‘กรมวิชาการเกษตร’ เคลียร์เส้นทางส่งออกผลไม้ไทย มะพร้าวอ่อนเนื้อหอมสุดเตรียมรุกตลาดเวียดนาม

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 3 -7 กุมภาพันธ์ 2563 นี้ ได้นำคณะเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรและสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เดินทางไปสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยได้เข้าพบนายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย เพื่อหารือและเตรียมการสำหรับการส่งออกผลไม้ไทยไปจีนในฤดูกาลผลิตและส่งออกผลไม้ในปี 2563 ผ่านประเทศเวียดนาม ซึ่งทางเวียดนามมีความต้องการนำเข้ามะพร้าวอ่อนจากไทย จากข้อมูลการส่งออกผลไม้ไทยทั้งสดและอบแห้งไปยังเวียดนามในปี 2562 พบว่ามีมูลค่ากว่า 26,000 ล้านบาท ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในการหารือดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาที่พบระหว่างการขนส่งสินค้าผลไม้สดไปจีนโดยผ่านประเทศที่สาม และเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่ส่งออกผลไม้สดไปจีน เนื่องจากในการส่งออกผลไม้สดจากไทยไปจีนนิยมขนส่งไปทางบก ขณะนี้ กรมวิชาการเกษตรและมกอช.อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อขอให้จีนอนุญาตการขนส่งผลไม้สดผ่านเส้นทางที่มีศักยภาพนอกเพิ่มเติมจากเส้นทางเดิมที่ไทยและจีนมีพิธีสารร่วมกันในปัจจุบัน ได้แก่ เส้นทาง R3A และ R9 เป็นต้น โดยในระหว่างนี้ กรมวิชาการเกษตรจะตรวจสอบและควบคุมให้สินค้าผลไม้สดจากไทยที่ส่งออกไปจีนเป็นไปตามเงื่อนไขในพิธีสารดังกล่าวและสอดคล้องกับเงื่อนไขการนำเข้าของจีนอย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_1943719

ดีอีเอสปลื้มทุนใหญ่สหรัฐฯ ซิสโก้-ไมโครซอฟท์ ขนเงินลงทุนไทยเพิ่ม

ซิสโก้ เลือกไทยตั้งศูนย์ Co-Innovation Center แห่งแรกในเอเชีย ปั้นคนไซเบอร์ซิเคียวริตี้ ด้านไมโครซอฟท์ จ่อลงนามเอ็มโอยู ผุด AI/IoT Insider Lab ใน ‘อีอีซี’ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยหลังเข้าพบและหารือกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทไอทีระดับโลกระหว่างการเดินทางไปโรดโชว์ที่สหรัฐอเมริกาได้รับคำยืนยันจากบริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ จำกัด และบริษัท ไมโครซอฟท์ ที่จะขยายการลงทุนในประเทศไทยเพิ่มเติม ทั้งนี้บริษัท ซิสโก้ ตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดตั้งศูนย์ Cisco Co-Innovation แห่งแรกในเอเชีย นอกจากนี้ทางไมโครซอฟท์และกระทรวงดิจิทัลฯ จะมีการลงนามเอ็มโอยูร่วมกัน เพื่อเข้ามาปักธงใน Thailand Digital Valley โดยจัดตั้ง AI/IoT Insider Lab ซึ่งเป็นโครงการที่ไมโครซอฟท์ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล โดยไมโครซอฟท์เล็งเห็นถึงศักยภาพของไทยในการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของอาเซียน เป็นประตูสู่ประเทศเพื่อนบ้าน (CLMV) ซึ่งมีความสนใจอย่างมากที่จะพิจารณาจัดตั้ง AI/IoT Lab ในประเทศไทย ร่วมพัฒนาบุคลากรและอุตสาหกรรมดิจิทัล เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลของไทยอย่างเต็มที่

