บริษัทฮ่องกงลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าในเจาะพยู มูลค่ากว่า 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากข้อมูลของคณะกรรมการการลงทุนและกำกับดูแลบริษัท (DICA)  บริษัท CNTIC VPower KY3 Limited จากฮ่องกงวางแผนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนและผลิตเชื้อเพลิงด้วยเงินลงทุน 172 ล้านดอลลาร์สหรัฐในจาะพยูเพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 658,800,000 กิโลวัตต์/ชั่วโมง คณะกรรมการการลงทุนแห่งเมียนมา (MIC) อนุญาตการลงทุนด้วยสี่ข้อเสนอและการลงทุนใน 17 รายการมูลค่า 310.451 ล้านดอลลาร์สหรัฐและสามารถสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นได้ถึง 10,102 คน MIC อนุมัติการลงทุนจากต่างประเทศมูลค่า 1,546.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 716.451 พันล้านจัตรวมถึงการลงทุนในท้องถิ่น 128.4 ล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 มกราคมในปี 62-63  ทั้งนี้กระทรวงที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาการลงทุนภาคเหมืองในปี 63 จากข้อมูลของ DCA พบว่าจนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน 62 มีการลงทุนในภาคเหมืองแร่มากกว่า 2.904 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/hong-kong-company-invests-us172-m-to-build-a-power-station-in-kyaukphyu

CSOs ร้องให้รัฐบาลเมียนมาระงับสัญญาโครงการท่าเรือน้ำลึกจ่าวผิว

กลุ่มเฝ้าระวังเขตเศรษฐกิจพิเศษจ่าวผิว ซึ่งเป็นพันธมิตร 18 องค์กรภาคประชาสังคม (CSOs) ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 16 มกราคมเรียกร้องให้มีการระงับแผนการลงนามข้อตกลงในการดำเนินการโครงการท่าเรือน้ำลึกจ่าวผิว ในเมืองจ่าวผิว รัฐยะไข่ ในความขัดแย้งทางอาวุธที่ดำเนินอยู่ในรัฐยะไข่มีผู้พลัดถิ่นมากกว่า 100,000 คน รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขข้อพิพาทเรื่องที่ดินในโครงการวางท่อส่งน้ำมันและก๊าซที่เริ่มในปี 53 พบว่ารัฐบาลไม่เห็นถึงสิทธิของคนในท้องถิ่น ซึ่งควรทำการประเมินสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ (SEA) และไม่มีการเปิดเผยข้อมูลกับชาวบ้าน นอกจากนี้ควรมีการเตรียมการเพื่อรับรู้ถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสร้างงานทดแทนที่เพียงพอเมื่อมีการลงนามข้อตกลง และยังเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนการขายป่าชายเลนและที่ดินอีกครั้ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/csos-demand-suspension-of-contract-signing-for-kyaukphyu-deep-seaport-project

สื่อมะกันชูไทยประเทศดีสุดในโลกอันดับที่26-เด่นเรื่องเปิดกว้างธุรกิจ

ไทยได้คะเเนนสูงด้าน การเปิดกว้างทางธุรกิจ ประเทศที่เหมาะกับการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ โอกาสในอนาคตที่ดีขึ้น และมรดกทางวัฒรธรรม แต่ได้คะเเนนน้อยด้านอำนาจของประเทศในเวทีโลก และสถานะการเป็นพลเมือง ยูเอส นิวส์แอนด์เวิลด์ รีพอร์ท สื่อสหรัฐ เผยแพร่รายงานจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดในโลก73 ประเทศประจำปี 2563 ที่พิจารณาจากข้อมูลหลายด้าน ตั้งแต่คุณภาพชีวิต การเคารพสิทธิมนุษยชน และมรดกทางวัฒนธรรมผ่านการสอบถามความเห็นของประชาชนทั่วโลกจำนวน 20,000 คน ซึ่งเเบ่งเป็นกลุ่มผู้มีความรู้ นักธุรกิจและประชาชนทั่วไป ให้ สวิตเซอร์แลนด์ เป็นประเทศดีที่สุดอันดับหนึ่งต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ตามมาด้วยแคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมนี ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สหรัฐ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ และนอร์เวย์ ส่วนประเทศไทย ติดอันดับที่ 26 รัสเซีย อยู่อันดับที่ 23 อินเดีย อันดับที่ 25 และกรีซ ในอันดับที่ 27 ส่วนประเทศอื่นๆมีฝรั่งเศสอยู่อันดับที่ 12 นิวซีแลนด์อันดับที่ 11 จีนและสิงคโปร์ติดอันดับที่ 15 และ 16 ตามลำดับ ขณะที่เกาหลีใต้ อยู่อันดับที่ 20 สำหรับประเทศที่รั้งท้ายในการจัดอันดับครั้งนี้ คือโอมาน อยู่อันดับที่ 71 เซอร์เบีย อยู่อันดับที่ 72 และเลบานอนอยู่อันดับที่ 73

