บริษัทบำบัดน้ำในกัมพูชาคาดว่าจะมีรายรับเพิ่มขึ้นหลังจากขาดทุนในปีที่แล้ว

ยูทิลิตี้บริษัทที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ ดำเนินการด้านการประปาของพนมเปญ (PWSA) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัมพูชา (CSX) โดยมีเป้าหมายที่จะรวบรวมรายได้ให้เพิ่มสูงขึ้นในปี 2563 หลังจากรายได้รวมลดลงอย่างมากในปีที่แล้ว ซึ่งในปี 2562 รายรับของ PWSA ลดลงมากกว่าร้อยละ 18 สู่ระดับ 52.79 ล้านดอลลาร์จาก 64.65 ล้านดอลลาร์ในปี 2561 ตามรายงานทางการเงินที่ยื่นต่อ CSX โดยรายงานแสดงให้เห็นว่ากำไรจากการดำเนินงานลดลงร้อยละ 45.22 มาอยู่ที่ 12.67 ล้านดอลลาร์ จากกว่า 23.13 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่กำไรสุทธิลดลงร้อยละ 54.77 สู่ 8.12 ล้านดอลลาร์ จาก 17.96 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามบริษัทตั้งเป้ารายได้ไว้ที่ 79.83 ล้านดอลลาร์ ในปี 2563 โดยคาดว่าจะมีกำไรสุทธิมากกว่า 24.60 ล้านดอลลาร์ โดยในปี 2562 บริษัท ได้ผลิตน้ำสะอาด 221,656,505 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งถือเป็นแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ตั้งเป้าหมายการให้บริการน้ำประปาให้ครอบคลุม 100% ในเขตใจกลางเมืองภายในปี 2568 จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมชาวกัมพูชา 4.9 ล้านคน เข้าถึงการเชื่อมต่อกับน้ำสะอาดแล้วคิดเป็นร้อยละ 80 ของครัวเรือนในเขตเมือง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739594/water-company-expects-big-revenue-rise-after-2019-loss/

บริษัทจากญี่ปุ่นเกือบ 90 แห่ง ในกัมพูชากำลังได้รับผลกระทบจาก Covid-19

ประธานสมาคมธุรกิจญี่ปุ่นแห่งกัมพูชา (JBAC) กล่าวว่าธุรกิจของญี่ปุ่นที่ดำเนินกิจกรรมในกัมพูชาประมาณ 87 แห่ง กำลังได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ได้ขอความช่วยเหลือและความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่าผลกระทบของ COVID-19 ส่งผลกระทบทั่วโลกไม่จำกัดเฉพาะประเทศกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ออกมาตรการและนโยบายอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวก ต่อด้านธุรกิจและสภาพแวดล้อมการลงทุนในประเทศกัมพูชา ซึ่งประธานเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) กล่าวว่าในการเปิดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 ว่าการเงินของบริษัทยังคงแข็งแกร่งทั้งในแง่ของผลกำไรและรายได้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยกล่าวว่าปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739617/nearly-90-japanese-firms-in-the-kingdom-hit-by-virus/

เวิลด์แบงก์ชี้จีดีพีไทยปี’63 หดตัวกว่า 5% คาดตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) เปิดเผยว่า ยอมรับเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากโควิด-19 โดยเวิลด์แบงก์คาดการณ์อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลในประเทศ (GDP) ปีนี้อาจหดตัวกว่า 5% และน่าจะใช้เวลามากกว่า 2 ปีกว่า ที่จะกลับสู่ระดับจีดีพีก่อนที่จะประสบปัญหาโควิด-19 การส่งออกคาดหดตัวประมาณ 6.3% ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงรายไตรมาสที่แรงที่สุดในรอบ 5 ปี เนื่องจากความต้องการสินค้าไทยในต่างประเทศยังคงอ่อนแอ จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะลดลง 3.2% เนื่องจากมาตรการห้ามการเดินทางและรายได้ที่ลดลง ซึ่งจำกัดการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยเฉพาะในไตรมาส 2/2563 ประกอบกับมีคนตกงานกระจายไปทั่ว และกระทบต่อครัวเรือนชนชั้นกลางไปถึงครัวเรือนที่ยากจน ภาคการท่องเที่ยวที่คิดเป็นสัดส่วน 15% ของจีดีพีได้รับผลกระทบอย่างมากจากการที่ไทยเกือบจะห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศตั้งแต่เดือนมี.ค. 2563 “ประมาณการว่าไทยจะมีคนตกงานและสูญเสียรายได้จากโควิด-19 กว่า 8.3 ล้านคน ทำให้งานมากมายโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวและภาคบริการมีความเสี่ยง ซึ่งจากรายงานยังพบอีกว่าจำนวนผู้ที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือผู้ที่มีรายได้ต่อวันต่ำกว่า 5.5 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ (ตามภาวะเสมอภาคของอำนาจซื้อ) จะสูงขึ้นกว่าหนึ่งเท่าตัวจาก 4.7 ล้านคนในไตรมาสแรกเป็น 9.7 ล้านคนในไตรมาส 2/2563 โดยเฉพาะ สัดส่วนของคนที่ไม่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจในกลุ่มครัวเรือนชนชั้นกลางในภาคการผลิตและภาคบริการจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว จาก 6% เป็น 20%”

