เมียนมาลงทุนสร้างห้องเย็น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเงินกู้ของธนาคารโลก

กองปศุสัตว์และสัตวแพทย์ของเมียนมาเผยมีการกู้ยืมเงิน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อสร้างห้องเย็นสำหรับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในย่างกุ้ง เขตพะโค และเขตอิระวดี ซึ่ง Covid-19 ส่งผลต่อต่อภาคปศุสัตว์ของเมียนมา เพราะการหมุนเวียนของสินค้าล่าช้าเนื่องจากมีห้องเย็นไม่เพียงพอ จากข้อมูลพบว่าประเทศเพื่อนบ้านมีสินค้าส่วนเกินจากปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ผลิตเมื่อเกิดโรคทำให้สินค้าใกล้หมดอายุและไม่เหมาะกับการบริโภค ซึ่งสินค้าเหล่านี้กำลังถูกนำเข้าทางชายแดนอย่างผิดกฏหมาย สหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาได้กำหนดรายชื่อผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายแล้ว เช่น ไก่สด (เนื้อและไข่) ไก่เนื้อ ไก่แช่แข็ง ไส้กรอก ไข่ ลูกหมู หมู และหมูแช่แข็ง มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อยู่ระหว่าง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 13 ล้านดอลลาร์จากปีงบประมาณ 2548-2549 จนถึงปี 2560-2561 หลังจากการผ่อนปรนข้อจำกัดรัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกสัตว์มีชีวิตได้ซึ่งได้รับความร่วมมือของผู้ประกอบการ ส่วนมูลค่าการส่งออกในรอบปีเพิ่มขึ้นเป็น 562.859 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cold-storage-factories-to-be-built-with-4m-world-bank-loan

ไฟเขียวต่างชาติลงทุนไทย มิ.ย.63 จำนวน 22 ราย

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยว่า เดือนมิ.ย.2563 คณะกรรมการฯ ได้อนุญาตให้คนต่างชาติ 22 ราย ประกอบธุรกิจในประเทศไทยภายใต้ พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยส่วนใหญ่เป็นคนต่างชาติจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน มีการนำเงินเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจ 1,587 ล้านบาท ส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนไทย 3,575 คน และมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านโดยตรงจากประเทศผู้เข้ามาลงทุน โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ในแขนงที่คนไทยยังไม่มีความชำนาญหรือมีความเชี่ยวชาญในระดับที่ไม่สูงมากนัก เช่น องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศและการถ่ายเทสารเคมีในหอกลั่นสูงที่มีความกดอากาศตามมาตรฐานยุโรป องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องกำเนิดไอน้ำที่ใช้หลักการแลกเปลี่ยนความร้อน (HRSG system) องค์ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมเพื่อออกแบบและพัฒนาคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ และโปรแกรมเพื่อการตรวจและทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของสินทรัพย์ เป็นต้น สำหรับธุรกิจที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาต ได้แก่ 1.ธุรกิจบริการโดยเป็นคู่สัญญากับเอกชน จำนวน 4 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น และจีน มีเงินลงทุนจำนวน 542 ล้านบาท 2.ธุรกิจบริการให้แก่บริษัทในเครือ/ในกลุ่ม จำนวน 6 ราย โดยเป็นนักลงทุนจากประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ มีเงินลงทุนจำนวน 632 ล้านบาท 3.ธุรกิจนายหน้า ค้าปลีก ค้าส่ง จำนวน 7 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ฟินแลนด์ เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ และสิงคโปร์  มีเงินลงทุนจำนวน 181 ล้านบาท  4.ธุรกิจบริการให้แก่ลูกค้า จำนวน 5 ราย โดยส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนจากประเทศสวิส ซามัว อังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน มีเงินลงทุนจำนวน 232 ล้านบาท ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/888887?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

INFOGRAPHIC : GRDP นครโฮจิมินห์โต 1.02 ในช่วงครึ่งแรกของปี 63

สำนักงานสถิตินครโฮจิมินห์ เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (Gross Regional Domestic Product : GRDP) ในนครโฮจิมินห์ ขยายตัวชะลอ 1.02% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hcm-city-grdp-rises-102-in-h1/178337.vnp

INFOGRAPHIC : ครึ่งแรกของปี 2563 GDP เวียดนามโต 1.81%

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามขยายตัวชะลอ 1.81% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ซึ่งเติบโตต่ำที่สุดนับตั้งแต่ช่วง 6 เดือนของปี 2554-2563

ที่มา : https://baodautu.vn/infographic-gdp-6-thang-nam-2020-tang-181-d124941.html

