เมืองใหม่ที่จะสร้างในเสียมราฐของกัมพูชา

จะมีการสร้างเมืองแห่งใหม่ในเสียมเรียบ โดยโครงการนี้เพิ่งถูกเพิ่มไปในแผนแม่บทในด้านการท่องเที่ยวของจังหวัด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกล่าวว่าเมืองใหม่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมในจังหวัดมากขึ้น โดยมีสถานที่สำคัญคือ Angkor Archeological Complex ตั้งอยู่ห่างจากเสียมราฐในทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร ซึ่งแผนแม่บทจะแล้วเสร็จภายในต้นปีหน้า โดยจากตัวเลขของอังกอร์เอ็นเตอร์ไพรส์สหราชอาณาจักรมีรายได้กว่า 55.7 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการขายตั๋วเข้าชมสถานที่ ซึ่งในช่วงครึ่งปีแรกลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 โดยกลยุทธ์ดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะเพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาพักอาศัยนานขึ้น และนิยามความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดใหม่ ซึ่งประเทศจีนก็ยังคงเป็นประเทศที่ติดอันดับยอดนิยมของนักท่องเที่ยงที่มาเยือนเสียเรียบโดยคิดเป็นประมาณ 540,000 คนในช่วงครึ่งปีแรกตามมาด้วยเกาหลีและสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643972/new-city-to-be-built-in-siem-reap-province/

World Bank อนุมัติเงิน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนากัมพูชา

ธนาคารโลกได้อนุมัติการเบิกจ่ายอย่างเป็นทางการจำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในกัมพูชา โดยเงินให้กู้ยืมจะอยู่ภายใต้ กรอบความร่วมมือในระดับประเทศในช่วง ปี2562-2566 ซึ่งได้รับการอนุมัติจากธนาคารโลกในเดือนพฤษภาคมตามแถลงการณ์ที่ออกหลังจากการประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง โดยโครงการกู้ยืมดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงระดับความสำคัญของรัฐบาลและจัดการกับความท้าทายภายในประเทศเกี่ยวกับการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ การพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร เสริมสร้างการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งกรอบการทำงานจะมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของรัฐและส่งเสริมการพัฒนาภาคเอกชน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643974/world-bank-approves-1-billion-in-development-assistance/

กรมพัฒน์ฯ หนุนแฟรนไซส์ไทย เตรียมดัน 27 ธุรกิจ ลุยตลาดสากล

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เร่งเครื่องผลักดันสู่ตลาดสากล จำนวน 27 ธุรกิจ หลังพบธุรกิจแฟรนไซส์ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังคึกคัก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (CLMV) ที่ถือว่าเป็นทำเลทองในการขยายธุรกิจของไทย พร้อมเปิดตัวเลขแฟรน์ไซส์ไทยมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท โดยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ดำเนินตามนโยบายของรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข็มแข็ง ผ่านการสนับสนุน ส่งเสริม และขยายธุรกิจด้วยระบบแฟรนไซส์ รวมไปถึงมุ่งเน้นกลยุทธ์สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ส่งเสริมสภาพแวดล้อม หรือ Ecosystem ให้พร้อมสู่ระดับสากล ทั้งนี้ กรมฯ ได้ดำเนินการสร้างความเข็มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไซส์ไทยอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ การส่งเสริมให้ธุรกิจขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อให้สามารถเติบโตได้อย่างเข้มแข็งยั่งยืน โดยเน้นการสร้างมาตรฐานคุณภาพที่มีความน่าเชื่อถือ นอกจากนี้ จากข้อมูลของธนาคารกสิกรไทย พบว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยมีมูลค่าตลาดโดยรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 20.3 ต่อปี โดยในแต่ละปีมีผู้ประกอบการรายใหม่สนใจเข้าสู่ธุรกิจแฟรนไชส์กว่า 15,000 – 20,000 ราย ถือว่ากลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์เป็นกลุ่มธุรกิจสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศไทย เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เข้าถึงกลุ่มธุรกิจที่ครอบคลุมทุกระดับ และสามารถสร้างความมั่นคงให้แก่เศรษฐกิจของประเทศได้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน

ที่มา : ทรานสปอร์ต เจอร์นัล ฉบับที่ 16-30 ก.ย. 2562

ผู้ประกอบการเวียดนามเข้าร่วมประชุมการค้า อินเดีย-CLMV

คณะผู้แทนธุรกิจเวียดนามจะเข้าร่วมการประชุมครั้งแรก อินเดีย-CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และอินเดีย) ซึ่งในเดือนหน้า จะมีการจัดประชุมในนครเจนไน (Chennai City) โดยเป้าหมายของการประชุมครั้งนี้ คือ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศอินเดียและกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบาย Act East ของรัฐบาลอินเดีย เพื่อส่งเสริมการร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงกลุ่ม CLMV ในขณะที่ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) จะนำคณะผู้ประกอบการเวียดนาม 15 ราย ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อเรียนรู้การต่อยอดการค้าระหว่างประเทศระหว่างประเทศ (เวียดนาม CLMV อินเดีย) ตามความต้องการ และข้อเรียกร้อง และมาตรฐานของตลาด ซึ่งผู้ประกอบการเวียดนามจะทำธุรกิจในลักษณะผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการ (B2B) ในการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างกลุ่มประเทศ CLMV และอินเดีย นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-18 ตุลาคม 2562 ณ โรงแรม ITC Grand Chola, นครเจนไน, รัฐทมิฬนาฑู