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4412170

เวียดนามส่งออกสายเคเบิล สายไฟฟ้า พุ่ง 33.7 ในช่วง 5 เดือนแรก

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MOIT) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกสายเคเบิลและสายไฟฟ้า 903.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ประเทศจีนเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการนำเข้าประมาณ 261 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 55.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.9 ของยอดส่งออกทั้งหมดของเวียดนาม รองลงมาสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดส่งออกไปยังตลาดฮ่องกง  สปป.ลาวและสหราชอาณาจักรที่มีการเติบโตสูงขึ้น ร้อยละ 78.9, 72.1 และ 61.5 ตามลำดับ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/electric-wire-cable-export-surges-337-percent-in-five-months/177735.vnp

เวียดนามเผยช่วงครึ่งปีแรก ดัชนี CPI ทำสถิติสูงสุด 5 ปีที่ผ่านมา

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ถือว่าสูงสุดตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนที่แล้ว เป็นผลมาจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันและเนื้อสุกร อย่างไรก็ตาม ดัชนี CPI เดือนมิ.ย. ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.59 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. ซึ่งต่ำที่สุดในช่วงปี 2559-2563 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสองของปีนี้ ดัชนี CPI ลดลงร้อยละ 1.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 1.71 เมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย. เหตุจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีน

ที่มา : http://dtinews.vn/en/news/018/68638/cpi-records-five-year-high-in-h1.html

ธนาคารในเมียนมาเปิดตัวบัตรเดบิต เครดิตเพื่อผลักดันการใช้เงินสด

ธนาคารประชาชนแห่งเมียนมา (MCB) เตรียมให้บริการบัตรเดบิตโดยร่วมกับสหภาพพม่า Payment Union (MPU) และผู้ให้บริการชำระเงินจากญี่ปุ่นอย่าง JCB ธนาคารประกาศในช่วงสุดสัปดาห์ การร่วมมือกันครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้บัตรอสามารถเข้าถึงเครือข่ายการค้าของ MPU ทั่วประเทศและถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม MCB, ตู้เอทีเอ็มอื่น ๆ ที่รองรับบัตร MPU / JCB และ ATM ที่รองรับบัตร JCB ในประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการชำระเงินผ่านเครื่อง ณ จุดขาย (POS) ที่เคาน์เตอร์ขายในประเทศและต่างประเทศรวมถึงชำระเงินและเติมเงินออนไลน์ได้ สัปดาห์นี้หลังจากที่ Yoma Bank จับมือกับ Mastercard จะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายการให้บริการทางดิจิทัลและความความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลของเมียนมา รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการพัฒนาและใช้ผลิตภัณฑ์การชำระเงินแบบไร้เงินสดและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อผลักดันการเติบโตและการรับมือกับการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-local-banks-launch-debit-credit-cards-drive-cashless-push.html

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมสนับสนุนแรงงานสปป.ลาวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค Covid-19

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ปฏิญาณว่าจะรักษาผลประโยชน์และสิทธิของแรงงานสปป.ลาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยเหลือผู้ที่ถูกปลดออกหรือหยุดงานชั่วคราวในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาคนงานได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น เนื่องจากคนส่วนใหญ่ได้รับความคุ้มครองจากระบบประกันสังคม อย่างไรก็ตามการระบาดใหญ่ของโลกได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและคนงาน ส่วนใหญ่ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิประโยชน์การว่างงานไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียตำแหน่งงานชั่วคราวหรือถาวร  โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทั่วประเทศทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่นในการให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับจำนวนคนที่ต้องการความช่วยเหลือ กระทรวงยังทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงสมาชิกของระบบประกันสังคมผ่านกลไกความร่วมมือการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการส่งเสริมโครงการแรงงาน กระทรวงได้สั่งให้เจ้าหน้าที่แรงงานในทุกแขวงให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนผู้ว่างงานในปัจจุบัน รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานที่มีอยู่ในแต่ละแขวง โดยกระทรวงจะจัดให้มีโครงการสนับสนุนสำหรับผู้ที่ต้องการทำงานบนพื้นฐานอิสระหรือเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระเช่นเดียวกับผู้ที่หวังจะหางานเพิ่มในประเทศอื่นเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น กระทรวงได้ร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงกับสถานการณ์ Covid-19 ในแต่ละประเทศ นอกจากนี้ยังคงส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่สูงการเข้าถึงโอกาสที่เป็นธรรมสำหรับทุกคนและส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของเด็กผู้สูงอายุและผู้ทุพพลภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry124.php

