เดือนธ.ค 65 เมียนมาโกยเม็ดเงิน FDI เข้าประเทศกว่า 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ

จากสถิติของ คณะกรรมการของ การลงทุนและการบริหาร บริษัท (DICA) พบว่า 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน-เดือนธันวาคม 2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 มีบริษัทจากต่างชาติทั้งหมด 44 แห่ง ได้เข้ามาลงทุนในภาคการผลิตเมียนมาคิดเป็นมูลค่ากว่า 187.426 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยด้านการเกษตรดึงดูดเม็ดเงินกว่า 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 2 โครงการ, ด้านพลังงาน 817 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 10 โครงการ, อสังหาริมทรัพย์ 29 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 1 โครงการ, ด้านบริการ  413.068 ล้านดอลลาร์ จำนวน 2โครงการ, ภาคการผลิตเหมืองแร่ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯจาก 1 โครงการ ทั้งนี้ ภาคการผลิตของเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในการผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอที่ผลิตแบบการตัด การผลิต และการบรรจุภัณฑ์ (CMP) และเป็นส่วนสำคัญของ GDP ของประเทศ  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเม็ดเงินลงทุนจะมาจากจีน และเกาหลีใต้

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/domestic-pilgrims-flock-to-shwedagon-pagoda-during-public-holidays/

“เดนมาร์ก” มอบเงินช่วยเหลือ MSMEs ของเมียนมา เป็นจำนวนกว่า 2 พันล้านจัต

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 กองทุน the Responsible Business Fund (RBF) เป็นกองทุนที่สนับสนุนโดยเดนมาร์กเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ของเมียนมา ได้เปิดเผยข้อมูลว่า เดนมาร์กให้คำมั่นว่าจะมอบเงินจำนวน 2 พันล้านจัต เป็นครั้งที่ 6 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของเมียนมา (MSMEs)  ในการดำเนินในโครงการพลังงานหมุนเวียน เพื่อลดต้นทุนในการใช้ไฟฟ้าหรือพลังงานที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น โดย 5 ปี ที่ผ่านมา เดนมาร์กได้มอบเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือเมียนมาไปแล้วกว่า 19,576 พันล้านจัต ให้กับ MSMEs จำนวน 609 ราย ทั่วประเทศเพื่อสนับสนุน MSMEs ในการใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการดำเนินธุรกิจและปรับเพฤติกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/denmark-to-contribute-k2-billion-for-myanmar-smes/#article-title

9 เดือนที่ผ่านมา ของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกแร่ธาตุ ไปแล้วมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน-เดือนธันวาคม 25665) ของปีงบประมาณ 2565-2566 มูลค่าการส่งออกแร่ธาตุของเมียนมา มีมูลค่ามากกว่า 222.341 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เป็นการส่งออกโดยภาครัฐมูลค่า 16.151 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่ภาคเอกชนส่งออกแร่มูลค่า 206.19 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปีงบประมาณ 2564-2565 ที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้จาการส่งออกแร่ธาตุอยู่ที่ 519.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาตั้งเป้าส่งออกแร่ธาตุไว้ที่ 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และนำเข้ามูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับแร่ธาตุส่งออกสำคัญ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ ทอง หยก มุก ตะกั่ว ดีบุก ทังสเตน เงิน ทองแดง สังกะสี ถ่านหิน และสินแร่อื่นๆ ทั้งนี้  ในช่วงงบประมาณย่อยปี 2564-2565 ( เดือนตุลาคม 2564-เดือนมีนาคม 2565) การส่งออกแร่ธาตุของเมียนมามีมูลค่า 288.599 ล้านดอลลาร์ และในปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกแร่ธาตุอยู่ที่ 895.611 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-mineral-export-bags-over-200-million-in-past-nine-months/

