ปีงบฯ 63 –64 เมียนมาส่งออกสัตว์น้ำลดฮวบ 8.6%

กระทรวงพาณิชย์ .เผย มูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำของเมียนมาร์ในปีงบประมาณ 2563-2564 (ต.ค.-63-ก.ย.64) ลดลง 784.889 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ต่ำกว่าถึง 74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกมูลค่า 858.95 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2562-2563 สหพันธ์ประมงแห่งเมียนมา (MFF) พยายามขยายการส่งออก แม้มีการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบในการส่งออกทางทะเล การปิดพรมแดน และความไม่แน่นอนของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ด้าน Mawlamyine Commodity Center ระบุ ราคาปลาลดลง แต่ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น เช่น อวนจับปลา ราคาน้ำมัน ควบคู่ไปกับค่าเงินจัตที่อ่อนค่าของตลาดฟอเร็กซ์ MFF จึงหันไปมองตลาดบังคลาเทศและร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้การส่งออกเติบโตอย่างยั่งยืน ณ ปัจจุบันการส่งออกประมงผ่านพรมแดนจีน-เมียนมาต้องหยุดชะงักหลังผลกระทบของโควิด-19  ซึ่งตลาดจีนคิดเป็นร้อยละ 65 ของการส่งออกสินค้าประมงทั้งหมดของเมียนมา :ซึ่ง MFF ระบุว่ามีเพียงข้อตกลงแบบ G2G เท่านั้นที่สามารถจัดการกับปัญหาการส่งออกสินค้าประมงได้ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปลา กุ้ง และปู ไปยังตลาดใน 40 ประเทศ ได้แก่ จีน ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ไทย และประเทศในสหภาพยุโรป

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-aquaculture-exports-down-by-8-6-in-2020-2021fy/

สปป.ลาวเน้นย้ำความจำเป็นในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

ผู้นำระดับสูงของสปป.ลาวได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ศาสตราจารย์ ดร.บ่อเวียงคำ วงษ์ดารา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสาร ได้กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงดิจิตัลการประชุม ITU Digital World 2021 “กระทรวงของเราได้ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการและผู้ให้บริการโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้นในช่วงโควิด-19 นี้ และยังสนับสนุนการขยายเครือข่ายในกรณีที่จำเป็น” ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนั้นเกี่ยวข้องกับ (1) การทำงานร่วมกัน (2) การรับรองความพร้อมของระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐาน และ (3) การสร้างขีดความสามารถในการรู้เท่าทันดิจิทัล

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos201.php

กัมพูชามองรถยนต์ไฟฟ้าหนทางประหยัดการใช้พลังงานในประเทศ

แม้ว่าปัจจุบันจะไม่มีการบันทึกจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่จดทะเบียนในกัมพูชา แต่ทางการกัมพูชากลับสนใจและกระตือรือร้นที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายประหยัดพลังงานภายในประเทศ โดยกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานของกัมพูชา กำลังร่างนโยบายอนุรักษ์พลังงานแห่งชาติฉบับใหม่ ซึ่งได้กล่าวถึงรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและคาดว่าจะทำการสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านน้ำมันและมีส่วนร่วมในการปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการปล่อยก๊าซ แต่ถึงอย่างไรสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ที่ชาร์จรถ EV ในสถานที่สาธารณะก็ถือเป็นปัจจัยที่ต้องพัฒนาหากต้องการที่จะผู้คนหันมาใช้รถพลังงานไฟฟ้า โดยในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกคำสั่งเกี่ยวกับการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มพิเศษ สำหรับการนำเข้ารถยนต์ EV จากอัตราภาษีนำเข้าเดิมที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 30 ลดลงเหลือร้อยละ 10 เป็นการสนับสนุนภาคประชาชน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50950405/cambodia-looks-to-electric-vehicles-for-energy-efficiency/