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/613275

ส.อ.ท. จี้รัฐรับมือเศรษฐกิจโลกยังหนัก

หลังจากประเมินสถานการณ์โดยรวมในปี 2563 ภาคเอกชนต้องปรับตัวกันครั้งใหญ่ เศรษฐกิจยังคงได้รับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลก สงครามค่าเงินการเมือง แม้มีมาตรการกระตุ้นการลงทุน ข้อเสนอหลักคือต้องลดภาระ โดยขอให้รัฐพิจารณาเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการรายเล็กและประชาชนบางส่วน โดยการลดค่าไฟให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และบ้านพัก 5% เป็นระยะเวลา 1 ปี ขณะเดียวกันขอให้ลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรใหม่ เพื่อการผลิตในสินค้าที่ไทยผลิตเองไม่ได้ ให้เหลือ 0% เป็นระยะเวลา 1 ปี นอกจากนี้การที่รัฐใช้แนวทางดึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเข้ามา เพื่อเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือในการช่วยเศรษฐกิจฐานราก นอกจากนี้รัฐจำเป็นที่ต้องผลักดันให้แต่ละภาคถูกพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ ดึงการลงทุนเข้ามาเช่นเดียวกับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยภาคเหนือควรถูกยกเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC) ให้เป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารและ Creative Economy เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคอีสาน(NEEC) ให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว อาหาร และLogistics Hub และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ให้เป็นเมืองอัจฉริยะและท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมฮาลาล

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-414443

ไทยมอบเงิน 1.38 พันล้านบาทให้กับลาวเพื่อสร้างสะพานใหม่

เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 63ได้มีการลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนสำหรับส้รางสะพานข้ามแม่น้ำโขงซึ่งมีมูลค่ากว่า 1.38 พันล้านบาท โดยจะเชื่อมระหว่างจังหวัดบึงกาฬในประเทศไทยและปากซันในแขวงบอลิคำไซ การลงนามดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากทั้ง 2 ประเทศเล็งเห็นถึงความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคเพื่อช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยเชื่อว่าสะพานนี้จะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงการคมนาคมที่สำคัญและช่วยส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างสปป.ลาวไทยและเวียดนามในอนาคตจะนำมาซึ่งการเติบด้านการค้า การท่องเที่ยวส่งเสริมเศรษฐกิจในพื้นดังกล่าวและในอีกแง่หนึ่งเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอีกด้วย  

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/thailand-provides-138-billion-baht-laos-construction-new-bridge-112282

สื่อมะกันชูไทยประเทศดีสุดในโลกอันดับที่26-เด่นเรื่องเปิดกว้างธุรกิจ

ไทยได้คะเเนนสูงด้าน การเปิดกว้างทางธุรกิจ ประเทศที่เหมาะกับการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ โอกาสในอนาคตที่ดีขึ้น และมรดกทางวัฒรธรรม แต่ได้คะเเนนน้อยด้านอำนาจของประเทศในเวทีโลก และสถานะการเป็นพลเมือง ยูเอส นิวส์แอนด์เวิลด์ รีพอร์ท สื่อสหรัฐ เผยแพร่รายงานจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดในโลก73 ประเทศประจำปี 2563 ที่พิจารณาจากข้อมูลหลายด้าน ตั้งแต่คุณภาพชีวิต การเคารพสิทธิมนุษยชน และมรดกทางวัฒนธรรมผ่านการสอบถามความเห็นของประชาชนทั่วโลกจำนวน 20,000 คน ซึ่งเเบ่งเป็นกลุ่มผู้มีความรู้ นักธุรกิจและประชาชนทั่วไป ให้ สวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศดีที่สุดอันดับหนึ่งต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ตามมาด้วยแคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมนี ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สหรัฐ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์ ส่วนประเทศไทย ติดอันดับที่ 26 รัสเซีย อยู่อันดับที่ 23 อินเดีย อันดับที่ 25 และกรีซ ในอันดับที่ 27 ส่วนประเทศอื่นๆมีฝรั่งเศสอยู่อันดับที่ 12 นิวซีแลนด์อันดับที่ 11 จีนและสิงคโปร์ติดอันดับที่ 15 และ 16 ตามลำดับ ขณะที่เกาหลีใต้ อยู่อันดับที่ 20 สำหรับประเทศที่รั้งท้ายในการจัดอันดับครั้งนี้ คือโอมาน อยู่อันดับที่ 71 เซอร์เบีย อยู่อันดับที่ 72 และเลบานอนอยู่อันดับที่ 73

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/862641?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