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/862641?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

บริษัทญี่ปุ่นเตรียมลุยขยายธุรกิจไปยังเวียดนาม

จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นหรือเจโทร (JETRO) เปิดเผยว่ากว่าร้อยละ 64 ของบริษัทญี่ปุ่นในเวียดนาม มองว่ากำไรเป็นแรงจูงใจในการขยายธุรกิจไปยังประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปีที่แล้ว นักลงทุนขาวญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในเวียดนามอยู่ที่ 2.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และอีก 655 โครงการ ซึ่งจำนวนโครงการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับปี 2561 ประกอบกับในปี 2562 นักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 66 ได้กำไรจากการดำเนินธุรกิจในเวียดนาม นอกจากนี้ สงครามการค้ามีผลต่อการขยายตัวของการออกไปลงทุนของญี่ปุ่นในเวียดนาม รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในการลงทุนและการทำธุรกิจของเวียดนามที่เป็นส่วนสำคัญในการขยายธุรกิจของญี่ปุ่น ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานลงทุนจากต่างประเทศ (FIA) ระบุว่ามูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ณ วันที่ 20 ธ.ค.62 อยู่ที่ 38.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นระดับสูงสุดในรอบ 10 ปี หากจำแนกรายเมือง/จังหวัดเวียดนาม พบว่ากรุงฮานอยดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศมากที่สุด รองลงมานครโฮจิมินห์ ตามลำดับ อีกทั้ง เกาหลีใต้และญี่ปุ่นยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-firms-wish-to-scale-up-business-in-vietnam/167422.vnp

ยอดการค้าระหว่างเวียดนามกับจีน ทะลุ 117 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในปีที่แล้ว มูลค่าการส่งออกและนำเข้ารวมอยู่ที่ 517.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งมูลค่าการส่งออกสินค้าอยู่ที่ 264.19 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 ขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 253.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สำหรับยอดเกินดุลการค้าในปีที่แล้วอยู่ที่ 11.12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีมูลค่าสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ทั้งนี้  จีนยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.6 ของยอดการค้ารวมในปีที่แล้ว) อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าจากจีนเติบโตอย่างมาก ขณะที่ เวียดนามส่งออกไปยังตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้น ดุลการค้าระหว่างเวียดนามกับจีน จึงขาดดุลการค้ามากกว่า 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571193/viet-nam-china-import-export-turnover-reaches-117-billion.html

เมียนมาปรับปรุงสนามบินฟะลัมด้วยระบบนำทาง

สนามบินฟะลัม Falam (Surbung) ซึ่งเป็นประตูสู่รัฐชินได้รับการยกระดับด้วยระบบนำทางที่ใช้สำหรับสนามบินในพื้นที่ที่เป็นภูเขาตามที่กรมการบินพลเรือนของเมียนมา (DCA) ระบุ การก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปี 63-64 และเครื่องบิน ATR-72 ชนิดต่างๆ สามารถลงจอดได้ สนามบินตั้งอยู่ในใจกลางของรัฐชิน มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการนำทางที่จะติดตั้ง เช่น สถานีวิทยุเครื่องช่วยการเดินอากาศ (DVOR) , เครื่องมือตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWOS), ตัวบ่งชี้เส้นทางแม่นยำ (PAP), ไฟทางวิ่ง, สัญญาณไฟหมุน, ระบบ HF และ VHF โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากกองทุนของรัฐ กระทรวงของบประมาณ 141,112,000,000 จัต สำหรับโครงการนี้ซึ่งจะรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศและขอสินเชื่อในปีงบประมาณ 62-63 ปี ในปัจจุบันมีรันเวย์ยาวกว่า 4,000 ฟุตจาก 6,000 ฟุตของสนามบินที่สร้างเสร็จ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/falam-airport-upgrades-with-navigation-facilities

