ค้าชายแดนเมียนมา-ไทยต้นทุนค่าเสียหายพุ่งสูงขี้น

มีคำแนะนำสำหรับการถ่ายสินค้าเพื่อการค้าบริเวณชายแดนและบรรจุลงรถแยกที่สะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา 2 ทำให้ผู้ค้าในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากจากความเสียหายที่เพิ่มขึ้น นาย U Aung Myint Oo ผู้อำนวยการ บริษัท การค้า Klohtoo Wah Co. Ltd. เผยสินค้าบางที่อย่างไม่สามารถตากแดดหรือฝนได้ เช่น แป้งข้าวเจ้าจะได้รับความเสียหายหากเปียก แต่การบรรจุสินค้าขึ้นรถบรรทุกของไทยจำเป็นต้องนำไปเก็บไว้ชั่วคราวที่อาคารผู้โดยสาร ซึ่งการขนย้ายสินค้ายังต้องใช้ค่าแรงเพิ่มเติม หลังจากมีผู้ตรวจพบ COVID -19 ในแม่สอดของประเทศไทยอีก 5 รายเมื่อเดือนที่แล้วสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมา ปิดให้เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ การสัญจรกลับมาได้อีกครั้งในวันที่ 25 ตุลาคม โดยปกติรถบรรทุกจะใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเพื่อข้ามพรมแดนเข้าสู่ประเทศไทย ขณะนี้สมาคมผู้ค้าหน่วยงานภาครัฐและหอการค้าเมียนมากำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่ไทยเพื่อหาทางออกที่ช่วยบรรเทาภาระนี้ ปัจจุบันในแต่ละวันมีรถบรรทุกมากกว่า 300 คันวิ่งผ่านสะพาน ส่วนใหญ่จะนำเข้าวัสดุก่อสร้างจากไทย ในขณะการส่งออกจะเป็นผักและผลไม้ เช่น ข้าวโพด พริก และถั่วลิสง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/more-costs-damage-incurred-while-trading-thai-border.html

ปศุสัตว์ ปลื้มโควิดดันส่งออกหมูพุ่ง 344 %

ปศุสัตว์ ชี้นโยบายอาหารปลอดภัย ผนึกโควิด ทำตลาดต่างประเทศอ้าแขนรับ ดันส่งออก หมู เพิ่ม 344 % 1.3 หมื่นล้านบาท ด้านไก่ เพิ่ม 0.67 % มูลค่า 8.9 หมื่นล้านบาท รุ่ง ตลาดต่างประเทศอ้าแขนรับ ภาพรวมการผลิตและการส่งออกสินค้าปศุสัตว์สำคัญ โดยเฉพาะหมูและไก่เนื้อในช่วงที่ผ่านมา ไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นในระดับโลกด้านมาตรฐานความปลอดภัยในอาหาร (Food Safety ทำให้สินค้าปศุสัตว์ไทยเป็นที่ต้องการในตลาดโลก สะท้อนจากความสามารถในการส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงม.ค.- ต.ค. 2563 การส่งออกสุกรและผลิตภัณฑ์ของไทย ในส่วนของสุกรมีชีวิตปริมาณรวม 2 ล้านตัว เพิ่มขึ้น 344.30% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการส่งออกสุกรขุน 1,9 ล้านตัวและส่งออกสุกรพันธุ์ 1แสนตัว ขณะที่การส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ รวมถึงชิ้นส่วนอื่นๆ รวม 4.3 หมื่นล้านตัน มูลค่า5.1 พันล้านบาท สำหรับการส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ ในช่วง 10 เดือนของปี 2563 ไทยมีปริมาณการส่งออกรวม 7.69 แสนตัน มากกว่าช่วงเดียวของปีก่อนหน้า 0.67% มูลค่ารวม 8.9 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเนื้อไก่แปรรูป 58.50% ปริมาณ 4.5 แสนตัน มูลค่า 6.2 หมื่นล้านบาท และเนื้อไก่สด 41.50% ปริมาณ 3.1 แสนตัน มูลค่า 2.7 หมื่นล้านบาท โดยตลาดสำคัญของเนื้อไก่แปรรูป คือ ญี่ปุ่น อังกฤษ และอียู ขณะที่เนื้อไก่สดมีญี่ปุ่น จีน และอียู เป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/906584