กัมพูชาวางแผนพัฒนาปรับปรุงถนนเรียบชายฝั่งจังหวัดแกบ

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแกบตั้งเป้าที่จะปรับปรุงถนนเลียบชายฝั่งที่เชื่อมศาลากลางจังหวัดแกบไปยังพื้นที่อังกอร์ ทางตอนใต้ของจังหวัดแกบ โดยการก่อสร้างมีกำหนดที่จะเริ่มในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2023 ซึ่งโครงการถนนเลียบชายฝั่งจะมีความยาวประมาณ 11.4 กิโลเมตร ใช้เงินกู้สัมปทานการก่อสร้างมูลค่า 10.5 ล้านดอลลาร์ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) โดยถนนเลียบชายฝั่งถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระยะที่ 2 ของ ADB ซึ่งทาง ADB ให้เงินกู้กัมพูชาจำนวน 30 ล้านดอลลาร์ เพื่อดำเนินโครงการ 3 โครงการในจังหวัดแกบ รวมถึงโครงการท่าเทียบเรือท่องเที่ยวบนเกาะทอนซาย และถนนเลียบชายฝั่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50950385/10-million-kep-coastal-road-to-start-in-november/

คลังเตรียมให้สัตยาบันตั้งบริษัทลูกธนาคารในอาเซียน

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การเปิดเสรีด้านบริการการเงินในอาเซียนมีความคืบหน้ามากขึ้น โดยเตรียมให้สัตยาบัน (Ratification) ข้อตกลงให้ธนาคารของสมาชิกอาเซียน เข้าไปตั้งบริษัทลูกในประเทศสมาชิกอาเซียนอีกประเทศหนึ่งได้ไม่เกิน 49% ซึ่งการจัดทำข้อตกลงเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ดำเนินสืบเนื่องในหลายครั้งผ่านการเจรจาหารือร่วมกันและครั้งนี้ ถือเป็นข้อตกลงฉบับที่ 9  ซึ่งทำให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียน มีความลึกและกว้างขึ้น โดยจะเป็นการลดข้อจำกัดของการเข้ามาลงทุนในกิจการธนาคารภายในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเรียกว่า ASEAN Framework Agreement on Services ซึ่งกระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานหลักในการเจรจาร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบร่างข้อตกลงนี้แล้ว โดยร่างข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน หลังจากลงนามให้สัตยาบัน สำหรับสาระสำคัญของข้อตกลงฉบับที่ 9 ดังกล่าว เพื่อขยายความร่วมมือด้านการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยลดหรือยกเลิกข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนให้มากกว่าที่เปิดเสรีตามกรอบขององค์การการค้าโลก และประเทศสมาชิกจะให้สิทธิประโยชน์ตามตารางข้อผูกพันแก่ประเทศสมาชิกอื่น ตามหลักการให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation Treatment: MFN) และการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/965526

สามเหลี่ยมทองคำ สธ. ขอแรงงานเพิ่ม

นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ ในจังหวัดบ่อแก้ว ขอให้คณะทำงานด้านโควิด-19 ของจังหวัด ผ่อนปรนขั้นตอนการนำเข้าแรงงาน เพื่อให้การดำเนินการต่างๆ เกิดขึ้นได้โดยไม่หยุดชะงัก ข้อเสนอเกิดขึ้นภายหลังความร่วมมือในการจัดการสายตรวจเพื่อป้องกันการเข้าเมืองของคนงานที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือผิดกฎหมายได้เกิดขึ้นแล้ว หลังจากที่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดระบุพื้นที่หลัก 6 แห่งว่ามีความเสี่ยงสูง และตรวจสอบแต่ละอาคารอีกครั้ง ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อในโซนลดลง นางเฉิน จง รองประธานคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เรียกร้องให้ผู้นำจังหวัดพิจารณาอนุญาตให้คน 392 คนเริ่มทำงานในโซน โดยมีเงื่อนไขว่าพวกเขาจะกักตัวเป็นเวลา 28 วัน และกล่าวเพิ่มเติมว่า “จำเป็นต้องมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อให้ส่งคนงานไปลาวได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพื่อให้พต่อความต้องการแรงงานที่มากขึ้นของสามเหลี่ยมทองคำ โดยในขณะนี้มีแรงงานจากเมียนมาร์และจีนเข้ามาจำนวนมากแล้ว” ถึงอย่างไรการจ้างแรงงานลาวและแรงงานต่างด้าวต้องดำเนินการตามระเบียบอย่างเคร่งครัดเพื่อให้การดำเนินงานภายในเขตดำเนินการได้ตามปกติ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Golden_triangle_199.php