นายสมคิดมอบนโยบายจัดทำงบฯ แบบบูรณาการ ชี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม มอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบบูรณาการประจำปี 2564 ว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ทุกภาคส่วนจะต้องทำงานกันแบบบูรณาการ โดยรัฐบาลจะมุ่งเน้นงบประมาณในการจัดทำระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุน โดยมอบหมายให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ติดตามงบประมาณเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ให้ผันงบประมาณมาลงทุนใน 3 แห่ง

ที่มา : https://mgronline.com/uptodate/detail/9630000004979

กสิกรไทยเข้าถือหุ้น 35% ใน A Bank ของเมียนมา

ธนาคารกสิกรไทย (กสิกรไทย) กำลังเตรียมลงทุนในธนาคารเพื่อการพัฒนาเกษตรกรอิรวดี โดยซื้อหุ้น 35% ในธนาคาร A และได้ขออนุมัติจากธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ซึ่งจะช่วยให้ KBank สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของธนาคาร A เพื่อเข้าถึงทั่วกลุ่มประเทศ CLMVI (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และอินโดนีเซีย) และขยายการเข้าถึงธุรกิจในท้องถิ่นและธุรกิจไทย AEC + 3 (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน + จีนญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) โดยการบริการหลักของธนาคาร คือ สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางธุรกิจค้าปลีก และธนาคารดิจิทัล หลังจาก CBM อนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศเข้าถือหุ้นในธนาคารในประเทศตั้งแต่มกราคม 62 ธนาคารกสิกรไทยเริ่มมองหาธนาคารที่มีศักยภาพและมีแนวคิดทางธุรกิจที่คล้ายคลึงกันซึ่งก็คือธนาคาร A โดยกสิกรจะได้รับประโยชน์จากทรัพยากรบุคคลและความสามารถของธนาคารซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/thailands-kbank-acquire-35-stake-myanmars-bank.html

กรมการค้าภายในออก 9 มาตรการดูแลปีทองผลไม้ไทย

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) เปิดเผยว่า กรมได้ออก 9 มาตรการในการบริหารจัดการผลไม้ในปี 63 ที่คาดว่าผลไม้หลายประเภทจะมีผลผลิตมากกว่าปีก่อน โดยจะเน้นการระบายผลไม้ทั้งในและต่างประเทศ การแก้ปัญหาราคาตกต่ำ การจัดระเบียบล้งรับซื้อผลไม้เพื่อป้องกันการกดราคาหรือมีพฤติกรรมเอาเปรียบเกษตรกร เป็นต้น โดยจะใช้งบประมาณในการบริหารจัดการ 396 ล้านบาท ซึ่งมีทั้ง งบประมาณปกติและงบประมาณจากคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มั่นใจว่าปี 63 จะเป็นปีทองของผลไม้ไทยหลายชนิดที่จะทำให้ชาวสวนขายผลไม้ได้ในราคาสูง ไม่ว่าจะเป็นทุเรียน มังคุด ลองกอง เงาะ ลิ้นจี่ ลำไย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการผลักดันการส่งออก ด้วยการเชื่อมโยงผู้ผลิต ผู้ซื้อ ตลาดปลายทาง พร้อมทั้งเพิ่มสภาพคล่องผู้ประกอบการ โดยชดเชยดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 6 เดือน วงเงิน 1,500 ล้านบาท, มาตรการส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพ ทั้งการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิต การปรับปรุงสถานประกอบการสู่มาตรฐานสากลด้วยการชดเชยดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 1 ปี วงเงินไม่เกินรายละ 10 ล้านบาท, การตรวจรับรองสินค้าอินทรีย์ ขณะเดียวกัน ยังมีมาตรการกำกับดูแลล้ง ที่มาตั้งโรงคัดและบรรจุผลไม้ที่ไทยเพื่อส่งออก โดยสั่งให้เจ้าหน้าที่ทำฐานข้อมูลของล้งทุกราย และจะประสานกับประเทศต้นทางของล้ง เช่น จีน เพื่อตรวจสอบว่า แต่ละรายมีประวัติและพฤติกรรมทางธุรกิจอย่างไร หากมีประวัติไม่ดีจะตักเตือนชาวสวนและผู้ประกอบการไทยอย่าร่วมทำธุรกิจด้วย และสุดท้ายการร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการพัฒนาอบรมให้ความรู้แก่แรงงานที่เก็บเกี่ยวผลไม้ รวมถึงออกมาตรการให้แรงงานเก็บผลไม้ที่เป็นต่างด้าว และมีความเชี่ยวชาญในการเก็บผลไม้ สามารถเคลื่อนย้ายไปเก็บผลไม้ได้ทั่วประเทศ.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1746071