แรงกดดันทางเศรษฐกิจสำหรับการเปิดพรมแดนอีกครั้งระหว่างกัมพูชาและไทย

ปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทยในปัจจุบันประกอบกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากอุทกภัยในกัมพูชาทำให้ทางการของทั้งสองประเทศจำเป็นต้องเปิดพรมแดนให้กับแรงงานข้ามชาติอีกครั้ง โดยพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยถูกปิดตั้งแต่ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากความกังวลในเรื่องของการอพยพข้ามพรมแดนจะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซี่งธนาคารโลกระบุว่ามีแรงงานอพยพกลับมายังกัมพูชามากกว่าประมาณ 120,000 คน เดินทางกลับจากประเทศไทยนับตั้งแต่เกิดการระบาดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแรงงานที่มีทักษะต่ำ ซึ่งทางการไทยได้วางแผนให้กลุ่มแรงงานชาวกัมพูชาเข้ามาทำงานในโกดังเก็บผลไม้ที่ตั้งอยู่บริเวณด่านพรมแดนถาวรสำหรับคนงานในอำเภอโป่งน้ำร้อนของไทย โดยเชื่อมโยงกับจังหวัดพระตะบองของกัมพูชาได้ทดลองเข้ามายังพื้นที่ของไทยประมาณ 500 คน ตามรายงานในท้องถิ่นกระบวนการคัดกรองการตรวจสุขภาพและการกักกันจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 193 ดอลลาร์ต่อคน แต่จะลดลงเหลือเพียง 86.76 ดอลลาร์หากถูกกักกันในพื้นที่ที่ทางรัฐบาลไทยได้กำหนดไว้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50779039/economic-pressure-for-kingdom-and-thailand-to-reopen-borders/

ไทยเป็นตลาดส่งออกข้าวโพดเบอร์ต้น ๆ ของเมียนมา

นาย U Myo Thu รองอธิบดีองค์การส่งเสริมการค้าเมียนมาเผยปัจจุบันไทยเป็นนำเข้าข้าวโพดจากเมียนมาเป็นอันดับต้น ๆ โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของการเก็บเกี่ยวถูกส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ข้าวโพดที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรืออาหารสัตว์เป็นที่ต้องการสูงในไทย จากการส่งออกไปยังจีนถูกระงับตั้งแต่ปี 61 ผลผลิตข้าวโพดส่วนใหญ่จึงถูกส่งออกไปยังไทย ซึ่งในปีงบประมาณ 62 – 63 มีการนำเข้ามากกว่ามากกว่าหนึ่งล้านตันเพิ่มขึ้นจาก 700,000 ตันในปีก่อนหน้า การส่งออกข้าวโพดเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 เมื่อเทียบเป็นรายปีในปีงบประมาณ 62 – 63 การส่งออกข้าวโพดต่อปีอยู่ที่ 2.5 ล้านตันเมื่อเทียบกับ 1.5 ล้านตันในปีก่อนหน้า ปัจจุบันเมียนมามีพื้นที่ปลูกข้าวโพด 1.5 ล้านเอเคอร์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/thailand-becomes-top-corn-export-market-myanmar.html

ไทยผนึก 26 ชาติจี้มะกันต่ออายุจีเอสพี อุ้มส่งออก8หมื่นล.645สินค้า

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยได้ร่วมกับอีก 26 ประเทศที่รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ทำหนังสือถึงสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (ยูเอสทีอาร์) เพื่อขอให้มีการพิจารณาต่ออายุโครงการสิทธิพิเศษจีเอสพี 3,500 รายการ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธ.ค.63 ออกไป เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าสหรัฐ ให้สามารถลดภาระภาษี ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ รวมถึงให้ทางการสหรัฐ เร่งรัดกระบวนการพิจารณาต่ออายุโครงการให้เร็วขึ้นกว่าเดิม ปัจจุบัน สหรัฐได้ให้สิทธิจีเอสพีสินค้าทั้งหมด 3,500 รายการ แต่ในจำนวนมีสินค้าที่ไทยได้รับสิทธิและใช้สิทธิจีเอสพีส่งออกไปจริง ประมาณ 645 รายการ คิดเป็นมูลค่า 2,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 83,200 ล้านบาท ซึ่งทั้งหมดจะหมดอายุช่วงสิ้นปีนี้  แต่กรมฯ ก็เชื่อมั่นว่าทางการสหรัฐจะต่ออายุจีเอสพีออกไป  แม้กระบวนการประกาศต่ออายุจะล่าช้าและเสร็จไม่ทัน 1 ม.ค.64 แต่ก็ขอให้ผู้ประกอบการไทยไม่ต้องตกใจ เพราะตามประวัติศาสตร์ ทางการสหรัฐจะประกาศช้าอยู่แล้ว แต่ก็จะให้สิทธิจีเอสพีย้อนหลังเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป โครงการจีเอสพี ที่สหรัฐ ให้สิทธิฯ แก่  119 ประเทศกำลังพัฒนา และพัฒนาน้อยที่สุด จะถึงรอบสิ้นสุดอายุโครงการในวันที่ 31 ธ.ค.63 พอดี โดยสหรัฐ กำลังพิจารณาต่ออายุโครงการออกไปอยู่  ซึ่งจะต้องออกเป็นกฎหมายจึงอาจมีความล่าช้าไปบ้าง หลายเดือน แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะสหรัฐ จะให้สิทธิต่ออายุโครงการย้อนหลัง เพื่อให้การให้สิทธิจีเอสพีเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การต่ออายุครั้งล่าสุดเมื่อปี 61 สหรัฐ ได้ประกาศต่ออายุเดือน มี.ค.61 แต่ให้มีผลใช้บังคับใช้ย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.61 ซึ่งผู้ส่งออกมีความเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/804636

