เวียดนามนำเข้ายานยนต์พุ่ง 20% ในเดือนก.พ.

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าในเดือนกุมภาพันธ์ เวียดนามนำเข้ายานยนต์จำนวน 10,039 คัน คิดเป็นมูลค่า 209 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 20.3% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ในแง่ของจำนวน และหดตัว 1.88% ในแง่ของมูลค่า โดยส่วนใหญ่ราว 90% นำเข้ามาจากไทย (5,200 คัน), อินโดนีเซีย (3,300 คัน) และจีน (589 คัน) ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในภาพรวม จะเห็นว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามนำเข้ายานยนต์ประมาณ 18,400 คัน เพิ่มขึ้น 23.7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยเฉพาะยานยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีสัดส่วนมากที่สุดถึง 66.3% ของส่วนแบ่งการตลาด อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขสถิติของกรมศุลฯ ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามนำเข้าชิ้นส่วนและส่วนประกอบยานยนต์ 345 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกุมภาพันธ์ และส่วนใหญ่นำเข้าจากเกาหลีใต้ ไทย จีนและอินเดีย

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-car-imports-surge-over-20-in-february-316742.html

ประธานาธิบดีสปป.ลาวคนใหม่เผชิญกับหนี้จีนที่เพิ่มขึ้นและเศรษฐกิจที่ย่ำแย่

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาสมาชิกสภาแห่งชาติสปป.ลาวได้เลือกนายทองโหลน สีสุลิธ เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศโดยมอบความไว้วางใจให้ผู้นำคนใหม่นำสปป.ลาวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วนหนึ่งของอุปสรรคและความท้าทายของผู้นำคนใหม่คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ถึงแม้สปป.ลาวจะไม่ได้รับผลกระทบมากนักแต่ประเทศที่สปป.ลาวพึ่งพาอย่างไทย จีน ล้วนได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากโควิด-19 ทำให้สปป.ลาวได้รับผลกระทบไปด้วย เห็นได้ชัดจากกรณีการปิดด่านชายแดนและมาตรการที่เข้มงวดส่งผลให้การค้าชายแดนหดตัวอย่างมาก นอกจากนี้ปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือหนี้จากการกู้ยืมจากจีน ซึ่งถือเป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่สุดของสปป.ลาวในการกู้มาเพื่อลงทุนหากไม่ได้รับการแก้ไข หนี้ก่อนนี้อาจทำให้สปป.ลาวต้องสูญเสียพื้นตามแนวรถไฟให้แก่จีนเพื่อเป็นการชดใช้หนี้ อย่างไรก็ตามขณะนี้รัฐบาลเริ่มมีการรัดเข็มขัดด้านงบประมาณและเข้มงวดด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้นเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งบประมาณ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นแนวทางเพื่อการรชำระหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Politics/New-Laos-president-faces-rising-China-debt-and-battered-economy

จำนวนผู้ลงทะเบียนใช้อินเตอร์เน็ตในกัมพูชาเพิ่มขึ้นในปี 2020

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์เคลื่อนที่ในกัมพูชาเพิ่มขึ้นในปีที่แล้วเนื่องจากมีความต้องการใช้สื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัส ขณะที่จำนวนผู้ใช้งานซิมการ์ดภายในประเทศลดลง โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไปรษณีย์และโทรคมนาคม (MPT) กล่าวว่ามีผู้ใช้งานมากกว่า 16 ล้านคน ในกัมพูชาได้ลงทะเบียนใช้อินเทอร์เน็ตเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งรวมถึงผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือและโทรศัพท์พื้นฐาน โดยการเติบโตของจำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตมาจากการได้รับการสนับสนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเป็นหลัก และเนื่องจากการแพร่ระบาดทำให้ผู้คนหันมาใช้อินเทอร์เน็ตบนแพลตฟอร์มดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการด้านโทรศัพท์มือถือ 5 ราย ในกัมพูชา ได้แก่ Smart, Cellcard, Viettel, Cootel และSeaTel และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตพื้นฐานอีก 42 ราย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50828681/number-of-registered-internet-subscribers-increases-in-2020/

