ธนาคารกลางของกัมพูชาประกาศมาตรการกระตุ้นสินเชื่อภายในประเทศ

ธนาคารกลางกัมพูชาได้ประกาศมาตรการใหม่ 3 มาตรการ เพื่ออำนวยความสะดวกและกระตุ้นให้สถาบันการเงินมีสภาพคล่องที่แข็งแกร่งขึ้น โดยสนับสนุนให้สถาบันการเงินของประเทศดำเนินการให้กู้ยืมเงินกับภาคเอกชนต่อไปท่ามกลางการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งผู้อำนวยการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ได้บรรยายสรุปว่า NBC จะชะลอการดำเนินงานของ Capital Conservation Buffer (CCB) จนถึงปีหน้า, ลดอัตราดอกเบี้ยในการดำเนินงานด้านสภาพคล่อง (LPCO) และลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับหนังสือรับรองการฝากเงิน (NCD) เพื่ออำนวยความสะดวกด้านสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินรายย่อย รวมถึงกระตุ้นให้สถาบันการเงินดำเนินการให้สินเชื่อต่อไปได้ โดยก่อนหน้านี้ NBC ได้ขอให้สถาบันการเงินทุกแห่งรักษาอัตราส่วนเงินกองทุนไว้ที่ 50% อย่างไรก็ตามเมื่อเร็วๆนี้ NBC ได้ขอให้เพิ่มเป็น 100% ส่วนต่อมาคือการลดอัตราดอกเบี้ยของ LPCO จาก 3% เป็น 2.5% สำหรับสินเชื่อระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี สำหรับสินเชื่ออายุไม่เกิน 6 เดือนจาก 2.8% เป็น 2.3% และสำหรับสินเชื่ออายุไม่เกิน 3 เดือนจาก 2.6% เป็น 2.1% เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702862/the-central-bank-announces-measures-to-boost-lending/

สิงคโปร์เตรียมพร้อมจัดหาสินค้าอุปโภคบริโภคกรณีโควิด-19

รัฐมนตรีกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ กล่าวในการเยี่ยมชมศูนย์กระจายสินค้าของ NTUC Fariprice ย่าน Joo Koon เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2563 ว่า ชาวสิงคโปร์ต้องเตรียมใจให้พร้อมในการรับมือกับการป้องกันการแพร่ระบาย COVID-19 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการป้องกันที่เข้มงวดในหลายๆ เดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ต้องเตรียมใจให้พร้อมหากสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยยกตัวอย่างการแพร่ระบาดในเกาหลีใต้ รวมถึงสิงคโปร์ต้องปรับโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความมั่นคงและมีอุปทานที่เพียงพอในประเทศ เนื่องจากประเทศอื่น ๆ มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทุกวัน ๆ ส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของโลกเกิดภาวะชะงักตัวลง มีความจำเป็นต้องตรวจสอบสถานะสินค้าคงคลังและตรวจสอบสถานที่กระจายสินค้า โดยยกตัวอย่าง ในอดีตสิงคโปร์นำเข้าข้าวส่วนมากมาจากไทยหรือเวียดนาม แต่ในปัจจุบันสิงคโปร์นำเข้าข้าวมาจากญี่ปุ่นหรืออินเดียด้วยเช่นกัน เนื่องจากขณะนี้มีสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ด้วยเหตุนี้ ภาครัฐจะสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของจำนวนคู่ค้าของสิงคโปร์ โดยมองหาผู้ประกอบการรายใหม่ในประเทศที่ไกลออกไปเพื่อช่วยให้สิงคโปร์กระจายความเสี่ยงได้อย่างต่อเนื่อง หรือสินค้าในกลุ่มประเภทบะหมี่ต่าง ๆ ที่สิงคโปร์มีทั้งการนำเข้าและมีการผลิตในประเทศ ทำให้ไม่ต้องทำการกักตุนสินค้าประเภทนี้มากนัก อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกอย่างจะสามารถผลิตในสิงคโปร์ เนื่องจากข้อจำกัดด้านพื้นที่และกำลังคน แต่จะเพิ่มระดับความสามารถในการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะในรายการสินค้าสำคัญที่จำเป็นสำหรับช่วงเวลาที่ต้องการ