รัฐบาลสปป.ลาวพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตร

รัฐบาลจะพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตรไว้ที่ 2.3-2.5% ในปีนี้เพื่อรับมือกับความท้าทายของภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญในปีนี้ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ซึ่งการคาดการณ์ผลิตทางการเกษตรอาจหดตัวลงร้อยละ 0.4 Dr. Lien Thikeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้รายงานเศรษฐกิจภาคเกษตรในที่ประชุมสมัยที่ 9 ของรัฐสภาครั้งที่ 8 ของรัฐสภา (NA) “การผลิตพืชควรถึง 1.8 ล้านตันในปีนี้ โดยผลผลิตผลไม้ 1.3 ล้านตัน เผือก 300,000 ตัน กาแฟ 160,000 ตัน ข้าวโพดหวาน 1 ล้านตัน มันสำปะหลัง 3.3 ล้านตันและอ้อยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.5 ล้านตัน ปศุสัตว์ควรขยายตัวร้อยละ 6 การเลี้ยงปลาขยายตัวร้อยละ 10” ในเชิงพาณิชย์ของการเกษตรและการป่าไม้รัฐบาลจะสนับสนุนการส่งออกดดยตั้งเป้าหมายที่มากกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ Dr. Lien Thikeoสนับสนุนแนวคิดการเกษตรที่สะอาดเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้และการจ้างงานของเกษตรกรซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt124.php

สหรัฐฯมอบเงินสนับสนุน 56 ล้านดอลลาร์แก่กัมพูชา

รัฐบาลสหรัฐฯได้มอบเงินสนับสนุนโครงการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2563 จำนวน 56 ล้านดอลลาร์ รวมถึงเพื่อส่งเสริมภาคเกษตรกรรมในกัมพูชาอีก 18 ล้านดอลลาร์ ตามแถลงการณ์รัฐบาลกัมพูชาผ่านสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) และรัฐบาลสหรัฐฯผ่านองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ได้ลงนามในข้อตกลงการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อจัดหาโครงการด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดยรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชากล่าวว่าข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของทั้งสองประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือ ซึ่งความร่วมมือด้านการพัฒนาทวิภาคีอย่างต่อเนื่องนี้เป็นเสาหลักที่สำคัญในการส่งเสริมและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศ โดยในความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง USAID จะให้ทุนแก่โครงการต่างๆเพื่อช่วยลดจำนวนคนยากไร้ และเพิ่มการผลิตพืชผลที่สำคัญและปรับปรุงโภชนาการให้กับชุมชนในชนบท ซึ่งในภาคการศึกษากระทรวงศึกษาธิการเยาวชนและการกีฬาและโปรแกรม USAID จะสนับสนุนความพยายามในการปรับปรุงความเข้าใจในการอ่านในหมู่เด็กๆ เพื่อลดอัตราการออกกลางคันและจัดหาชาวกัมพูชาให้เข้ามาทำงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50738964/us-gives-56-mln-to-support-kingdom/

การเติบโตของเขตเศรษฐกิจพิเศษในกัมพูชากำลังเผชิญกับอุปสรรค

ประธานเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) แถลงในการเปิดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2563 เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สำหรับปี 2562 การเงินของบริษัทยังคงแข็งแกร่งทั้งในแง่ของกำไรและรายได้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยมองว่าปีนี้จะเป็นปีที่ท้าทายสำหรับบริษัท จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกบริษัททั่วโลก ซึ่งคาดว่าหลังจากการระบาดของ COVID-19 รวมถึงความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่อาจจะส่งผลให้มีการเปลี่ยนสายการผลิตย้ายมายังกัมพูชาเร็วขึ้น รายงานแสดงให้เห็นว่าปริมาณการส่งออกจาก PPSEZ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.9 ในช่วง 4 ปีจากปี 2016 – 2019 รวม 316 ล้านดอลลาร์สู่ 518 ล้านดอลลาร์ บริษัท ซึ่ง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 สินทรัพย์รวมของ PPSP มากกว่า 94 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.14 ในขณะที่ส่วนทุนมีมากกว่า 59 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.60 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50739183/after-massive-growth-special-economic-zone-will-face-hurdles/