‘เวียดนาม-สหรัฐฯ’ จับตาทิศทางการค้าอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่ปี 2538 ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางการค้าและเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ ทำให้ยอดการค้าทวิภาคีอยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 90.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2563 เพิ่มขึ้น 19.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี แม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ คามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางมายังเวียดนามนั้น คาดว่าจะเปิดโอกาสการทำธุรกิจและการลงทุนใหม่ๆ สำหรับกิจการของทั้งสองประเทศ อีกทั้ง กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ชี้ว่าความตกลงทางการค้าทวิภาคี (BTA) ที่มีผลยังคับใช้เมื่อเดือนธ.ค. 2544 ทำให้การค้าทวีภาคีระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สำนักงานการค้าในสหรัฐฯ แนะนำข้อควรระวังของผู้ประกอบการเวียดนามเกี่ยวกับการทุจริตและการปกป้องทางการค้า (Trade Protection)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-us-eye-sustainably-equal-trade-ties/206982.vnp

ราคาส่งออกถั่วแระเมียนมา มีแนวโน้มพุ่งสูงขึ้น

เมื่อปลายเดือนส.ค.64 ราคาถั่วแระ เพิ่มขึ้นกว่า 1,320,000 จัตต่อตัน พุ่งจากช่วงเดือนเม.ย.64 ที่ราคา 1,000,000 จัตต่อตัน ตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นอินเดีย และมีบางส่วนส่งออกไปยังสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ปากีสถาน สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 63 ถึง 13 ส.ค. 64 ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกถั่วแระคิดเป็น 183,507 ตัน สร้างรายได้ 122.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่ปี 60 เป็นต้นมาอินเดียกำหนดโควตานำเข้าถั่ว ซึ่งรวมถึงถั่วดำและถั่วแระ เมียนมาสามารถส่งออกถั่วดำ (urad) จำนวน 250,000 ตันและถั่วแระจำนวน 100,000 ตันภายใต้ข้อตกลง G-to-G (รัฐบาลต่อรัฐบาล) ในปีงบประมาณ 64-65 และปี 68-69 ตาม MoU สองประเทศที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 64 ขณะที่ผลผลิตถั่วดำของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 400,000 ตันต่อปีและถั่วแระ 50,000 ตันต่อปี ทั้งนี้เมียนมาส่งถั่วพันธุ์ต่าง ๆ กว่า 1.6 ล้านตัน โดยเฉพาะถั่วดำ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปยังต่างประเทศ โดยในปีงบประมาณ 62-63 มีการส่งออกไปแล้วกว่า 1.6 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 1.195 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pigeon-pea-price-remains-on-upward-trend/

กำหนดการศึกษาความเป็นไปได้ของเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมใหม่

เจ้าหน้าที่จังหวัดพงสาลีได้ให้ไฟเขียวแก่กลุ่มธุรกิจจีนเพื่อดำเนินการสำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมแห่งใหม่ (SEZ) หากได้รับการอนุมัติ โซนจะตั้งอยู่ในเขต Nhot-ou ของจังหวัดที่ชายแดนร่วมระหว่างลาว จีน และเวียดนาม  ภายใต้ MOU นั้น นักลงทุนจะต้องเริ่มการสำรวจและศึกษาความเป็นไปได้ภายใน 30 วันหลังจากลงนามในข้อตกลง ซึ่งมีอายุ 18 เดือน กลุ่มชาวจีนจะสำรวจพื้นที่ประมาณ 250 ตารางกิโลเมตรสำหรับโครงการ พื้นที่ดังกล่าวจะครอบคลุมพื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตรสำหรับการบริการและการท่องเที่ยว ในขณะที่อีก 150 ตารางกิโลเมตรที่เหลือจะนำไปใช้เพื่อการเกษตรและการพัฒนาอุตสาหกรรม การศึกษาความเป็นไปได้และการสำรวจจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเพื่อจัดทำแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Feasibility167.php