ที่มา : http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=9769&index

ลดค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมการจ่ายแบบไร้เงินสดท่ามกลางโควิด-19

องค์กรการรับชำระเงินแห่งชาติ (NAPAS) แถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา ระบุว่าค่าธรรมเนียมในการโอนเงินข้ามธนาคารจะปรับลดเป็นครั้งที่ 2 ในปีนี้ เพื่อส่งเสริมการชำระไร้เงินสด ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทางองค์กรข้างต้นจะปรับลดค่าธรรมเนียมอีกครึ่งหนึ่งจากในปัจจุบันอยู่ที่ 1,800 ด่ง เหลือ 900 ด่ง และการทำธุรกรรมทางการเงินรวมตั้งแต่ 500,001 ด่ง (21 ดอลลาร์สหรัฐ) จนมาอยู่ที่ 2 ล้านด่งต่อครั้ง ซึ่งเริ่มใช้ในวันที่ 25 มีนาคมจนถึงปลายเดือนธันวาคม ทั้งนี้ ธนาคารกลางเวียดนามได้เรียกร้องแก่ธนาคารพาณิชย์และสาขาที่อยู่ในต่างประเทศ ให้ปรับลดค่าธรรมเนียมจากการโอนเงินข้ามธนาคาร อยู่ในระดับน้อยกว่า 900 ด่งต่อครั้ง นอกจากนี้ การส่งเสริมชำระไร้เงินสดเป็น 1 ในมาตรการที่สำคัญในการขจัดอุปสรรคในการทำธุรกิจและการผลิต ท่ามกลางโควิด-19 โดยจากการสำรวจของ IDG Vietnam เปิดเผยว่าร้อยละ 79 ยังคงนิยมชำระผ่านเงินสดในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้ทางธนาคารกลางอนุมัติโครงการนำร่องที่เกี่ยวกับการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/further-fee-reductions-to-promote-cashless-payments-amid-covid19/170196.vnp

ธ.กลางเวียดนามลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อรับมือกับแรงกระแทกของวิกฤตโควิด-19

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) จะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจที่ได้รับผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจากการแถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ระบุว่าได้ปรับลดอัตรารีไฟแนนซ์อ้างอิงสู้ระดับร้อยละ 5-6 และอัตราส่วนลดอยู่ในระดับร้อยละ 3.4-4 ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยให้กู้ยืมข้ามคืนระหว่างธนาคาร ได้ปรับลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 6-7 และการดำเนินการของธนาคารกลางผ่านตลาดการเงิน (OMO) ด้วยอัตราร้อยละ 3.5-4 นอกจากนี้ ธนาคารยังปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้อยู่ในระดับร้อยละ 0.25-0.5 ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่กำหนด อย่างไรก็ตาม การประชุมเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางธนาคารกลางเวียดนามกล่าวว่าการลดอัตราดอกเบี้ยเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อช่วยเหลือสถาบันการเงินให้มีสภาพคล่องและอยู่ในตำแหน่งที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ ธนาคารกลางได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เมื่อครั้งล่าสุดในเดือนกันยายนปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/central-bank-cuts-interest-rates-to-buffer-covid19-impact/170195.vnp

กองทุนฉุกเฉินสำหรับช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในกัมพูชา

รัฐบาลเปิดตัวกองทุนพิเศษ 50 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลผลิตและการดำเนินธุรกิจท่ามกลางผลกระทบของการระบาดของโรค Covid-19 และการถูกถอน EBA บางรายการสินค้าของสหภาพยุโรป โดยกองทุนพิเศษของรัฐบาลสำหรับ SMEs จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร, การแปรรูปอาหาร, ธุรกิจเกษตร, พืชผัก, ปศุสัตว์และธุรกิจสัตว์น้ำและองค์กรต่างๆที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร ซึ่ง SMEs สามารถกู้ยืมเงินได้สูงถึง 3 แสนเหรียญสหรัฐ ด้วยอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6 ต่อปีสำหรับเงินทุนหมุนเวียน (สูงสุด 2 ปี) และ 6.5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีสำหรับกองทุนการลงทุนตลอดระยะเวลาการชำระ 5 ปี โดยรัฐบาลจะให้การผ่อนผันระยะเวลา 1 ปี ซึ่ง SMEs ที่มีสิทธิ์ได้รับกองทุนพิเศษคือ SMEs ที่ทำงานเกี่ยวกับการแปรรูปสินค้าเกษตร ที่สามารถขยายการดำเนินงาน สามารถสร้างงานได้จาก 5-30 แห่งและเป็น SMEs ที่จดทะเบียนในกรมสรรพากรและกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทและการเกษตร (RDAB)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702354/50-million-emergency-fund-for-small-and-medium-enterprises/

การส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชามูลค่าเกิน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าการส่งออกสินค้าการท่องเที่ยวของกัมพูชาไปทั่วโลกมีมูลค่าเกิน 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 โดยเริ่มจากฐานที่ต่ำอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2559 ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดคิดเป็นประมาณ 80% ของการส่งออกทั้งหมดของสินค้าด้านการท่องเที่ยว โดยการเติบโตของการส่งออกนี้เป็นผลมาจากความพยายามร่วมกันของกระทรวงพาณิชย์ (MOC) และ GMAC ไปยังรัฐสภาคองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งส่งผลให้มีการทบทวนสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ของสหรัฐในปี 2559 รวมถึงได้พิจารณารายการสินค้าด้านการท่องเที่ยวให้อยู่ในรายการที่มีคุณสมบัติภายใต้ขอตกลง GSP เพื่อการส่งออกไปยังสหัรฐ ซึ่งกัมพูชามีการส่งออกผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าด้านการท่องเที่ยวมีมูลค่ารวม 9,325 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 เพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50702636/travel-goods-exports-from-cambodia-exceeded-1-2-billion-in-2019/

สปป.ลาวกำลังขยายสนามบินในแขวงบ่อแก้วเพื่อรองรับการท่องเที่ยว

โครงการขยายสนามบินห้วยทรายที่มูลค่าการลงทุนกว่า 149 พันล้านกีบ ในแขวงบ่อแก้วมีความคืบหน้าของโครงการไปแล้วกว่า 50 % และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายนในปีนี้ รัฐบาลสปป.ลาวคาดการณ์จะมีนักท่องเที่ยวมายังห้วยทรายมากขึ้นในปีนี้ โดยรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนนและการเชื่อมต่อทางอากาศเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้นทำให้ต้องมีการขยายสนามบินเพื่อรองรับความต้องการด้านการขนส่งในภูมิภาคและรองรับการไหลเข้าของนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในส่วนงานโครงการที่จะมีการขยายรันเวย์ พื้นที่จอดเครื่องบินเครื่องบิน อาคารผู้โดยสารและลานจอดรถ โดยเมื่อรันเวย์เสร็จแล้วเครื่องบิน ATR จะสามารถลงจอดได้ที่นี่ทำให้มีเที่ยวบินเพิ่มมากขึ้น โครงการดังกล่าวจะทำให้เศรษฐกิจในระดับภูมิภาคอย่างแขวงบ่อแก้วมีการขยายตัวรวมถึงระดับประเทศที่จะทำให้มีนักท่องเที่ยวมามากขึ้นส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวของสปป.ลาวให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องในสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Huayxai.php

