการได้เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ต้นปี 63 จนปัจจุบันแล้วเสร็จไปแล้วกว่าร้อยละ 93.35 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากเงินกู้มากกว่า 2.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย โครงการคาดว่าจะสามารถสูบน้ำเข้านาได้ในช่วงต้นปีนี้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Repair03.php

กัมพูชาผลิตพืชผลทางการเกษตรรวมกว่า 35 ล้านตัน ในปี 2021

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง Veng Sakhon รายงานว่าในปี 2021 กัมพูชาผลิตพืชผลทางการเกษตรรวมมากกว่า 35 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปี 2020 โดยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 10.57 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.15 คิดเป็นการผลิตข้าวจำนวนรวมกว่า 12.21 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.63 เมื่อเทียบกับปี 2020 ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งกระทรวงฯ ได้ทำการบันทึกพืชผลอุตสาหกรรมไว้ถึง 19.16 ล้านตัน แบ่งออกเป็นมันสำปะหลัง 14.73 ล้านตัน ข้าวโพด 699,075 ตัน อ้อย 2.42 ล้านตัน เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 472,636 ตัน มะพร้าว 190,924 ตัน และพืชผลอื่นๆ 645,875 ตัน โดยรัฐมนตรีกล่าวเสริมว่ามูลค่าการส่งออกพืชผลทางการเกษตรโดยประมาณเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 105.43 สร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 3.96 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001317/cambodia-achieves-more-than-35-tons-of-agricultural-production-for-2021/

คาดรายได้ต่อหัวในกัมพูชาแตะ 1,842 ดอลลาร์ในปี 2022

เศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2022 คาดว่าจะมีการเติบโตถึงประมาณร้อยละ 4.8 ซึ่งปัจจุบันมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) อยู่ที่ประมาณ 30.54 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่จีดีพีต่อหัวคาดว่าจะสูงถึง 1,842 ดอลลาร์ เทียบกับปี 2021 ที่อยู่ที่ 1,730 ดอลลาร์ ตามรายงานการจัดการกฎหมายการเงินประจำปี 2022 โดยการเติบโตนี้ได้รับการสนับสนุนจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของภาคเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิเช่น ภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโตในอัตราร้อยละ 7.7 ภายในปี 2022 ภาคบริการคาดว่าจะเติบโตต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.1 เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคการโรงแรม ร้านอาหาร และภาคการท่องเที่ยวอื่นๆ ภาคเกษตรกรรมคาดว่าจะเติบโตชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.1 ภายในปี 2022 ซึ่งโดยรวมแล้วแม้ว่าเศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2022 จะมีแนวโน้มของการฟื้นตัว แต่ต้องระวังสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนทำให้การพัฒนาโดยรวมหยุดชะงัก โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่ยุติลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001042/cambodias-per-capita-income-in-2022-expected-to-increase-to-1842/

รถไฟจีน – สปป.ลาว พลิกโอกาส ศก.ไทย

โครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว เปิดเดินรถอย่างเป็นทางการแล้วในวันที่ 2 ธันวาคม ที่ผ่านมา ตามแผนโครงการสายแถบและเส้นทาง (BRI) เชื่อมโครงข่ายคมนาคมระบบรางระหว่างจีนกับชาติอาเซียนเป็นแห่งแรก ซึ่งจะส่งผลต่อนัยสภาพแวดล้อมทางภูมิรัฐศาสตร์ ล้วนเป็นโอกาสและความท้าทายต่อเอกชนและเศรษฐกิจไทย ด้านกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ จัดเวทีหารือระดับสูงด้านการทูตเศรษฐกิจเรื่องการปรับตัวของไทยต่อโครงการรถไฟจีน-สปป.ลาว โดยเชิญผู้แทนกระทรวงคมนาคม และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งหน่วยงานในภาคธุรกิจร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้โอกาสนี้สร้างเศรษฐกิจสัมพันธ์ ในยุคหลังการแพร่ระบาดโควิด-19 “วิชาวัฒน์ อิศรภักดี” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อมองผ่านเลนการทูตเศรษฐกิจจะเห็นโอกาสจากโครงการรถไฟจีน-ลาว ใน 3 ประการได้แก่ 1.ส่งเสริมขีดความสามารถภาคเอกชน และผู้ประกอบการไทย และในระยะยาวจะส่งผลต่อการดำเนินเศรษฐสัมพันธ์ระหว่างไทยกับนานาประเทศ 2.การขยายบทบาทของจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจะยังมีอยู่ต่อเนื่อง ซึ่งโครงการรถไฟจีน-ลาว เป็นเพียงหนึ่งหมุดหมายส่งผลในภาพรวม และ 3.โครงการรถไฟดังกล่าวเข้ามาประชิดพรมแดนไทย ทำให้จีนและไทยมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/pr-news/biz2u/980954

ฮุนเซน ปรับคาดการณ์ GDP กัมพูชาปี 2022 โตร้อยละ 3

ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวถึงการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในปี 2022 คาดว่าจะสูงถึงราวร้อยละ 3 จากภาคการส่งออกที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรม รวมถึงการกลับมาเปิดประเทศอีกครั้งหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งการประมาณการ GDP ดังกล่าวนั้นสูงกว่าอัตราการเติบโตที่กระทรวงเศรษฐกิจและการเงินกัมพูชาได้กล่าวไว้ในร่างกรอบงบประมาณประจำปี 2022 ที่ได้คาดการณ์การเติบโตไว้ที่ร้อยละ 2.4 ในปี 2022 และร้อยละ 4 ในปี 2023 โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชาได้กล่าวเสริมในรายงาน ‘Macroeconomic and Banking Progress in 2021 and Outlook 2022’ ระบุว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาได้รับการสนับสนุนจากการส่งออกเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่เสื้อผ้า อาทิเช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และจักรยาน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหลากหลายในการส่งออกของกัมพูชาในระยะถัดไป โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2021 การส่งออกทั้งหมดของกัมพูชา (ไม่รวมทองคำ) มีมูลค่ารวม 12,688 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วจากสินค้าดังกล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50999921/pm-optimises-3-percent-gdp-growth-for-2021/