คาด อีคอมเมิร์ซ ไทยปี 63 โต 7.48 แสนล้านบาท

เปิดแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลไทยปี 63 ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งอาเซียน เติบโตกว่า 7.48 แสนล้านบาท ผลพวงห้างร้านใช้ชื้อขายรับส่งสินค้าผ่านบริการออนไลน์  รายงานข่าวจากสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย เปิดเผยภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลที่สำคัญในปี 63 ของไทย ว่า ในปีนี้ธุรกิจการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (อี-คอมเมิร์ซ) จะเป็นกลุ่มธุรกิจดิจิทัลที่มาแรงและมีการเติบโตสูง คิดเป็นมูลค่า 748,000 ล้านบาท เป็นอันดับ 1 ของมูลค่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ในภูมิภาคอาเซียน โดยใน 60-62 ที่ผ่านมา มีการประมาณอัตราการเติบโตเฉลี่ยของตลาดอยู่ที่ 20-30% กลุ่มธุรกิจที่เติบโต คือ ธุรกิจห้างสรรพสินค้า ธุรกิจด้านผลิตภัณฑ์อาหาร และธุรกิจด้านเครื่องสำอางและอาหารเสริม เป็นผลมาจากการก้าวเข้ามาของเทคโนโลยีด้านการซื้อขายและรับส่งสินค้าผ่านบริการออนไลน์ เช่น ไลน์แมน และแกร็ป โดยเฉพาะไลน์แมน พบว่า มียอดการใช้บริการเพิ่มขึ้นถึง 300% และมีผู้ใช้บริการ 1.5 ล้านคนต่อเดือนภายในระยะเวลา 2 ปี ส่วนอุตสาหกรรมดิจิทัลที่ถูกผลกระทบจากเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างรวดเร็วมาก คือ อุตสาหกรรมโทรทัศน์ ที่มูลค่าลดลงจาก 115,000 ล้านบาท ในปี 57 เหลือเพียง 57,000 ล้านบาทในปี 61 ที่ผ่านมา และยังสูญเสียผู้รับชมจนกระทั่งมีการคืนใบอนุญาตดิจิทัลทีวี ซึ่งเป็นผลมาจากการทดแทนของเน็ตฟลิกซ์ และยูทูป ที่เริ่มลงทุนให้บริการและผลิตเนื้อหาสำหรับประเทศไทย ชณะที่อุตสาหกรรมการเงิน ก็ได้รับผลกระทบ ด้วยระบบการชำระเงินดิจิทัล จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทยปี 62 ระบุว่า จำนวนสาขาของธนาคารพาณิชย์ลดลงจาก 7,016 สาขาในปี 59 เหลืออยู่ที่ 6,534 สาขาในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.dailynews.co.th/economic/751386

เมียนมา-ไทยเซ็น MOU โอนเงินข้ามแดน

ธนาคารพาณิชย์จาก 2 ประเทศ คือธนาคาร Ayeyarwady (AYA Bank) ของเมียนมาและธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ของไทยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาการชำระเงินและบริการโอนเงินระหว่างสองประเทศ เมื่อเดือนตุลาคม 62 ที่ผ่านมาคาดเริ่มใช้งานได้เร็วๆ นี้ ที่ผ่านมาการชำระเงินผ่านธนาคารจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งส่งผลเสียจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ MOU นี้สามารถทำให้การชำระเงินเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น แม้ว่าจะมีแรงงานอพยพชาวเมียนมาจำนวนมากในไทยการโอนเงินจะเกิดขึ้นผ่านระบบ Hundi ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินนอกระบบ  ใน 4 ประเทศที่มีพรมแดนติดกับเมียนมา ไทยเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ปริมาณการค้าที่ชายแดนไทย – เมียนมาประกอบด้วย ท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด ทิกิ และเมาะตุง ในปีงบประมาณ 61-62 มีมูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-thailand-agree-cross-border-transfers.html