ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกเป็นปัจจัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมข้าวกัมพูชา

กระทรวงพาณิชย์และหุ้นส่วนด้านการพัฒนา โครงการห่วงโซ่คุณค่าการเกษตรกัมพูชา (CAVAC) ได้ทบทวนการศึกษาต้นทุนการส่งออกข้าวเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของการส่งออกข้าวของกัมพูชา โดยการหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศกระทรวงพาณิชย์กับผู้แทนจาก CAVAC และสหพันธ์ข้าวกัมพูชาเข้าร่วมหารือ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุและขจัดความท้าทายรวมทั้งสำรวจความเป็นไปได้ในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคข้าวในกัมพูชาในปัจจุบัน การศึกษามุ่งเน้นไปที่ความสามารถในการแข่งขันของภาคข้าวของกัมพูชาโดยการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของภาคส่วนจากการเพาะปลูกการอบแห้งและการสี เพื่อการส่งออกรวมถึงการขนส่งและการประมวลผลเอกสารไปยังประเทศเป้าหมาย ในสหภาพยุโรปและประเทศอื่น ๆ ณ เดือนเมษายนปีนี้กัมพูชาส่งออกข้าวจำนวน 300,252 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยปีที่แล้วมีการเก็บเกี่ยวข้าวเปลือกฤดูฝนประมาณ 7.9 ล้านตัน ในปี 2562 ในขณะที่การส่งออกข้าวสารมีปริมาณ 620,106 ตัน ลดลงจากปีก่อนประมาณ 1%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50722719/export-competitiveness-key-to-cambodias-rice-industry/

ครม.เห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์รับโลกของงานที่เปลี่ยนไป

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปของงาน (ASEAN Declaration on Human Resources Development for The Changing World of Work) ซึ่งเป็นการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกอาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลกของงาน จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และกระแสการส่งเสริมงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีศักยภาพ รองรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีต่อกำลังแรงงานให้สามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอนาคตของงานได้ ประกอบด้วยมาตรการสำคัญในด้านการพัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงาน เช่น การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดช่วงวัย การเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานและโอกาสการจ้างงานสำหรับทุกคน โดยเฉพาะสตรี คนพิการ และผู้สูงอายุ

ที่มา : https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_304231

กรมเจรจาฯ เผยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไทยมาแรงในตลาดอาเซียน ในช่วงวิกฤตโควิด-19 แนะใช้ประโยชน์จาก FTA ขยายส่งออกเพิ่ม

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ส่งผลให้ประชาชนลดการเดินทางและอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้มีความต้องการสินค้าอาหารแห้ง และอาหารสำเร็จรูปที่เก็บไว้ได้นานเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย โดยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปถือเป็นหนึ่งในสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการในช่วงวิกฤตนี้ ซึ่งแนวโน้มความต้องการบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยในการเร่งผลิตสินค้าให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในขณะที่ จากสถิติการค้าระหว่างประเทศในช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 การส่งออกสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของไทยเติบโตขึ้นถึงร้อยละ 11 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปอาเซียน มูลค่า 31.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวถึงร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ซึ่งมีกัมพูชาเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ในอาเซียน ส่วนแบ่งตลาดถึงร้อยละ 50 ของการส่งออกไปอาเซียน ตามด้วยเมียนมา สปป.ลาว และเวียดนาม ทั้งนี้ อาเซียนถือเป็นตลาดส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสำคัญที่น่าจับตามอง เนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก ประกอบกับนิยมรสชาติอาหารที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ติดอันดับประเทศที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูง 15 อันดับแรกของโลก ส่งผลให้การส่งออกไปอาเซียนเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 ไทยส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปอาเซียนมูลค่า 119.35 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 31 จากปี 2561 นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากรในอาเซียนยังมีความนิยมรสชาติอาหารที่คล้ายกัน โดยเฉพาะอินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ที่ติดอันดับประเทศที่บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปสูงสูด 15 อันดับแรกของโลก รวมทั้งยังได้รับแรงหนุนจากความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ที่ยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ส่งออกจากไทยด้วย

ที่มา : https://dtn.go.th/th/

ดิจิทัลไลเซชั่นดีสำหรับการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชาท่ามกลางการระบาด Covid-19

คนในวงการกล่าวว่า digitalization มีบทบาทสำคัญในการทำธุรกรรมทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เนื่องจากการดิ้นรนภายใต้การระบาดใหญ่ของ Covid-19 จากการพูดคุยในระหว่างการสัมมนาทางเว็บที่จัดทำโดย realestate.com.kh ได้พูดถึง Covid-19 จะให้บทเรียนในรูปแบบใหม่ในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่าการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศจีนและตลาดหลักในปี 2564 จะช่วยปรับปรุงแนวโน้มการเติบโตของกัมพูชาในปีหน้า ตามรายงานจาก บริษัท อสังหาริมทรัพย์ CBRE ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ตลาดจะยังคงเห็นการปรับลดลงของราคาขายในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับกลางและระดับบน ส่วนราคาขายช่วงกลางอ่อนตัวลง 1.4% และกลุ่มสินค้าระดับบนปรับตัวลงเพียง 0.5% ในขณะที่กลุ่มที่มีราคาไม่แพงได้เห็นการเพิ่ม 0.3% ราคาขายเฉลี่ยในส่วนนี้อยู่ที่ 1,549 ดอลลาร์ ต่อตารางเมตร ซึ่งในไตรมาสที่ 1 ค่าเช่าคงที่ประมาณ 14.2 ดอลลาร์ต่อตารางเมตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50722122/digitalisation-said-to-be-good-for-real-estate-transactions-amid-pandemic/