ธปท.คุยเศรษฐกิจไทยดี เปิดเมือง-มีวันหยุดยาว-รัฐกระตุ้นใช้จ่าย

นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ก.ย. ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมาเกือบปกติในหลายภาคส่วน และจากปัจจัยชั่วคราวคือวันหยุดยาวพิเศษประกอบกับการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญ ขณะที่ไตรมาส 3/63 เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ตามการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินการได้มากขึ้น โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังจากหดตัวสูงในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนหนึ่งจากการประกาศวันหยุดยาวพิเศษเพื่อชดเชยช่วงสงกรานต์ที่เลื่อนมา ด้านปัจจัยด้านรายได้และความเชื่อมั่นผู้บริโภคทยอยปรับดีขึ้น สำหรับปัจจัยที่ยังต้องติดตามในระยะต่อไป คือ การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ในต่างประเทศ การฟื้นตัวของตลาดแรงงาน แม้จะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังคงมีความเปราะบาง ความยั่งยืนของการฟื้นตัวภาคยานยนต์ โดยมองว่า การฟื้นตัวอย่างช้าๆของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า จะเป็นปัจจัยกดดันภาคยานยนต์ในระยะต่อไป และความไม่แน่นอนทางการเมือง อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชนและอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า “แนวโน้มในไตรมาส 3 มองว่าจะปรับดีขึ้นและติดลบน้อยลงกว่าไตรมาส 2 อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้จะต้องรอติดตามในรายละเอียดอีกครั้ง และในไตรมาส 4 มองว่าจะทยอยฟื้นตัวได้” นางสาวชญาวดีกล่าว.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/1965659

รัฐบาลไทย – สปป.ลาวเตรียมสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาวข้ามแม่น้ำโขงเพิ่มอีก 2 แห่ง

รัฐบาลไทยเตรียมลงทุน 8.2 พันล้านบาทสร้างสะพานมิตรภาพไทย – ลาวข้ามแม่น้ำโขงเพิ่มอีก 2 แห่ง ปัจจุบันสะพานมิตรภาพ 4 แห่งเชื่อมระหว่างไทย – สปป.ลาวที่หนองคาย – เวียงจันทน์มุกดาหาร – สะหวันนะเขตนครพนม – คำม่วนและเชียงของ – ห้วยทราย สะพานแห่งใหม่จะตั้งอยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดบึงกาฬและจะเชื่อมไปยังปากซันในแขวงบอลิคำไซทางตอนกลางของสปป.ลาว รัฐบาลไทยจะลงทุนประมาณ 2.6 พันล้านบาทในขณะที่รัฐบาลสปป.ลาวจะทุ่มเงินอีก 1.3 พันล้านบาทที่จะกู้ยืมจากสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านที่ก่อตั้งในปี 2548 โดยรัฐบาลไทย โครงการนี้จะมีถนนความยาว 32 กม. คาดการณ์ว่าเมื่อแล้วเสร็จจะเป็นปัจจัยสำคัญในการค้าการลงทุนที่สำคัญของทั้งสองประเทศและถือเป็นการยกระดับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทย-สปป.ลาว

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/travel/2010347/thai-lao-bridges-announced

ไทยยืนหนึ่งในอาเซียนด้านโครงการ Digital Transformation

“เจโทร” พร้อมหนุน 7 โครงการนำร่องด้านนวัตกรรมดิจิทัล “Digital Transformation” ในประเทศไทย เผยจำนวนโครงการที่ได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากญี่ปุ่นในประเทศไทยนั้นจัดอยู่ในอันดับต้นของอาเซียน โดยทางเจโทรอนุมัติโครงการทั้งหมด 23 โครงการ ซึ่งโครงการทั้ง 7 โครงการในประเทศไทยนั้น ครอบคลุมสาขาที่มีความหลากหลาย อาทิ โครงการด้านการเกษตร การประมง การแพทย์ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ พลังงาน ซึ่งที่ผ่านมา เจโทร กรุงเทพฯได้ให้การสนับสนุนบริษัทญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจไทยมาโดยตลอด และเจโทรจะยังคงดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือบริษัทญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นต่อไปกล่าวโดยประธานเจโทร กรุงเทพฯ