พาณิชย์ เผย FTA ดันส่งออกมังคุดไทยช่วง 5 เดือนแรกขยายตัว 16%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่า จากการติดตามการส่งออก “มังคุด” พบว่าขยายตัว 16% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 และมีมูลค่าส่งออกถึง 290 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ยังอยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ก็ตาม จีน อาเซียน และฮ่องกง เป็นตลาดส่งออกสำคัญ มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันถึง 99% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งไทยมีความตกลงเอฟทีเอ กับทั้ง 3 ประเทศปัจจุบันประเทศคู่เอฟทีเอของไทยมีทั้งหมด 14 ประเทศ ได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ามังคุดจากไทยแล้ว เหลือเพียง 4 ประเทศ ที่ยังคงเก็บภาษีนำเข้า ได้แก่ เกาหลีใต้ (อัตราภาษีนำเข้า 24%) กัมพูชา มาเลเซีย และลาว (อัตราภาษีนำเข้า 5%) จึงถือเป็นโอกาสทองของผลไม้ไทยที่ได้รับสิทธิประโยชน์ภายใต้เอฟทีเอ จะขยายการส่งออกผลไม้ต่างๆ ของไทยไปยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น ควบคู่กับการรักษามาตรฐานสินค้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งสร้างเอกลักษณ์ด้วยการพัฒนาสร้างตราสินค้า เพื่อผลักดันให้ผลไม้ไทยครองใจผู้บริโภค”

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2020/25924

“BCG” แพลนซื้อกิจการโซลาร์ฟาร์มในเวียดนาม

บมจ.บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส (BGC) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายบรรจุภัณฑ์แก้วที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ได้ประกาศว่ากำลังอยู่ในช่วงเจรจากับนักลงทุนชาวเวียดนาม เพื่อซื้อโซลาร์ฟาร์มที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านบาท (32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) บริษัทฯ คาดว่าจะได้ข้อสรุปในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ด้วยจำนวนอย่างน้อย 2 โซลาร์ฟาร์ม โดยมีกำลังผลิตรวมระหว่าง 50-100 เมกะวัตต์ และงบประมาณรวมอยู่ที่ประมาณ 1-2 พันล้านบาทสำหรับการซื้อเท่านั้น ทั้งนี้ คุณศิลปรัตน์ วัฒนเกษตร กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่าบริษัทมีแผนที่จะกระจายธุรกิจให้กว้างขวางมากขึ้นและยังคงลงทุนในด้านพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ลมและทรัพยากรน้ำ อีกทั้ง ทางบริษัทฯ มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจพลังงานทดแทนในเวียดนาม ญี่ปุ่นและไต้หวัน ที่มีศักยภาพสูงทางด้านพลังงานหมุนเวียดนามในแผนระดับชาติของกลุ่มประเทศดังกล่าว ประกอบกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/bg-container-glass-of-thailand-plans-to-purchase-local-solar-farms-415882.vov

“ปิโตรเวียดฯ” เผยผลผลิตน้ำมันและก๊าซเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ ช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้

ปิโตรเวียดนามสำรวจและผลิต (PVEP) รายงานว่าปริมาณการผลิตน้ำมันอยู่ที่ 2.01 ล้านตัน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ซึ่งสูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ร้อยละ 4 และบรรลุไปแล้วกว่าร้อยละ 53 ของเป้าหมายตลอดทั้งปี หากจำแนก ชี้ให้เห็นว่าผลผลิตน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 1.42 ล้านตัน และ 598 ล้านลูกบาศก์เมตร ขยายตัวสูงกว่าที่ตั้งเป้าไว้ที่ 4%, 1% ตามลำดับ ทั้งนี้ คุณ Tran Quoc Viet ประธานและผู้บริหารระดับสูงของปิโตรเวียดนาม กล่าวว่าถึงแม้ผลผลิตจะอยู่ในระดับสูงก็ตาม แต่ราคาน้ำมันโลกอยู่ในช่วงขาลง รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ทำให้บริษัทไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายทางการเงินได้ในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ปิโตรเวียดนามจะปรับตัวในการลดต้นทุน ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพและนำเทคโนโลยีมาใข้ในกระบวนการผลิต

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pveps-oil-gas-output-surpasses-sixmonth-target/178275.vnp

