เปิดตัวหอการค้าจีนในสีหนุวิลล์

หอการค้าแห่งใหม่ของจีนเปิดทำการในเมืองสีหนุวิลล์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยหอการค้าแห่งใหม่ของจีนตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) นำโดย Chen Jiangang ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานของหอการค้าจีน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอาชีพกล่าวยกย่องการเคลื่อนไหวของจีนในครั้งนี้และเชื่อว่าจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างประเทศและส่งเสริมการลงทุนของจีนในพื้นที่ชายฝั่งของกัมพูชามากขึ้น ซึ่งหอการค้าจีนจะมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและส่งเสริมกัมพูชาให้กับนักลงทุนจีนที่สนใจที่จะลงทุนในกัมพูชา โดยจีนยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชาตามรายงานล่าสุดจากสภาเพื่อการพัฒนาประเทศกัมพูชา ซึ่งจีนถือเป็นยักษ์ใหญ่ในเอเชียตะวันออกลงทุนไปกว่า 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมคิดเป็นกว่า 35% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50651144/china-chamber-of-commerce-opens-in-sihanoukville/

ปตท.สนใจส่งออกน้ำมันดิบของกัมพูชาในอนาคต

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แสดงความสนใจในการส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศกัมพูชา โดยอธิบดีกรมปิโตรเลียมของกัมพูชากล่าวว่าบริษัทมีความกระตือรือร้นที่จะส่งออกน้ำมันดิบของกัมพูชา ซึ่งอยู่ในระหว่างการเจรจาเบื้องต้นกับกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยปตท.อาจจะทำการหารือกับ บริษัท KrisEnergy เผื่อในอนาคตอาจจะได้ร่วมงานกันหลังจาก KrisEnergy เริ่มสกัดน้ำมันดิบจากแหล่งน้ำมัน Apsara เป็นครั้งแรก ซึ่ง KrisEnergy เป็นบริษัทจากทางประเทศสิงคโปร์ทำการสำรวจน้ำมันและก๊าซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกำลังพัฒนา Block A ในบ่อน้ำมัน Apsara และคาดว่าจะมีการสกัดน้ำมันดิบครั้งแรกในปลายปีนี้หรือต้นปี 2563 ซึ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้วรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานพบกับตัวแทนของปตท.ที่กรุงพนมเปญและได้หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมพลังงานและการพัฒนาน้ำมันของกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตามน้ำมันดิบจะไม่ถูกกลั่นในประเทศและจะถูกขายในรูปแบบของน้ำมันดิบเท่านั้นเนื่องจากกัมพูชาขาดสิ่งอำนวยความสพดวกในการผลิต โดยเมื่อปีที่แล้วกัมพูชานำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 2.5 ล้านตันเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50650625/ptt-keen-to-export-cambodian-crude-in-future/

การลงทุนในกัมพูชาพุ่งสูงขึ้นในปีนี้

สภาเพื่อการพัฒนาของกัมพูชา (CDC) ประกาศว่าได้อนุมัติโครงการลงทุนไปกว่า 831 โครงการด้วยเงินลงทุนทั้งสิ้น 22.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตั้งแต่ปี 2559 ถึงสิงหาคม 2562 ตามรายงานล่าสุด โดยรายงานเพิ่มเติมว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีมีการอนุมัติโครงการลงทุนกว่า 222 โครงการมูลค่ารวม 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจำนวนโครงการการลงทุนและมูลค่าการลงทุนยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีมีการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นประมาณ 94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ในทางตรงกันข้ามการลงทุนในภาคเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานกลับชะลอตัวลง ซึ่งจีนก็ยังคงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในกัมพูชาซึ่งคิดเป็น 56% ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด ในช่วงแปดเดือนแรกของปีลงทุนไปกว่า 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (35% ของการลงทุนทั้งหมด) ตามด้วยญี่ปุ่น (7.8%), เวียดนาม (2.9%), สิงคโปร์ (1.8 %), เกาหลีใต้ (1.7%), มาเลเซีย ( 1.36%) และประเทศไทย (0.9%)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50650679/cdc-approves-6bln-in-investment-projects-in-first-eight-months-of-the-year/

