ราคาถั่วลิสงในเมียนมา พุ่งขึ้น! หลังความต้องการทั้งในประเทศ-ต่างประเทศ เริ่มฟื้นตัว

ศูนย์ค้าส่งสินค้ามัณฑะเลย์ เผย ปัจจุบันราคาถั่วลิสงขยับขึ้นเป็น 7,000 จัตต่อ viss  (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) จากความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังจากที่ราคาเคยร่วงลงอยู่ระหว่าง 4,700-5,750 จัตต่อ viss ในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยมีผู้ค้าชาวจีนเข้ามารับซื้อที่ศูนย์ค้าส่งสินค้ามัณฑะเลย์เป็นจำนวนมากส่งผลให้ตลาดกลับมาคึกคักอีกครั้ง ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 จนถึงวันที่ 13 มกราคม 2566 ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกถั่วลิสงผ่านช่องทางชายแดนไปแล้วมากกว่า 15,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 17.336 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/peanut-price-rebounds-on-strong-domestic-foreign-demand/#article-title

ราคาข้าวในเมียนมาพุ่งสูงขึ้น

จากข้อมูลของศูนย์ค้าส่งข้าววาดัน พบว่า ในวันที่ 20 มกราคม 2566 ราคาข้าวหอม “Pearl Paw San” อยู่ระหว่าง 61,000 ถึง 80,000 จัตต่อกระสอบ ส่วนข้าวเกรดธรรมดาราคาอยู่ระหว่าง 43,500-67,000 จัตต่อกระสอบ ต่อมาวันที่ 23 มกราคม 2566 ราคาข้าวหอม “Pearl Paw San” เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,000-4,000 จัตต่อกระสอบ ราคาจะอยู่ระหว่าง 45,500-70,000 จัตต่อกระสอบ ส่วนราคาข้าวเกรดธรรมดา เพิ่มขึ้นเฉลี่ยถุง 2,000-4,000 จัตต่อถุง ราคาจะอยู่ระหว่าง 63,000-84,000 จัตต่อกระสอบ เป็นผลมาจากความต้องการข้าวเปลือกสูงทำให้ราคาข้าวในตลาดเพิ่มขึ้นไปด้วย ที่ผ่านมา สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา สมาคมผู้ผลิตและปลูกข้าวแห่งเมียนมา สมาคมโรงสีข้าวแห่งเมียนมา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยายามร่วมมือกันเพื่อหาทางออกในการกำหนดราคาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ค้าส่งและผู้บริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-skyrockets-in-domestic-market/

ผลผลิตถั่วลูกไก่ ทะลักเข้าตลาดมัณฑะเลย์ ฉุดราคาดิ่งลง

สมาคมผู้ค้าถั่วและงาของเมียนมา เผย วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ราคาถั่วลูกไก่ในเมียนมาอยู่ระหว่าง  180,000 ถึง 205,000 จัตต่อ 56.25 visses ต่อมาในวันที่ 21 ธันวาคม ราคาลดลงเหลือ 170,000 ถึง 183,000 จัตต่อ 56.25 visses เนื่องจากในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตจากภาคมัณฑะเลย์ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งผลผลิตทางการเกษตรของเมียนมาพืชตระกูลถั่วและถั่วพัลส์มีผลผลิตและการเพาะปลูกมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ คิดเป็น 33% ของผลผลิตทางการเกษตรและครอบคลุม 20% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ซึ่งภาคการเกษตรของเมียนมาถือเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา พบว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 จนถึงปัจจุบัน เมียนมาส่งออกถั่วลูกไก่มากกว่า 18,000 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 12.678 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/new-entry-to-domestic-market-plummets-chickpea-price/#article-title

ค้าชายแดนท่าขี้เหล็ก เมียนมา-จีน-ไทย ทะลุ 10.154 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย เดือนธันวาคม 2565 มูลค่าการค้าชายแดนท่าขี้เหล็กของเมียนมากับจีนและไทยมีมูลค่ากว่า 10.154 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นมูลค่าการส่งออก 4.636 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 5.597 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสินค้าส่งออกหลักคือสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าประมง เช่น ใบชาแห้ง ส้ม ไม้สักแปรรูป กุ้ง ฯลฯ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าประเภท  สินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ปูนซีเมนต์ ยานพาหนะและอุปกรณ์ยานพาหนะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ วัสดุก่อสร้างที่ทำจากแก้ว อุปกรณ์จำหน่ายไฟฟ้าและติดตั้ง วัสดุก่อสร้างที่ทำจากแร่ วัสดุก่อสร้างเหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ สีเคลือบเงา วัตถุดิบพลาสติก กระดาษ วัตถุดิบที่ทำจากเหล็กกล้า สบู่ เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์กีฬา ฯลฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/tachilek-border-trade-with-china-and-thailand-valued-at-us10-154-mln/

ราคายางพาราเมียนมา พุ่งแตะ 1,300 จัตต่อปอนด์

ราคายางพาราในรัฐมอญ พุ่งแตะ 1,300 จัตต่อปอนด์ โดยที่ผ่านมาราคาเคยพุ่งไปถึง 1,600 จัตต่อปอนด์ ในเดือนกันยายน ปี 2565  เป็นผลมาจากความต้องการยางพาราและผลผลิตจากทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ล้วนส่งผลให้ราคายางในตลาดเมียนมามีความผันผวน ซึ่งจากข้อมูลปี 2561-2562 เมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกยางพารา 1.628 ล้านเอเคอร์ ส่วนใหญ่อยู่ในรัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยง ภาคตะนาวศรี ภาคพะโค และภาคย่างกุ้ง มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 300,000 ตันต่อปี โดยร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งหมดส่งออกไปยังจีน ส่วนที่เหลือส่งออกไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม เกาหลีใต้ อินเดีย ญี่ปุ่น ฯลฯ ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้จากการส่งออกยางมากกว่า 449 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-hits-k1300-per-pound-in-domestic-market/