โรงแรม ร้านอาหารในเมียนมาประสบปัญหาการระบาดของ COVID-19

โรงแรมในประเทศประมาณ 60% ได้เปิดให้บริการอีกครั้ง แต่ธุรกิจยังคงซบเซาเนื่องจากข้อจำกัดและการระบาดของ COVID-19 เช่นเดียวกับร้านอาหารซึ่งเปิดใหม่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม รายได้ลดลงมากถึง 50% ก่อนเกิดโรคระบาดเนื่องจากผู้คนยังคงระมัดระวังการไปในสถานที่สาธารณะ โรงแรมและโมเต็ลจำนวน 1,200 แห่งในประเทศได้เปิดให้บริการอีกครั้งและอีก 810 แห่งได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตให้เปิดใหม่ได้อีก ซึ่งโรงแรมประมาณ 400 แห่งยังคงเปิดให้บริการในช่วงที่มีการจำกัด COVID-19 และทำหน้าที่เป็นสถานกักกันสำหรับชาวเมียนมาที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหรือชาวต่างชาติที่มาทำธุรกิจที่นี่ U Nay Lin ประธานของสมาคมกล่าวว่าร้านอาหารดำเนินงานด้วยคนงานเพียง 70 คนเนื่องจากการตกต่ำ ซึ่งยอดขายไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่สร้างรายได้ไม่ถึง 50% เมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ขณะที่ร้านอาหารกำลังมีการส่งอาหารแบบออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขาย กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวได้นำเสนอแผนบรรเทาการท่องเที่ยว COVID-19 ซึ่งจะรวมถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว แผนดังกล่าวรวมถึงคำแนะนำด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับผู้เข้าชมในอัตราลดพิเศษสำหรับสถานที่ปลอด COVID-19 และทางเลือกการชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักเดินทาง เมียนมาจะส่งเสริมการท่องเที่ยวในตลาดต่างประเทศตั้งแต่เดือนหน้าจนถึงเดือนมกราคม 2564 มีผู้เดินทางมาเยือนเมียนมาลดลง 44% จากเดือนมกราคมถึงเมษายน ในปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 23% เป็น 4.36 ล้านคนเพิ่มขึ้นจาก 3.55 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ชาวจีนคิดเป็นสัดส่วนเกือบหนึ่งในสามของนักท่องเที่ยวในปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 152% จากปีที่แล้ว การท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วน 6.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศทำรายได้ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 และแรงงาน1.4 ล้านคน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/hotels-restaurants-myanmar-suffer-pandemic-lingers.html

กลยุทธ์ Belt and Road ของจีนและสปป.ลาว

แม้จะมีการระบาดของ Covid-19 เกือบทั่วโลก แต่จีนยังคงผลักดันโครงการ Belt and Road (BRI) อย่างต่อเนื่อง สปป.ลาวถือเป็นประเทศที่จีนให้การช่วยเหลือที่สำคัญของจีนตามกลยุทธ์ BRI เพื่อเป็นการตอบแทนรัฐบาลจีนพวกเขามีความต้องการพื้นฐาน 3 ประการคือการสนับสนุนนโยบายจีนในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการลงทุนจีนเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในสปป.ลาวมีโครงการขนาดใหญ่ต่างๆที่จีนไม่ว่าจะเป็นพลังงานน้ำการเกษตรการทำเหมืองและการก่อสร้าง การก่อสร้างทางรถไฟที่มีแผนจะเสร็จสิ้นโครงการในเดือนธันวาคม 2564 เส้นทางรถไฟยาว 414 กิโลเมตรทอดตัวจากเขตเหนือสุดของประเทศลาว Boten ติดกับประเทศจีนสู่เมืองหลวงเวียงจันทน์ อีกหนึ่งโครงการสำคัญของ BRI ที่รัฐบาลลาวเข้าร่วมคือการก่อสร้างเขื่อนที่ใหญ่ที่สุดลำดับที่เจ็ดในแม่น้ำโขง เขื่อนไซยะบุรีและดอนสะโฮงที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันจะถูกรวมเข้ากับเขื่อน Sanakham 684 เมกะวัตต์พร้อมวันที่โครงการจะแล้วเสร็จในปี 2571 กลยุทธ์ BRI จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจของสปป.ลาวให้สามารถเติบโตไปไดในสถานการณ์ที่เลวร้ายในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.thestatesman.com/opinion/chinas-bri-strategy-laos-1502897886.html

สปป.ลาวตรวจสอบมาตรฐานคุณภาพของหน้ากากอนามัยที่โรงงานในท้องถิ่น

รองนายกรัฐมนตรีดร.สอนไซ สีพันดอน ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนได้ตรวจสอบโรงงานผลิตหน้ากาก 2 แห่งในนครหลวงเวียงจันทน์ โดยขอความร่วมมือในการรักษามาตรฐานการผลิตและปฏิบัติตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้เยี่ยมชมโรงงานผลิตหน้ากากในหมู่บ้านดงนาทอง เมืองศรีโคตรบอง และได้รับบทสรุปในการดำเนินงานของโรงงานและขั้นตอนการผลิต ทั้งนี้ยังสนับสนุนให้ทั้ง 2 โรงงานมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงระบบการผลิตและทำให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เป็นไปตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนสามารถมีหน้ากากอนามัยในราคาไม่แพงและเชื่อถือได้ โรงงานที่ 1 ถูกสร้างขึ้นเมื่อต้นปีนี้และใช้อุปกรณ์การผลิตล่าสุดจากประเทศจีน ปัจจุบันโรงงานแห่งนี้อยู่ระหว่างการทดลองผลิต พนักงาน 8 คน สามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้มากถึง 400,000 หน้ากากต่อวัน โรงงานแห่งนี้มุ่งเน้นไปที่การจัดส่งทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศและกำลังรอใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข โรงงานแห่งที่ 2 ได้ติดตั้งเครื่องจักรที่ทันสมัยจากประเทศไทยและกำลังดำเนินการทดลองผลิตและคาดว่าจะเปิดตัวภายใต้แบรนด์ NNUP ในปลายเดือนนี้ โรงงานสามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้ 80 ชิ้นต่อ 1 นาทีและคาดว่าจะขาย 30%ในสปป.ลาวและ 70% สำหรับการส่งออก

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_DPM_132.php