บริษัท ซีพี (กัมพูชา) ลงทุน 67 ล้านดอลลาร์ ในการผลิตอาหารสัตว์

ซีพี (กัมพูชา) ลงทุนมากกว่า 67 ล้านดอลลาร์ ในการผลิตและแปรรูปอาหารจากสัตว์ รวมถึงโรงฆ่าสัตว์ในกัมพูชา โดยการลงทุนครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาภาคเกษตรของรัฐบาลกัมพูชาปี 2019-2023 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวง MAFF กล่าวว่าปัจจุบัน ซีพี (กัมพูชา) มีโรงงาน 2 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดกำปงสปือและจังหวัดไพลิน ซึ่งโรงงานทั้งสองแห่งนี้สามารถผลิตเนื้อสัตว์ได้ 55,000 ตันต่อเดือน และผลิตข้าวโพดแดงได้รวม 200,000 ตัน รวมถึงมันสำปะหลังแห้งอีกกว่า 100,000 ตันต่อปี โดยใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นภายในประเทศกัมพูชาเป็นหลัก ซึ่งการลงทุนในระยะนี้ ซีพี (กัมพูชา) ได้ขออนุญาตกระทรวงฯ ในการนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นแม่ไก่ที่คาดว่าจะสามารถผลิตลูกไก่ได้สูงถึง 700,000 ตัวต่อสัปดาห์ และการนำเข้าแม่พันธุ์สุกรเพื่อให้เพียงพอที่จะผลิตลูกสุกรให้ได้ถึง 20,000 ตัวต่อสัปดาห์ ภายใต้แผนที่จะเพิ่มการผลิตอาหารและสัตว์อีกร้อยละ 15 ถึง 20 เพื่อรองรับกับตลาดในประเทศที่เติบโตขึ้นทุกปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50828866/cp-cambodia-invests-67-mn-in-animal-food-production/

EDF พักโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำในเมียนมา

Electricite de France SA (EDF) หนึ่งในบริษัทพลังงานที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปสั่งเบรคโครงการไฟฟ้าพลังน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมียนมาที่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทค้าขายสินค้าอุปโภค-บริโภคจากญี่ปุ่นอย่าง Marubeni ซึ่งการเบรคโครงการมีผลจากการรัฐประหารเมื่อเดือนที่แล้ว Marubeni เป็นกลุ่มที่ผลักดันให้สร้างสถานีไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่บนแม่น้ำเชวลี (Shweli) ในรัฐฉาน รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน EDF บริษัทได้วางแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาด 671 เมกะวัตต์ภายในปี 2569 ด้วยต้นทุนประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ทำให้เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดโครงการหนึ่งในเมียนมา EDF ได้แจ้งว่าเพื่อเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนในเมียนมาจึงได้ระงับโครงการไว้ก่อน นอกจากนี้ยังปรึกษากับรัฐบาลฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปเพื่อเผ้าดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด Marubeni ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในโครงการรวมถึงขนาดของการลงทุน ซึ่งในการแถลงการล่าสุดบริษัทจะจัดการกับสถานการณ์นี้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้ยังไม่ได้ประเมินทิศทางในอนาคตว่าจะเป็นอย่างไร

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/marubeni-involved-hydropower-project-in-myanmar-to-be-frozen

ผู้นำใหม่พยายามสร้างสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่ยั่งยืนในสปป.ลาว

นายทองลุน สีสุลธิ์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสปป. ลาวได้ให้คำมั่นว่าจะสร้างสภาพแวดล้อมที่จะทำให้สปป.ลาวมีเสถียรภาพและความมั่นคงทั่วประเทศตลอดจนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า รัฐบาลใหม่ภายใต้การนำโดยนายทองลุน จะดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อสันติภาพ เอกราช มิตรภาพและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคและโลกด้วย คำมั่นดังกล่าวมีนัยสำคัญที่บ่งบอกถึงกลยุทธ์ในการพัฒนาของสปป.ลาวในอนาคตที่จะหันมาพึ่งความร่วมมือจากข้อตกลงต่างๆที่ได้ทำไว้กับนานาประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในหลายปีผ่านมาที่ทำให้สปป.เติบโตได้อย่างต่อเนื่องและภายใต้บริบทของโลกที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 การร่วมมือเพื่อดึงเอาศักยภาพของแต่ละประเทศเพื่อช่วยเหลือกันจะเป็นสิ่งสำคัญในการผ่านวิกฤตของโลกครั้งนี้ไปได้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New_57.php

ขนส่งทางบกเมียนมาเปิดอีกครั้ง เพื่อต่ออายุใบขับขี่ในประเทศ

สำนักงานขนส่งทางบกเมียนมาร์เปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 22 มีนาคม 64 ซึ่งตอนนี้ให้บริการเพียงอย่างเดียวนั่นคือการต่อใบอนุญาตของยานยนต์เพี่ยงเท่านั้น จากประกาศล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 64 สำนักงานขนส่งทางบกจะเปิดอีกครั้งเพื่ออนุญาตให้ต่อใบอนุญาตรถยนต์หลังจากอนุญาตให้ลงทะเบียนยานพาหนะใหม่ในเดือนธันวาคม 63 เท่านั้นหลังจากปิดให้บริการเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/land-transport-authority-offices-reopen-to-allow-extension-of-vehicle-licenses