สถานทูตเมียนมาขอให้แรงงานในไทยงดเดินทางกลับในช่วงเทศกาลติงยาน

สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาในกรุงเทพฯ ได้ประกาศให้แรงงานข้ามชาติในประเทศไทยไม่ให้กลับเมียนมาในช่วงวันหยุดเทศกาลติงยัน ซึ่งแรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับจากไทยจะถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วันในประเทศไทย สำหรับการระบาดของ COVID-19 แรงงานข้ามชาติที่เข้าประเทศหรือประเทศบ้านเกิดที่ได้รับผลกระทบ COVID-19 ต้องแจ้งให้เจ้าของโรงงานทราบ โดยจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (ประมาณกว่า 40,000 จัต) สำหรับการขอวีซ่าเข้าประเทศสำหรับแรงงานข้ามชาติที่เดินทางกลับประเทศในช่วงเทศกาลติงยาน จากข้อมูลพบว่าแรงงานชาวเมียนมากว่า 100,000 คนเดินทางกลับประเทศในช่วงเทศกาลติงยานในทุกๆ ปี ชาวต่างชาติรวมถึงประชาชนชาวเมียนมาที่วางแผนจะเดินทางมาประเทศไทยจำเป็นต้องติดตั้งแอพ AOT ที่สนามบินในโทรศัพท์มือถือ โดยเจ้าหน้าที่จะเก็บเอกสารเป็นเวลา 14 วันนับจากวันที่เดินทางมาถึงประเทศไทย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-embassy-urges-its-migrant-workers-in-thai-not-to-return-during-thingyan

บริษัทประกันภัย 11 แห่งลงทุนมากกว่า 127 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเมียนมา

บริษัท ประกันภัย 11 แห่งดำเนินธุรกิจในเมียนมาโดยลงทุน 127.044 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การเริ่มออกใบอนุญาตให้กับบริษัทประกันภัยต่างประเทศเริ่มที่เนปยีดอ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ภายใต้โครงการประกันภัยอิสระ กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรมได้ออกใบอนุญาตประกันให้กับบริษัทต่างชาติ 5 แห่ง และออกใบอนุญาตให้กับบริษัทร่วมทุน 6 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้บริการประกันชีวิตและประกันทั่วไป หากบริษัทประกันภัยต้องการขายประกันประเภทใหม่และแก้ไขกฎและข้อบังคับการประกันต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลประกันภัยผ่านแผนกกำกับดูแลด้านการเงิน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/11-insurance-firms-running-with-investment-of-over-127m-over-ks67bn

ธนาคารโลกอนุมัติเงินทุนให้สปป.ลาว เพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการสุขภาพและโภชนาการ

คณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกได้อนุมัติเงินจำนวน 23 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับสปป. ลาวภายใต้โครงการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและโภชนาการ (HANSA) โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบสุขภาพของประเทศและปรับปรุงคุณภาพและความครอบคลุมของการบริการโดยการให้เงินทุนแก่ศูนย์สุขภาพและแผนกต่างๆโดยมีเกณฑ์มาตรฐานเทียบกับการปฏิบัติงาน จะช่วยเพิ่มความยั่งยืนของโครงการด้านสาธารณสุขซึ่งรวมถึงสุขภาพของแม่และเด็ก การสร้างภูมิคุ้มกันโรควัณโรค (TB) และการป้องกันเอชไอวีโดยมุ่งเน้นเป็นพิเศษในการลดภาวะทุพโภชนาการในภาคเหนือของประเทศ ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของ HANSA คือความพร้อมของยาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและการจัดวางเจ้าหน้าที่คลินิกที่ศูนย์สุขภาพรวมถึงจำนวนของแม่และเด็กที่ได้รับการบริการที่มีคุณภาพในสถานบริการสาธารณสุข ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของแม่และเด็กสปป. ลาวและระดับการขาดสารอาหารเรื้อรังยังคงสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ผ่านโครงการนี้ธนาคารโลกและพันธมิตรจะทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงการดูแลขั้นต้นสำหรับผู้หญิงและเด็กซึ่งจะช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพและทำลายวงจรความยากจน

ที่มา : http://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=51075