รัฐบาลเมียนมาทุ่มเงินหนุนการใช้ไฟฟ้าช่วงโควิด

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 64 กระทรวงไฟฟ้าและพลังงานประกาศว่ารัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนสำหรับการใช้ไฟฟ้าในประเทศจำนวน 150 หน่วยในเดือนนี้ ซึ่งออกมาตรการนี้ได้ถูกใช้ไปเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วเพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชากรในช่วงการระบาดของCOVID -19 จากนั้นเงินอุดหนุนจะขยายออกไปเป็นรายเดือนไป คาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 35,000 ล้านจัตต่อเดือน โดยถ้าใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยหรือเท่ากับ 11,550 จัตจะถูกเรียกเก็บเงินแบบก้าวหน้า ขณะที่มิเตอร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ จะไม่ถูกนำมารวมในมาตรการนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/government-extends-subsidies-electricity-myanmar.html

เริ่มแล้ว ‘ม33เรารักกัน’ เปิดลงทะเบียนรับ 4,000 บาท ตั้งแต่วันนี้–7 มี.ค. 2564

วันที่ 21 ก.พ. 2564 กระทรวงแรงงาน ได้เปิดลงทะเบียนโครงการ ‘ม33เรารักกัน’ รับเงินเยียวยา 4,000 บาท เป็นวันแรก สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com และตรวจสอบการได้รับสิทธิ ตั้งแต่วันนี้ -7 มี.ค.64  โดยผู้ได้รับสิทธิ์สามารถตอบสอบคุณสมบัติ ลายละเอียด และลงทะเบียนได้ในเว็บไซต์ https://www.xn--33-nqia4jubqa0kcg0o.com/ ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ประกันตน ม.33 เข้าข่ายมีสิทธิได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้ จำนวน 9.27 ล้านคน ใช้วงเงินทั้งสิ้นประมาณ 37,100 ล้านบาท

ที่มา: https://workpointtoday.com/m-33-we-love/

การใช้จ่ายของผู้บริโภคชาวเวียดนามเริ่มฟื้นตัวในปี 64

ตามข้อมูลของศูนย์วิจัย Fitch Solutions เปิดเผยว่าอัตราการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของเวียดนามในปี 2564 คาดว่าจะเติบโต 7% เมื่อเทียบเป็นรายปี แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของการใช้จ่ายผู้บริโภคเวียดนามอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2558-2562 ขยายตัวเฉลี่ย 6.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งหากแบ่งประเภทของการใช้จ่าย พบว่าคนเวียดนามส่วนใหญ่จะใช้จ่ายไปกับอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ คาดว่าในปี 2564 การใช้จ่ายในหมวดนี้จะเติบโต 6.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ค่าใช้จ่ายหมวดอื่น คาดว่าจะเติบโตลดลง เนื่องจากภาคครัวเรือนลดการใช้จ่ายในสินค้าที่ไม่จำเป็น รวมถึงธุรกิจปิดตัวลง ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยดังกล่าวเสนอให้รัฐใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคชาวเวียดนามและเศรษฐกิจในประเทศ ถึงแม้ว่าตัวเลขการว่างงานจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 2.5% ในปี 2563 นอกจากนี้ ธนาคารกลางเวียดนาม ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25-1% ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนมากขึ้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-consumer-spending-recovery-getting-underway-in-2021-316196.html

เวียดนามเผย ม.ค. ทำรายได้จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) ระบุว่าในเดือนมกราคม 2564 เวียดนามส่งออกเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ดัชนีผลผลิตเครื่องนุ่งห่มและดัชนีผลผลิตเสื้อผ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.6% และ 9.9% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ นาย Vu Duc Gian ประธานสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม กล่าวว่าวิกฤตโควิด-19 จะยังคงสร้างผลกระทบต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 อย่างไรก็ตาม หากได้รับวัคซีนโควิด-19 ในไตรมาสแรกและไตรมาสสองของปี 2564 คาดว่าจะควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวได้ และส่งผลให้ตลาดเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอกลับมาฟื้นตัวในที่สุด อีกทั้ง อุตฯ เครื่องนุ่งห่มจำเป็นต้องสร้างห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะประเทศที่ได้ร่วมลงนามการค้าเสรีกับเวียดนามและอาเซียน นอกจากนี้ ในปีที่แล้ว เวียดนามทำรายได้จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มประมาณ 35 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นผลมาจากการระบาดของเชื้อไวรัส และความตึงเครียดทางการค้าสหรัฐฯ กับจีน รวมถึงเหตุการณ์อังกฤษแยกตัวออกจาก EU (Brexit)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-earns-26-billion-usd-from-garment-exports-in-january/196399.vnp

ราคาสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ตลาดมัณฑะเลย์ ราคาลดฮวบ 10%

Mandalay Brokerage House เผยการปิดทำการของธนาคารและการขนส่งจากการประท้วงในประเทศทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาถูกระงับ ส่งผลให้ราคาสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์ลดลงถึง 10% โดย Mandalay Brokerage House ให้บริการใน 3 ตลาด ได้แก่ การส่งออกไปยังประเทศจีน การส่งออกผ่านย่างกุ้ง และตลาดในประเทศ ซึ่งเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองและการปิดบริการของธนาคารได้นำไปสู่ความยากลำบากในการค้ากับจีนและอินเดีย ทั้งนี้ธุรกิจจะกลับมาก็ต่อเมื่อประเทศมีเสถียรภาพและเมื่อธนาคารกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/mandalay-market-sees-10-pc-drop-prices.html

ส่งออกข้าวโพดไปไทยพุ่ง แต่นำเข้าลดลงกว่าครึ่ง

การส่งออกข้าวโพดไปยังไทยที่ด่านเมียวดีกำลังเติบโต แต่การนำเข้าจากเพื่อนบ้านในอาเซียนลดลง เมียนมาส่งออกข้าวโพดกว่า 200 คัน ไปยังไทยทุกวันผลเกิดจากการยกวันภาษีการส่งออกสินค้าตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป การนำเข้าสินค้าของไทยจึงลดลงกว่าครึ่งหนึ่ง ความไม่สงบทางการเมืองและการปิดทำการของธนาคารสร้างความเสียหายอย่างมากต่อการค้าของเมียนมา ก่อนหน้านี้ด่านการค้าชายแดนมีรถบรรทุกประมาณ 50 คันขนส่งสินค้าเกษตร เช่น ถั่วดิน พริก หัวหอม ปลาและกุ้ง ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นโดยมีรถบรรทุกประมาณ 200 ถึง 300 คันที่ขนส่งข้าวโพดมายังไทยทุกวัน มีการประท้วงอย่างต่อเนื่องและการปิดธนาคาร ทำให้ไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงิน การสั่งซื้อสินค้า อีกทั้งไม่สามารถเสียภาษีได้และปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก่อนหน้ามีรถบรรทุกจากไทยประมาณ 400 คันเข้าเมียนมาทุกวัน ตอนนี้มีเหลือเพียง 150 คันเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmars-corn-exports-rise-thai-imports-more-halved.html

International Finance Corporation เสนอแผนปฏิรูปด้านการลงทุนดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ

International Finance Corporation เผยแพร่รายงานที่เกี่ยวข้งกับการลงทุนในสปป.ลาว โดยมีรายละเอียดในเรื่องการพัฒนากลยุทธ์การลงทุนแบบองค์รวมควบคู่ไปกับการปฏิรูปกฎระเบียบอย่างต่อเนื่องของสปป.ลาว จะช่วยให้สปป.ลาวดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่หลากหลายและมีคุณภาพสูงขึ้น แนวทางดังกล่าวจะช่วยให้สปป.ลาวสามารถขยายเศรษฐกิจและสร้างงานเพิ่มขึ้น การปฏิรูปด้านการลงทุนมีเป้าหมายเพื่อให้ตระหนักถึงผลกระทบเชิงบวกของการลงทุนโดยตรงต่อเศรษฐกิจในท้องถิ่น ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา FDI เป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของสปป.ลาว อย่างไรก็ตามรายงานเผยว่าการลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในทรัพยากรธรรมชาติทำให้เกิดโอกาสในการทำงานที่ จำกัด และไม่สามารถปลดล็อกศักยภาพของ FDI ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นความท้าทายที่สปป.ลาวจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนเพื่อโอกาสในการดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมวึ่งจะเป็นกลไกที่สำคัญตัวหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_New35.php

