ถั่วเมียนมาเริ่มเป็นที่ต้องการจากอินเดีย

ผู้ค้าถั่วเมียนมา เผย ตลาดถั่วและถั่วพัลส์ของเมียนมาคาดว่าจะเติบโตจากกลุ่มผู้ซื้อที่จากอินเดีย ชาวไร่ชาวสวนผู้ปลูกถั่วอินเดียประสบปัญหาสภาพอากาศเลวร้ายต่อการปลูกถั่ว ดังนั้นความต้องการจะเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กระทรวงการเกษตรและสวัสดิการเกษตรกร ของอินเดียอนุญาติให้นำเข้าถั่วดำรวมถึงถั่วพัลส์อื่น ๆ จากเมียนมา ด้วยการผ่อนคลายเงื่อนไขในการขนส่งจนถึงวันที่ 30 ธ.ค.2564ราคาของถั่วมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้นราคาจึงไม่น่าจะลดลงจนถึงเดือนธ.ค. ปัจจุบัน ราคาถั่วเขียว (ชเววา) ต่อตะกร้าอยู่ที่ 44,000 จัต ถั่วเขียว 40,000 จัตต่อตะกร้า ถั่วดำ 46,000 จัตต่อตะกร้า และถั่วลิสง 59 ,000 จัตต่อตะกร้า ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาออกถั่ว 1.57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นการส่งออกทางเรือ 966.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จำนวน 1.24 ล้าน และส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านผ่านชายแดน 604.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากจำนวน 786,920 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bean-market-sees-high-potential-on-possible-demand-of-india/#article-title

5 พ.ย. 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา ลดลง 315 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาอยู่ที่ 315.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 2564 ถึงมีนาคม 2565) ลดลง 28.49 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 343.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากคู่ค้าหลักอย่างจีนปิดปิดชายแดนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และอื่นๆ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ปัจจุบันเมียนมาพยายามวางแผนการส่งออกเนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีความผันผวน การค้าแบบ G to G จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยสร้างตลาดที่แข็งแกร่งสำหรับเกษตรกร ซึ่งกระทรวงพาณิชย์กำลังช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นเป็น 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ จะมีแนวโน้มลดลง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-315-mln-as-of-5-november/#article-title

ราคาหัวหอมในเมียนมา ลดลงฮวบกว่า 200-300 จัตต่อ viss

ราคาหัวหอมของเมียนมาได้ลดลงมากกว่า 200-300 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.66 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับพันธ์และขนาด ราคาที่ตลาดหัวหอมเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ราคาอยู่ระหว่าง 950-1,100 จัตต่อ viss เจากการสั่งซื้อของบังกลาเทศ อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ราคาลดลงเหลือ 600-780 จัตต่อ viss  เนื่องจากไม่สามารถส่งออกไปจีนได้จากการปิดด่านในช่วงโควิด-19 แพร่ระบาด และคุณภาพของหัวหอมที่ส่งออกเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาลดลง ผู้ค้าคาดการณ์ว่าตลาดหัวหอมของเมียนมามีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากจะมีการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น บังคลาเทศ เวียดนาม และไทยผ่านเส้นทางชายแดน ซึ่งแต่ก่อนมักจะนำเข้าจากอินเดีย แต่ตอนนี้อินเดียได้ระงับการส่งออก เนื่องจากพื้นที่ปลูกหัวหอมได้รับผลกระทบจากฤดูฝน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/onion-price-falls-by-over-k200-k300-per-viss/

ราคาอะโวคาโดเมียนมาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ราคาอะโวคาโดพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์เนื่องจากผลผลิตที่ลดลง สมาคมผู้ผลิตและส่งออกอะโวคาโดของเมียนมา เผย ราคาขายอะโวคาโดอยู่ที่ 500-1500 จัตต่อลูก ขึ้นอยู่กับขนาด ปีที่แล้ว เมียนมาส่งออกอะโวคาโดประมาณ 5,000-10,000 ตัน ไปยังจีนและไทยทุกปี นอกจากนี้ มีการบริโภคภายในประเทศประมาณ 3,000 ตัน ต่อปี ส่วนพื้นที่เพาะปลูกในประเทศมีประมาณ 25,000 เอเคอร์ ส่วนใหญ่ปลูกในภูเขาชิน ภูเขานากา ที่ราบสูงฉาน หน่องกีโอ และปิยอูลวิน โดยผลผลิตจะเก็บเกี่ยวได้ตั้งแต่เดือนต.ค.ถึงเม.ย. ซึ่งภูมิอากาศแบบเขตร้อนที่ร้อนและดินที่อุดมสมบูรณ์ของเมียนมาทำให้เป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกอะโวคาโดเป็นอย่างมาก ทั้งนี้อะโวคาโดถูกนำเข้าสู่เมียนมาเมื่อ 70 กว่าปีที่แล้ว และกลายเป็นผลไม้สำคัญในประเทศ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/avocado-prices-rise-to-record-high/#article-title

เดือนต.ค.64 เมียนมาส่งออกข้าวผ่านทางเรือ ทะลุ 200,000 ตัน

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเมียนมา เดือนต.ค.2564 ที่ผ่านมา เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหักมากกว่า 216,375 ตัน โดยผ่านทางเรือ 211,759 ตัน  และชายแดน 4,616 ตัน ซึ่งปริมาณการส่งออกลดลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการปิดชายแดน ในเดือนที่ผ่านมาราคาข้าวเฉลี่ย อยู่ที่ 315-350 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์และคุณภาพ ทั้งนี้ราคาข้าวของเมียนมาค่อนข้างต่ำกว่าไทยและเวียดนาม จากข้อมูลสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) พบว่าราคาสูงกว่าตลาดของอินเดียและปากีสถาน โดยตลาดส่งออกข้าวสำคัญของเมียนมาจะเป็นจีน รองลงมาคือ ไอวอรี่โคสต์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และกินี ในขณะเดียวกัน ตลาดนำเข้าข้าวหักยังคงเป็นจีนเป็นหลัก รองลงมาคือ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม สเปน และฝรั่งเศส ในปีงบประมาณ 2019-2020 ที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้จากการส่งออกข้าวกว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปริมาณ 2.5 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-over-200000-mt-of-rice-through-maritime-route-in-october/

ต.ค. 64 นำเข้าเมียนมาลดฮวบ เหลือ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลกระทรวงพาณิชย์ การนำเข้าของเมียนมาระหว่างวันที่ 1-29 ต.ค.2564 ของปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (ต.ค.64-มี.ค.65) ลดฮวบลงเหลือ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งลดลง 121.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการนำเข้าสินค้าทุนลดลงเมื่อเดือนที่แล้ว เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องจักร ฯลฯ อยู่ที่ประมาณ 170.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนที่ 229.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ การนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น ซึ่งรวมถึงยา เครื่องสำอาง และน้ำมันปาล์ม อยู่ที่ 262.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อน ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบเพิ่มขึ้นเป็น 413 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 326.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดย 10 ประเทศที่เมียนมานำเข้าเป็นหลัก ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/imports-down-by-120-mln-last-month-reports-moc/

การค้าเมียนมา-บังกลาเทศ ดิ่งลง 2.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าผ่านด่านชายแดนระหว่างเมียนมาและบังกลาเทศ ณ วันที่ 22 ต.ค.64 ในปีงบประมาณย่อย ของปีงบประมาณ 2564-2565 หรือช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างเดือนต.ค. ถึงเดือน มี.ค.64 มีมูลค่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 2.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการส่งออก 1.19 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 0.01 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเมียนมาส่งออกสินค้าไปยังบังกลาเทศทั้งทางทะเลและทางบก การค้าชายแดนส่วนใหญ่ค้าขายผ่านเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ สินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งน้ำเค็มและปลา ลูกพรุนนแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพรุน รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-bilateral-trade-drops-by-2-39-mln-this-fy/