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/world/454561

ใช้สิทธิการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรีลดฮวบ

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงการใช้สิทธิประโยชน์ สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) และสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (จีเอสพี) ในเดือน ม.ค.-ก.ค.63 ว่า มูลค่าการใช้สิทธิรวมเท่ากับ 35,421.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 14.77% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 77.94% แบ่งเป็นเอฟทีเอ 32,875.25 ล้านเหรียญฯ ลด 15.88% และจีเอสพี 2,546.60 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้น 2.61% ทั้งนี้ “แม้ภาพรวมการใช้สิทธิลดลง แต่สินค้าบางรายการของไทยยังส่งออกได้ต่อเนื่อง ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม และเกษตรแปรรูป แม้มีปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโควิด-19 สินค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น เครื่องดื่มที่ไม่เติมแก๊ส เช่น นม ผลไม้สดต่างๆ ทั้งทุเรียน มังคุด มะม่วง อาหารปรุงแต่ง น้ำผลไม้ ปลาทูน่าปรุงแต่ง อาหารปรุงแต่งที่ทำจากเกล็ดธัญพืช เต้าหู้ปรุงแต่ง ซอสปรุงแต่ง กุ้ง ข้าวโพดหวาน ปลาสคิปแจ็ก เป็นต้น” นอกจากนี้ การใช้สิทธิเอฟทีเอนั้น ตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 11,152.89 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม 3.84% รองลงมาอาเซียน ญี่ปุ่น ออสเตรเลียและอินเดีย ขณะที่การใช้สิทธิจีเอสพี 4 ระบบ คือ สหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1962459

หนีโควิด พาณิชย์ลุยจัดงานแสดงอัญมณีฯ ผ่านออนไลน์แทน

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หนีโควิด เปลี่ยนแนวจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับออนไลน์แทน 2-4 พ.ย.นี้ ตั้งเป้าผู้ชม 50,000 ราย จับคู่ธุรกิจไม่น้อยกว่า 1,000 คู่  นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เตรียมจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับออนไลน์ บีจีเจเอฟ สเปเชียล เอดิชัน-ออน กราวด์ ทู ออนไลน์ เอ็กฮิบิชัน ระหว่างวันที่ 2-4 พ.ย.63 ผ่านทางเว็บไซต์ www.bkkgems-vts.com โดยถือเป็นงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับออนไลน์เต็มรูปแบบที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ตั้งเป้าหมายมีผู้เข้าชมแพลตฟอร์มไม่น้อยกว่า 50,000 ราย มีการจับคู่ธุรกิจทางออนไลน์ไม่น้อยกว่า 1,000 คู่ เกิดการซื้อขายออนไลน์ในช่วงการจัดงานไม่ต่ำกว่า 1,200 ล้านบาท ทั้งนี้การจัดงานครั้งนี้ มีผู้ประกอบการไทยและต่างชาติร่วมแสดงสินค้ามากกว่า 600 บริษัท เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อและผู้นำเข้าชมสินค้าผ่านทางออนไลน์ รวมถึงจัดให้มีการเจรจาธุรกิจเสมือนจริง ผ่านไลฟ์แชต หรือวิดีโอคอล ในระบบที่มีความปลอดภัยสูง และสามารถนัดหมายเจรจาการค้าล่วงหน้าได้   นอกจากนี้ ยังเปิดตัวโครงการในรูปแบบออนไลน์ทาง www.bkkgems-vts.com ในวันที่ 2 พ.ย.63 การสัมมนาออนไลน์ในหัวข้อเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้แนวโน้มตลาด รับฟังความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญระดับโลก พร้อมสร้างเครือข่ายธุรกิจ “กรมฯมั่นใจว่า การจัดงานครั้งนี้ จะช่วยตอกย้ำภาพลักษณ์ของไทยในฐานะเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก รวมทั้งช่วยให้ผู้ประกอบการไทยมีช่องทางจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้น แม้จะอยู่ในช่วงโควิดระบาด ส่วนงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ บางกอก เจมส์ ครั้งที่ 66 กรมยังเดินหน้าจัดเช่นเดิม แต่เลื่อนไปจัดวันที่ 23-27 ก.พ.64 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี”

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/803308