9 เดือน ของปีงบฯ 65-66 เมียนมาส่งออกกุ้ง พุ่ง! 12,000 ตัน ทำรายได้เข้าประเทศกว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กรมประมงของเมียนมา เผย ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน 2565-เดือนธันวาคม 2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกกุ้งไปยังต่างประเทศมากกว่า 12,355 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 44 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 10,388 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีงบประมาณก่อน โดยสินค้าประมงของเมียนมาถูกส่งออกไปยัง 45 ประเทศในทุกๆ ปี ส่วนใหญ่ส่งออกผ่านการค้าชายแดนเป็นหลัก ในธุรกิจเลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่นำเข้าลูกพันธ์กุ้งจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นหลัก ทั้งนี้ ภาคการเกษตรถือเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจของเมียนมา โดยคิดเป็นร้อยละ 30 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และคิดเป็นร้อยละ 68 ของรายได้หลักของชุมชนในประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bags-us44-mln-from-export-of-over-12000-mt-of-shrimps-to-foreign-markets-in-9-months/

ธุรกิจ 53 แห่ง แห่ลงทุนในย่างกุ้ง สร้างตำแหน่งงานมากกว่า 35,000 ตำแหน่ง

สำนักงานของรัฐบาลเขตย่างกุ้ง เผย ในปี 2565 ที่ผ่านมา มีธุรกิจทั้งจากต่างประเทศและในประเทศจำนวน 53 แห่ง ได้เข้ามาลงทุนในสู่เขตย่างกุ้งสามารถสร้างตำแหน่งงานมากกว่า 35,792 ตำแหน่ง โดยมีการลงทุนในอุตสาหกรรมบริการและการผลิต แบ่งเป็นการลงทุนจากธุรกิจในประเทศ มากกว่า 19.396 พันล้านจัต จำนวน 12 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในการผลิตกระเป๋า, ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปแบบ CMP, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, อาหารสำเร็จรูป, สินค้าประมง เช่น ปลาและกุ้ง เป็นต้น ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติมีการลงทุนมูลค่า 74.462 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 41 แห่ง ทั้งนี้ นอกเหนือจากการลงทุนในอุตสาหกรรม ยังมีการนำเงินมาเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของธุรกิจและจ้างแรงงานเพิ่มเติมอีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/53-invested-businesses-create-more-than-35000-job-opportunities-for-local-people/#article-title

เมียนมา-เซ็น MoU บังคลาเทศ ส่งออกข้าวกว่า 165,000 ตัน

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC)  เผย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ที่ผ่านมาเมียนมาและบังกลาเทศ ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) โดย บังคลาเทศตกลงที่จะซื้อข้าวขาว 250,000 ตันและข้าวนึ่งอีก 50,000 ตันจากเมียนมา ตั้งแต่ปี 2565-2570 ซึ่ง ณ วันที่ 2 มกราคม 2565 เมียนมาส่งออกข้าวไปบังคลาเทศแล้วกว่า 165,000 ตัน ส่วนที่เหลือจะส่งมอบภายในระยะเวลากำหนด ตามข้อตกลงพันธ์ขาวที่จะทำการส่งออก คือ ข้าวขาว (ATAP) พันธุ์ GPCT Broken STX ราคา FOB ที่ส่งออกจะอยู่ที่ 2.78856 หยวนต่อกิโลกรัม และ 2,788.56 หยวนต่อตัน ทั้งนี้ กรมอาหารของบังกลาเทศและสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ได้ลงนาม MoU ร่วมกัน โดยได้ส่งข้าวเป็นครั้งแรกในปี 2560 จำนวน 100,000 ตัน และในปี 2564 เป็นครั้งที่ 2

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-over-165000-tonnes-of-rice-to-bangladesh-under-g-to-g-pact/#article-title

ตลาด Mingala แห่งใหม่จะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2566

คณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (YCDC) เผย การก่อสร้างตลาด Mingala แห่งใหม่มีกำหนดแล้วเสร็จในปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 และร้านค้าที่สร้างเสร็จแล้วบางส่วนจะเปิดขายในต้นปีนี้ โดยการก่อสร้างเริ่มต้นในปี 2562 ซึ่งตลาดแห่งใหม่จะเป็นอาคารสูง 17 ชั้นที่มีร้านค้ากว่า 5,000 ร้านค้า ลิฟต์ 21 ตัว และลานจอดรถที่สามารถรองรับรถได้มากกว่า 700 คัน และภายในตลาดจะประกอบไปด้วยโรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร ธนาคาร และซูเปอร์มาร์เก็ต เมื่อสร้างเสร็จแล้ว บรรดาร้านค้า ที่เคยค้าขายในตลาดเดิมจะย้ายไปอยู่ที่ตลาดใหม่ได้ทันที ส่วนผู้ที่ต้องการเช่าร้านค้าเพื่อค้าขายสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่แผนกการตลาดของ YCDC ทั้งนี้ตลาด Mingala แห่งใหม่ในเมือง Mingala Taungnyunt ของภาคย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เดิมเป็นตลาดระดับไฮเอนด์ที่เคยขายสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งปลีกและส่ง ถูกไฟไหม้ไปแล้ว 2 ครั้ง ในเดือนพฤษภาคม 2553 และเดือนมกราคม 2559