สินเชื่อในกัมพูชาพุ่งสูงขึ้น

สำนักงานสินเชื่อกัมพูชา (CBC) รายงานว่ายอดสินเชื่อรวมในไตรมาสแรกของปีอยู่ที่ 28.4 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งรวมถึงการเพิ่มขึ้น 30% ในการเบิกจ่ายใหม่ มีการขยายตัวเล็กน้อยที่ 3.3% ในไตรมาสนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยสัดส่วนในการให้สินเชื่อยังคงเหมือนเดิมกับสินเชื่อธุรกิจที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายมากที่สุด รองลงมาคือสินเชื่อส่วนบุคคลและการจำนอง ยอดสินเชื่อจำนองคงค้างรวมอยู่ที่ 4.23 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นอัตราการเติบโต 31% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2562 โดย ณ สิ้นเดือนมีนาคม PRASAC มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3.28 พันล้านดอลลาร์และมีพอร์ตสินเชื่อ 2.72 พันล้านดอลลาร์กับผู้กู้ 421,374 ราย ซึ่งพอร์ตสินเชื่อของ PRASAC เติบโตขึ้น 8% จาก 2.501 พันล้านดอลลาร์ในเดือนธันวาคมเป็น 2.725 พันล้านดอลลาร์ในวันที่ 31 มีนาคมขณะที่เงินฝากขยายตัวประมาณ 2.25% จาก 1.778 พันล้านดอลลาร์เป็น 1.828 พันล้านดอลลาร์ ส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 0.36% เป็น 0.48% เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50722002/loans-in-kingdom-soaring/

รัฐบาลให้ความช่วยเหลือแรงงานที่ตกงานจากสถานการณ์ COVID-19

คนงานที่เดินทางกลับสปป.ลาวหลังจากออกจากงานในประเทศไทยเนื่องจากการระบาดของโรค Covid-19 จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการหางานใหม่ โดยกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้ขอให้กรมแรงงานและสวัสดิการสังคมในแต่ละจังหวัดและเวียงจันทน์รวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานหมู่บ้านเกี่ยวกับจำนวนคนตกงานจากประเทศไทยโดยกระทรวงคาดการณ์ว่ามีจำนวนประมาณ 79,208 คนและจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการที่ธุรกิจหลายแห่งปิดทำการชั่วคราว การช่วยเหลือดังกล่าวจะครอบคลุมไปยังแรงงานในประเทศที่ได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งรัฐบาลจะจัดการหางานให้แก่แรงงานที่ประสงค์จะทำงานแต่ก่อนหน้านั้นจะต้องมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของแรงงานก่อนจะถูกส่งออกไปยังองค์กรหรือธุรกิจต่างๆ เพื่อให้ทั้งภาคธุรกิจและแรงงานได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แรงงานมีงานทำและบริษัทได้แรงงานที่มีคุณภาพไปส่งเสริมธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt90.php

รถไฟลาว จีนบรรลุเป้าหมายในการก่อสร้าง

การก่อสร้างทางรถไฟลาว – ​​จีนได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปลายปี 2559 และมีเป้าหมายจะแล้วเสร็จในปลายปี 2563 แต่มีความกังวลจากความคืบหน้าของโครงการที่ไม่น่าพอใจ จากสถานการณ์การระบาดของโรคระบาด COVID-19  อย่างไรก็ตามรัฐบาลสปป.ลาวมั่นใจว่างานก่อสร้างโดยรวมของรถไฟลาว – ​​จีนจะดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อให้ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ บริษัท รถไฟลาว – ​​จีน จำกัดที่เป็นผู้รับผิดชอบงานก่อสร้างดังกล่าวจี้แจ้งว่า จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ไม่มีความคล่องตัวมากนักในการก่อสร้างทำให้อาจมีการล่าช้ากว่ากำหนด แต่อย่างไรก็ตามในวันที่7 พฤษภาคมที่ผ่านมาทางบริษัทได้บรรลุข้อตกลงในเรื่องการก่อสร้างกับทางรัฐบาลสปป.ลาวทำให้ในขณะนี้การก่อสร้างสามารถทำได้คล่องตัวมากขึ้น และจะเร่งให้ทันตามกำหนดการส่งมอบแก่รัฐบาลสปป.ลาว รถไฟขบวนนี้จะใช้มาตรฐานเดียวกับประเทศจีนและระบบเทคนิคทั้งหมดของจีนโดยความเร็วจะสูงถึง 160 กม. / ชม. ซึ่งเป็นรถไฟไฟฟ้าที่ขนส่งสินค้าและผู้โดยสารขนส่งสินค้าด้วยกัน เป็นประโยชน์ต่อการส่ออกของทั้ง 2 ประเทศรวมถึงการสนับสนุนการท่องเที่ยวไปด้วย

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/05/13/78008/

ธนาคารกลางของเมียนมาขยายเวลาทำการธนาคารเพื่อลดความแออัด

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ได้ขยายชั่วโมงการทำการของธนาคารเป็นเวลา 9.30 น. – 15.00 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 63 หลังจากที่ภาคธุรกิจและประชาชนเรียกร้องให้พิจารณาขยายเวลาทำการในปัจจุบัน โดยเมื่อวันที่ 28 เมษายน 63 CBM ได้สั่งให้ธนาคารท้องถิ่นเปิดทำการตั้งแต่ 10.00 น. – 14.00 น. เพื่อลดความแออัดและเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 แต่เนื่องด้วยเวลาที่ถูกเร่งรัดมากเกินไปทำให้ประชาชนและนักธุรกิจต้องเร่งรีบมากขึ้นจนทำให้เกิดความแออัดมากขึ้นกว่าเดิม

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-central-bank-reinstates-banking-hours-after-complaints-emerge.html