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/535529/vietnamese-firms-to-attend-india-clmv-trade-meeting-in-india.html#5tTtZaLpBZGfj3CE.97

เวียดนามเผยมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้น 7% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกโดยรวมสิ่งทอ เส้นใย และเสื้อผ้าของเวียดนามอยู่ที่ 25.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รวมไปถึงสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ร้อยละ 60.6 โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มใช้เงินในการนำเข้า ด้วยมูลค่า 14.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และผลผลิตวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และอุตสาหกรรมดังกล่าวเกินดุลการค้า 10.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และทำให้ราคาสินค้าแปรรูปของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้และจีน รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อยอดคำสั่งส่งออกของผู้ประกอบการในประเทศ ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาโซลูชั่นในการผลิตสินค้าและการดำเนินธุรกิจ แต่ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศเกาหลีใต้ และไต้หวันในเวียดนาม ได้รับประโยชน์จากสงครามการค้า เนื่องมาจากธุรกิจของประเทศดังกล่าว มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน โดยจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Dau Tu (Investment) ระบุว่า ผู้ประกอบการสิ่งทอฯ ของเกาหลีใต้ในเวียดนาม ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสงครามการค้า ด้วยจำนวนธุรกิจกว่า 143 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกประเด็นอีกอย่าง คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอของเวียดนามยังขาดวัสดุในการป้อนเข้าโรงงาน ซึ่งจำเป็นต้องนำเข้าฝ้ายทั้งหมด และร้อยละ 80 ในการนำเข้าผ้า และวัสดุอื่นๆ จากจีน และอินเดีย ดังนั้น ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับบริษัทจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-s-textile-export-value-up-almost-7-pct-in-eight-months/160559.vnp

สหภาพยุโรปยังคงให้การสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานในสปป.ลาว

สหภาพยุโรปจะยังคงสนับสนุนสปป.ลาวเพิ่มมากกว่า 14 ล้านยูโร สำหรับโครงการการสนับสนุนการศึกษาขั้นพื้นฐานในสปป.ลาว เพื่อช่วยให้ประเทศบรรลุแผนการพัฒนาด้านการศึกษา ซึ่งการประชุมระหว่างสปป.ลาวและสหภาพยุโรปคือการยืนยันความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาในสปป.ลาว โดยมุ่งเน้นที่การส่งเสริมและตรวจสอบการจัดสรรครูและการพัฒนาทักษะการสอนของครูเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนจะบรรลุผลทางการศึกษา จะช่วยปรับปรุงการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่ชนบทในขณะเดียวกันก็สร้างขีดความสามารถในการพัฒนาส่วนบุคคลในโรงเรียนเป้าหมาย อีกทั้งเมื่อเร็วๆนี้ สหภาพยุโรปให้เงิน 55 ล้านยูโรเพื่อเปิดตัวโครงการใหม่ 2 โครงการเกี่ยวกับโภชนาการและการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยการสนับสนุนทางการเงิน  50 ล้านยูโรจะไปปรับปรุงโภชนาการและลดการขาดสารอาหารและ 5 ล้านยูโรเพื่อช่วยกระตุ้นการเติบโตของการค้าและการลงทุนเพื่อสนับสนุนโครงการ ARISE Plus Laos นอกจากนี้ยังจัดสรรเงิน 162 ล้านยูโร ในหลายภาคส่วนรวมถึงโภชนาการการศึกษาและการกำกับดูแลภายใต้กรอบของ European Joint Programming 2559-2563

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/eu-continues-support-basic-education-laos-104287

10 ธนาคารพาณิชย์สปป.ลาว ลงนามขอสินเชื่อเพื่อส่งเสริม SMEs

ฝ่ายปฏิบัติการธนาคารภายใต้ธนาคารสปป.ลาวได้ลงนามใน 10 ธนาคารพาณิชย์เพื่อขอสินเชื่อ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศจีนเพื่อส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในสปป.ลาว บันทึกความเข้าใจสำหรับโครงการได้มีการลงนามระหว่างธนาคารการค้าต่างประเทศลาว, ธนาคารเพื่อการพัฒนาลาว , ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม, ธนาคารมารูฮานเจแปนลาวจำกัด, ธนาคารร่วมพัฒนาจำกัด , ธนาคารลาวจีนจำกัด, ธนาคารร่วมธุรกิจลาว-เวียด จำกัด, ธนาคารเอสทีจำกัด, ธนาคารหุ้นส่วนการค้าทหาร สาขาลาวและธนาคารไซง่อนเทืองตินลาวจำกัด ลงนามเป็นสักขีพยานโดยผู้ว่าการ BOL วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลและเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนโดยการส่งเสริมการพัฒนาของ SMEs หลังจากการพิจารณาของแผนกธนาคารทั้งหมด 16 แห่งที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขได้ถูกคัดเลือกให้เข้าร่วมในโครงการอย่างไรก็ตามมีเพียง 10 ธนาคารเท่านั้นที่แสดงความตั้งใจที่จะเข้าร่วม

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/ten-lao-banks-seek-loan-promotion-smes-104290

ในรอบหนึ่งเดือนราคาเชื้อเพลิงในประเทศเพิ่ม 45-50 จัต

ราคาน้ำมันในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 45 เป็น 50 จัตต่อลิตรในระยะเวลามากกว่าหนึ่งเดือนเนื่องจากราคาน้ำมันทั่วโลกพุ่งแตะระดับ 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากเดิมราคาในเดือน ก.ค. ราคา 53 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และเพิ่มเป็น 60 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรลในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 16 กันยายนราคาในตลาดท้องถิ่นราคาสูงสุดคือ 930 จัตสำหรับน้ำมันดีเซลหนึ่งลิตร (K4,227 ต่อแกลลอน) 940 จัตสำหรับน้ำมันดีเซลหนึ่งลิตร (K4,273 ต่อแกลลอน) K830 จัตสำหรับหนึ่งลิตรที่ 92 รอนออกเทน (K3,773 ต่อแกลลอน) และ 920 จัตสำหรับหนึ่งลิตร 95 รอนออกเทน (K4,182 ต่อแกลลอน) ราคาเพิ่มขึ้น 45 เป็น 50 จัตต่อลิตรเมื่อเทียบกับราคาในเดือนสิงหาคม

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/local-fuel-prices-increase-by-k45-k50-in-over-one-month

MIC อนุญาตให้ธุรกิจแปดประเภทรวมไปถึงน้ำมันและก๊าซธรรมชาติลงทุนในเมียนมา

คณะกรรมาธิการการลงทุนของเมียนมา (MIC) อนุญาตให้ธุรกิจแปดประเภทเข้ามาลงทุน ได้แก่ ปศุสัตว์และการประมง การผลิต โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ การขนส่งและการสื่อสาร ธุรกิจเหล่านี้สามารถสร้างงานให้ท้องถิ่นมากกว่า 3,000 คน สิงคโปร์เป็นประเทศที่ติดอันดับต้น ๆ ของการลงทุน โดยธุรกิจเหล่านี้มีเม็ดเงินลงทุน 36.745 ล้านเหรียญสหรัฐและ 163,302.753 ล้านจัตเข้าสู่ประเทศ ธุรกิจทั้งหมด 1,806 แห่งจาก 50 ประเทศที่ลงทุนจนถึงสิงหาคมนี้ การลงทุนน้ำมันและก๊าซธรรมชาติคิดเป็น 27.48% รองลงมาคือภาคไฟฟ้า 25.95% และภาคการผลิต 14.01% จากข้อมูลของ MIC ในวันที่ 1 ต.ค.ถึง 5 ก.ย.ของปี 61-62 มูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศสูงถึง 4,100.032 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคาดว่าปริมาณการลงทุนจากต่างประเทศจะไหลเข้าสู่ 5,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 61-62 การลงทุนจากต่างประเทศสูงถึงกว่า 4,100 ล้านเหรียญสหรัฐใน 25 วันก่อนสิ้นปีปัญชี

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/mic-permits-eight-types-of-businesses-including-oil-and-natural-gas

การมีส่วนร่วมของธนาคารกลางเวียดนามต่อธนาคารในท้องถิ่นกัมพูชา

ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชาได้กล่าวชื่นชมธนาคารของเวียดนามที่ดำเนินงานในกัมพูชาเพื่อสนับสนุนและพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชา ซึ่งในระหว่างการประชุมประจำปี ผู้ว่าการ NBC กล่าวว่าเวียดนามมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกัมพูชาโดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ผ่านความช่วยเหลือด้านเทคนิค โดยเชื่อว่ากัมพูชายังคงเติบโตในอัตราที่รวดเร็วแม้จะมีความท้าทายระดับโลกหลายประการรวมถึงความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง ซึ่งธนาคารของทั้งสองประเทศเป็นกลไกที่สำคัญซึ่งกันและกันในการส่งเสริมความร่วมมือและส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการธนาคารและการเงินในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม โดยทำการแบ่งปันประสบการณ์และค้นหาวิธีแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดของอุตสาหกรรม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50643677/praise-for-vn-central-banks-contribution-to-local-banking/