สถานการณ์ในช่วงระบาด Covid-19 ของผู้ให้บริการโลจิสติกส์ในกัมพูชา

สมาคมโลจิสติกส์ของกัมพูชา (CLA) ได้แสดงถึงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการขนส่งอันเนื่องมาจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งประธานสมาคมโลจิสติกส์กัมพูชากล่าวว่าการระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกประเภท โดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทั่วโลกที่ได้รับผลกระทบต่อภาคอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่ง CLA กำลังขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากรัฐบาลและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาในช่วงสถานการณ์ที่ยากลำบาก จากข้อมูลของพนักงาน บริษัท โลจิสติกส์และการขนส่งหลายร้อยคนในกัมพูชากำลังตกงานและจะปิดการดำเนินงาน รวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจในเร็วๆนี้ หากสถานการณ์ดังกล่าวไม่มีทางออก รวมถึงบริษัทขนส่งเองมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับมาสก์, ถุงมือและแอลกอฮอล์เจล เพื่อปกป้องพนักงานของพวกเขาจากการติดเชื้อจากไวรัส COVID-19 และบางส่วนมีผลกระทบต่อธุรกิจของพวกเขาเนื่องจากไม่มีผู้รับบริการ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50716985/logistics-providers-in-cambodia-face-bankruptcy-because-of-covid-19/

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกัมพูชายังคงดำเนินการต่อไป

สภาเพื่อการพัฒนาแห่งกัมพูชา (CDC) ไฟเขียวให้กับโครงการลงทุนใหม่สองโครงการด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการแถลงข่าวของสภาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาคาดว่าโครงการใหม่ที่ได้รับอนุมัติจะสร้างงาน 525 ตำแหน่งให้กับคนในท้องถิ่น โดยโครงการทั้งสองนี้ครอบคลุมการผลิตวงกบประตูหน้าต่างไม้อัดและอาหารสัตว์เลี้ยง รวมถึงวัสดุต่าง ๆ ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นของ บริษัท เมาน์เท่นมูนมิลเวิร์ค จำกัด และ บริษัท โลดี้เพ็ทโปรดักส์ (กัมพูชา) จำกัด ในจังหวัดพระสีหนุ โดยการลงทุนดังกล่าวท่ามกลางการระบาดของ COVID-19 แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในด้านเศรษฐกิจมหภาค การเมืองและเสถียรภาพทางสังคมของกัมพูชาแม้ถูกคุกคามจากการระบาดใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดความแตกต่างที่นอกเหนือจากการลงทุนในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย รองเท้าหรือกระเป๋าเดินทาง ที่ยังคงดำเนินต่อไปแม้จะมีความท้าทายในอุตสาหกรรมโดยรวมก็ตาม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50717014/fdi-into-cambodia-keeps-rolling-in-with-another-3-6-million-worth-of-projects-licensed/

รัฐบาลจีนขยายเวลาการช่วยเหลือด้านสาธารณสุขแก่สปป.ลาว

ในช่วงตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมสปป.ลาวเริ่มมีการระบาดของไวรัส COVID-19 ด้วยระบบสาธารณสุขของสปป.ลาวที่อาจยังไม่มีประสิทธิภาพพอที่จะรับมือกับกับการะบาดของโรคดังกล่าวทำให้ประเทศพันธมิตรที่สำคัญอย่างจีนได้ส่งความช่วยเหลือในด้านบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมอและพยาบาลรวมถึงเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ไม่ว่าจะเป็น หน้ากากอนามัย แว่นตาป้องกัน ชุดป้องกันเชื้อโรค รวมถึงเครื่อมือทางการแพทย์ต่างๆ ซึ่งหน้าที่หลักๆของทางการจีนคือการให้ความรู้และวางระบบการป้องกันไวรัส COVID-19 อย่างมีประสิทธิภาพทั้งระบบการคัดกรอง มาตราการป้องกันผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นต้น อย่างไรก็ตามกรอบระยะเวลาการช่วยเหลือจะสิ้นสุดลงในวันที่ 24 ที่ผ่านมาแต่ด้วยความสัมพันธ์ที่ดีและเพื่อการช่วยเหลือได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพทำให้รัฐบาลจีนขยายเวลาการสนับสนุนทางแพทย์แก่สปป.ลาวต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Chinese_78n.php