เวียดนามเผยการบริหารด้านราคาสินค้า เผชิญกับเงื่อนไขใหม่ ท่ามกลางการระบาดโควิด-19

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ไปทั่วโลก รวมถึงเวียดนาม ราคาสินค้าในประเทศคงมีความผันผวนและมีความเชื่อมโยงกับความผันผวนของราคาวัตถุดิบและเชื้อเพลงในตลาดโลก ตามการประชุมของสมัชชาแห่งชาติครั้งที่ 14 ได้ตั้งเป้าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาม เฉลี่ยที่ 4% ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนัก คาดการณ์ว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะราคาวัตถุดิบและเชื้อเพลิงที่อยู่ในตลาดโลก คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้ง เมื่อโลกสามารถรับมือการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ตลอดจนการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง ส่งผลให้การผลิต การค้าและด้านระหว่างประเทศจะกลับมาฟื้นตัวได้ในที่สุด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/908496/price-management-faces-new-conditions-amid-pandemic.html

เวียดนามเผยภาคการประมงก้าวขึ้นเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

การประมงจะก้าวขึ้นเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศในปี 2573 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาของภาคการประมงปี 2573-2588 ตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ดังนั้น ภาคการประมงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการผลิตขนาดใหญ่ ผ่านกระบวนการเป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ขึ้นกับเครื่องจักรและมีความทันสมัย ตลอดจนนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ในกระบวนการผลิตและการปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อยกระดับผลิตภาพและสร้างเครื่องมือหมายการค้าที่มีชื่อเสียง พร้อมกับเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในตลาดโลก อีกทั้ง ได้ตั้งกลยุทธ์การเติบโตของการผลิตในภาคการประมงเฉลี่ยที่ 3-4% ต่อปี โดยผลผลิตรวมแตะ 9.8 ล้านตัน นอกจากนี้ ภาคการประมงได้ตั้งเป้าว่าจะสร้างงานมากกว่า 3.5 ล้านคน โดยมีรายได้ต่อหัวเทียบเท่ากับระดับประเทศ

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fisheries-envisaged-to-become-a-vital-economic-sector/197891.vnp

ผงะสต๊อกข้าวโรงสีอีสานเกือบเกลี้ยงแต่ ราคาตลาดยังนิ่ง “จุรินทร์” เตรียมถกผู้ส่งออก

ผงะสต๊อกข้าวโรงสีอีสานเกือบเกลี้ยงแล้ว ราคาตลาดยังนิ่งแค่ตันละ 12,500 บาท คาดต้นเหตุจากปมขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ส่งออกสะดุด จุรินทร์ เตรียมถกสมาคมผู้ส่งออกข้าว 24 มี.ค.นี้ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564 ได้มีการประชุมคณะกรรมการ สมาคมโรงสีข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้มีการรายงานสถานการณ์ข้าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่าข้าวของฤดูกาลผลิตปี 2563 /64 มีสต๊อกที่ลดลงอย่างมากในรอบ 10 ปี ได้ลดกำลังการผลิตลงถึง 50% และคาดว่าข้าวสำรองที่มีอยู่ในโรงสีหากเร่งสีแปรก็ไม่เกิน 20 วันข้าวจะหมดจากในสต็อกของโรงสี แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าปริมาณข้าวมีน้อยมากราคาข้าวกลับไม่ขยับขึ้น น่าจะมาจากการที่ผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศได้ล่าช้าเพราะข่าวการขาดแคลนตู้คอนเทนเน่อร์และการขึ้นราคาค่าขนส่งที่สูงขึ้นมากทำให้การรับซื้อข้าวสารของผู้ส่งออกจากโรงสีได้ในราคาไม่สูงจึงทำให้ไม่สามารถซื้อข้าวเปลือกในราคาเพิ่มสูงขึ้นได้ หากไม่เกิดเหตุการณ์ปัญหาการส่งออกตึงตัวคาดการว่าราคาข้าวเปลือกน่าจะมีราคาที่ 14,000-15,000 บาท/ตัน แต่เวลานี้ราคาที่โรงสีสามารถจะรับซื้อได้เพียง12,500-12,800 บาท/ตันเท่านั้น ส่วนข้าวเหนียวราคาจะค่อยๆ ดีขึ้นแต่พอมีข่าวว่าลักลอบจากเพื่อนบ้านราคาถูกเข้ามา ประกอบกำลังเริ่มเตรียมเก็บเกี่ยวในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ผู้ค้าข้าวสารก็กังวลกลัวราคาจะลดต่ำลงและจะชะลอการรับซื้อข้าวสารจากโรงสี

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-634443