เวียดนามคาดไตรมาสแรก ยอดส่งออกกุ้งพุ่งไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมกุ้งเวียดนามในตลาดสำคัญสดใส ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ โดนเฉพาะตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าอยู่ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) กล่าวว่า ญี่ปุ่นติด 5 อันดับแรกของตลาดส่งออกกุ้งรายใหญ่ของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 ของมูลค่าส่งออกกุ้งรวม หลังจากในเดือนก.พ. ส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวพุ่งขึ้นร้อยละ 63 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ขยับขึ้นเป็นตลาดส่งออกกุ้งอันดับ 2 ของเวียดนามในไตรมาสแรก เนื่องจากมีความต้องการอาหารจำเป็นเพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมถึงกุ้งด้วย ท่ามกลางการแพร่ระบาดไวรัส ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่า 115.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน นับว่าเป็นการขยายตัวสูงที่สุดในบรรดาตลาดส่งออกสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกอื่นๆ กลับมีมูลค่าลดลง ได้แก่ สหภาพยุโรป เกาหลีใต้และจีน เป็นต้น ถึงแม้ว่าไม่ทราบความชัดเจนเมื่อไรการระบาดจะสิ้นสุดลง แต่ความต้องการกุ้งทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-sees-high-shrimp-export-growth-to-us-and-japan-in-q1/172232.vnp

ฮอนด้าเวียดนามเตรียมกลับมาผลิตรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จากวันที่ 23 เม.ย.

อนด้าเวียดนามออกมาประกาศว่าจะกลับมาผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ จากวันที่ 23 เมษายนหลังจากระงับการดำเนินการมาแล้ว 22 วัน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งการกลับมาดำเนินงานต่อนั้น เนื่องมาจากเวียดนามสามารถควบคุมการระบาดได้ ด้วยไม่มีผู้ผู้ติดเชื้อรายใหม่มาแล้ว 6 วันที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ บริษัทได้ออกมาประกาศถึง 2 ครั้ง ในการระงับการผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ตั้งแต่วันที่ 1-15 เมษายน และครั้งที่ 2 วันที่ 15-22 เมษายน ถึงแม้ว่ายอดขายรถยนต์อยู่ที่ 1,968 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน สำหรับยอดขายรถจักรยานยนต์อยู่ที่ 157,984 คัน ลดลงร้อยละ 3 ทั้งนี้ ในเดือนนี้ ฮอนด้าเวียดนามส่งออกรถยนต์ 19,739 คัน ไปยังตลาดต่างๆ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/honda-vietnam-resumes-automobile-bike-production-from-april-23/172207.vnp

รัฐบาลเพิ่มการสำรองข้าวและน้ำมันปาล์มรับมือ COVID-19

รัฐบาลกำลังวางแผนที่จะเพิ่มปริมาณสำรองข้าวและน้ำมันปาล์มสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินในกรณีที่มีการระบาดของ COVID-19 กระทรวงพาณิชย์ประกาศในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายนว่าจะซื้อและกักตุนข้าว 50,000 ตันและน้ำมันปาล์ม 12,000 ตัน เพื่อสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-beef-rice-and-palm-oil-reserves.html

องค์กร UNFPA ช่วยเหลือประชาชนสปป. ลาวด้านสุขภาพจิต

สมาชิกของสหภาพสตรีลาว (LWU), ศูนย์เยาวชนเวียงจันทน์ (VYC) และสหภาพยุวชนลาว (LYU) ได้พบปะกันที่เวียงจันทน์เพื่อเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมออนไลน์เรื่องการช่วยเหลือทางจิตสังคมในช่วงการระบาดของโควิด -19 พวกเขาหารือเกี่ยวกับองค์ประกอบของ UNFPA สำหรับการสนับสนุนด้านจิตสังคมนอกจากนี้เพื่อบรรเทาผลกระทบของ Covid-19 UNFPA Laos ยังสนับสนุนด้านจิตสังคมที่เป็นส่วนช่วยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้สภาพจิตใจของประชาชนสปป.ลาวดีขึ้นถือเป็นส่วนหนึ่งการสนับสนุนระบบสาธารณะสุขอย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_National_77.php