AMRO ลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจกัมพูชา

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (AMRO) เปิดเผยการคาดการณ์เศรษฐกิจของกัมพูชาว่าจะเติบโตช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ โดยได้ปรับลดคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ปี 2021 เหลือขยายตัวร้อยละ 2.8 จากที่คาดการณ์ในเดือน มี.ค. ที่ร้อยละ 4 ซึ่ง AMRO กล่าวว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะกลับมาเติบโตในปีหน้าที่ร้อยละ 6.6 จากความสามารถในการเร่งฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ โดย AMRO ยังได้ปรับลดการคาดการณ์ GDP สำหรับภูมิภาคอาเซียน+3 ซึ่งรวมถึง จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งคาดการณ์การเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 6.1 ลดลงจากการคาดการณ์ในเดือน มี.ค. ที่ร้อยละ 6.7 โดยคาดว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคอาจจะกลับมาเติบโตที่ร้อยละ 5 ในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50949126/amro-cuts-growth-forecast-but-predicts-more-next-year/

ส่งออกกัมพูชาในช่วง 8 เดือน ยังคงขยายตัว

ปริมาณการส่งออกของกัมพูชาในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ยังคงเป็นบวก แม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยปริมาณการค้าอยู่ที่ 25,610 ล้านดอลลาร์ ในช่วงเดือน มกราคม-สิงหาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งคิดเป็นการส่งออกมูลค่ารวม 11,010 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20.4 โดยการนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 14,600 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกในช่วง 8 เดือน ได้รับแรงหนุนจากการส่งออกเสื้อผ้า จักรยาน และสินค้าส่งออกอื่นๆ รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ ยาง หนังขนสัตว์ อุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนไฟฟ้า สายไฟและสายเคเบิล กล้วย น้ำตาล รวมถึงสินค้าเกษตรอื่นๆ เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50949168/total-trade-volume-in-the-first-eight-months-of-this-year-remains-positive/

9 เดือนขอลงทุนทะลุ 5 แสนล้านบาท บีโอไอโชว์ตัวเลขต่างชาติโตกว่า 200%

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) เปิดเผยว่า ช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2564 มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุน 1,273 โครงการ เพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบกับปี 2563 เงินลงทุนรวม 520,680 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 140% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีมูลค่าสูงกว่าปี 2563 ทั้งปีซึ่งอยู่ที่ 432,000 ล้านบาท พบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายมีมูลค่าเงินลงทุน 269,730 ล้านบาท คิดเป็น 52% ของการขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด ลงทุนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาคือ การแพทย์ ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ การเกษตรและแปรรูปอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ที่น่าสนใจคือ มูลค่าขอรับการส่งเสริมจากต่างประเทศ หรือ เอฟดีไอ มี 587 โครงการ เงินลงทุน 372,068 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 220% เมื่อเทียบกับปีก่อน ประเทศที่ลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และสิงคโปร์

ที่มา: https://www.matichon.co.th/economy/news_2985772

ภาคการผลิตเมียนมาดึงดูดเม็ดเงิน FDI กว่า 286 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณที่แล้ว

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท เผย ปีงบประมาณ 2020-2021 บริษัทต่างชาติส่วนใหญ่จับตาการลงทุนในภาคการผลิตของเมียนมา โดยเพิ่มทุนประมาณ 286 ล้านเหรียญสหรัฐออกใน 27 โครงการ ซึ่งสถานประกอบการผลิตและธุรกิจที่ต้องการกำลังแรงงานจำนวนมากได้รับการจัดลำดับความสำคัญมากเป็นพิเศษ แต่ต้องเผชิญกับการระบาดของ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ลดลงอย่างมากจากความต้องการของตลาดสหภาพยุโรปส่งผลให้โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าแบบการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ CMP บางแห่งปิดตัวลง คนงานหลายพันคนตกงาน แม้สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลาลงหลังเริ่มมีการฉีดวัคซีนมากขึ้น ซึ่งอุตสาหกรรมนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของ GDP ประเทศ ปีงบประมาณที่แล้ว เมียนมาร์ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากกว่า 3.79 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ซึ่งรวมถึงการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/manufacturing-sector-attracts-286-mln-last-fy/#article-title