พริกเขียวจากมโหย่ติ ได้ราคาสูง

พริกเขียวที่จำหน่ายในตลาดอำเภอมโหย่ติ จังหวัดมะกเว เขตมะกเว ราคาพุ่งสูงขึ้น โดยราคาพุ่งขึ้นเป็น 2,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) จาก 1,200 2,000 จัตต่อ viss ปัจจุบัน รถสามล้อบรรทุกพริกเขียวประมาณ 10 คันกำลังเข้าสู่ตลาดสดในทุกๆ วัน ตอนนี้ราคาพริกเขียวกำลังดีเพราะอยู่ในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวจากเมืองมโหย่ติ แต่ในอีกไม่นานผลผลิตจะออกมามากขึ้นบนพื้นที่เพาะปลูกบนภูเขาและเชื่อว่าราคาไม่น่าจะเพิ่มขึ้นอีก พริกจะปลูกในพื้นด้วยระบบปิด หลังจากผ่านไป 15 วัน พริกจะถูกนำไปยังพื้นที่เพาะปลูก และจำเป็นต้องใช้น้ำเข้าในแปลงเพาะปลูกทุกๆ 5 วัน หลังจาก 1 เดือน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/green-chilli-from-myothit-township-fetches-high-price/

ปีงบฯ 63-64 เงินลงทุนจากต่างประเทศไหลสู่เมียนมาเพียง 3.791 พันล้านดอลลาร์

จากข้อมูลของคณะกรรมการด้านการลงทุนและจดทะเบียนธุรกิจ (DICA) พบว่า ตั้งแต่เดือนต.ค.63 ถึงเดือนก.ย.64 ของปีงบประมาณ 2563-2564 มีการลงทุนจากต่างประเทศเข้าสู่เมียนมาเพียง 3.791 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยลงทุนในภาคเกษตรกรรม 9.988 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคปศุสัตว์และการประมง 19.698 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคการผลิต 286.023 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคพลังงาน 3,121.323 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคการขนส่งและการสื่อสาร 133.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคการโรงแรมและการท่องเที่ยว 81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคอสังหาริมทรัพย์  8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภาคนิคมอุตสาหกรรม 28.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคอื่นๆ  103.656 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในปีงบประมาณ 2562-2563 มีโครงการลงทุนทั้งหมด 245 รายการ เม็ดลงทุนรวม 4.235 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และได้อนุมัติการลงทุนเพิ่มอีก 1.291 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับ 110 โครงการที่ดำเนินการอยู่ รวมทั้งสิ้น 5.56 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งตามแผนส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของเมียนมาตั้งเป้าไว้สูงถึง 8.5 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณ 2564-2565 แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงต้องมีการทบทวนใหม่ ทั้งนี้เมียนมากำลังเร่งดำเนินการตามแผนส่งเสริมการลงทุน 20 ปี โดยมุ่งเป้าเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางให้ได้ภายในปี 2573

ที่มา: https://news-eleven.com/article/217365

ราคามะเขือเทศเมืองอ่องป๊าน พุ่ง ! ได้ราคาดี

จากข้อมูลของพ่อค้าท้องถิ่น ผลผลิตมะเขือเทศจากเมืองอ่องป๊าน ทางตอนใต้ของรัฐฉานขายได้ราคาในเมืองมโหย่ติ เขตมะกเว โดยราคามะเขือเทศอยู่ระหว่าง 700 ถึง 1,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม)  เมื่อประมาณสองสัปดาห์ก่อน และตอนนี้พุ่งเป็น 1,400 จัตต่อ viss ซึ่งเมื่อผู้ค้ารับซื้อมะเขือเทศจากเมืองอ่องป๊าน ดังนั้นมะเขือเทศจากภูมิภาคอื่นจึงน้อยลง ราคาปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะราคาน้ำมันในการขนส่งที่สูงขึ้นอีกด้วย

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/aungban-tomatoes-fetch-good-prices/