ADB คาดเศรษฐกิจเมียนมาฟื้นตัวเร็วสุดปีหน้าหากหยุดการระบาดของ COVID-19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ชี้เศรษฐกิจเมียนมาจะชะลอตัวลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 4.2% ในปีนี้ภายใต้วิกฤต COVID-19 แต่อาจฟื้นตัวเป็น 6.8% ในปี 2564 หากไวรัสถูกกำจัดอย่างรวดเร็ว ADB คาดการณ์การเติบโต GDP ของเมียนมาในปี 63 สูงที่สุดเป็นอันดับสองในอาเซียนรองจากเวียดนามที่คาดว่าจะโตที่ 4.8% รายงานระบุว่าแม้ว่าการผลิตภาคเกษตรจะขยายตัว แต่อุปสงค์จากต่างประเทศและในประเทศก็เพิ่มขึ้นสำหรับราคาอาหารบางรายการแม้จะมีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อคาดลดลงเล็กน้อยที่ 7.5% ในปี 63 และ 64 ในขณะที่ GDP ต่อหัวคาดว่าจะอยู่ที่ 3.3% ในปี 2563 และ 5.9% ในปี 2564

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-growth-rebound-next-year-if-virus-confined-quickly-adb.html

ยูซาน่าพลาซ่าพร้อมเปิดอีกครั้งหลัง 30 เมษายน

การตัดสินใจทำขึ้นหลังจากมีการหารือกันระหว่างสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและคณะกรรมการของ Yuzana Plaza จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 24 เมษายน แต่ผู้บริโภคและผู้เช่าแผงร้านค้าไม่เห็นด้วยเพราะอยู่ในช่วงการจากแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ในขณะนี้ คณะกรรมการบริหารมิงกาลาร์ ตองนันต์ สั่งให้ศูนย์การค้าทุกแห่งในเมืองปิดทำการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคมถึง 18 เมษายนและตอนนี้ได้ขยายไปถึง 30 เมษายน 2563

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yuzana-plaza-plans-to-reopen-after-april-30

ททท.ชี้อีก 5 เดือนฟื้นแน่ “จีน” เริ่มส่งสัญญาณบวก

ททท.รับโควิด-19 “มหาวิกฤต” คาดอีก 5 เดือนอุตฯ ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว ชี้ “จีน”ส่งสัญญาณบวกแล้ว ยื่นขอกลับบินเข้าไทยอีกครั้ง พร้อมเร่งโมเดลซ่อมสร้างปลุกท่องเที่ยวภายในประเทศ ย้ำ ททท.ทำงานเต็มที่ ไม่ทิ้งผู้ประกอบการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประเมินว่า สำหรับประเทศไทยนั้นคาดว่าจะใช้เวลาฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างน้อยอีกประมาณ 5 เดือนนับจากนี้เป็นต้นไป ตอนนี้มีข่าวดีจาก 5 สำนักงานของ ททท.ในจีนที่ได้รับรายงานว่า มีสายการบินในจีนเริ่มติดต่อขอบินกลับเข้าประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยเชื่อว่าหลังจากนี้การต้อนรับนักท่องเที่ยวก็จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัยและสุขภาพของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น  ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่มีผู้ได้รับผลกระทบมาก แต่ ททท.จะช่วยอย่างเต็มที่ เริ่มจากการช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และย่อย และเป็นผู้ประสานงานเพื่อดูแลให้ผู้ประกอบการเข้าถึงมาตรการเยียวยาของรัฐได้ต่อไป โดยส่วนของ ททท.เองก็ได้ทำการปรับแนวทางการทำงานใหม่ตามแนวทางการบริหารงานของรัฐบาล โดยโฟกัสใน3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่ 1.ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบตั้งแต่ผู้ประกอบการกลุ่มเปราะบางในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่ยังตกค้างอยู่ 2.เตรียมความพร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ และ 3.สนับสนุนรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา: https://www.prachachat.net/tourism/news-455435

