กัมพูชาส่งออกไปสหรัฐฯแตะ 5.5 พันล้านดอลลาร์ ช่วงเดือน ม.ค.-ต.ค.

กัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ มูลค่าแตะ 5,516.9 ล้านดอลลาร์ นับตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค. 2021 คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยสำนักสำรวจสำมะโนของสหรัฐ (USCB) ในทางกลับกันกัมพูชาได้ทำการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มูลค่ารวม 346.6 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทเสื้อผ้า รวมถึงสินค้า เช่น รองเท้า จักรยาน และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งกัมพูชาทำการนำเข้ารถยนต์ เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ จากสหรัฐฯ เป็นสำคัญ ซึ่งการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมกัน 6.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.89 เมื่อเทียบกับปี 2019

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50986395/cambodias-exports-to-us-nets-5-5-billion-in-january-october/

ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตร้อยละ 2.2 ในปี 2021

ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาที่ร้อยละ 2.2 ในปีนี้ ซึ่งภาคบริการ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด รองลงมาคือภาคการก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตอย่างชะลอตัว โดยปัจจัยในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา คือ ภาคอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าสำหรับเดินทาง รองเท้า และจักรยาน ตลอดจนภาคการเกษตร ที่มีส่วนช่วยในการหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ตามรายงาน “Living with Covid-19” ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุดของธนาคารโลกที่รายงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจของกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามธนาคารโลกได้ทำการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาไว้ที่ร้อยละ 4.5 ในปี 2022 โดยยังคงต้องติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงสำคัญในการฉุดรั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50986115/world-bank-projects-slow-growth-for-cambodias-economy-in-2021/

ราคาหัวหอมในจังหวัดมี่นบู้ ยังทรงตัว แม้ผลผลิตตกต่ำ

ศูนย์ค้าส่ง No (4) ของจังหวัดมี่นบู้ เขตมะกเว เผยราคาหัวหอมยังทรงตัวที่ 250 และ 300 จัตต่อ Viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ส่วนใหญ่หัวหอมจะถูกขนส่งไปยังรัฐยะไข่มากที่สุดที่ด้วยราคา 400 หรือ 500 จัตต่อ Viss ขณะที่ราคาขายปลีกในตลาดของตำบลมี่นบู้ อยู่ที่ 800 และ 900 จัตต่อ Viss แม้ราคาจะไม่สูงมากนักและยังทรงตัวแต่ความต้องการและผลผลิตยังอยู่ในระดับต่ำ จังหวัดมี่นบู้มีศูนย์ขายส่งหัวหอมประมาณ 10 แห่ง โดยราคาซื้อจะอยู่ที่ 250/300 จัตต่อ Viss ขณะที่ราคาขายอยู่ที่ 400/500 จัตต่อ Viss ส่วนราคาขายส่งคือ 800/900 จัตต่อ Viss

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-prices-stable-despite-low-production-in-minbu-township/

รัฐบาลหารือธุรกิจท่องเที่ยวเร่งดำเนินการพื้นที่ท่องเที่ยวสีเขียว

เจ้าหน้าที่ของรัฐและผู้ประกอบธุรกิจกำลังประชุมหารือถึงแผนการเปิดประเทศลาวรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งในเดือนหน้า ภายใต้เงื่อนไขพิเศษที่บังคับใช้เนื่องจากการระบาดของโควิด การประชุมออนไลน์เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลอนุมัติโครงการ “พื้นที่ท่องเที่ยวสีเขียว” เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเยี่ยมชมพื้นที่มีความปลอดภัยและมาตรการรองรับที่เข้มข้น โดยจะมี 3 เมืองสำคัญด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ วังเวียง วังจันทร์ หลวงพระบาง เจ้าหน้าที่กระทรวงและผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว พวกเขายังจะทำแคมเปญประชาสัมพันธ์บนโซเชียลมีเดีย วิทยุ โทรทัศน์ และในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวที่เฉพาะเจาะจงอีกครั้ง และมีช่องทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม รองนายกรัฐมนตรี Sonexay Siphandone กล่าวเมื่อเดือนที่แล้วว่ารัฐบาลจะเชิญนักท่องเที่ยวสปป.ลาวและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกัน Covid ครบถ้วนมาที่สปป.ลาวโดยเน้นเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนและสาธารณรัฐเกาหลีหวังว่าแคมเปญ Lao Thiao Lao (ลาวเยี่ยมชมลาว) จะดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสปป.ลาวอย่างน้อย 1.9 ล้านคนและนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า 1 ล้านคนในปี 2565

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_243_21.php

‘เวียดนาม’ คาดคนชนชั้นกลางเพิ่ม 36 ล้านคน ในอีก 10 ปีข้างหน้า

รายงานข้อมูลเชิงลึกฉบับใหม่โดย McKinsey ในหัวข้อการศึกษา “ผู้บริโภคชาวเวียดนามหน้าใหม่” ระบุว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า คนชนชั้นกลางของเวียดนามคาดว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และจะกระจายออกไปตามพื้นที่ต่างๆ และมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ด้วยแรงขับเคลื่อนจากการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีผลการดำเนินงานที่ดีกว่าในกลุ่มประเทศเอเชีย อีกทั้ง เวียดนามจะก้าวข้ามเศรษฐกิจผ่านการขับเคลื่อนการบริโภคและในอีก 10 ปีข้างหน้านั้น เวียดนามจะมีผู้บริโภคกว่า 36 ล้านคน ทำให้ผู้บริโภคจะใช้จ่ายอย่างน้อย 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ซึ่งนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อปี 2543 ประชากรเวียดนามมีไม่ถึง 10% ของกลุ่มผู้บริโภค ต่อมาตัวเลขกลับเพิ่มขึ้น 40% ในปัจจุบัน และภายในปี 2573 ตัวเลขอาจแตะ 75%