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/new-mingala-market-to-be-completed-in-april-2023/#article-title

เดือนพ.ย. 65 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ‘ติละวา” ดูดเม็ดเงิน FDI กว่า 2.188 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

คณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (DICA) ของเมียนมา เผยตัวเลข การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ณ เดือนพฤษจิกายน 2565 ในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ)  มีมูลค่ากว่า 2.188 พันล้านดอลลาร์สหรัฐได้ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ ปัจจุบัน มีโรงงานประมาณ 102 แห่งที่ดำเนินการในโซน A และ B ของ Thilawa SEZ โดยภาคพลังงานมีการลงทุนสะสมไปแล้วมากกว่า 3.121 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ DICA มีความยินดีและให้การต้อนรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการลงทุนในประเทศของชาวเมียนมาในทุกภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งกระทรวงกลาโหมและกระทรวงที่เกี่ยวข้องพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกในการลงทุนอีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/thilawa-sez-attracts-over-us2-188-bln-as-of-nov-2022/#article-title

โรงไฟฟ้าตองดอวิน แหล่งพลังงานแสงอาทิตย์แห่งที่ 3 ของเมียนมา เสร็จสมบูรณ์แล้ว

บริษัท กรีน เพาเวอร์ เอ็นเนอร์จี จำกัด เผย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตองดอวิน ใกล้กับเมืองธัญญวาและเมืองมิตธา ในภาคมัณฑะเลย์ ของเมียนมา ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งโรงไฟฟ้านี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 25 เมกะวัตต์ต่อปี ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จำนวน 45,980 แผง และระบบติดตามแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มพลังงานไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ (PV) จากดวงอาทิตย์ โดยไฟฟ้าที่ผลิตได้ที่มีแรงดันไฟฟ้าขนาด 132KV จะถูกส่งไปยังโครงข่ายสายส่งแห่งชาติ (National Grid) ผ่านระบบจ่ายไฟฟ้าแบบยกสูงขนาด 33 kV ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ตองดอวินเป็นหนึ่งในโรงงานพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 29 โครงการ และเป็นโรงไฟฟ้าแห่งที่ 3 ที่สร้างแล้วเสร็จของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/taungdawgwin-solar-power-project-completed/#article-title

ราคาหัวหอมเมียนมาดิ่งลง ในรอบ 3 สัปดาห์

ผู้ค้าส่งหัวหอมในตลาดบุเรงนอง ของเมียนมา เผย ในช่วงต้นปี 2566 ราคาหัวหอมยังคงมีแนวโน้มลดลง จากผลผลิตที่ออกมาสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ซึ่งในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566 มีผลผลิตหัวหอมจากภูมิภาคต่างๆ จำนวน 210,000 visses (visses เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) โดยราคาหัวในเมืองมยินยาน อยู่ที่ 1,700-2,300 จัตต่อ visses ส่วนราคาหัวหอมในเมืองมิยธา อยู่ที่ 2,000-2,600 จัตต่อ visses ที่ผ่านมาในช่วงเดือนธันวาคม 2565 ผลผลิตหัวหอมช่วงฤดูมรสุมประมาณ 5 ล้านหัวถูกส่งไปยังเมืองมยินจาน และเมืองปะโคะกู ซึ่งเป็นศูนย์กลางการซื้อ-ขายหัวหอมของประเทศ ส่งผลให้ราคาหัวหอมลดลงจาก 3,500 จัตต่อ visses เหลือ 1,950-2,100 จัตต่อ visses ในวันที่ 2 มกราคม 2566

ที่มา:  https://www.gnlm.com.mm/onion-price-heads-for-three-week-fall/#article-title