Ruili Airlines ดีเดย์ 21 ม.ค.66 เปิดเที่ยวบินตรงมัณฑะเลย์-มังซี

สายการบินหยุยลี่ แอร์ไลน์ (Ruili Airlines) ของประเทศจีน เตรียมเปิดให้บริการเที่ยวบินตรงจากเมืองมัณฑะเลย์ไปยังเมืองมังชี (Mangshi) ในวันที่ 21 มกราคม และจะให้บริการเที่ยวบิน 3 วันต่อสัปดาห์ ได้แก่ วันอังคาร พฤหัสบดี และวันเสาร์ ซึ่งที่ผ่านมา Ruili Airlines ได้ระงับเที่ยวบินชั่วคราวเนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ เที่ยวบินตรงของ Ruili Airlines จะออกจากเมืองมังชี เวลา 17.00 น. ไปถึงเมืองมัณฑะเลย์เวลา 18.10 น. และจะออกจากเมืองมัณฑะเลย์เวลา 19:10 น. ไปถึงเมืองมังชี เวลา 20:10 น.

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mandalay-mangshi-direct-flight-to-be-resumed-on-21-jan/

Q4 ปี 65 ค้าชายแดนเมียนมา-บังคลาเทศ ทะลุ! 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของหอการค้ารัฐยะไข่ ของเมียนมา เผย ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ปี 2565 มูลค่าการส่งออกของเมียนมาผ่านชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ อยู่ที่ 5.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยชายแดนซิตเวย์และหม่องดอ ซึ่งเป็นการส่งออกสินค้าประมงเป็นหลัก เช่น ปลายี่สกเทศ ปลาตะลุมพุกฮิลซา และปลากะตัก ส่วนสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค มีการส่งออกบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เมียนมาได้ส่งออก ข้าวพันธุ์ Emata จำนวน 2,500 ตัน ไปยังบังกลาเทศผ่านท่าเรือซิตเวย์ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-5-mln-worth-of-exports-in-q4-2022/#article-title

9 เดือนของปีงบฯ 65-66 ส่งออกเมียนมา พุ่ง! 14%

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 9 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2565-2566 (วันที่ 1 เมษายนถึง 6 มกราคม 2566) เมียนมามีมูลค่าการส่งออก 1.275 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 14% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2564-2565) ที่มีมูลค่า 1.115 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นผลมาจากการที่จีนผ่อนปรนคลายกฎระเบียบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายลง ทำให้การส่งออกในภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณนี้โดยเฉพาะในด่านชายแดนอย่าง  Mang Wein และ Kyinsankyawt ที่ได้เปิดทำการค้าขายอีกครั้งหลังจากถูกปิดมาเกือบ 3 ปี นอกจากนี้มูลค่าการส่งออกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ป่าไม้และปศุสัตว์ก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน  ในปัจจุบัน ภาคธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าแบบ CMP ที่ถือเป็นสินค้าส่งออกหลักของประเทศได้กลับมาเติบโตอีกครั้งหลังเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงาน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 1.55 หมื่นล้านดอลลาร์ และนำเข้ามูลค่า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์  โดยประเทศผู้นำเข้าสินค้าหลักของเมียนมา  ได้แก่ จีน ไทย ญี่ปุ่น และอินเดีย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-exports-up-by-14-over-past-nine-months/#article-title

ค้าชายแดนเมียนมา-จีนอนุญาตให้ใช้เงินหยวนในการซื้อขาย

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา ประกาศให้การซื้อ-ขาย แถบชายแดนเมียนมา-จีน ใช้สกุลเงินหงวนได้นอกจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เช่น สินค้าเกษตรอย่าง วพัลส์ ข้าวโพด และงา ส่วนผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู และปลาไหล ทั้งนี้ จากรายงานพบว่า ระหว่างวันที่ 1 ถึง 3 มกราคม 2566 การซื้อขายแถบชายแดนเมียนมา-จีน มีรถบรรทุกสินค้าส่งออกจำนวน 541 คันและรถบรรทุกนำเข้าจำนวน 114 คัน โดยมีสินค้าส่งออก ได้แก่ ปู งา แตงโม ข้าว ปลายข้าว ปลาไหล และ อ้อย ส่วนสินค้านำเข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ ยานพาหนะและเครื่องจักรกลหนัก โทรศัพท์และอุปกรณ์สื่อสาร แอปเปิล ส้ม เครื่องครัว อะไหล่รถจักรยานยนต์ วัตถุดิบพลาสติก หลอดไฟฟ้า หลอดไฟ และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-border-trade-allows-yuan-dollar-payments/#article-title

LMC เปิดตัวกองทุนพิเศษ 7 โครงการในเมียนมา

เมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2566  นาย อองจี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการชลประทานของเมียนมา เป็นประธานในพิธีการเปิดตัว 7 โครงการของกองทุนพิเศษ ภายใต้ความร่วมมือด้านแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง (LMC) โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและสถานะความเป็นอยู่ของชาวชนบทในเมียนมาและจะครอบคลุมการทำสวนยาง การผลิตอ้อยที่ได้คุณภาพ การผลิตงา และการเลี้ยงปลาน้ำจืด ทั้งนี้ จีนริเริ่มกองทุนพิเศษของ LMC ในปี 2559 เพื่อสนับสนุนโครงการความร่วมมือของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้กับ 6 ประเทศกลุ่มล้านช้าง-แม่โขง ประกอบด้วย จีน กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20230114/1c970beba0fe46949a2f8f02f3c745d5/c.html