CDC อนุมัติโครงการการลงทุนใหม่ในกัมพูชามูลค่า 63.5 ล้านดอลลาร์

สภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้อนุมัติโครงการใหม่ 7 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนรวม 63.5 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัท Ethan Metal Manufacturing Co., Ltd. จะเปิดโรงงานแปรรูปอะลูมิเนียม เหล็ก และทองแดงในจังหวัดกันดาล ส่วนบริษัท Soma Energy Co., Ltd. จะเปิดสถานีพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 5 เมกะวัตต์ (mW) ในเขตจังหวัดกำปงธม บริษัท Schneitec Alternative Co., Ltd. จะเปิดโรงไฟฟ้าจากน้ำมันเชื้อเพลิงขนาด 23 mW ในจังหวัดพระสีหนุ บริษัท Xin Chenhui (Cambodia) Chemical Industry Co., Ltd. กำลังเปิดโรงงานชีวเคมีในเขตจังหวัดกำปงสปือ บริษัท Soma Farm (Cambodia) Co., Ltd. จะเปิดฟาร์มปศุสัตว์ในเขตจังหวัดตาแก้ว บริษัท Xing Can Shi Pin Co., Ltd. จะเปิดโรงงานแปรรูปผลไม้ในเขตจังหวัดกำปงสปือ และ บริษัท Cambodian A1 Steel Industry Co., Ltd. จะเปิดโรงงานแปรรูปโลหะในเขตจังหวัดกำปงสปือ ซึ่งโครงการที่ได้รับการอนุมัติใหม่คาดว่าจะสร้างงานในท้องถิ่นทั้งหมด 870 ตำแหน่ง โดย CDC ได้อนุมัติโครงการที่คาดว่าจะสร้างงานมากกว่า 15,000 ตำแหน่งในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50923414/cdc-approves-63-5-million-in-new-projects/

กัมพูชาเร่งหาตลาดส่งออกใหม่เพื่อรองรับผลผลิตลำไยภายในประเทศ

เกษตรกรชาวกัมพูชาคาดการว่าจะเก็บเกี่ยวลำไยในฤดูได้จำนวน 111,000 ตัน ในปีนี้ โดยกัมพูชามีพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 13,600 เฮกตาร์ ในพื้นที่ 14 จังหวัด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพราะปลูกพร้อมสำหรับการเก็บเกี่ยวแล้ว ซึ่งกัมพูชาจะส่งออกลำไยในรูปแบบอบแห้งหรือบรรจุกระป๋องในน้ำเชื่อมเป็นสำคัญ โดยกระทรวงเกษตรพยายามเพิ่มยอดขายด้วยการเปิดตลาดส่งออกใหม่มากขึ้น ซึ่งลำไยถูกกำหนดให้เป็นผลไม้กัมพูชาชนิดที่ 3 ที่จะส่งออกไปยังประเทศจีนหลังจากก่อนหน้าได้ทำการส่งออก กล้วยและมะม่วง ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีไปแล้ว โดยจีนตกลงที่จะเริ่มนำเข้ามะม่วงของกัมพูชาจากโรงงานแปรรูป 5 แห่ง และจากสวน 37 แห่ง ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดด้านสุขอนามัยพืชที่ทางการกำหนดไว้สำหรับการส่งออก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50923413/new-export-markets-will-be-needed-to-absorb-the-looming-longan-surplus-from-new-yield-forecast/

‘เวิลด์แบงก์’ หั่นคาดการณ์ GDP เวียดนามปี 64 เหลือโต 4.8%

ธนาคารโลก (World Bank) ปรับลดอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ของเวียดนามในปี 64 ลงเหลือ 4.8% เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 “เศรษฐกิจเวียดนามจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หรือขึ้นอยู่กับสถานการณ์ว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ตลอดจนการเปิดตัวใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและมาตรกาช่รวยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบ” ทั้งนี้ ในเดือนธ.ค. ธนาคารคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจไว้ที่ 6.8% แต่ปัจจุบัน ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากกว่า 365,000 ราย ตั้งแต่ปลายเดือนเม.ย. ทำให้ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจ ขณะที่ในเดือนก.ค. ยอดค้าปลีกลดลง 19.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี, ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ, ดุลการค้าขาดดุลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และนักลงทุนต่างชาติได้แสดงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจอย่างชัดเจน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/world-bank-cuts-vietnam-gdp-growth-projection-to-4-8-pct-4345936.html