ที่มา : https://www.nationthailand.com/international/40009869

 

‘เวียดนาม’ เผยยอดจดทะเบียนธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลตั้งใหม่ ปี 64 เกือบ 5,600 ราย

ในปี 2564 เวียดนามมีการจดทะเบียนธุรกิจเทคโนโลยีดิจิทัลที่จัดตั้งใหม่ จำนวน 5,600 ราย เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้มีความจำเป็นในการทำงาน การขายและการสื่อสารออนไลน์ คุณ Nguyen Thanh Tuyen รองผู้อำนวยการเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงสารสนเทศและการสื่อสาร (MIC) กล่าวว่าปัจจุบัน บริษัทเทคโนโลยีดิจิทัล มีจำนวนราว 64,000 ราย และมีพนักงานมากกว่า 1 ล้านคน ทั้งนี้ กระทรวงฯ ระบุว่าในปี 2563 มีจำนวนแพลตฟอร์มมากกว่า 34 แพลตฟอร์มที่ได้รับการอนุมัติจากกระทรวงสารสนเทศ ซึ่งเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลของเวียดนาม ประสบความสำเร็จจากการเติบโตอย่างมาก โดยในปี 2563 เวียดนามได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกหดตัวลงและ แต่เวียดนามยังคงมีตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ 2.91% และถือเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่มีตัวเลขการเติบโตที่เป็นบวก ตลอดจนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมีอัตราการเติบโตมากกว่า 9% ถือว่าสูงกว่าการเติบโตของ GDP กว่า 3 เท่า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-has-5600-new-digital-technology-firms-in-2021/217968.vnp

 

ลุ้น คนละครึ่งเฟส 4 เข้าครม.21ธ.ค.นี้เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยระหว่างเป็นประธานเปิดงาน ThailandSmart Money กรุงเทพฯ ครั้งที่ 12 ว่า จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี หรือ ครม. พิจารณา ในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ มาตรการหลัก คือ จะช่วยเรื่องการบริโภค และกระตุ้นการบริโภคในกลุ่มผู้มีกำลังซื้อ เน้นการลดหย่อนภาษี ซึ่งจะนำมาแทนโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนัก นอกจากนี้ อาจจะมีการขยายโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 แต่จะออกมา หลังจากสิ้นสุดเฟส 3 ในสิ้นปีนี้ หรือไม่นั้น ต้องขอดูอัตราการใช้จ่ายของประชาชนก่อน ว่าปรับดีขึ้นมากน้อยเพียงใด สำหรับทิศทางเศรษฐกิจไทยในปี 2565 นั้น คาดจะขยายตัวได้ 4% และในปี 2566 จะมีแรงขับเคลื่อนจากภาคท่องเที่ยวเข้ามาเสริม ทำให้มีแรงฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่มากขึ้น

ที่มา: https://www.thansettakij.com/money_market/506468?fbclid=IwAR32tcJc4-Sg-mWUvOWbCOg7bXLkJnRKjitgNwGEwN11hU4JlR1X4l8SWcg

‘สตาร์ทอัพเวียดนาม’ ประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินทุนจำนวนมาก

แม้ว่าจะเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง แต่ด้วยระบบนิเวศของ Startup เวียดนามที่มีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยในเดือน มิ.ย.64 บริษัทการลงทุนชั้นนำที่จัดการหลายสินทรัพย์ทางเลือกหลายประเภทอย่าง “KKR” ได้ออกมาประกาศว่าจะลงทุน 100 ล้านเหรียญสหรัฐใน “EQuest” สตาร์ทอัพด้านการศึกษาของเวียดนาม ในขณะเดียวกัน เดือนก.ย.64 บริษัทสตาร์ทอัพด้านการขนส่งสินค้า “Ninja Van” ก็ประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนกว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการระดมทุนรอบ Series E ที่นำโดยนักลงทุนอย่าง Geopost/DPDgroup, BCapital Group, Monk’s Hill Ventures และ Zamrud

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-startups-succeed-in-attracting-large-investment-amounts-910165.vov

‘เวียดนาม’ นำเข้าอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เวียดนามกลายมาเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับที่ 5 ของตลาดโลก กรมศุลกากรของเวียดนาม (GDC) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าอาหารสัตว์และวัตถุดิบ อยู่ที่ 4.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 63 ซึ่งมูลค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทำให้เปิดโอกาสอันดีแก่ผู้ส่งออกข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากขบวนการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพด (DDGS) ทั้งนี้ แนวโน้มความต้องการนำเข้าข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ DDGS ของเวียดนาม จะดันพุ่ง 3 เท่าในอีก 10 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1094879/vietnamese-animal-feed-imports-continue-to-rise.html

ก.พาณิชย์ เผย รายได้การส่งออกช่วงเดือนครึ่งของปีงบประมาณย่อย 64-65

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ในช่วงเดือนครึ่งปีของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 มีรายได้จากการส่งออกทางทะเลและการค้าผ่านแดนมากกว่า 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมากกว่า 75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มาจากการค้าทางทะเล ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 19 พ.ย. มีการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 169,827 ตัน โดยมีรายได้ 144.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รัฐบาลอินเดียได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อนำเข้าถัวพัลส์ 250,000 ตันและอีก 100,000 ตัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ 2568-2569 เมียนมามีผลผลิตถั่วพัลส์มากกว่า 11 ล้านเอเคอร์ต่อปี คิดเป็นมากกว่า 35% ของผลผลิตถั่วทั้งหมด

ที่มา: https://news-eleven.com/article/221505