โรงถลุงเหล็กในเมียนมากำลังรอการลงทุน

กระทรวงแผนงาน การเงิน และอุตสาหกรรม กำลังมองหาการการลงทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่สนใจลงทุนโรงงานเหล็กของมยินจาน เมืองมยินจานในเขตมัณฑะเลย์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตันต่อปี ตอนนี้นิติบุคคลของรัฐที่ดำเนินงานในมยินจาน คือ Heavy Industrial Enterprise กำลังมองหานักลงทุนเข้าร่วมลงทุน คาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 225 พันล้านจัตในการดำเนินการรวมทั้งนักลงทุนกำลังหาทางช่วยโรงงานให้เสร็จและดำเนินการ ปัจจุบันมีการนำเข้าเหล็กถึง 90% ของประเทศและอีก 10% มาจากการผลิตเองในท้องถิ่น สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณการว่าความต้องการใช้เหล็กของเมียนมาจะยังคงขยายตัวในอัตรา 8% ต่อปีโดยความต้องการใช้เหล็กในประเทศอาจเกิน 3 ล้านตันในปี 2563 และสูงถึง 5 ล้านตันในปี 2568

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/state-owned-steel-mill-seeks-investors.html

กองทุนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในสปป.ลาว

กองทุนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมมอบเงิน 1.4พันล้านกีบเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในหกพื้นที่เป้าหมายโดยโครงการนี้จะทำงานร่วมกับ National Academy of Politics และ Public Administration วัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อการสนับสนุนนโยบายกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวดรวมถึงการบังคับใช้กฎหมายสิ่งแวดล้อมรวมถึงการจัดการแผนการคุ้มครองป่าอื่น ๆ โดยข้อตกลงดังกล่าวจะทำให้เขตพื้นที่ต่างๆมีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาตอย่างยั่งยืนเป็นผลดีในการท่องเที่ยวที่จะช่วยดึงดูดต่างชาติให้มาเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจต่อไปในภายภาคหน้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Environment12.php

กรมประปาร่วมมือองค์กรระหว่างประเทศพัฒนาระบบประปา

กรมน้ำประปาภายใต้กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งมีเป้าหมายที่จะขยายโครงการประปาทั่วประเทศในปีนี้หลังจากประสบความสำเร็จในปี 62 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนาระบบประปากรมประปายังคงร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งรวมถึงการใช้เงินกู้ประมาณ 44 ล้านเหรียญสหรัฐจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (สาธารณรัฐเกาหลี) และเงินทุน 28.3 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย โดยแผนจะมีการก่อสร้างและซ่อมแซมระบบท่อและระบบจ่ายน้ำในแต่ละแขวงรวมถึงการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการสุขาภิบาลที่จะเป็นโครงการต่อเหนื่องต่อไป ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นไปตามยุทธศาสตร์ภาคน้ำและสุขาภิบาล 10 ปี (2559-2568) และแผนสุขาภิบาลห้าปี (2559-2563) เป็นการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสปป.ลาวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในประเทศและอุตสหกรรมผลิตต่างๆที่จำเป็นต้องมีระบบประปาที่ดีและได้มาตราฐานเพื่อช่วยลดข้อจำกัดต่างๆในอดีตที่มีปัญหาทั้งเรื่องของน้ำไม่พอ และไม่สามารถจ่ายน้ำได้ไปทั่วประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Water_12.php

นายสมคิดมอบนโยบายจัดทำงบฯ แบบบูรณาการ ชี้ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือ

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุม มอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบบูรณาการประจำปี 2564 ว่า การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ทุกภาคส่วนจะต้องทำงานกันแบบบูรณาการ โดยรัฐบาลจะมุ่งเน้นงบประมาณในการจัดทำระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและดึงดูดการลงทุน โดยมอบหมายให้ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ติดตามงบประมาณเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ให้ผันงบประมาณมาลงทุนใน 3 แห่ง

ที่มา : https://mgronline.com/uptodate/detail/9630000004979