‘Fitch Ratings’ ชี้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 พุ่ง ชั่งน้ำหนักการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม

จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนก.ค.-สิ.ค. จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม และอาจปรับลดอันความน่าเชื่อถือเวียดนามอยู่ระดับ BB และปรับ Outlook เป็น Positive ทั้งนี้ ทางการเวียดนามประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ติดเชื้อให้อยู่ในระดับต่ำก่อนที่จะเกิดการระบาดระลอกใหม่ ด้วยเศรษฐกิจขยายตัว 5.6% เมื่อเทียบเป็นรายปีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19ในเวียดนาม ปัจจุบันมากกว่า 95% ของประเทศ ส่งผลให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศต้องล็อกดาวน์ ด้วยเหตุนี้ ข้อจำกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ และคงดำเนินการต่อไปหากไม่สามารถควบคุมการระบาดได้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/jump-in-covid-19-cases-to-weigh-on-vietnams-economic-recovery-says-fitch-ratings-885400.vov

ราคาเมล็ดผักชีเมียนมาพุ่ง ตามความต้องการของต่างประเทศ

ราคาเมล็ดผักชีในเมียนมาพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนส.ค.64 จากความต้องการที่สูงขึ้นของบังคลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน อีกทั้งเป็นพืชที่ปลูกง่ายและต้นทุนเพาะปลูกไม่สูงมากสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับเกษตรกร ซึ่งบังคลาเทศนำเข้ามาใช้สำหรับทำผงเครื่องเทศทุกปี โดยราคาอยู่ที่ 650-700 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน และใช้ในธุรกิจผงปรุงมาซาลา การปลูกเมล็ดผักชีเริ่มในเดือนตุลาคม เก็บเกี่ยวในเดือนมกราคม ปลูกมากในเขตมัณฑะเลย์และเขตมะกเว

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/coriander-seed-prices-rise-on-strong-foreign-demand/#article-title

AIPA นำมติเสริมสร้างการสร้างประชาคมอาเซียน

มีการใช้ในการประชุมสมัชชารัฐสภาอาเซียน (AIPA) ครั้งที่ 42 ได้นำมติ 28 ข้อมาหารือซึ่งมติดังกล่าวเชื่อมโยงกับการสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการสตรี ความมั่นคงทางไซเบอร์ ความมั่นคงของมนุษย์ การทูตแบบรัฐสภา การส่งเสริม SMEs และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังเกิดโรคระบาด การประชุมดังกล่าวใช้หัวข้อ “Forging Parliamentary Cooperation in Digital Inclusion to ASEAN Community 2025” ด้านสปป.ลาวประธานาธิบดีลาว ทองลุน สีสุลิด แห่งลาวในการประชุมครั้งนี้ยืนยันอีกครั้งว่าลาวสนับสนุนกรอบความร่วมมืออาเซียนในการยับยั้งการแพร่กระจายของโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาค นอกจากนี้ เขายังเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกดำเนินการตามแผนแม่บทดิจิทัลของอาเซียน 2025 ต่อไป เพื่อปรับปรุงการสร้างประชาคมอาเซียนให้ทันสมัย ​​และลดความแตกต่างด้านการพัฒนาในประเทศสมาชิกอาเซียน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_AIPA166.php

กัมพูชาเล็งปรับใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาบริหารงบประมาณแผ่นดิน

ทางการกัมพูชามุ่งมั่นที่จะปฏิรูปการจัดการงบประมาณแผ่นดิน ผ่านระบบการจัดการทางการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (FMIS) โดยความคืบหน้านี้ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในระหว่างการประชุมคณะกรรมการปฏิรูปการจัดการการเงินสาธารณะ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่ง FMIS ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนโครงการปฏิรูปการจัดการการเงินสาธารณะที่ริเริ่มโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงธรรมาภิบาลและความโปร่งใสในการจัดการงบประมาณแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านรายจ่ายงบประมาณของประเทศ ด้วยการปรับปรุงมาตรฐานการจัดการและความรับผิดชอบในการระดมทรัพยากรปัจจุบันและทุนของรัฐบาลทั้งหมด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50922444/cambodia-to-change-to-electronic-system-to-manage-national-budget/