สปป.ลาวยังคงมีความเสี่ยงการแพร่ระบาด COVID-19

ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของCOVID-19 ในสปป.ลาวจะมีแนวโน้มดีขึ้นหลังจากที่ไม่พบผู้ติดเชื้อติดต่อกัน 11  วันและยอดติดเชื้อก็ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศรอบๆ ที่มียอดติดเชื้อหลักพันสาเหตุที่ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดในสปป.ลาวไม่ได้หนักนั้นส่วนหนึ่งมาจากมาตราการการป้องกันของสปป.ลาวไม่ว่าจะเป็นการLockdown ในพื้นที่ต่างๆ  การให้ประชาชนกักตัวอยู่บ้านและห้ามมีกิจกรรมที่มีการรวมตัวกัน เป็นต้น นอกจากนี้องค์การอนามัยโลกซึ่งเป็นหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงสาธารณสุขของสปป.ลาวและได้ขอคำแนะนำและความช่วยเหลือแก่สปป.ลาวรวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์จากสมาชิกอาเซียน อย่างไรก็ตามสปป.ลาวยังคงมีความเสี่ยงที่จะกลับมาการแพร่ระบาดหนัก ดังนั้นสิ่งสำคัญสปป.ลาวควรเข้มงวดกับมาตราการต่างๆต่อไประยะหนึ่ง

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/covid-19-vulnerable-04222020202207.html

Maybank Cambodia ให้คำแนะนำลูกค้าฟรีแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19

Maybank Cambodia กำลังเพิ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินฟรีให้กับลูกค้าธุรกิจทั้งหมด โดยธนาคารมีสภาพคล่องที่แข็งแกร่งในประเทศกัมพูชาแม้ธุรกิจโดยภาพรวมจะได้รับผลกระทบจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดในกัมพูชา ในไตรมาสแรกของปี 2563 เมย์แบงก์มีอัตราการเติบโตเป็นบวกทั้งเงินฝากและสินเชื่อ โดยในปัจจุบันธนาคารได้รับผู้สมัครกว่า 200 รายที่กำลังมองหาการปรับโครงสร้างเงินกู้และขอชำระเงินต้นล่าช้า ซึ่งทางธนาคารได้ทำการรับประเมินลูกค้าทั้งหมด และพยายามที่จะดูว่าทางใดเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ที่ผ่านมา NBC ได้ออกคำสั่งไปยังธนาคารและสถาบันการเงินทั้งหมดเพื่อปรับโครงสร้างสินเชื่อเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและลดภาระของลูกหนี้ที่เผชิญกับรายได้หลักที่ลดลง ซึ่งอาจพบว่าเป็นการยากที่จะชำระคืนเงินกู้เนื่องจากการระบาดของ Covid-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50715986/maybank-offers-free-client-advice-to-covid-victims/

ลมแห่งการเปลี่ยนแปลงสำหรับภาคอุตสาหกรรมพลังงานของกัมพูชา

บริษัท พลังงานชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วางแผนที่จะสร้างฟาร์มกังหันลมแห่งแรกในกัมพูชา โดยThe Blue Circle บริษัทชาวสิงคโปร์กำลังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้า Electricite du Cambodge (EDC) ของรัฐเพื่อเจรจาข้อตกลงการซื้อไฟฟ้า (PPA) ในฟาร์ม ซึ่งจะตั้งอยู่บนภูเขา Bokor ในจังหวัดกำปอต ซึ่งกระบวนการนี้อาจใช้เวลาประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี จึงจะเสร็จสมบูรณ์ โดยค่า PPA อาจต่ำเพียง 7 เซ็นต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง วิกเตอร์โจนาผู้อำนวยการฝ่ายพลังงานของกระทรวงพลังงานกล่าว เมื่อมีการตกลงกันแล้วการก่อสร้างฟาร์มพลังงานสะอาดซึ่งจะมีกังหันลมอย่างน้อย 10 แห่ง สามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ 80 เมกะวัตต์ต่อปี โดยทั่วไปหนึ่งเมกะวัตต์สามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของบ้านได้ระหว่าง 225-300 ครัวเรือนต่อปี โดยการใช้พลังงานทั่วประเทศเมื่อปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 12 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงเพิ่มขึ้น 23% เมื่อปี 2561 ซึ่งจากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ประเทศกัมพูชามีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำถึง 10,000 เมกะวัตต์ (mW) ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมพลังงาน 8,100 mW และ 6,500 mW ตามลำดับ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50716028/winds-of-change-for-energy-industry/

ผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มเวียดนามชี้กระทบหนักพิษโควิด-19 หาทางรับมือกับวิกฤติไวรัส

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ภาคสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนามเผชิญกับอุปสรรคหลายด้าน เนื่องจากการยกเลิกคำสั่งซื้อและความล่าช้า แต่ผู้ผลิตบางรายได้ค้นหาแนวทางในการรับมือกับวิกฤติดังกล่าว โดยผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มในประเทศดิ้นร้นในการเสาะหาแหล่งวัตถุดิบจากที่อื่นๆ หลังจากเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของเวียดนามเข้าสู่การล็อกดาวน์ในช่วงปลายเดือนมกราคม แต่ในปัจจุบัน สิ่งต่างๆ เริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติในจีน และปัญหาใหญ่โตจากการแพร่ระบาดไปยังทั่วโลก ส่งผลให้เวียดนามมียอดคำสั่งซื้อจากตลาดสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกาและยุโรป ในขณะเดียวกัน ยอดส่งออกลดลงร้อยละ 9.07 เมื่อเทียบกับปีก่อนในไตรมาสแรก และนำเข้าร้อยละ 16.59 ทั้งนี้ จากข้อมูลของกลุ่มผู้ผลิตและส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแห่งชาติของเวียดนาม (VINATEX) กล่าวว่าผู้ซื้อจากสหรัฐฯและยุโรป ได้ระงับหรือยกเลิกคำสั่งซื้อตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม และคาดว่าการส่งออกอาจลดลงร้อยละ 33 คิดเป็นมูลค่า 33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563 ทั่วโลก รวมถึงยอดคำสั่งซื้ออาจดิ่งลงร้อยละ 29 ตลอดทั้งปี ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบด้านลบมากมาย แต่การระบาดของเชื้อดังกล่าว ส่งผลให้ผู้ผลิตท้องถิ่นได้รับโอกาสที่ดีจากความต้องการหน้ากากทางการแพทย์ที่เพิ่มขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pandemichit-garment-producers-find-way-to-weather-crisis/172166.vnp

เวียดนามเผชิญปัญหาขาดแคลนผัก ส่งผลราคาสูงขึ้น

ราคาผักปรับตัวสูงขึ้นในเมืองโฮจิมินห์ ส่งผลให้เกษตรกรลดการผลิตลง เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากภาวะน้ำเค็มรุกล้ำเข้าในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นายเฮียน พ่อค้าในตลาดแห่งหนึ่ง บริเวณเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่าในเดือนนี้ ราคาผักเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-10 ต่อวัน, ราคามะเขือเทศอยู่ที่ 1.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อกิโลกรัม, ผักชี 2.3 ดอลลาร์สหรัฐ และบร็อคโคลี่ 1.3 ดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น ซึ่งราคาดังกล่าว เพิ่มขึ้นร้อยละ 50-100 จากช่วงต้นเดือนนี้ ทั้งนี้ ผู้อำนวยการบริษัทแห่งหนึ่งที่ดำเนินการค้าเกษตรกรรม ระบุว่าจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้เกษตรกรกังวลว่าจะไม่มีความต้องการ ดังนั้น จึงไม่มีการหว่านเมล็ดพืช ในขณะเดียวกัน จังหวัดเตี่ยนซางอยู่ในสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง เกิดภาวะน้ำเค็มรุกล้ำทำให้เกษตรกรต้องซื้อน้ำจากจังหวัดอื่น ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและการระบาดของเชื้อดังกล่าวยังคงต่อเนื่อง ทำให้ราคาผักคาดว่ายังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/715646/vegetable-shortage-continue-to-push-prices-upward.html