เวียดนามจะเปิดตัวเทคโนโลยี 5G ในสปป.ลาว

เวียดนามจะเริ่มให้บริการทดลองใช้ 5G ในสปป.ลาวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการเต็มรูปแบบใน 4 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Viettel ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ตามรายงานข่าวสมาชิกกลุ่ม Viettel Unitel เป็นผู้ดำเนินการรายแรกที่เสนอเทคโนโลยี 5G ในสปป.ลาว มีสถานีฐาน 3G และ 4G 6,000 แห่งครอบคลุม 95% ของประเทศ มากกว่าครึ่งตลาดในประเทศที่มีประมาณ 3 ล้านราย ในเดือนกุปีนี้ Unitel ได้ช่วยแนะนำ SIM ให้กับสปป.ลาวซึ่งทำให้ประเทศติดอันดับที่ 7 จาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านบริการโทรคมนาคมขั้นสูง ซึ่ง 5G จะเปลี่ยนอุตสาหกรรมตามแนวตั้งจำนวนมาก รวมถึงภาคขนส่ง การดูแลสุขภาพและภาคเกษตรกรรม จะพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ที่ผลิตอุปกรณ์เป็น พันล้านและจะเปิดใช้งานนวัตกรรมในเกือบทุกอุตสาหกรรมสร้างการเชื่อมต่อที่ไม่จำกัด

ที่มา : https://www.opengovasia.com/vietnam-to-launch-5g-technology-in-laos/

WEF : เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก

จากรายงานของเวิร์ล อีโคโนมิกส์ ฟอร์ม (World Economic Form : 2019) เปิดเผยว่าดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ซึ่งกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ ด้วยคะแนนสารสนเทศมากที่สุด โดยประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก เป็นประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุด (84.8/100) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความมั่งคงในเศรษฐกิจมหภาค ระบบการเงิน และประสิทธิภาพของตลาด เป็นต้น ทางด้านข้อมูลของประเทศเวียดนามที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดสูงที่สุดในโลก ทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 อันดับ มาขึ้นเป็นอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลกในปีนี้ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ประเทศกัมพูชา (อันดับ 106) สปป.ลาว (อันดับ 113) ซึ่งการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศมีนับสำคัญต่อการจัดอันดับข้างต้น

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/536849/wef-east-asia-pacific-the-worlds-most-competitive-regional-economy.html#voVbdo0if7cB2tIC.97

เวียดนามเผยการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มพุ่งสูงขึ้น 10.4% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากรายงานสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MOIT) เปิดเผยว่ายอดการส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าประมาณ 24.77 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยสถานการณ์ผันผวนทางเศรษฐกิจทั่วโลก และความท้าทายของผู้ประกอบการสิ่งทอในประเทศต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ราคาสินค้าที่เอาท์ซอร์ซนั้นเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ เกาหลีใต้ และจีน เป็นต้น ในขณะที่ การใช้จ่ายของเส้นใยและวัตถุดิบสิ่งทอประสบปัญหา เนื่องมาจากประเทศจีนเป็นแหล่งตลาดส่งออกรายสำคัญของประเทศ ซึ่งได้ลดการนำเข้า ในขณะเดียวกัน เสื้อผ้าก็ได้รับผลกระทบจากยอดคำสั่งซื้อลดลง ซึ่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นมาจากความกังวลของผู้นำเข้าในประเทศนั้นๆ เกี่ยวกับสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ไม่มีท่าทีผ่อนคลายลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/textile-and-apparel-export-turnover-up-104-per-cent-in-nine-months-404623.vov

เมียนมาเตรียมสร้างเขตอุตสาหกรรมสิ่งทอในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์

กระทรวงที่ดินจัดสรรพื้นที่เพื่อจัดตั้งเขตพิเศษที่สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการดำเนินโครงการนำร่องสำหรับอุตสาหกรรมและกลุ่มอุตสาหกรรม ซึ่งแผนกำลังดำเนินการตามนโยบายสิ่งทอระดับชาติด้วยความช่วยเหลือของ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอของเมียนมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) กระทรวงพาณิชย์นำ NES ไปใช้กับ 11 ภาคส่วน ซึ่งครอบคลุมภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยมีการดำเนินการโดย No (3) อุตสาหกรรมหนักภายใต้การจัดตั้งของคณะกรรมการกระทรวงอุตสาหกรรม

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/separate-plots-planned-to-establish-specialized-textile-and-garment-zones-in-yangon-mandalay

อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 17 เดือนติดต่อกัน

จากข้อมูลของ Central Central Organization (CSO) อัตราเงินเฟ้อเมียนมาแตะระดับ 8.53% ช่วง ส.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงปลายปีที่ 8.35% ตั้งแต่ เม.ย. 61 ถึงเดือน ส.ค. 62 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกัน 17 เดือน เมื่อเทียบปีต่อปีอยู่ที่ 10.37 เปอร์เซ็นต์ ปลายเดือน ส.ค.เขตมาเกว มีอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดที่ 12.57% รองลงมาคือ เขตสะกาย ที่ 10.66% และเชตชิน ที่ 10.07% เขตสะกาย มีอัตราเงินเฟ้อเปลี่ยนแปลงที่เยอะสุดที่ 15.70% ในขณะที่รัฐคะฉิ่นเห็นการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุดที่ 2.59% ในเดือน พ.ย.62 CSO ได้จัดทำแบบสำรวจครัวเรือนและการบริโภคจำนวน 32,669 ครัวเรือนใน 82 เมืองทั่วประเทศเพื่อคำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และอัตราเงินเฟ้อ อดีตอัตราเงินเฟ้อคำนวณโดยใช้ปี 49 เป็นปีฐาน ปัจจุบันใช้ปี 55 เป็นปีฐานในการคำนวณอัตราเงินเฟ้อ ภายใต้แผนพัฒนาแห่งชาติห้าปีที่สอง (จาก 59-60 ถึง 63-64 ) รัฐบาลได้วางแผนที่จะลดอัตราเงินเฟ้อผ่านนโยบายการเงินการคลังการค้าและนโยบายสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/average-inflation-rate-increases-for-17-consecutive-months

ภาครัฐผนึกกำลังเอกชนดันไทยขึ้นแท่นฮับการเดินเรืออาเซียน

พิธีเปิดงาน Thailand Marine & Offshore Expo 2019 เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญประเทศ โดยปัจจุบัน 90% ของปริมาณการค้า ระหว่างประเทศ อาศัยการขนส่งทางน้ำ เนื่องจากสามารถบรรทุกได้ในปริมาณมาก และมีต้นทุนการขนส่งที่ราคาถูกกว่าการขนส่งด้านอื่นๆ ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพด้านความมั่นคงของประเทศ ปัจจุบันอุตสาหกรรม ต่อเรือและซ่อมเรือ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ มีความเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องอีกมาก โดยอุตสาหกรรมต้นน้ำ เกี่ยวข้องกับวัตถุดิบในการผลิตและการซ่อมเรือ อาทิ สี/เคมีภัณฑ์ การหล่อโลหะ เครื่องจักร อุปกรณ์เดินเรือ และเครื่องมือสื่อสาร อุตสาหกรรมกลางน้ำ อาทิ สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมปลายน้ำ อาทิ การขนส่งทางทะเล การประมง การท่องเที่ยว ฯลฯ เป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทย ซึ่งมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการเดินเรือในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอีกช่องทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่อเรือและซ่อมเรือ ของประเทศไทย ทั้งด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้ พร้อมเป็นเวทีสร้างความร่วมมือทางธุรกิจ ให้กับ ผู้ประกอบการในประชาคมอาเซียน ภูมิภาคเอเชีย และระดับโลก โดยการจัดงาน Oil & Gas Thailand (OGET) 2019 Thailand งานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรมด้านน้ำมัน ก๊าซ และปิโตรเคมี พร้อมกับงาน Thailand Marine & Offshore Expo (TMOX) 2019 โดยมีผู้ประกอบการจากไทยและต่างประเทศเข้ามาร่วมงาน เป็นโอกาสในการขยายตลาดและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมด้านการต่อเรือ การเดินเรือ ภาคการขนส่ง อุตสาหกรรมการประมงนอกชายฝั่ง อุตสาหกรรมเรือท่องเที่ยว รวมไปถึงอุตสาหกรรมด้านพลังงานน้ำมัน ก๊าซ และปิโตรเคมี สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่มุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่ออนาคต (New S-Curve)

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/nnd/3054120

ฮานอยยังคงเป็นจุดหมายในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงสุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของหน่วยงานคณะกรรมการประชาชนประจำนครเมือง (The Municipal People’s Committee) เปิดเผยว่ากรุงฮานอยมีมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประมาณ 6.23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยมูลค่าเงินทุนจากต่างประเทศ 503 ล้านเหรียญสหรัฐฯจากทั้งหมด จะนำไปส่งเสริมโครงการใหม่ 631 โครงการ และนักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนกว่า 5.22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไห้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่น ผ่านการซื้อหุ้นและสนับสนุนเงินทุน ในขณะเดียวกัน กรุงฮานอยตั้งเป้ายอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562 ซึ่งจะลงทุนผ่านการเป็นหุ้นส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นแหล่งเงินทุน FDI มากที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาสิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังดำเนินงานปรับปรุงให้เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ และเร่งปฏิรูปการบริหารภาครัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-remains-vietnams-biggest-fdi-magnet-in-nine-months-404452.vov