ญี่ปุ่นตอกย้ำการร่วมพัฒนาเมืองของกัมพูชา

ฟอรัมครั้งที่สองระหว่างกัมพูชากับญี่ปุ่น ตอกย้ำการพัฒนาเขตเมืองกัมพูชาให้เป็นเมือง “อัจฉริยะ” ซึ่งทำการประชุมผ่านทางออนไลน์ระหว่างกระทรวงการจัดการที่ดินการวางผังเมืองและการก่อสร้าง (MLMUPC) ของกัมพูชา และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง MLMUPC กล่าวถึงการประชุมที่จัดขึ้นเพื่อผลักดันโอกาสทางธุรกิจให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างสองประเทศ และส่งเสริมการลงทุนจากญี่ปุ่นมายังกัมพูชาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งในการพูดคุยกันรัฐมนตรีกระทรวงฯ ของญี่ปุ่นกล่าวว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุน แบ่งปันแนวทางในการปฏิบัติ และประสบการณ์ที่ดีกับกัมพูชา เกี่ยวกับการขยายตัวของเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้รัฐบาลกัมพูชาถือว่าภาคเอกชนเป็นกลไกในการผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ การพัฒนาการจ้างงาน การส่งเสริม SMEs ไปจนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (IR4.0) ของกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50815380/japan-cambodia-forum-reinforces-urban-development-in-kingdom/

รัฐบาลกัมพูชาร่วมกับบริษัทเอกชน ส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัย

กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง ร่วมกับตัวแทนของบริษัทเอกชน ทำการลงนามบนสัญญากว่า 16 ฉบับ รวมถึงบันทึกความเข้าใจ (MoU) อีก 2 ฉบับ เพื่อส่งเสริมสินค้าเกษตรปลอดภัยของกัมพูชา เช่น ผัก มันสำปะหลัง แตงโม มะม่วง และสัตว์เศรษฐกิจอื่น ๆ โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงเกษตร กระทรวงป่าไม้และประมง รวมถึงกระทรวงเศรษฐกิจการเงิน ตลอดจนผู้ได้รับมอบหมายจาก IFAD พันธมิตรเพื่อการพัฒนาภาคเอกชน ผู้สนับสนุน และกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเกษตรร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามอย่างเป็นทางการ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ASPIRE ที่เป็นโครงการด้านความร่วมมือในการพัฒนาด้านการเกษตรเพื่อนวัตกรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงกล่าวเน้นย้ำว่าโครงการนี้มีส่วนสำคัญในการจัดหาและพัฒนาทรัพยากรด้านอาหารที่ปลอดภัย รวมถึงทำการตลาดสำหรับพืชผักในประเทศ ลดการนำเข้าสินค้าเกษตรลง นอกจากนี้ยังรักษาปริมาณอาหารในกัมพูชาและพัฒนาภาคเกษตรกรรมต่อไป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50815361/ministry-private-firms-cooperate-to-boost-cambodias-safe-agricultural-products/

หอการค้า จี้แก้ค่าเงินบาทแข็ง โลจิสติกส์ เจรจาการค้าให้คืบหน้า ก่อนไทยเสียหายแข่งขันไม่ได้

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าอาหารไทยขยายตัวไม่เต็มศักยภาพ เนื่องจากมีปัจจัยหลายด้านยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งทางหอการค้าไทยเห็นว่าวิกฤตระยะสั้นที่ต้องเร่งแก้ไขคือ ค่าเงินบาทของไทยที่ยังคงแข็งค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียนประเทศไทยแข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งมาก ส่งผลทำให้รายได้ของเกษตรกรลดลง โดยมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่สามารถแข่งขันได้ควรอยู่ที่ 32 บาท นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในเรื่องของโลจิสติกส์การขนส่งทางเรือและการขาดแคลนคอนเทนเนอร์ในการขนส่ง การปรับค่าระวางเรือที่สูงขึ้นแบบไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และอีกปัญหาสำคัญคือการเจรจาข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่ประเทศไทยไม่มีความคืบหน้าในขณะที่ประเทศคู่แข่งหลายประเทศได้แต้มต่อเรื่องของภาษีและมีการเข้าร่วมการเจรจาต่าง ๆ แล้ว ทั้งการทำ FTA ไทย-อียู,อังกฤษ และ CPTPP รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิต

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_45591/