เวียดนามส่งออกข้าวเพิ่ม 38,000 ตัน

จากข้อมูลของสำนักงานศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าส่วนบริการศุลกากรออนไลน์เพิ่มรายการส่งออกข้าวเพิ่มอีก 38,000 ตัน ในวันที่ 26 เม.ย. โดยปริมาณข้าวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโควตาส่งออกข้าวสำหรับเดือนเม.ย. 400,000 ตัน, เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา รัฐบาลเวียดนามจำกัดการส่งออกข้าวปริมาณ 800,000 ตัน ในเดือนเม.ย.และพ.ค. เพื่อให้แน่ใจว่าผลผลิตในประเทศจะเพียงพอ ท่ามกลางความต้องการสูงขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ ปริมาณดังกล่าวลดลงร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.และ พ.ค. ในขณะเดียวกัน ปริมาณสำรองข้าวแห่งชาติเพิ่มขึ้นจาก 300,000 ตัน อยู่ที่ 700,000 ตัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/additional-38000-tonnes-of-rice-to-be-exported/172355.vnp

เวียดนามส่งออกลิ้นจี่ชุดแรกไปยังญี่ปุ่น ในสิ้นเดือนพ.ค.

นายเหงียน ซวน กวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม เมื่อวันที่ 26 เม.ย. เดินทางไปยังจังหวัดทางตอนเหนือ ‘บั๊กซาง’ เพื่อเตรียมส่งออก หน่วยงานท้องถิ่นกล่าวว่าทางจังหวัดได้ร่วมมือกับสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช ในการเลือกรหัสพื้นที่ 19 ด้วยขนาด 103 เฮกตาร์และผลผลิตประมาณ 600 ตัน รวมถึงขอให้ทางญี่ปุ่นอนุมัติรหัสดังกล่าว ซึ่งประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัด ระบุเสริมว่าทางจังหวัดพร้อมที่จะส่งออกผลไม้คุณภาพสูงและธุรกิจท้องถิ่นได้ทำสัญญาส่งออกไปยังญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในปี 2563 จังหวัดบั๊กซางมีพื้นที่เพาะปลูกลิ้นจี่ 28,000 เฮกตาร์ รวมถึงพื้นที่เก็บเกี่ยวมากกว่า 160,000 เฮกตาร์ เพิ่มขึ้น 10,000 ตัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ในขณะเดียวกัน พื้นที่ผลิตลิ้นจี่ตรงตามมาตรฐานฉลากสีเขียว ‘VietGAP’ ด้วยพื้นที่ประมาณ 15,000 เฮกตาร์และผลผลิต 110,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53 และ 69 ของรวม ตามลำดับ อีกทั้ง มีพื้นที่เพาะปลูก 80 เฮกตาร์ ภายใต้มาตรฐาน ‘GlobalGAP’ ด้วยผลผลิตประมาณ 500 ตัน เพื่อเตรียมส่งออกไปยังตลาดระดับสูง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-to-export-first-batch-of-litchi-to-japan-in-late-may/172368.vnp

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่นแถลงการณ์สู้โควิด-19

อาเซียนจับมือญี่ปุ่นออกถ้อยแถลงร่วมด้านเศรษฐกิจ รับมือวิกฤตโควิด-19  เน้นบรรเทาผลกระทบและเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ พร้อมจัดหาวัตถุดิบและสินค้าส่งออกตลาดโลก  นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและญี่ปุ่นได้ออกถ้อยแถลงร่วม “ข้อริเริ่มด้านความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19” โดยมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ  1.รักษาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอันใกล้ชิดระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น และรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19  2. ร่วมมือกันบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19 และ 3. เสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ โดยได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของทั้งสองฝ่ายร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อให้ข้อริเริ่มดังกล่าวเป็นรูปธรรมโดยเร็ว อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการรักษาตลาดที่เปิดกว้าง และส่งเสริมให้เกิดห่วงโซ่อุปทานที่ยืดหยุ่น ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก โดยอาเซียนและญี่ปุ่นในฐานะผู้ผลิตหลักของห่วงโซ่อุปทานโลกจะพยายามอย่างเต็มที่ในการจัดหาวัตถุดิบและสินค้าต่างๆ ส่งออกสู่ตลาดโลก เพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด รวมถึงไม่สร้างอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายสินค้าที่จำเป็น เช่น อาหาร สินค้าโภคภัณฑ์ ยา อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น ตลอดจนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจ เพื่อเอื้อให้ภูมิภาคนี้เป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนของโลก รวมทั้งช่วยเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/877536?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic