“เมียนมา” เผยราคาน้ำตาลพุ่งทะยาน

ราคาน้ำตาลมีทิศทางที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดภายในประเทศ และอยู่ในระดับจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ประมาณ 3,300 จ๊าดต่อ Viss เป็นผลมาจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้น อยู่ที่ 680 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ประกอบกับสต๊อกสินค้าในประเทศอยู่ในระดับต่ำและการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศน้อยลง ทำให้ราคาน้ำตาลสูงขึ้น ทั้งนี้ ราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น สาเหตุมาจากการส่งเสริมผู้ปลูกอ้อย นอกจากนี้ คุณ อูวินเท (U Win Htay) รองประธานสมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา กล่าวว่าก่อนหน้านี้ เมียนมาส่งออกน้ำตาลไปยังจีนและเวียดนาม ซึ่งเกินกว่าที่บริโภคไว้ในประเทศ แต่ในปัจจุบันเมียนมาส่งออกเพียงแค่ประเทศเวียดนาม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-on-upward-spiral/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาถั่วเขียวผิวดำ พุ่ง 2.4 ล้านจ๊าดต่อตัน

จากข้อมูล ณ วันที่ 10 มิ.ย. 2566 ระบุว่าราคาถั่วเขียวผิวดำ (Black gram) อยู่ที่ 2.45 ล้านจ๊าดต่อตัน (FAQ/RC) และ 2.69 ล้านจ๊าดต่อตัน (SQ/RC) ในตลาดย่างกุ้ง ขณะที่ราคา FOB อยู่ที่ 950-970 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยราคาปัจจุบันทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2558 ราคาอยู่ที่ 2.456 ล้านจ๊าดต่อตัน (FAQ/RC) และ 2.656 ล้านจ๊าดต่อตัน (SQ/RC) ทั้งนี้ ในช่วงที่เกิดความวุ่นวายในตลาดถั่วพัลส์ เมียนมา ในปี 2551 พบว่าราคาเขียวผิวดำ อยู่ที่ 700,000 จ๊าดต่อตัน และต่อมาราคาปรับตัวลดลงเหลือ 360,000 จ๊าดต่อตัน นอกจากนี้ ยังเผชิญกับข้อจำกัดในการนำเข้าถั่วพัลส์และส่งผลให้อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย อย่างไรก็ดี ตามข้อมูลในปัจจุบัน ราคากลับมาพุ่งสูงขึ้นกว่า 2.4 ล้านจ๊าดต่อตัน เนื่องจากค่าเงินจ๊าดอ่อนค่าลง เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/black-gram-price-rockets-to-above-k2-4-mln-per-tonne/#article-title

“มินอ่องหล่าย” เดินหน้าตรวจสอบพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ เหตุมั่งคงด้านอาหาร

พล.อ.อาวุโส มินอ่องหล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) และคณะ ได้ทำการตรวจสอบการดำเนินงานในพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (Thilawa) และมีการรายงานชี้แจ้งถึงผลการดำเนินงานในเขตพื้นที่ดังกล่าวเกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ผลผลิตทางการเกษตรและปศุสัตว์ผ่านระบบการเกษตรแบบผสมผสาน ตลอดจนการกำหนดราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในเขตย่างกุ้งที่มีความจำเป็นต้องให้แน่ใจว่าอาหารมีเพียงพอและราคาอยู่ในระดับเหมาะสมต่อผู้บริโภคในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังมีการชี้แจ้งถึงความสำคัญของการขยายพื้นที่เพาะพันธุ์การเกษตรและปศุสัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรและกำชับหน่วยงานให้ปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

ที่มา : https://www.myanmaritv.com/news/food-sufficiency-sg-inspects-thilawa-multipurpose-agriculture-livestock-zone

“ข้าวไข่มุก” เมียนมา พุ่ง 110,000 จ๊าดต่อกระสอบ

ศูนย์ค้าข้าววาดัน (Wahdan) เปิดเผยว่าราคาข้าวพันธุ์ชเวโป ปอว์ ซาน (Shwebo Pawsan) หรือข้าวไข่มุกของเมียนมา ปรับตัวพุ่งสูงขึ้นแตะ 110,000 จ๊าดต่อกระสอบ ในขณะที่ราคาข้าวพันธุ์อื่นๆ ก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วยในตลาดย่างกุ้ง ทั้งนี้ สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) จะร่วมมือกับโรงสีข้าว ผู้ค้าส่งและบริษัทต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพในตลาดข้าวและควบคุมราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนี้ จะทำการตรวจสอบผู้ที่เผยแพร่ข่าวลือที่เป็นอันตรายร้ายแรงบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เพื่อทำให้เกิดความกังวลต่อผู้บริโภคและการขึ้นราคาข้าวเป็นประโยชน์ในระยะยาวของอุตสาหกรรมข้าว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/shwebo-pawsan-rice-price-rockets-to-k110000-per-bag/#article-title

“เมียนมา” เผยเดือน พ.ค. ดันส่งออกพุ่ง 110,000 ตัน ในปีงบประมาณ 66-67

ตามข้อมูลของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ระบุว่าเมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวไปยังตลาดต่างประเทศในเดือน พ.ค. มากกว่า 110,000 ตัน ในปีงบประมาณ 2566-2567 รวมทั้งข้าว 46,786 ตัน และปลายข้าว 63,920 ตัน ทั้งนี้ ช่องทางการส่งออกข้าวส่วนใหญ่ของเมียนมาผ่านทางทะเล 102,801 ตัน ในขณะที่ผ่านทางชายแดน 7,905 ตัน นอกจากนี้ เมียนมาได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกข้าวไว้ที่ 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 2566 และทำรายได้จากการส่งออกข้าวราว 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดจีนเป็นประเทศหลักของการส่งออกข้าวของเมียนมา ด้วยปริมาณมากกว่า 775,000 ตัน รองลงมาเบลเยียม 323,000 ตัน บังกลาเทศ 239,000 ตัน และฟิลิปปินส์ 202,000 ตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ดี เมียนมาตั้งเป้าที่จะส่งเสริมการส่งออกข้าว 10% ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการส่งออกข้าวเกรดสูงและเพิ่มปริมาณการส่งออก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-110000-tonnes-of-rice-in-may-2023-2024-fy/#article-title

ด่านชายแดนมุต่อง “เมียนมา-ไทย” ดันส่งออกผลไม้พุ่งทะยาน เดือน พ.ค.

ตามรายงานระบุว่าผลไม้ที่จะส่งออกไปยังอำเภอมะริด เขตตะนาวศรี ผ่านด่านมุต่อง (Mawtaung) บริเวณชายแดนเมียนมา-ไทย ในเดือน พ.ค. นับว่าเป็นการส่งออกผลไม้ครั้งใหญ่ที่สุดของเมียนมา โดยผลไม้ที่นำเข้ามากที่สุด ได้แก่ ชมพู่ ส้ม สละ ขนุน และแก้วมังกร ราคาปัจจุบันของชมพู่กิโลกรัมละ 19.44 บาท ส้มกิโลกรัมละ 9.69 บาท สละกิโลกรัมละ 6.45 บาท และแก้วมังกร 6.81 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ ค่ายด่านมุต่องได้กำหนดว่าต้องนำเข้าผลไม้ 24 ตัน นับตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พ.ค.

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-thailands-mawtaung-border-exports-most-fruits-in-may/#article-title

เอกอัครราชทูตจีน ย้ำขอความร่วมมือกับเมียนมา ปราบปรามการทุจริต

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา นายเฉิน ไห่ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำเมียนมา ได้เข้าพบกับนาย โซ ทุต รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของเมียนมา นับเป็นการหารือครั้งที่ 2 ในรอบ 2 เดือน เพื่อประสานจุดยืนในการปราบปรามการทุจริตด้านโทรคมนาคมจากการหลอกล่วงชาวจีน เอกอัคราชทูตจีนได้กล่าวชื่นชมความสำเร็จของการปราบปรามกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย รวมไปถึงการปราบปรามการทุจริตทางโทรคมนาคมตามแนวชายแดนเมียน-จีน อย่างไรก็ดีควรมีความมุ่งมั่นและดำเนินการมากกว่านี้ เพื่อขจัดกิจกรรมที่ผิดกฎหมายเหล่านี้ให้หมดไป ซึ่งไม่เพียงก่อให้เกิดอันตรายต่อสาธารณะเท่านั้น แต่ต่อสังคมในวงกว้างอีกด้วย

ที่มา : http://en.people.cn/n3/2023/0601/c90000-20026414.html

“โคคา-โคล่า” ประกาศแต่งตั้ง ผู้จัดการทั่วไป ประจำประเทศไทย เมียนมา และสปป.ลาว คนใหม่

บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศแต่งตั้ง นายวิกเตอร์ หว่อง เป็นผู้จัดการทั่วไป บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด และรองประธานฝ่ายธุรกิจแฟรนไชส์ประจำประเทศไทย เมียนมา และสปป.ลาว เดอะ โคคา-โคล่า คัมปะนี นายวิกเตอร์ จะเข้ามาดูแลภาพรวมพร้อมกำหนดทิศทางกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจให้กับ “โคคา-โคล่า” ทั้งในประเทศไทย เมียนมา และสปป.ลาว ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 22 ปี กับ เดอะ โคคา-โคล่า คัมปะนี ก่อนเข้ารับตำแหน่งล่าสุด นายวิกเตอร์ เคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของธุรกิจพันธมิตรผู้ผลิตและจัดจำหน่าย “โคคา-โคล่า” ในประเทศเมียนมา นายวิกเตอร์เริ่มต้นเส้นทางการทำงานกับ “โคคา-โคล่า” ที่ประเทศจีน โดยได้รับผิดชอบดูแลงานหลากหลายภาคส่วนและพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการบริหารจัดการ กลยุทธ์องค์กร การจัดจำหน่าย การดำเนินงานในห่วงโซ่อุปทาน การตลาดของแบรนด์ ตลอดจนการดำเนินงานหลังการควบรวมกิจการ ทั้งนี้ นายวิกเตอร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโก โดยจะประจำอยู่ที่กรุงเทพฯ กับครอบครัวในระยะเวลาที่เข้ารับตำแหน่งดังกล่าว

ที่มา : https://www.thaipr.net/en/business_en/3342737

‘งานแสดงสินค้าเมียนมา-จีน’ ดันการดำเนินธุรกิจของบริษัทเมียนมา

การจัดงานแสดงสินค้าเมียนมา-จีน ระหว่างวันที่ 25-28 พ.ค.จัดขึ้นที่กรุงเนปยีดอ เมืองหลวงของเมียนมา โดยเป็นการดึงดูดการลงทุนจากนักลงทุนทั้งสองประเทศและการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทั้งสินค้าเกษตร อาหาร น้ำอัดลม ยาและเวชภัณฑ์ เครื่องใช้ในครัวเรือน และยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ทางด้านคุณ U Khin Aung Thet ผู้จัดการบริษัท Six Six Eight Co. Ltd. ได้ร่วมลงนามข้อตกลงกับบริษัทจีนและมองว่าการร่วมมือในครั้งนี้จะสร้างโอกาสให้กับบริษัทที่จะขายถั่วและถั่วพัลส์ไปยังตลาดจีน ซึ่งงานแสดงสินค้ามีความสำคัญอย่างมากต่อบริษัทในการหาลูกค้า ในขณะที่คุณ Daw Cho Cho Aye เจ้าของร้านหยกและเครื่องประดับของบริษัท Myat San กล่าวว่าบริษัทมีความต้องการที่จะเข้าร่วมงานแสดงสินค้า เพื่อที่จะนำเสนอสินค้าครั้งแรกที่งานแสดงสินค้าในฐานะความร่วมมือระหว่างจีนและเมียนมา

ที่มา : https://english.news.cn/asiapacific/20230530/b3e8edcbefd7435cbd3ed7f9e835dc30/c.html

ความรู้สึกต่อต้านจีนพุ่งสูงขึ้นในเมียนมา หลังกระแสการประท้วงและการโจมตี

นาย ฉิน กัง รัฐมนตรีต่างประเทศของจีน หารือกับนาย มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา เมื่อวันที่ 2 พ.ค. นับเป็นครั้งแรกที่มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของจีนพบปะกับผู้นำรัฐบาลเมียนมา ตั้งแต่รัฐประหารในปี 2564 โดยการเยือนของรัฐมนตรีต่างประเทศในครั้งนี้ไม่เพียงแต่แสดงมิตรภาพระหว่างเมียนมาและจีน แต่ยังสนับสนุนรัฐบาลปักกิ่งในเวทีโลก และหวังว่าเมียนมาและจีนจะคงรักษามิตรภาพ “ฉันพี่น้อง” ที่ยาวนาน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 พ.ค. เกิดการประท้วงในต่างประเทศ โดยชาวเมียนมาที่ชุมนุมประท้วงนอกสถานทูตจีนในลอนดอน ได้ชูป้ายที่มีข้อความว่าจีนช่วยให้กองทัพละเมิดสิทธิมนุษยชนของประชาชน รัฐบาลทหารของเมียนมาเป็นองค์กรก่อการร้าย หยุดสนับสนุนผู้ก่อการร้ายและทรัพยากรของเมียนมาไม่ใช่ของจีน นอกจากนี้ คณะประสานงานการหยุดงานประท้วง (GSCB) ซึ่งเป็นเครือข่ายของกองกำลังต่อต้านรัฐบาลเมียนมายังได้ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงชุมชนชาวจีนทั่วโลก ขอให้รัฐบาลจีนหยุดสนับสนุนรัฐบาลเมียนมาและแสดงความเห็นอกเห็นใจต่อประชาชนชาวเมียนมา

ที่มา : https://www.irrawaddy.com/news/burma/anti-china-sentiment-surges-in-myanmar-with-wave-of-protests-and-attacks.html